เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 18234 สัตว์ประหลาด ๖
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 13 มิ.ย. 22, 18:35

น้องอ๋อตัวที่คนไทยรูจักกันดี เห็นจะเป็นตัวนี้ บรรยายภาพว่า

"นางพญานาค จับได้ที่แม่น้ำโขง โดย ทหารอเมริกาที่ตั้งฐานทัพอยู่ในประเทศลาว เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๑๖ ความยาวประมาณ ๗.๘๐ เมตร"

คนไทยหลายท่านยังเชื่อเช่นนั้นอยู่ ยิงฟันยิ้ม



ปัจจุบันหัวของนางพญานาคยังเก็บรักษาไว้ที่ สถาบันสมุทรศาสตร์ทางทะเลสคริปป์ (Scripps Institution of Oceanography) ในเมือง La Jolla รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพและคำบรรยายที่ติดอยู่หน้าห้องเก็บตัวอย่าง

"SIO 96-82 ถูกพบที่ชายหาดของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ของสหรัฐอเมริกา ใกล้กับชายหาดโคโลนาโด รัฐแคลิฟอร์เนีย ในวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ (ค.ศ. ๑๙๙๖) มีความยาวประมาณ ๗.๓ เมตร"



ส่วนหัวของนางพญานาคที่เก็บรักษาไว้



ภาพและเรื่องจาก The Cloud
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 14 มิ.ย. 22, 08:48

น้องอ๋อของคุณเพ็ญชมพู  ถูกธรรมชาติออกแบบมาสวยจริงๆ ทั้งรูปร่างสีสัน  ชวนให้เชื่อว่าเป็นปลาเทพเจ้ามากกว่าปลาที่เกิดมาให้มนุษย์ได้กินเป็นอาหาร

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 17 มิ.ย. 22, 08:28

พาญาติ(ในจินตนาการ)ของน้องอ๋อมาให้ดูบ้าง
หมายเหตุ   คลิปนี้เป็น CG

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 19 มิ.ย. 22, 10:35

ขอแนะนำให้รู้จัก "น้องมายเลิฟ" งูเหลือมสีรุ้งเพศเมีย อยู่ในสวนสัตว์สัตว์เลื้อยคลาน ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

"เจย์ บริวเวอร์" (Jay Brewer) เจ้าของสวนสัตว์ให้สัมภาษณ์ว่า มายเลิฟเป็นงูที่น่ารักมาก มีนิสัยเชื่องที่สุดเท่าที่เขาเคยเห็นมาเลยก็ว่าได้ ทุกครั้งที่เขาโพสต์อะไรเกี่ยวกับมันลงบนโซเชียล มักจะได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม เรียกได้ว่าเป็นงูที่มีชื่อเสียงตัวหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้

จาก ข่าวสด

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 19 มิ.ย. 22, 10:35

น้อง "มายเลิฟ" สวยสู้ "น้องอ๋อ" ได้ไหมหนอ ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 20 มิ.ย. 22, 08:59

ส่งน้องรุ้งเข้าประกวดอีกตัว

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 21 มิ.ย. 22, 16:02

ใหญ่ที่สุดในโลก! กัมพูชาพบกระเบนยักษ์กลางน้ำโขงหนัก 300 กก. แซงแชมป์เก่าปลาบึกไทย

เอเอฟพี - นักวิทยาศาสตร์เผยว่าชาวประมงในแม่น้ำโขงในกัมพูชาจับปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ได้ เป็นปลากระเบนราหูที่มีน้ำหนักมากถึง 300 กิโลกรัม

ปลากระเบนราหูน้ำจืดยักษ์ ที่วัดความยาวจากจมูกถึงหางได้ 4 เมตร ถูกจับได้เมื่อสัปดาห์ก่อน และได้ปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติหลังติดแท็กไว้ที่ตัวปลาเพื่อติดตามพฤติกรรม

ปลากระเบนราหูน้ำจืดตัวนี้ทำลายสถิติปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่บันทึกไว้ก่อนหน้าที่เป็นของปลาบึกที่จับได้ในไทยในปี 2548 ที่มีน้ำหนัก 293 กิโลกรัม โครงการวิจัย Wonders of the Mekong ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ ระบุ

อ่านต่อได้ที่

https://mgronline.com/indochina/detail/9650000058973


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 22 มิ.ย. 22, 15:35

ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 12 ก.ค. 22, 11:50

ไม่รู้ว่าแมลงตัวนี้เคยมาหรือยัง
มองดูเหมือนแมลงประดิษฐ์จากโลหะเคลือบเงา   แต่ความจริงเป็นแมลงจริงๆชื่อ chrysina limbata
รายละเอียดมากกว่านี้ต้องยกให้คุณเพ็ญชมพู


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 12 ก.ค. 22, 17:35

Chrysina limbata เป็นแมลงจำพวกที่เรียกว่า jewel scarab พบตั้งแต่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ไปจนถึงทางใต้ของเวเนซุเอลาและเอกวาดอร์

ในปี ๒๐๑๑ มี การศึกษาโดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยคอสตาริกา เพื่อหาคำตอบว่าทำไม jewel scarab ๒ ชนิด คือ Chrysina aurigans (ด้วงสีทอง) และ Chrysina limbata (ด้วงสีเงิน) จึงมีลักษณะสะท้อนแสงแบบโลหะ

คำตอบที่ได้คือ ชั้นของไคติน (chitin) ที่เป็นส่วนประกอบเปลือกนอกของแมลงพวกนี้ มีดัชนีการหักเหของแสงต่างกัน ชั้นเหล่านั้นแยกแสงออกเป็นความยาวคลื่นต่าง ๆ และรวมตัวกันใหม่เพื่อสร้างรูปลักษณ์ที่เป็นโลหะ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ชั้นของไคตินแยกแสงเหมือนปริซึม จากนั้นจึงค่อยรวมและสะท้อนแสงเหล่านั้นเพื่อเพิ่มความสว่างและสร้างความแวววาว

ซ้าย : Chrysina aurigans  ขวา : Chrysina limbata


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 13 ก.ค. 22, 11:35

ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 25 ก.ค. 22, 10:35

มิตรภาพที่ไม่ธรรมดา ยิงฟันยิ้ม

คุณปู่ฮิโรยูกิ เอราคาวะ (荒川寛幸) มีหน้าที่ดูแลศาลเจ้าชินโตซึ่งอยู่ใต้น้ำบริเวณอ่าวตาเตยามะ (館山湾) จังหวัดชิบะ (千葉県) ที่ศาลเจ้าแห่งนี้คุณปู่ได้พบกับปลาโคบุได (コブダイ) หรือ ปลาหัวแกะ (Asian sheepshead wrasse - Semicossyphus reticulatus) ตัวหนึ่ง

มิตรภาพระหว่างมนุษย์และมัจฉาเริ่มขึ้น เมื่อคุณปู่ช่วยเหลือปลาตัวนั้นซึ่งดูเหมือนไม่ค่อยมีแรง ไม่สามารถหาอาหารได้เอง โดยนำปูอาหารโปรดของปลาหัวแกะมาให้มันกินทุกวัน  จนวันที่สิบเรี่ยวแรงก็กลับมา จากนั้นทั้งสองก็ไว้เนื้อเชื่อใจกัน เกิดเป็นความผูกพัน เมื่อคุณปู่ลงดำน้ำคราใด เจ้าปลาตัวเดิมก็จะเข้ามาต้อนรับทุกครั้ง  ด้วยความเอ็นดูคุณปู่ตั้งชื่อมันว่า "โยริโกะ" (頼子) และขณะนี้คุณปู่อายุ ๘๔ ปี และเป็นเวลากว่า ๓๐ ปีแล้ว ที่ทั้งคู่ได้พบและเป็นเพื่อนกันใต้ทะเล

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 25 ก.ค. 22, 11:30

อยากให้คุณหมอเพ็ญแนะนำปลาหัวแกะหน่อยค่ะ   หน้าตาแบบนี้เคยมาเยือนกระทู้นี้หรือยัง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 25 ก.ค. 22, 11:35

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ของ "น้องโยริโกะ" ที่น่าสนใจคือ ปลาหัวแกะเอเชียเป็นปลากะเทย (Hermaphrodite) มีทั้งอวัยวะเพศผู้และเพศเมียซึ่งทำให้สามารถเปลี่ยนเพศได้

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 25 ก.ค. 22, 13:35

ปลาหัวแกะเอเซียอยู่ในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labidae) ในคลิปนี้เป็นญาติกับปลาในลำดับที่ ๖ และมีการเปลี่ยนเพศในลักษณะเดียวกัน

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง