เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 29597 ขออนุญาตแก้คำที่สะกดผิด (๒)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 29 ก.ย. 21, 22:13

ต่อจากกระทู้นี้ค่ะ

ขออนุญาตแก้คำที่สะกดผิด
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2403.0
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 ก.ย. 21, 22:16

สื่อออนไลน์ต่างๆ มีคำที่สะกดผิดให้เห็นมากขึ้นทุกวัน   เกิดจากพลั้งพลาดพิมพ์ผิดบ้าง  สะกดผิดเพราะไม่รู้ และไม่ได้ตรวจสอบบ้าง
เลยขอตั้งกระทู้ที่ ๒  ต่อจากกระทู้แรกค่ะ

ประเดิมด้วยคำที่แค็ปหน้าจอมาจากสื่อ
ใจปล้ำ  = ใจป้ำ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 ก.ย. 21, 22:22

จราจล  = จลาจล
อย่าสับสนกับ "จราจร" นะคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 ก.ย. 21, 10:03

ม๊อบ คำที่ถูกต้องคือ ม็อบ
ราชบัณฑิตสะกดตามนี้

 ม็อบ-ม็อป
          คำทับศัพท์คือคำต่างประเทศที่เขียนด้วยตัวอักษรไทย โดยเขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย “ม็อบ” ที่มี บ ใบไม้ เป็นตัวสะกด เป็นคำทับศัพท์คำหนึ่งที่มาจากภาษาอังกฤษว่า mob ส่วน “ม็อป” ที่มี ป ปลา เป็นตัวสะกด มาจากภาษาอังกฤษว่า mop ทั้งสองคำเก็บไว้ในพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม ๑ ของราชบัณฑิตยสถาน

http://legacy.orst.go.th/?knowledges=%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9A-%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9B-%E0%B9%92%E0%B9%94-%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99-%E0%B9%92%E0%B9%95


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 ก.ย. 21, 11:23

เรื่องคำผิด คำถูกนี่ ดิฉันพึ่งทราบมาเร็วๆนี้จะเว็บหนึ่งว่าทางราชบัณฑิตมีการเปลี่ยนรูปการเขียนของคำตามการเขียนที่คนส่วนใหญ่เขียนด้วย เช่นคำว่าแซบ ดั้งเดิมใช้แซบ แล้วก็มาแก้เป็นแซ่บ สลับไปมาจนมาใช้ล่าสุดว่าแซ่บ ดิฉันตอนนี้เลยงงว่าควรอ้างอิงอะไรกันแน่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 ก.ย. 21, 20:26

การใช้รูปวรรณยุกต์เอกในคำ แซ่บ กับ แซ่ด
นิตยา กาญจนะวรรณ
ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย
สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา


พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ เก็บคำไว้ว่า
งอกแงก แซด แซบ ม่อลอกม่อแลก ล่อกแล่ก วอกแวก

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ เก็บคำไว้ว่า
งอกแงก แซด แซบ ม่อลอกม่อแลก ลอกแลก เลิ่กลั่ก วอกแวก

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เก็บคำไว้ว่า
ง่อกแง่ก แซด แซบ ม่อลอกม่อแลก ลอกแลก เลิ่กลั่ก วอกแวก

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เก็บคาไว้ว่า
ง่อกแง่ก แซ่ด แซ่บ ม่อล่อกม่อแล่ก ล่อกแล่ก เลิ่กลั่ก ว่อกแว่ก

จะเห็นได้ว่า พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ เก็บคำว่า ล่อกแล่ก ซึ่งมีรูปวรรณยุกต์เอกไว้แล้ว ส่วนคำว่า เลิ่กลั่ก ยังไม่ได้เก็บไว้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ถอดรูปวรรณยุกต์เอกออกจากคำว่า ลอกแลก และเพิ่มคำว่า เลิ่กลั่ก เข้ามา พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เพิ่มรูปวรรณยุกต์เอกลงในคำว่า ง่อกแง่ก และในท้ายที่สุด พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ก็เก็บคำตามอักขรวิธีไทยที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น โดยเพิ่มรูปวรรณยุกต์เอกลงในคำว่า แซ่ด แซ่บ ม่อล่อกม่อแล่ก ล่อกแล่ก และ ว่อกแว่ก เพราะคำเหล่านี้ล้วนแต่ออกเสียงสั้น และสามารถเขียนได้ตามอักขรวิธีไทย

https://royalsociety.go.th/%e0%b9%81%e0%b8%8b%e0%b9%88%e0%b8%9a-%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a-%e0%b9%81%e0%b8%8b%e0%b9%88%e0%b8%94/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 30 ก.ย. 21, 20:27

พจนานุกรมในแต่ละฉบับ แต่ละยุค ยังสะกดคำไม่เหมือนกัน  ทั้งๆก็มาจากหลักเกณฑ์เดียวกันแท้ๆ
 เพราะฉะนั้นก็อย่าไปถือสาอะไรมาก  เอาเป็นว่าฉบับล่าสุดท่านว่าอย่างไรก็ตามนั้นละค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 ต.ค. 21, 09:30

