เห็นฟ้าครามแล้วขอส่ง "กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย" เข้าประกวด

ฟ้ามุ่ยนี้เป็นชื่อนางเอกในนวนิยายของทมยันตีอีกตัวหนึ่ง คือ นางอั้วเวียงชัย ในเวียงกุมกาม
เพราะดอกฟ้ามุ่ยนี้ถือว่าเป็นกล้วยไม้ท้องถิ่นภาคเหนือเสียด้วย สามารถพบฟ้ามุ่ยในธรรมชาติได้
ทมยันตีจึงเอามาตั้งเป็นชื่อเดิมของนางอั้วเวียงชัยมหาเทวีในพญามังราย
แต่สงสัยว่าทำไมดอกกล้วยไม้สวยงามชนิดนี้จึงชื่อ "ฟ้ามุ่ย" ดูชื่อไม่โสภาเอาเสียเลย
เพราะ "มุ่ย" ในภาษากลาง แปลว่า "อาการที่สีหน้าไม่ดี หรือบูดบึ้งเพราะไม่พอใจ."
เมื่อลองค้นดูในภาษาถิ่นอีสานพบว่า คำว่า มุ่ย แปลว่า "สีขาว สีเหลืองปนสีฟ้า เรียก สีมุ่ย" ซึ่งอาจจะพอเทียบเคียงกับภาษาเหนือได้
เพราะตนเองเป็นคนเหนือแต่ก็ไม่เคยได้ยินสีมุ่ย ซึ่งอาจเป็นได้ว่าเป็นคำเก่ามากจนเลิกใช้ไปแล้วก็ได้ เคยได้ยินแต่หน้ามุ่ย ซึ่งความหมายเดียวกันกับไทยกลาง
แต่เมื่อลองค้นดูอีกทีพบที่มาที่น่าสนใจว่า ที่ได้ชื่อว่าฟ้ามุ่ยเพราะความงามสีฟ้าสว่างของดอกไม้จนแม้แต่ท้องฟ้ายังต้องหมอง(คือมุ่ย) นั่นเอง