เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 1259 ขออนุญาตถามเรื่องการเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


 เมื่อ 16 ก.ย. 21, 18:10

เนื่องจากผมได้อ่านบทความเรื่องการเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงของลาวแล้วรู้สึกแปลก ๆ ในบทความลาวอ้างว่าเจ้าอุปราชบุญคงนำทหารลาวล้วนๆ ไม่มีฝรั่งเศส ฮืม มาตีขับไล่สยามออกจากเมืองปากลาย ไชยบุรี หงสา เชียงลม เชียงฮ่อน บ่อซาว เมืองคอบ ด่านซ้าย บ่อแตน แก่นท้าว ทำให้ลาวได้แขวงไชยบุรีที่เป็นดินแดนดั้งเดิมของลาวคืนมา (หงสา เชียงลม เชียงฮ่อน เดิมเป็นเขตแดนพระเจ้าน่านมิใช่หรือ? ฮืม ฮืม)

ขอแปลบทความบางส่วนมาให้อ่านครับ และเรียนถามท่านผู้รู้ หลักฐานเหตุการณ์ตามประวัติศาสตร์ เป็นไปตามที่บทความนี้กล่าวอ้างหรือไม่?

“เจ้าอุปราชบุญคง ผู้ที่เฮ็ดให้มีแขวงไซยะบูลี คงอยู่ในแผ่นดินลาวฮอดปัจจุบัน”

“...เหตุการณ์ตอนสมัยฝรั่งเศสเข้ามายึดลาวจากสยามใหม่ ๆ นั้น ได้มีการจัดตั้งปฏิบัติสัญญา สยามต้องถอนกองทหารของตนออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำของให้แล้วเสร็จภายในปี 1893 และบ่ให้ตั้งกองทหารอยู่ใกล้แม่น้ำของเข้ามาภายใน 25 กิโลเมตร ด้วยเหตุนี้สยามจึงย้ายเมืองหลวงมณฑลลาวพวนจากเมืองหนองคายไปตั้งอยู่บ้านหมากแก้ว (เมืองอุดรในปัจจุบันนี้เอง)

เคียงคู่กันนั้น ฝ่ายฝรั่ง (Auguste Pavie) ก็บอกให้ฝ่ายลาวซึ่งมีเจ้าคำสุก เจ้าแผ่นดินอาณาจักรลาวหลวงพระบาง และเจ้าอุปราชบุญคง ร่วมฟังนำ ว่าให้กองทหารลาวออกจากดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำของ ตามสัญญาฝรั่งเศส-สยาม ปี 1893 เซิ่งสัญญาดังกล่าว ฝ่ายลาวบ่ได้มีส่วนรู้เห็นนำเลย เจ้าคำสุก พร้อมด้วยเจ้าอุปราชบุญคง ได้คัดค้านต้านอยันฝรั่งเศสอย่างรุนแรง และได้เว้าว่าคืนเถิงการเกี้ยวกล่อมของโอกุสต์ ปาวี (Auguste Pavie) ในเมื่อก่อนที่ว่า จะเข้ามาช่วยปกป้องคนลาว ดินแดนลาว บ่ให้สยามกลืนกิน แต่ในภาคปฏิบัติตัวจริง ฝรั่งเศสซ้ำเป็นผู้ตัดแบ่งคนลาว ดินแดนลาวไปให้สยาม คำเว้าของฝรั่งเศสบ่มีสัจจะ เว้าอย่างหนึ่ง เฮ็ดอย่างหนึ่ง ฝ่ายลาวรับบ่ได้ ภายใต้บรรยากาศที่เค่งร้อนคือแนวนั้น Auguste Pavie ก็จนตาแจ จึงเว้าออกไปด้วยอารมณ์ว่า “ถ้าท่านบ่ยินยอม ก็ขอเชิญท่านไปไล่สยามหนีเอาเอง ฝรั่งเศสจะยินดีนำ” หมายความว่าฝรั่งเศสหมดความสามารถ ที่จะไปกอบกู้เอาดินแดนลาวฝั่งขวาของแม่น้ำของมารวมกับฝั่งซ้ายแล้ว หากคนลาวอยากได้ดินแดนฝั่งขวาต้องต่อสู้เอาเอง

จากนั้นเจ้าคำสุก ได้สั่งให้เจ้าอุปราชบุญคงจัดตั้งกองกำลังไปยึดเอาดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำของ ที่เป็นเขตแดนของอาณาจักรลาวหลวงพระบางโดยด่วน ดังนั้น เจ้าอุปราชบุญคงจึงได้จัดตั้งการโฮมชุมนุมประชาชนฝั่งเชียงแมน ในวันที่ 23 สิงหา ค.ศ. 1894 แล้วอ่านประกาศมติตกลง 8 ข้อ เพื่อโฮมเอาดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำของ มาขึ้นกับอาณาจักรหลวงพระบางคือแต่ก่อน จากนั้นเจ้ามหาอุปราชบุญคง ได้จัดกองทัพเพื่อขับไล่สยามออกจากเมืองปากลาย, เมืองไซยะบูลี, เมืองหงสา เซิ่งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำของ โดยให้พระยาสุโพ พระยาเวียงแก เจ้าอุ่นแก้ว พระยาสีนรคุด พระยาอาสนา เป็นแม่ทัพ กองทหารได้ลงเรือล่องไปฮอดเมืองปากลาย ขับไล่สยามหนีไปแล้ว จึงแต่งให้พระยาสุโพเป็นเจ้าเมืองปากลาย ให้พระยาเวียงแกเป็นนายกองอยู่บ้านหาดแดง แล้วยกพลขึ้นไปเมืองไซยะบูลี ตั้งเจ้าอุ่นแก้วเป็นเจ้าเมือง แล้วยกพลไปเมืองหงสา ตั้งพระยาสีนรคุดเป็นเจ้าเมือง แล้วไปยึดเอาเมืองเชียงลม เมืองบ่อซาว และเมืองคอบอีก แล้วตั้งพระยาอาสนาเป็นนายกองอยู่บ่อซาว ให้เก็บค่าตัวเลกและค่าไถ่การชายฉกรรจ์ 4 กีบต่อคน สำเร็จแล้วจึงลงเรืออยู่เมืองคอบ ไปตามลำน้ำของ ไปฮอดหลวงพระบางในเดือนเมษา 1895

เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ฝ่ายสยามบ่มีการตอบโต้หยัง ย้อนดินแดนเหล่านี้เป็นของลาวมาแต่บูราณกาล เหตุการณ์นี้เห็นว่า เขตแดนที่เจ้าอุปราชบุญคงยกกองกำลังทหารลาวไปประจำการอยู่ป้องกันเขตแดนของลาวหลวงพระบางทังฝั่งขวาแม่น้ำของนั้น แม่นสอดคล้องกับข้อตกลง ระหว่างกษัตริย์ของสามอาณาจักร คือ หลวงพระบาง เวียงจัน และอยุทธยา เซิ่งได้ตกลงมาแต่ปี ค.ศ. 1707 ที่กำหนดเขตแดนของอาณาจักรหลวงพระบาง ให้เอาแต่ฝั่งน้ำเหือง ด้านตะวันตกแต่เมืองด่านซ้าย ขึ้นไปทางเหนือจนถึงผาได เซิ่งรวมเอาเมืองด่านซ้าย เมืองบ่อแตน แก่นท้าว ปากลาย ไซยะบูลี เชียงฮ่อน หงสา และเมืองคอบ ในปี ค.ศ. 1894

เมื่อกองทหารลาวเข้าปกป้องดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำของไว้แล้ว ฝรั่งเศสจึงไปสมทบนำ และอ้างสิทธิ์ครอบครองของดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำของ ตามคำยั้งยืนของฝ่ายลาวที่ว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของลาวมาแต่ก่อน อิงตามสภาพการณ์ใหม่นี้ ฝรั่งเศสและสยามจึงเซ็นสัญญากันใหม่ ในวันที่ 13 กุมภา 1904 โดยสยามยอมยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำของ กงกันข้ามกับหลวงพระบางให้ฝรั่งเศสคุ้มครองโดยถือเอาสายภูสันปันน้ำ ระหว่างน้ำของและแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแดน...”

ที่มาของบทความ https://insidelaos.com/2021/08/24/23347/?fbclid=IwAR2UHjfOIU55QNqQI_JK0Pn_cXIZa0CZLU8bj5LFwzJgbMQy1a_-Bthuyhc


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ก.ย. 21, 18:11

แหล่งอ้างอิงของบทความ

Art and Culture of Laos

Vira Salikoun

หนังสือ พระราชประวัติองค์วังหน้า ราชตระกูลเจ้าอุปราชอู่นแก้ว

หนังสือ ความเป็นมาของชนชาติลาว เล่ม 3
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ก.ย. 21, 18:48

ไม่ทราบเรื่องนี้ค่ะ  ใครมีความรู้ทางด้านนี้ช่วยตอบด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 ก.ย. 21, 13:21


เขียนเป็นกลางๆ ประมาณนี้ครับ

หลังเหตุการณ์ รศ.112 ประมาณ 1 ปี ฝรั่งเศสหนุนหลังให้ลาวหลวงพระบาง ส่งคนเข้ามาปกครองพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง เมืองเงิน
ข้าราชการเมืองน่านของไทยไม่ขัดขวางการกระทำดังดังกล่าว
สิบปีให้หลัง สนธิสัญญา ไทย ฝรั่งเศส ยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส แลกกับการถอนทหารฝรั่งเศสจากจันทบุรี

ในมุมมองของลาวเขาก็เขียนบรรยายตามนั้นก็ไม่น่าจะผิดอะไรมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.032 วินาที กับ 20 คำสั่ง