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เก็บคำไว้ว่า
ง่อกแง่ก แซด แซบ ม่อลอกม่อแลก ลอกแลก เลิ่กลั่ก วอกแวก

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เก็บคำไว้ว่า
ง่อกแง่ก แซ่ด แซ่บ ม่อล่อกม่อแล่ก ล่อกแล่ก เลิ่กลั่ก ว่อกแว่ก

พจนานุกรม พ.ศ. ๒๕๔๒ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๖ ส่วนพจนานุกรม พ.ศ. ๒๕๕๔ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๕๖

เคยให้ความคิดเห็นหนึ่งในเวลาระหว่างพจนานุกรม ๒ ฉบับนี้ (๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕)

ดังที่ยกตัวอย่างคำที่ใช้อักษรต่ำ คำตาย เสียงสั้น ใช้วรรณยุกต์เอก มาสองคำ คือ "ง่อกแง่ก" และ "แน่บ" ซึ่งมีในพจนานุกรม

ยังมีอีกหลายคำทีมีลักษณะเดียวกัน แต่ท่านรอยอินไม่อนุญาตให้ใช้วรรณยุกต์เอก

รูปแบบ "ง่อกแง่ก"  -  ซอกแซก, ลอกแลก, วอกแวก

รูปแบบ   "แน่บ"    -   แซ่บ, แร่ด, แว่บ

คำเหล่านี้ท่านออกเสียงสั้นหรือยาว

ท่านราชบัณฑิตคงพิจารณาแล้วว่าคำเหล่านี้ในพจนานุกรมฉบับก่อน จริง ๆ แล้วออกเสียงสั้น จึงใส่วรรณยุกต์เอกให้ ดังที่ปรากฎในฉบับปัจจุบัน (ยกเว้นคำว่า ‘ซ่อกแซ่ก’ และ ‘แร่ด’ ซึ่งต้องรอการแก้ไขในพจนานุกรมฉบับต่อ ๆ ไป) ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 ต.ค. 21, 13:43

การใช้รูปวรรณยุกต์เอกในคำ แซ่บ กับ แซ่ด
นิตยา กาญจนะวรรณ
ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย
สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา

จาก http://legacy.orst.go.th


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 ต.ค. 21, 09:38

จากเว็บ wongnai.com


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 02 ต.ค. 21, 09:58

ขอบพระคุณสำหรับความรู้ค่ะ

เรื่องการเปลี่ยนรูปแบบการเขียนเห็นหลายท่านเขาว่าจะมีปัญหาตรงเรื่องคำท้องถิ่นค่ะ คือถ้ามีการเปลี่ยนรูปแบบการเขียนที่ผิดไปจะทำให้การออกเสียงคำนั้นเพี้ยนได้แล้วจะทำให้ไม่ตรงเสียงกับคำที่คนท้องถิ่นเขาใช้จริงๆ เลยมีคนกลัวว่าคำท้องถิ่นดั้งเดิมจะถูกลดความสำคัญลง คนจะไปใช้คำที่ออกเสียงเพี้ยนกันตามคนภาคกลางเพราะการออกเสียงของคนภาคกลางมีอิทธิพลต่อภาคอื่นๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 02 ต.ค. 21, 11:04

คำที่มักเขียนหรือพิมพ์ผิดบ่อย ๆ

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/02/K5115945/K5115945.html

จาก “อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร" เอกสารพิมพ์เผยแพร่เนื่องในวันสถาปนาราชบัณฑิตยสถานฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พิมพ์ครั้งที่ ๕ มกราคม ๒๕๒๙ จำนวน ๒๐,๐๐๐ เล่ม รวบรวมคำที่มักเขียนไม่ค่อยถูกต้องตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งได้พบเห็นในตำรับตำรา นิตยสาร และหนังสือต่าง ๆ

ถึงแม้ว่าจะเป็นคำในพจนานุกรม ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ แต่คำเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ในฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ มิมีการเปลี่ยนแปลง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 02 ต.ค. 21, 14:18

ลูกเป็ดขี้เหล่ ----> ลูกเป็ดขี้เหร่


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 02 ต.ค. 21, 16:55

ฟ้าแล่บ, ไฟแล่บ ----> ฟ้าแลบ, ไฟแลบ (พจนานุกรมฉบับปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๔)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 02 ต.ค. 21, 16:56

ตามพจนานุกรมฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ ฟ้าแลบ และ ไฟแลบ อยู่ในความหมายที่ ๒ ของคำว่า แลบ หากลองออกเสียงดูจะเห็นว่าเป็นคำที่ออกเสียงสั้น ใช้ สระแอะ ไม่ใช่ สระแอ สามารถเขียนตามอักขรวิธีไทยได้ว่า ฟ้าแล่บ และ ไฟแล่บ ซึ่งท่านราชบัณฑิตคงพิจารณาบรรจุไว้ในพจนานุกรมฉบับต่อไป


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง