เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 29 มี.ค. 22, 08:15
|
|
 ตระเวณ ใช้ ณ เณร น่าจะสับสนเนื่องจากไปเทียบกับคำว่า บริเวณ ตระเวณ ❌ ตระเวน ✅
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 30 มี.ค. 22, 08:15
|
|
คุ ณ แ ม่ …………………!!!
เซ็นต์ชื่อ ❌ เซ็นชื่อ ✅
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 30 มี.ค. 22, 12:20
|
|
 อ่านอยู่หลายเที่ยว กว่าจะนึกออกว่าเป็นการสะกดคำว่า "คดีพิเศษ" ผิด จนมีความหมายต่างไปสุดขั้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 31 มี.ค. 22, 09:15
|
|
๔ คำนี้มีความหมายเดียวกัน และมักเติม ร เรือท้ายคำ ด้วยไปเทียบกับคำว่า มิตร
เนรมิตร ❌ เนรมิต ✅ นฤมิตร ❌ นฤมิต ✅ นิรมิตร ❌ นิรมิต ✅ นิมิตร ❌ นิมิต ✅
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 01 เม.ย. 22, 08:25
|
|
ศรีษะ สระอีอยู่บน ร เรือ เขียนผิด คงเป็นเพราะนึกถึงคำว่า ศรี แท้จริงคำนี้มาจากภาษาสันสกฤตว่า ศีรฺษ (शीर्ष) แปลว่า หัว สระอีต้องอยู่บน ศ ศาลา
ศรีษะ ❌ ศีรษะ ✅
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 02 เม.ย. 22, 08:15
|
|
อักษรสูงหรืออักษรต่ำเมื่อใช้ไม้ตรี จะมีรูปที่ออกเสียงเหมือนกันและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์อยู่แล้ว
คำว่า ห๊ะ ก็เป็นอีกคำหนึ่ง
ห๊ะ ❌ ฮะ ✅
และเพื่อเน้นว่าเป็นคำอุทาน อาจใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ เขียนตามหลังสัก ๓-๔ ตัว …. ฮะ!!!!
ป.ล. เนื้อข่าวเป็นควันหลงจากวัน 'เอพริลฟูลส์' !!!
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 03 เม.ย. 22, 08:35
|
|
คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ๒ คำนี้ gang และ game มักจะเขียนผิดโดยใส่ตัวการันต์ท้ายคำ
แก๊งค์ ❌ แก๊ง ✅ เกมส์ ❌ เกม ✅
ส่วนคำว่า มันส์ เป็นคำไทยเลียนแบบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ถือเป็นคำสแลง (slang) นำมาใช้เฉพาะกลุ่ม จะว่าผิดเสียเลยก็ไม่เชิง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 04 เม.ย. 22, 10:15
|
|
ยนต์ กับ ยนตร์ ความจริง ๒ คำนี้มีความหมายเหมือนกัน คำแรกมาจากภาษาบาลี ส่วนคำหลังมาจากภาษาสันสกฤต แต่ใช้ประสมคำโดยเฉพาะในส่วนท้ายต่างกัน ทำให้เกิดความสับสนในการสะกดคำอยู่เสมอ เช่น
รถยนตร์ ❌ รถยนต์ ✅ ภาพยนต์ ❌ ภาพยนตร์ ✅
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 04 เม.ย. 22, 17:49
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 05 เม.ย. 22, 08:15
|
|
มนต์ กับ มนตร์ ก็เป็นคำเดียวกัน คำแรกมาจากภาษาบาลี ส่วนคำหลังมาจากภาษาสันสกฤต แต่ใช้ประสมคำโดยเฉพาะในส่วนท้ายต่างกัน มนต์ ใช้กับคำทางพระพุทธศาสนา ส่วน มนตร์ ใช้กับคำทางศาสนาพราหมณ์หรือทางไสยศาสตร์ ซึ่งมักจะใช้สลับกันอยู่เสมอ เช่น
สวดมนตร์ ❌ สวดมนต์ ✅ เวทมนต์ ❌ เวทมนตร์ ✅
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 05 เม.ย. 22, 15:28
|
|
เสน่หา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 06 เม.ย. 22, 08:35
|
|
เมนูอาหารไทยที่มักสะกดผิด
กระเพรา ❌ กะเพรา ✅ กระหรี่ ❌ กะหรี่ ✅ ผัดไท ❌ ผัดไทย ✅
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 07 เม.ย. 22, 08:35
|
|
ซีฟู๊ด ❌ ซีฟู้ด ✅ จาระเม็ด ❌ จะละเม็ด ✅
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 07 เม.ย. 22, 08:53
|
|
คุ้ง = ส่วนเว้าของลำน้ำที่ลึกเข้าหาฝั่ง, ส่วนที่ลึกที่สุด เรียกว่า ท้องคุ้ง, ด้านตรงข้ามที่เป็นแหลม เรียกว่า หัวคุ้ง. คลุ้ง= ถ้าเป็นคำวิเศษณ์ มีความหมาย 2 อย่าง คือ 1. ฟุ้งไปทั่ว, กระจาย เช่น "ฝุ่นคลุ้ง" 2. มีกลิ่นเหม็นตลบ. ไม่น่าใช้กับกลิ่นน้ำหอม เพราะอาจหมายถึงความหมายที่สองได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 07 เม.ย. 22, 17:15
|
|
 คุ้ย ไม่ใช่ ขุ้ย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|