เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 2511 เพิ่งมีโอกาสอ่านทวิภพของคุณทมยันตีอีกครั้ง สีที่คุณทมยันตีกล่าวถึงคือสีอะไรคะ
ปวันดา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


 เมื่อ 28 ก.ย. 21, 13:28

ไม่แน่ใจว่า คือสีม่วงที่เกือบจะแก่ เพราะ “อ่อน”แก่
หรือสีม่วงอ่อนที่”แก่”
หรือมีความหมายอื่นคะ

รบกวนท่านอาจารย์ในเรือนไทย ช่วยไขข้อข้องใจด้วยค่ะ   ฮืม ยิ้มกว้างๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 ก.ย. 21, 14:18

ผมไม่คิดมาก
คิดว่ามีทั้งดอกสีม่วงอ่อน และดอกสีม่วงแก่ ครับ
บันทึกการเข้า
kui045
มัจฉานุ
**
ตอบ: 94


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 ก.ย. 21, 14:27

ถ้าเป็นผมอ่านก็คงไม่ได้ถือเป็นสาระสำคัญอะไร
คิดว่าเป็นการพรรณาโดยทั่วไป
ส่วนตัวคิดว่าเป็นสีบานเย็นกับสีเปลือกไข่ไก่
บันทึกการเข้า
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 ก.ย. 21, 14:36

สีม่วงอ่อนและแก่ สีเนื้ออ่อนและแก่ ถ้าผู้แต่งใส่คำว่าและเข้าไปคุณปวันดาคงไม่งง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 ก.ย. 21, 15:37

สีม่วงอ่อนและแก่ สีเนื้ออ่อนและแก่ ถ้าผู้แต่งใส่คำว่าและเข้าไปคุณปวันดาคงไม่งง
ผมไม่คิดมาก
คิดว่ามีทั้งดอกสีม่วงอ่อน และดอกสีม่วงแก่ ครับ
ถูกต้องค่ะ
มีทั้งสีม่วงอ่อน และสีม่วงแก่
พรมก็เช่นกัน  มีลายสีเนื้ออ่อน และสีเนื้อแก่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 ก.ย. 21, 15:49

คุณทมยันตีบรรยายดอกไม้ชนิดหนึ่งไว้ในเรื่อง “อย่าลืมฉัน” ว่า

ช่อดอกไม้สีม่วง อ่อนหอมระรวย กลีบบางใสราวกับแพร เยื่อไม้คลี่ซ้อนเป็นพุ่ม จากสีเข้มจนจางแซมด้วยใบเขียวขจี ‘ดอกฟอร์เก็ตมีน็อต’

’ดอกไม้สีม่วงอ่อนแก่’ ถ้าบรรยายด้วยสำนวนเดียวกับใน ‘อย่าลืมฉัน’ คงเป็น ’ดอกไม้สีม่วงจากสีอ่อนจนเข้ม’

หมายเหตุ : ดอกฟอร์เก็ตมีน็อตสีม่วงของคุณทมยันตีเป็น ‘อย่าลืมฉัน’ แบบไทย ๆ ชื่อไทยคือ แวววิเชียร (Angelonia goyazensis)  ส่วน Forget me not (Myosotis scorpioides) ‘อย่าลืมฉัน’ ต้นฉบับของฝรั่งนั้นมีสีฟ้า

ซ้าย : แวววิเชียร ‘อย่าลืมฉัน’ แบบไทย ๆ  ขวา : Forget me not ‘อย่าลืมฉัน’ ต้นฉบับของฝรั่ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 ก.ย. 21, 15:59

คำว่า "อ่อนแก่" ที่ใช้บรรยายสีมากกว่า 1 ปี เป็นสำนวนนักประพันธ์ไม่ต่ำกว่า 60 ปีมาแล้ว   ปรากฎอยู่ในนิยายหลายเรื่อง ไม่ใช่สำนวนของคุณทมยันตีเพียงลำพัง  ศุภร บุนนาคก็ใช้คำนี้บรรยายถึงสีสันดอกไม้เช่นกัน

" กุหลาบสีเหลืองอ่อนแก่ในชามแก้ว สีเหมือนโมรา"  
จาก "รสลิน" ของ ศุภร บุนนาค

หมายถึงดอกกุหลาบสีเหลืองอ่อนบ้าง ดอกสีเหลืองแก่บ้าง จัดรวมกันในแจกันแก้วรูปร่างเหมือนชาม ประดับโต๊ะ

ถ้าหากว่าวัตถุนั้น ไม่ว่าดอกไม้หรือข้าวของอื่น  มี 2 สีในชิ้นเดียวกัน   สมัยก่อนใช้คำว่า "เหลือบ" ค่ะ
เช่น กระเบื้องสีเขียวเหลือบน้ำเงิน   ผ้าไหมสีเหลืองเหลือบเขียว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 ก.ย. 21, 09:21

เข้ามาช่วยโพสทุ่งทิวลิปสวยงามสีม่วงอ่อนแก่


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 ก.ย. 21, 09:48

ส่ง พวงคราม หรือ ช่อม่วง หรือ ช่อม่วงพวงคราม (Petrea volubilis) มาเข้าประกวด ยิงฟันยิ้ม

เป็นพวงย้อยห้อยระย้าบุปผาม่วง
เป็นดอกดวงระบายบนต้นพฤกษา
สี ‘อ่อนแก่’ งามพิศติดตรึงตา
สุขอุราพาฤทัยให้ชื่นบาน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 29 ก.ย. 21, 18:37

เห็นฟ้าครามแล้วขอส่ง "กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย" เข้าประกวด  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ปวันดา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 29 ก.ย. 21, 18:56

คาดไว้แล้วค่ะ​ ว่าถ้ามาถามที่เรือนไทยจะต้องได้คำตอบแน่ๆ​   ยิ้มเท่ห์ ขอบพระคุณ​อาจารย์​ทุกท่านค่ะ​ ตอนนี้ภาพดอกไม้สีม่วงอ่อนแก่ชัดเจนแล้วค่า​
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 ก.ย. 21, 19:45

ขอปิดท้ายด้วยแวนด้าลูกผสมสีม่วงอ่อนแก่ ชื่อ "แก้วเก้า" เคยชนะรางวัลที่ 1 ประเภทแวนด้าในการประกวดกล้วยไม้โลก ที่ประเทศญี่ปุ่น ปี 2001


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 29 ก.ย. 21, 21:36

ส่วนภาพนี้คนสูงวัยแถวบ้านผมเรียกว่า 'สีเขียวอ่อนแก่' ครับ แฮ่!

บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 ก.ย. 21, 11:25

ดิฉันก็พลอยได้ความรู้เช่นกันขอบคุณท่านที่มาถามด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ต.ค. 21, 09:15

เห็นฟ้าครามแล้วขอส่ง "กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย" เข้าประกวด  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ฟ้ามุ่ยนี้เป็นชื่อนางเอกในนวนิยายของทมยันตีอีกตัวหนึ่ง คือ นางอั้วเวียงชัย ในเวียงกุมกาม

เพราะดอกฟ้ามุ่ยนี้ถือว่าเป็นกล้วยไม้ท้องถิ่นภาคเหนือเสียด้วย สามารถพบฟ้ามุ่ยในธรรมชาติได้

ทมยันตีจึงเอามาตั้งเป็นชื่อเดิมของนางอั้วเวียงชัยมหาเทวีในพญามังราย

แต่สงสัยว่าทำไมดอกกล้วยไม้สวยงามชนิดนี้จึงชื่อ "ฟ้ามุ่ย" ดูชื่อไม่โสภาเอาเสียเลย

เพราะ "มุ่ย" ในภาษากลาง แปลว่า "อาการที่สีหน้าไม่ดี หรือบูดบึ้งเพราะไม่พอใจ."

เมื่อลองค้นดูในภาษาถิ่นอีสานพบว่า คำว่า มุ่ย แปลว่า "สีขาว สีเหลืองปนสีฟ้า เรียก สีมุ่ย" ซึ่งอาจจะพอเทียบเคียงกับภาษาเหนือได้

เพราะตนเองเป็นคนเหนือแต่ก็ไม่เคยได้ยินสีมุ่ย ซึ่งอาจเป็นได้ว่าเป็นคำเก่ามากจนเลิกใช้ไปแล้วก็ได้ เคยได้ยินแต่หน้ามุ่ย ซึ่งความหมายเดียวกันกับไทยกลาง

แต่เมื่อลองค้นดูอีกทีพบที่มาที่น่าสนใจว่า ที่ได้ชื่อว่าฟ้ามุ่ยเพราะความงามสีฟ้าสว่างของดอกไม้จนแม้แต่ท้องฟ้ายังต้องหมอง(คือมุ่ย) นั่นเอง



 
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง