เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 1117 พระยาศรีวิสารวาจา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 24 ส.ค. 21, 10:11

     พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) เป็นบุตรคนที่ 7 ของนายอุ่นตุ้ย และ นางทองคำ ฮุนตระกูล เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 เจริญวัยขึ้นในบ้านของคุณตาคุณยาย คือ นายปิน และนางหุ่น จันตระกูล ผู้เป็นเจ้าของตลาดน้อย ต่อมาได้กลับไปอยู่กับบิดามารดา ณ ตึกซุยโห เชิงสะพาน พิทยเสถียร เมื่ออายุได้ 7 ปี บิดาก็ถึงแก่กรรมลง มารดาและพี่ชายใหญ่ 2 คนจึงได้รับหน้าที่ปกครองและดูแลเป็นอย่างดี

      ข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2447-2454 จนกระทั่งเรียนจบชั้น 6 เมื่ออายุได้ 15 ปี จึง
    ท่านได้ไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษโดยทุนส่วนตัวที่โรงเรียนอินเตอร์เนชัลแนล คอลเลช (The International College) เป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนดัลลิช (Dulwich College) ในปีสุดท้ายของการศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้ โรงเรียนได้จารึกชื่อ T.L. Hoon ไว้ในหอประชุม ทั้งนี้ เพื่อเป็นเกียรติในฐานะที่เป็นนักเรียนสอบได้ที่ 1 ตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้รับทุนของวิทยาลัยลินคอล์น (Lincoln College, Oxford University) เป็นเวลา 4 ปี และสอบได้ปริญญา B.A. ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด โดยได้เกียรตินิยมอันดับ 1 (School of Jurisprudence) เมื่อปี พ.ศ. 2462
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2463 ได้รับเกียรตินิยมอันดับ 2 ในการสอบเพื่อรับปริญญา B.C.L. ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และในปลายปีนั้นเอง ท่านได้สอบผ่านภาคสุดท้ายของการสอบเนติบัณฑิต โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับ 2 (English Barrister at Law, Middle Temple) ทั้งนี้ โดยมีเวลาเตรียมสอบเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2463-2464 ท่านได้ฝึกงานด้านกฎหมายกับ เซอร์ ฮิว เฟรเซอร์ (Sir Hugh Fraser) ในกรุงลอนดอน และปี พ.ศ 2466 ได้กลับไปรับปริญญา B.C.L. และรับปริญญา M.A. จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เนื่องจากตามกฎของมหาวิทยาลัย ผู้ที่สอบได้ปริญญานี้จะได้รับปริญญาก็ต่อเมื่อได้มีชื่ออยู่ในมหาวิทยาลัยแล้วเป็นเวลา 7 ปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 ส.ค. 21, 10:11

*


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 ส.ค. 21, 10:14

ชีวิตสมรส

พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา ได้สมรสกับคุณหญิงลิน ศรีวิสารวาจา (นามเดิม นางสาวมากาเรต ลิน ซาเวียร์ ) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2465 ณ ตำหนักเชิงสะพานเทเวศร์ จังหวัดพระนคร โดยคุณหญิงลิน ศรีวิสารวาจา เป็นธิดาของพระยาพิพัฒนโกษา และเป็นแพทย์หญิงคนแรกที่ได้ปริญญาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลอนดอนที่ได้มาประกอบกิจการแพทย์ในประเทศไทย ภายหลังคุณหญิงลิน ศรีวิสารวาจา ได้ป่วยหนักด้วยโรคสมองอักเสบ และมีไข้หวัดใหญ่เข้าแทรก และถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2475 มีบุตรธิดา 3 คน คือ
1) นายกิตติรัต ศรีวิสารวาจา
2) ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล
3) คุณหญิงสาวิตรี ศรีวิสารวาจา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 ส.ค. 21, 10:14

การรับราชการ
พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา เริ่มเข้ารับราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2464 ดำรงตำแหน่งเลขานุการตรี สถานอัครราชทูตไทย กรุงปารีส และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศรีวิสารวาจาในปี พ.ศ. 2467 เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศในปี พ.ศ. 2471 ได้รับพระราชทานเลื่อนยศและบรรดาศักดิ์จากหลวงศรีวิสารวาจาเป็นมหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีวิสารวาจา

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในคณะรัฐบาลชุดแรกของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2476 และได้มาประกอบอาชีพทนายควา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 ส.ค. 21, 10:16

บทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2474

    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในรัชกาลพระองค์ ทรงพระราชอุตสาหะให้มีการพัฒนาการเมืองอย่างมีขั้นตอน และสร้างสถาบันการเมืองขึ้น และให้เตรียมการร่างรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดในระบอบการปกครองประชาธิปไตยไปพร้อมกัน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีวิสารวาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างประเทศ ผู้สำเร็จเนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษ และ นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ (Raymond B.Stevens) ที่ปรึกษากระทรวงต่างประเทศ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และมีพระบรมราชโองการให้เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยได้ดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2474 โดยเป็นร่างรัฐธรรมนูญภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า “An Outline of Changes in the Form of Government” ประกอบด้วย รูปแบบของการบริหารราชการแผ่นดิน อภิรัฐมนตรี อัครเสนาบดีและคณะเสนาบดี สภานิติบัญญัติ อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติ ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ
     พร้อมกันนี้พระยาศรีวิสารวาจา และนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ ได้ทำบันทึกความเห็นไว้ โดยบันทึกความเห็นของพระยาศรีวิสารวาจา แสดงเหตุผลว่ายังไม่ถึงเวลาสมควรที่จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีเวลาจำกัด และประชาชนต้องมีการศึกษาและมีประสบการณ์ในการปกครองตนเองอย่างเพียงพอก่อน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อการเงินการคลังของรัฐบาล รวมทั้งมีข่าวลือเกี่ยวกับการโค่นล้มรัฐบาล สมาชิกของของรัฐบาลควรมีความสามัคคีและไว้วางใจกัน จึงเห็นว่าหากภาวะประเทศเป็นเช่นนี้ จึงยังไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อาจเป็นสาเหตุให้รัฐบาลยิ่งอ่อนแอลงได้ แต่หากเพื่อเป็นการรองรับ สมาชิกของสภาควรมีการเตรียมพร้อมในการทำงานเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ และศึกษาประสบการณ์จากประเทศเพื่อนบ้านที่ยังไม่มีการจัดตั้งสภา นิติบัญญัติจนกว่าประชาชนจะมีความรู้และประสบการณ์ในด้านการปกครอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 ส.ค. 21, 10:33

     พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ส่งสำเนาร่างรัฐธรรมนูญ ตลอดจนความเห็นของพระยาศรีวิสารวาจา และนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ ให้แก่อภิรัฐมนตรี ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2474 แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการประชุมพิจารณากันอย่างไรหรือไม่ เข้าใจว่าหากมีการประชุมก็คงได้รับการคัดค้าน ฉะนั้นจึงไม่มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญในพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปีในเดือน เมษายน พ.ศ. 2475
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 ส.ค. 21, 10:34

ด้านกฎหมาย

เป็นผู้บรรยายวิชากฎหมายให้กับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ บรรยายวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลในโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องสัญญาและตั๋วเงินในคณะพาณิชย์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และรับว่าความ โดยจัดตั้งสำนักงานทนายความเทพศรีหริศ ร่วมกับพระยาเทพวิทุร และพระยาหริศจันทร์สุวิท

ด้านธนาคาร

ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้จัดการธนาคารเกษตร จำกัด และประธานกรรมการบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ด้านการพาณิชย์

เป็นประธานกรรมการบริษัทกรุงสยามประกันชีวิต จำกัด ประธานกรรมการบริษัท Anglo-French Drugs (Thailand) Co.,Ltd. กรรมการบริษัท The International Engineering Co.,Ltd.

ด้านสภากาชาดและสถาบันการกุศล

เป็นผู้แทนสภากาชาด ในการประชุมกาชาด ครั้งที่ 11 และครั้งที่ 12 ณ กรุงเจนีวา เป็นกรรมการสภากาชาดไทย เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นสมาชิกคณะกรรมการมูลนิธิ โรงเรียนราชินี และเลขาธิการมูลนิธิอานันทมหิดล

ด้านงานทางโรตารี่

เป็นประธานสโมสรโรตารี่กรุงเทพฯ ประธานโรตารี่สากลเขต 46 และ เขต 330 สมาชิกคณะกรรมการวางแผนแห่งโรตารี่สากล เป็นที่ปรึกษาสโมสรโรตารี่แห่งเวียดนาม และพม่า ผู้แทนประธาน โรตารี่สากล ในการประชุมโรตารี่สากล 7 เขตที่ออสเตรเลีย เป็นผู้อำนวยการโรตารี่สากล สมาชิกของคณะกรรมการเลือกตั้งประธานโรตารี่สากล ประจำปี 2504 - 2505 และเป็นรองประธานโรตารี่สากลคนที่ 2 และสมาชิกคณะกรรมการเลือกตั้งประธานโรตารี่สากล ประจำปี 2505 – 2506
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 ส.ค. 21, 10:35

ด้านศาสนาและการอนุเคราะห์

พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา เป็นผู้ปฏิบัติตนเคร่งครัดในพระพุทธศาสนา และส่งเสริมพระพุทธศาสนาด้วยการทำบุญกุศลและอื่นๆ โดยได้ร่วมจัดการสร้างวัดศรีวิสารวาจา ที่ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม รวมทั้งได้สนับสนุนทุนการศึกษา โดยบริจาคเงินค่าเล่าเรียนให้แก่ลูกหลานที่ยากจนให้ได้เข้าเรียนในโรงเรียนชั้นเตรียมอุดม เพื่อให้มีโอกาสสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย

พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา เป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ ตลอดระยะเวลาที่ท่านเข้ารับราชการ ได้อุทิศเวลาและปฏิบัติราชการในตำแหน่งสำคัญๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นผลดีแก่ทางราชการ ภายหลังสุขภาพของท่านเสื่อมโทรมลงมาก และได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2511 สิริรวมอายุ 71 ปี 1 เดือน

ผู้เรียบเรียง : สุภัทร คำมุงคุณ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง
http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2#.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.B4
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 ส.ค. 21, 10:37

เกร็ดท้ายเรื่อง
ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล เคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าคุณหญิงลินพายเรือไปเยี่ยมคนไข้ ตามหน้าที่แพทย์ที่ปฏิบัติเป็นประจำ แล้วติดเชื้อจากคนไข้  กลับมาก็ป่วยและถึงแก่อนิจกรรม
ด้วยความที่เจ้าคุณสงสารบุตรธิดาทั้ง 3  คน ที่ยังเยาว์  ท่านจึงครองตัวเป็นพ่อม่าย เลี้ยงดูบุตรเพียงลำพัง ไม่ได้สมรสใหม่ตลอดชีวิตของท่าน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง