เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 2665 ขออนุญาตเรียนถามถึงการใช้คำ นาง ยาย พ่อ แม่ ของคนไทยภาคกลางในสมัยก่อนหน่อยค่ะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


 เมื่อ 13 ส.ค. 21, 14:31

ขออนุญาตเรียนถามถึงการใช้คำ นาง ยาย พ่อ แม่ ของคนไทยภาคกลางในสมัยอยุธยาหน่อยค่ะ คือดิฉันมีข้อสงสัยอยู่ในสองประเด็นค่ะเลยอยากจะรบกวนท่านๆผู้รู้ช่วยแนะนำหน่อย

1 คนไทยภาคกลางใช้คำว่า นาง ยาย พ่อ แม่ เป็นคำสรรพนามก่อนพูดชื่อบุคคลมาตั้งแต่สมัยไหนคะ ในสมัยสุโขทัยมีการใช้หรือยัง
2 คนไทยภาคกลางเริ่มไม่นิยมใช้คำว่า นาง ยาย พ่อ แม่ เป็นคำสรรพนามก่อนพูดชื่อบุคคลตั้งแต่สมัยไหนคะ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางยังมีการใช้อยู่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ส.ค. 21, 16:10

1   ใช้กันตั้งแต่สุโขทัยค่ะ
     เห็นได้จากศิลาจารึกหลักที่ 1       
    พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์    แม่กูชื่อนางเสือง

2   ถามอีกทีนะคะ   อ่านแล้วไม่เข้าใจ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ส.ค. 21, 17:30

คนไทยภาคกลางใช้คำว่า นาง ยาย พ่อ แม่ เป็นคำสรรพนามก่อนพูดชื่อบุคคลมาตั้งแต่สมัยไหนคะ

อย่างน้อยในสมัยอยุธยาก็มีการใช้คำเหล่านี้เป็นคำนำหน้าชื่อแล้ว : แม่นางสร้อยทอง, ย่าออกศรี, ย่าพระ, ย่าแม้น, แม่เอาว์, แม่สาขา, พ่อสามน้อย, แม่วัง, ปู่ญิ, พ่อไสย, แม่แพง

จาก จารึกเจ้าเถรศรีเทพคิริมานนท์ ๒ ด้านที่ ๑ พบบริเวณพระเจดีย์วัดส่องคบ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท พ.ศ. ๑๙๕๖


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 ส.ค. 21, 20:37

ขออภัยสำหรับข้อที่ 2 ที่ถามไม่ชัดเจนค่ะ

ในข้อ 2 คืออย่างนี้ค่ะ ถ้ามีคนชื่อแดงคนในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่ก็จะใช้คำสรรพนามก่อนพูดชื่อเรียกคนนั้นว่า แม่แดง พ่อแดง ยายแดง นางแดง จึงอยากทราบว่าครั้งสุดท้ายที่คนไทยภาคกลางส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่า นาง ยาย พ่อ แม่ เป็นคำสรรพนามก่อนพูดชื่อบุคคลอยู่ในยุคไหนคะ ใช่รัตนโกสินทร์ตอนกลางไหม (ทั้งนี้ไม่รวมใช้เฉพาะกลุ่ม ใช้ในทางข้อมูลทางวิชาการ ทางราชการนะคะ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 ส.ค. 21, 21:51

อ้างถึง
(ทั้งนี้ไม่รวมใช้เฉพาะกลุ่ม ใช้ในทางข้อมูลทางวิชาการ ทางราชการนะคะ)
ช่วยแปลไทยเป็นไทยอีกทีนะคะ
1   ไม่เอาคำเรียกที่ใช้เฉพาะกลุ่ม  แต่เอาคำที่ใช้ในทางข้อมูลทางวิชาการ และทางราชการ
หรือ
2  ไม่เอาคำเรียกเฉพาะกลุ่ม  ไม่เอาคำใช้ในทางข้อมูลทางวิชาการ  ไม่เอาคำที่ใช้ทางราชการ

ข้อไหนที่คุณต้องการสื่อคะ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ส.ค. 21, 09:28

2  ไม่เอาคำเรียกเฉพาะกลุ่ม  ไม่เอาคำใช้ในทางข้อมูลทางวิชาการ  ไม่เอาคำที่ใช้ทางราชการ ค่ะคุณเทาชมพู
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ส.ค. 21, 10:00

ขอชี้แจงตามนี้
1  คำนำหน้าชื่อบุคคลที่คุณถามมา อยู่ในประเภทคำเรียกขาน   
2  ส่วนใหญ่เป็นภาษาพูด  จะนำลงเป็นลายลักษณ์อักษรก็มักเป็นบันทึกคำบอกเล่า  ไม่ใช่ประกาศราชการ
3  ในเมื่อเป็นภาษาพูด  ก็ไม่มีบันทึกหรือหลักฐานประกาศเป็นทางการว่าให้ใช้ หรือเลิกใช้เด็ดขาดเมื่อใด
4  การใช้คำเหล่านี้  ยังมีให้ได้ยินอยู่จนรัชกาลที่ 9  ค่ะ

ถ้าคุณดาวกระจ่างบอกได้ว่าอยากรู้ไปทำไม จะเอาไปใช้งานอะไร  ดิฉันจะตอบได้ตรงเป้ามากกว่าคุณถามลอยๆแบบครอบจักรวาล แบบนี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 ส.ค. 21, 10:07

คนไทยภาคกลางเริ่มไม่นิยมใช้คำว่า นาง ยาย พ่อ แม่ เป็นคำสรรพนามก่อนพูดชื่อบุคคลตั้งแต่สมัยไหนคะ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางยังมีการใช้อยู่ไหมคะ

คำเหล่านี้ไม่เคยเสื่อมความนิยม มีใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง และยังคงใช้จนถึงทุกวันนี้

นอกจากคำเหล่านี้ ยังมีคำนำหน้าชื่ออีกหลายคำ ดังปรากฏใน “บทละครร้องเรื่องอีนากพระโขนง (ว่าเปนเรื่องจริง) หมากพญา รจนาสำหรับลครในปรีดาลัย ร.ศ. ๑๓๑”


หมากพญา เป็นนามแฝงของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงกำหนดให้ตัวละครมี ๑๐ ตัว มีชื่อและอายุดังต่อไปนี้

๑.  นายมาก อายุ ๓๕ สามีอำแดงนาก เปนคนซื่อ ๆ
๒.  ทิดทุ้ย อายุ ๓๘ เกลอนายมาก ขี้เมา
๓.  ตาหมี อายุ ๖๘ เก่า ๆ เขลา ๆ
๔.  ตาเทิ่ง อายุ ๕๐ สัปเหร่อ
๕.  ขรัวเต๊ะ อายุ ๖๒ อาจาริย์วิชาอาคม
๖.  ตาปะขาวเม่น อายุ ๖๕ ผู้มีวิชาอาคม
๗.  สามเณรเผือก อายุ ๑๘ ศิษย์ขรัวเต๊ะเจ้าเวทมนต์
๘.  อำแดงนาก อายุ ๓๒ ภรรยานายมาก เปนคนดี
๙.  ยายม่วง อายุ ๖๐ ภรรยาตาหมี เท่อ ๆ
๑๐. ยายโม่ง อายุ ๕๑ หมอผดุงครรภ์

โปรดสังเกตลำดับที่ ๘ ชื่อว่า อำแดงนาก ไม่ใช่ นางนาก หรือ แม่นาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 ส.ค. 21, 10:09

คำว่า "นาง" ที่ใช้เรียกนำหน้าชื่อในสมัยสุโขทัยและอยุธยา ดูจะไม่ใช้กับผู้หญิงทั่ว ๆ ไป น่าจะใช้กับผู้หญิงที่มีศักดิ์สูง อย่าง นางเสือง พระราชมารดาของพ่อขุนรามคำแหง หรือ แม่นางสร้อยทอง คงเป็นภรรยาของเจ้าเมือง ในจารึกฯ ชื่ออยูหลัง ปู่เจ้าสิงหนท เจ้าเมือง

ต่อจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ นาง ยังทรงไว้ซึ่งยศศักดิ์ คำว่า พระนางเจ้า คือตำแหน่งพระมเหสี เช่น สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในรัชกาลที่ ๔, สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕

สตรีสามัญใช้คำนำหน้าว่า อำแดง เช่น อำแดงนาก ในบทละครร้องข้างบน จนถึงรัชกาลที่ ๖ มี พระราชกฤษฏีกาให้ใช้คำนำหน้าสัตรี พ.ศ. ๒๔๖๐ กำหนดให้ใช้ นางสาว นำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่แต่งงาน และ นาง สำหรับสตรีที่แต่งงานแล้ว และเป็นคำนำนามประกอบราชทินนามของสามี อย่างไรก็ตามคำว่า นาง และ นางสาว แทบไม่เคยถูกใช้เรียกในชีวิตประจำวันของชาวบ้านเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 ส.ค. 21, 10:47

^
คุณดาวกระจ่างบอกว่า 
2  ไม่เอาคำเรียกเฉพาะกลุ่ม  ไม่เอาคำใช้ในทางข้อมูลทางวิชาการ  ไม่เอาคำที่ใช้ทางราชการ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 ส.ค. 21, 14:33

ขอบพระคุณคุณเทาชมพูค่ะ ดิฉันแค่สงสัยเฉยๆค่ะไม่ได้จะเอาไปทำอะไร คือดิฉันไม่ค่อยเคยได้ยินคำเหล่านี้ตามสื่อปัจจุบันแล้วน่ะค่ะ เช่น ดาราที่ชื่อ ญาญ่า อุรัสยา กับณเดชน์ คูกิมิยะ ก็ไม่ค่อยเห็นสื่อภาคกลางใช้คำสรรพนามก่อนพูดชื่อบุคคลเรียก แม่ญาญ่า ยายญาญ่า นางญาญ่า พ่อณเดชน์ เห็นมีแต่จะเรีกชื่อกันเฉยๆ ดิฉันเลยเข้าใจคนไทยภาคกลางส่วนใหญ่คงไม่นิยมใช้คำสรรพนามก่อนพูดชื่อบุคคลแบบนั้นแล้ว

และขอบพระคุณคุณเพ็ญชมพูสำหรับความรู้เรื่องการใช้คำว่านางด้วยค่ะ ดิฉันพึ่งทราบว่าสมัยก่อนนิยมใช้แต่ในชนชั้นสูง ดิฉันนึกว่าคนทั่วไปก็ใช้เสียอีก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 ส.ค. 21, 15:06

คำเรียก พ่อ แม่ ที่สื่อใช้เรียกคนในวงการบันเทิง เห็นมีพวกพ่อเพลงแม่เพลง   เช่นแม่ประยูร  หรือเรียกศิลปินอาวุโสด้วยความเคารพ เช่น พ่ออี๊ด สุประวัติ ปัทมสูตร   แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์
ส่วนนักแสดงที่แสดงบทตั้งแต่ยังหนุ่มสาว  ไม่มีใครเรียก พ่อ แม่ ตา ยาย  แม้แต่สมัยมิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์  ย้อนหลังไป 60 ปีก่อน ก็ไม่เห็นสื่อหรือคนดูเรียก พ่อมิตร ตามิตร แม่เพชรา  ยายเพชรา 

ในครอบครัวชาวเมืองหลวงเมื่อสัก 60 ปีก่อนและถอยหลังไปมากกว่านั้น   ผู้ใหญ่มักเรียกเด็กโดยมีคำว่า พ่อ แม่ นำหน้า เป็นการเรียกอย่างสุภาพของชาวกรุงเทพ ที่ไม่นิยมเรียกลูกหลานว่า ไอ้ กับ อี   
อ.สมศรี สุกุมลนันทน์ ธิดาของพระยาอนุมานราชธนเล่าในประวัติว่า เมื่ออพยพหนีระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  ไปอยู่ในสวน  ญาติๆที่นั่นเรียกหลานๆโดยมีคำนำหน้าว่า พ่อ และแม่  เช่นแม่สมศรี  พ่อเล็ก  แม่ใหญ่
คำเรียกแบบนี้ดิฉันก็เคยได้ยินเหมือนกัน 
ตอนเด็กๆ เพื่อนๆก็เรียกเพื่อนหญิงด้วยกันว่า ยาย แต่ออกเสียงสั้นเป็น "ยัย"  ยัยนิด ยัยตุ่ม ยัยแต๋ว   เรียกเด็กผู้ชายที่เป็นญาติ อายุไล่เลี่ยหรือน้อยกว่า ว่า ตา  เช่น ตาป้อม ตาอ๊อด

ปัจจุบันคำเรียกขานเพื่อนฝูง ได้ยินแต่คำว่า ไอ้ กับ อี 

บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 ส.ค. 21, 17:01

ถ้าเป็นแบบนั้นพอจะเป็นไปได้ไหมคะคุณเทาชมพูว่าคนไทยภาคกลางน่าจะเริ่มสิ้นสุดการเรียกเด็กโดยมีคำว่า พ่อ แม่ นำหน้าอยู่ในช่วง 60-50 ปีก่อน ส่วนคำว่ายายก็ถูกเพี้ยนเป็นคำว่ายัยแทน และคำว่านางที่ใช้กับเด็กมีความเป็นไปได้ไหมคะว่าเพี้ยนเป็นนังด้วยเช่นนกัน หรือคำว่านังมาจากคำอื่น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 ส.ค. 21, 19:12

ขอทำความเข้าใจกับเรื่องเข้าใจผิดของคุณก่อน   คืออย่าใช้คำว่า เลิก จบ สิ้นสุด  กับภาษาพูด ที่ไม่ได้ใช้อย่างทางการและไม่ได้ประกาศเป็นทางราชการ 
เพราะการใช้คำเหล่านี้เป็นการใช้ในทางปฏิบัติ ใช้ในชีวิตประจำวัน  ตราบใดยังมีคนพูดคำนี้อยู่ แม้ว่ามีจำนวนน้อยแค่ไหน   มันก็ไม่ถือว่าสิ้นสุดค่ะ
และจะให้ไปสำรวจว่ามันหยุดใช้กันในวันเดือนปีไหน   มันก็ไม่ใช่อยู่ดี

ขอให้ใช้คำว่า "เสื่อมความนิยม" แทน จะตรงกว่า

คนที่เรียกลูกหลานว่า พ่อนั่น แม่นี่ ก็ยังมีให้เห็นจนปัจจุบัน  ในหมู่ผู้สูงอายุ  แต่ว่ามีน้อยลงกว่าเมื่อ 50-60 ปีก่อนมาก   ภาษาเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม   คำเรียกขานลูกหลานว่า พ่อ แม่ ก็เปลี่ยนเป็น หนู  และต่อมาก็คือ น้อง  เห็นได้จากสื่อ ที่เรียกเด็กและเยาวชนที่เป็นข่าวว่า น้อง

คำว่า นาง กับ นัง ใช้ในบริบทต่างกัน  นาง เรียกผู้หญิงที่มีฐานะในสังคมต่ำกว่าตัวคนเรียก  แม้ว่าผู้หญิงคนนั้นอาจมีฐานะในสังคมสูงก็ตาม  เช่นเสด็จเรียกแม่พลอยว่า นางพลอย 
ส่วนคำว่า นัง เป็นคำเรียกอย่างเหยียดหยาม  ระดับดีกว่า อี ขึ้นมาหน่อยหนึ่ง
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 ส.ค. 21, 10:21

ขอบคุณสำหรับคำตอบและคำแนะนำค่ะคุณเทาชมพูและขอโทษที่ดิฉันใช้คำผิดไปด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง