เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18
  พิมพ์  
อ่าน: 18508 สัตว์ประหลาด ๖
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 07 มี.ค. 24, 12:52


เจ้าหน้าที่ศุลกากรจับกุมชาวอินเดีย 6 คนที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังพยายามลักลอบนำ “แพนด้าแดง” และสัตว์ป่าหายากอีกเกือบร้อยตัว เดินทางออกนอกประเทศไทย

ข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊กของกรมศุลกากรระบุว่า เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจยึดสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ กิ้งก่า (Black Throat Monitor,อื่น ๆ) 29 ตัว, งู (Corn Snake, Red Bamboo, อื่นๆ) 21 ตัว, นก (Bird of Paradise, นกแก้วปากใหญ่, อื่น ๆ) 15 ตัว, ตะกวด 7 ตัว, จิ้งเหลน 4 ตัว, กระรอกตาแดง 2 ตัว, ค้างคาว 2 ตัว, ลิงหัวสำลี (Cotton Top) 2 ตัว, เสือปลา 1 ตัว, แพนด้าแดง 1 ตัว, หมี Sulawesi Bear Cuscus 1 ตัว, กบ 1 ตัว และ หนู 1 ตัว รวมทั้งสิ้นจำนวน 87 ตัว โดยของกลางทั้งหมดได้บรรจุซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าเดินทางที่กลุ่มผู้โดยสารซึ่งเป็นชาย 5 คนและหญิงอีก 1 คนจะโหลดใต้ท้องเครื่อง และเตรียมเดินทางไปยังนครมุมไบของอินเดีย

กรมศุลกากรยังได้เผยแพร่ภาพถ่ายสัตว์ที่เจ้าหน้าที่ทำการตรวจยึดไว้ได้ โดยมีแพนด้าแดงซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติถูกใส่เอาไว้ในตะกร้า นกแก้วซึ่งถูกใส่ไว้ในกล่องพลาสติก รวมถึงงูอีกหลายตัวซึ่งอยู่ในถุงผ้า

โฆษกกรมศุลกากรระบุว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานพยายามส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร มาตรา 242 ประกอบมาตรา 166 และมาตรา 252 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ประกอบกับสัตว์ดังกล่าวบางรายการอยู่ภายใต้การควบคุมตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ภายใต้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 23 วรรคแรก และมาตรา 112 และเป็นความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 และมาตรา 92 วรรค 2 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558

ผู้ต้องสงสัยเหล่านี้อาจมีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี

BBC รายงานว่าไทยถือเป็นหนึ่งในจุดเชื่อมต่อสำคัญของเครือข่ายลักลอบค้าสัตว์ป่า โดยสัตว์เหล่านี้มักจะถูกส่งไปขายในจีนและเวียดนาม ขณะที่อินเดียกำลังก้าวขึ้นมาเป็นตลาดใหม่ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: BBC, FB กรมศุลกากร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 07 มี.ค. 24, 12:56

แพนด้าแดง น่าจะเป็นญาติกับแรคคูนมากกว่าหลินฮุ่ย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 07 มี.ค. 24, 16:35

ตามสายวิวัฒนาการ แพนด้าแดงใกล้ชิดแรคคูนมากว่าแพนด้ายักษ์ 

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 08 มี.ค. 24, 14:56

แพนด้าแดง เป็นสัตว์พื้นเมืองของไทยใช่ไหมคะ  มีชื่อไทยหรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 08 มี.ค. 24, 15:35

แพนด้าแดง (Ailurus fulgens) ไม่ใช่สัตว์พื้นเมืองของไทย ชื่อเรียกในภาษาไทย แปลมาจากชื่อภาษาอังกฤษว่า red panda  แต่เป็นสัตว์พื้นเมืองของจีน ในภาษาจีนเรียกได้ ๒ ชื่อ คือ 小熊猫 (เสี่ยวโสวงเหมา) แปลว่า หมีแพนด้าน้อย และ 火狐 (อ่านว่าฮัวฮู) แปลว่า จิ้งจอกไฟ

火狐 เป็นที่มาของชื่อ Firefox เว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมเป็นอันดับ ๓ รองจาก กูเกิล โครม (Google Chrome) และซาฟารี (Safari) นั่นเอง



แพนด้าแดง พบได้ตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ภาคเหนือของประเทศอินเดีย, ทิเบต, เนปาล, ภูฏาน, จีน, ภาคเหนือของพม่า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 09 มี.ค. 24, 09:35

ไปเที่ยวฟลอริดาเมื่อ 4-5 ปีก่อน    บ้านที่ไปพักอยู่ติดกับบึงของหมู่บ้าน หน้าตาเหมือนทะเลสาบในหมู่บ้านดังๆของเรา    เจ้าของบ้านเตือนว่าให้ปิดประตูห้องด้านสนามหญ้าหลังบ้านที่ติดกับทะเลสาบไว้ตลอดเวลา   อย่าเผลอเปิดทิ้งไว้เป็นอันขาด   เพราะบางครั้งจระเข้อาจคลานจากบึงขึ้นมาได้     เขาไม่อยากให้มากินแมวของเขา

ไม่ต้องไปไกลถึงฟลอริดา  ไปที่บึงบอระเพ็ด นครสวรรค์ ก็อาจเห็นจระเข้คลานขึ้นมาจากบึงได้ ยิงฟันยิ้ม

จระเข้บึงบอระเพ็ด เดินข้ามถนนสบายใจ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าบอกปลอดภัย น้องกลัวคน

ข่าวจาก มติชน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 12 มี.ค. 24, 19:18

เปิบมรณะเมนู ‘เนื้อเต่าทะเล’ สังเวย 9 นักชิม ร่อแร่กว่า 80 คน...

ปกติแล้ว เนื้อเต่าทะเลถือว่าเป็นอาหารจานเด็ดของชาวเกาะแซนซิบาร์ แม้ว่าจะถือว่าเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ อีกทั้งในอดีตจะเคยมีผู้เสียชีวิตมาแล้วจากการกินเนื้อเต่าทะเล ด้วยอาการของอาหารเป็นพิษซึ่งเกิดจากสาร Chelonitoxism ในเนื้อเต่าที่มีพิษร้ายแรงถึงขั้นทำให้คนตายได้.

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/3251612/?fbclid=IwAR3ngpewqybyXfqBkvBSr4lSiBDmCumixDrURmglGyWjmBR_eBAiwNbM_tE

แปลกใจว่า ในเมื่อเนื้อมันมีสารพิษขนาดนี้   ทำไมถึงเป็นอาหารจานเด็ดของชาวเกาะได้     ถ้าเนื้อมันอร่อยมากจนหักห้ามใจไม่ได้    พวกเขาไม่มีวิิธีกำจัดสารพิษออกไปก่อนกินหรือคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 13 มี.ค. 24, 09:35

เนื้อเต่าทะเลไม่ใช่มีพิษทั้งหมด การเป็นพิษเนื่องจากการรับประทานเนื้อเต่าทะเล หรือ Chelonitoxism เกิดจากเต่าทะเลไปกินอาหารบางอย่างที่เป็นพิษ  เช่นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน หรือ ฟองน้ำตามแนวปะการัง โดยเต่าไม่แสดงอาการ สารพิษจะสะสมในตัวเต่ามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อคนจับเต่าไปกิน ก็จะไม่สบาย มีอาการเช่น ปวดแสบร้อนปาก เจ็บคอ กลืนลำบาก แน่นหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ ถ่ายเหลว มีไข้ ปวดศีรษะ ที่หนักก็ถึงตายได้ เนื้อเต่าที่มีพิษไม่สามารถทำลายด้วยความร้อน และสามารถส่งผ่านจากแม่สู่ลูกทางน้ำนมได้

เนื่องจากไม่สามารถจำแนกได้ว่าเต่าทะเลตัวไหนปลอดภัยหรือเป็นพิษ ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการงดกินเนื้อเต่าทะเลแม้ว่าจะทำให้สุกแล้วก็ตาม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 14 มี.ค. 24, 09:35

กินเนื้อเต่าทะเลอาจถึงตาย แต่กินเนื้อปลาทะเลบางชนิดทำให้เห็นภาพหลอน (Ichthyoallyeinotoxism) ปลาพวกนี้มีอยู่หลายชนิดแต่ตัวที่เด่น ๆ เห็นจะเป็น ปลาพาฝัน (salema porgy หรือ dreamfish - Sarpa salpa)

จุดเด่นของปลาชนิดนี้คือมีแถบสีทองพาดไปตามความยาวของลำตัว ปลาทะเลชนิดนี้พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาด้านมหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน ถึงจะดูว่าเป็นปลาธรรมดา แต่ทว่า มันมีพิษหลอนประสาทได้เหมือนอย่าง LSD (Lysergic acid diethylamide)

ชาวอาหรับมีคำเรียกปลาชนิดนี้ที่แปลได้ว่า 'ปลา(พา)ฝัน' หรือปลาที่ทำให้เกิดอาการเหมือนตกอยู่ในความฝัน ขณะที่ชาวโรมันก็รู้มานานแล้วว่าหากใช้ในปริมาณน้อย ๆ เจ้าสัตว์ทะเลตัวนี้ทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม ล่องลอย หรือเรียกรวม ๆ ว่ามีสรรพคุณ 'หย่อนใจ' ได้ แต่ถ้ากิน 'หัวปลา' ชนิดนี้เข้าไป จะเกิดอาการประสาทหลอน ซึ่งเป็นอาการของพิษที่เกิดขึ้นหลังกินปลา เช่น หูแว่วและเห็นภาพหลอน เพ้อ ขาดสติ ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ คลื่นไส้ ฝันร้าย เวียนศีรษะ ทรงตัวลำบากและอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลางถูกรบกวน

สาเหตุที่ทำให้ปลาชนิดนี้มีพิษหลอนประสาทนมาจากการที่ปลากินแพลงตอนพืชชนิดหนึ่งที่เติบโตอยู่ในหญ้าทะเล  Neptune grass (Posidonia oceanica) ซึ่งเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งของปลาชนิดนี้ แต่ไม่มีรายงานชัดเจนว่าปลาที่กินแพลงตอนนี้เข้าไปเกิดอาการประสาทหลอนด้วยหรือไม่ อาจเป็นไปได้ว่าโครงสร้างทางเคมีของสารที่อยู่ในสาหร่ายและแพลงตอนพืชที่ปลากินเข้าไปมีความคล้ายคลึงกับโครงสร้างของ LSD ก็เป็นได้  

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 23 มี.ค. 24, 12:18

พบกิ้งก่ายักษ์ลำตัวสีดำ แอบมาหลบร้อนใน "สวนน้ำยิ้มแย้ม" บ้านด่านคำ ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร ภายหลังพนักงานช่วยกันจับส่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ พบว่าเป็น "ตะกอง" หรือ "ลั้ง" กิ้งก่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ห้ามล่า ห้ามเลี้ยง...

https://www.dailynews.co.th/news/3282525/?fbclid=IwAR1IxKTlb_mjiH0TnSc7qqq5kYDD68FZrSz2sX-Sp35lkrGko4xKj-IxNMs


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 23 มี.ค. 24, 14:35

ตะกอง (Physignathus cocincinus) เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองมีชื่ออยู่ใน บัญชีแนบท้าย กฎกระทรวง กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๕๔๖ ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕  ประเภทสัตว์เลื้อยคลาน ลำดับที่ ๔๑

ตะกอง สามารถพบได้ตามลำน้ำที่มีต้นกำเนิดจากเขาใหญ่ ไหลผ่านปากช่อง ที่มีชื่อว่า "ลำตะคอง" น้อยคนจะทราบว่ามีที่มาจากชื่อเจ้ากิ้งก่ายักษ์ "ตะกอง" ตัวนี้นี่เอง

รูปร่างหน้าตาของ ตะกอง คล้าย อีกัวนา แต่เล็กและดุกว่า แยกความแตกต่างได้ตามคำอธิบายในคลิป



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 23 มี.ค. 24, 14:35

ปรกติจะเห็นตะกองมีสีเขียว แต่อาจพบเป็นสีน้ำตาลอย่างที่พบตามข่าวได้ตามสภาพแวดล้อม

เคยเห็นที่สวนสัตว์นครราชสีมา ตัวสีเขียวน่ารักเชียว ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 23 มี.ค. 24, 17:35

ที่ริมฝั่งลำตะคอง ปากช่อง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 24 มี.ค. 24, 10:00

https://www.dailynews.co.th/news/3281891/?fbclid=IwAR1l9ySeQvL_-fs2XDUvEqvzAoVC35Gw3sBV6-sQ8yhU3q7vt3T46bEBUys


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 24 มี.ค. 24, 11:35

"อันนี้คือตัวอะไรครับ เหมือนงูทำไมมีขา" เป็นคำถามของคุณ natakon chinnawong ในเฟซบุ๊ก กลุ่ม นี่ตัวอะไร มีผู้ให้คำตอบที่ตรงกันมาหลายท่านคือ "จิ้งเหลนเรียวขาเล็ก"

จิ้งเหลนเรียวขาเล็ก มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ จิ้งเหลนน้ำ (Lygosoma quadrupes) มีลักษณะพิเศษอยู่ตรงขาที่เล็กมาก ตามชื่อของมัน ตัวมีสีเทาดำ หรือ น้ำตาลอ่อน อาจมีลายขีดสีคล้ำเป็นเส้น ๆ เนื่องจากขาเล็กมาก จึงใช้วิ่งไม่ดีเท่าไหร่นัก จิ้งเหลนชนิดนี้เลยต้องเลื้อยไปตามดิน หรือ ไถตัวไปเรื่อย ๆ มักพบหากินตอนเช้าหรือสาย กินหนอนผีเสื้อที่อยู่ตามต้นหญ้าเป็นอาหาร ปลวก และ แมลงขนาดเล็กอื่นๆ หาอาหารตามใบหญ้า โดยการใช้ขาเล็ก ๆ เกาะต้นหญ้า แล้ว ไสตัวไปเรื่อย ๆ กลางวันหลบซ่อนตัวตามใต้ขอนไม้ ใต้กองใบไม้ผุ วางไข่ครั้งละ ๒-๓ ฟอง พบแพร่กระจายทุกภาค



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง