เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 5666 พระยาอนุชิตชาญชัย(พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) และคุณหญิงอิง
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 20:37

เข็มเพชรพระราชทาน


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 21:38


มีรูปอื่นอีกไหมครับที่จะใช้เปรียบเทียบรูปหน้าได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 12 ก.ค. 21, 09:05

มีแต่รูปนี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 12 ก.ค. 21, 09:17

ตัดจาก pdf ได้แค่นี้ครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 12 ก.ค. 21, 09:24

ขอบคุณค่ะคุณหมอ CVT เทียบดูนะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 12 ก.ค. 21, 09:29

เปรียบเทียบเข็มเพชรพระราชทานใน 2 รูป  รูปซ้ายคืออันที่ประดับบนผมสตรีปริศนา  อันขวาประดับบนอกเสื้อคุณหญิงอนุชิตชาญชัย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 12 ก.ค. 21, 09:38


ในค.ห. 15 คุณเพ็ญชมพูไปคร็อปภาพเข็มเพชรพระราชทานมาจากภาพคุณหญิงเนื่อง สุรินทราชา   ไม่ใช่ภาพเข็มเพชรบนเรือนผมสตรีปริศนา
ถ้าดิฉันยกภาพของคุณมาอ้าง ว่านี่ไงเป็นเข็มเพชรอันเดียวกับที่ประดับบนอกเสื้อคุณหญิงอนุชิตชาญชัย  แสดงว่าสตรีปริศนาคือคุณหญิงอนุชิต    คุณก็จะตอบได้ว่า เป็นเข็มเพชรของคุณหญิงเนื่องต่างหาก
เข็มเพชรแบบนี้มีสตรีมากกว่า 1 ที่ได้รับพระราชทาน   เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่ข้อยุติว่าสตรีปริศนาคือคุณหญิงอนุชิตชาญชัย

ีดีค่ะ ช่วยกันทดสอบถึงที่สุด


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 12 ก.ค. 21, 14:03

หนีโควิดมาเรียนออนไลน์ในเรือนไทย ปลอดภัยดีค่ะ ยิงฟันยิ้ม
ช่วงนี้มีเวลาว่างมากด้วยค่ะ ขออาจารย์ช่วยชี้แนะว่ามีวิชาไหนในเรือนไทยที่น่าเรียนอีกมั้ยคะ
ประเภทประวัติบุคคลน่าสนใจแบบนี้น่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 ก.ค. 21, 18:51

ที่แถวหน้ายังเหลือค่ะ   นั่งได้ตามสบายเลยค่ะ
คุณ Anna หายหน้าไปนาน  คิดถึงนะคะ  ตอนนี้โควิดปิดโอกาสไม่ให้เจอหน้ากันได้อีกแล้ว ต้องเจอกันในเรือนไทยแทน

ลองเข้าไปในห้องประวัติศาสตร์ไทยดูซิคะ  มีประวัติบุคคลน่าสนใจหลายท่าน

กลับมาเรื่องคุณหญิงอนุชิตชาญชัย
ในเมื่อคำตอบจากท่านผู้หญิงเหมือนจิต ภิรมย์ภักดี อาจจะทำให้สมาชิกเรือนไทยบางท่านยังข้องใจอยู่  ล่าสุด  ดิฉันไปหาบุคคลที่คิดว่าน่าจะรู้จักคุณหญิงอนุชิตชาญชัย    ยังหาพวกสวัสดิ์-ชูโต ไม่ได้   ต่อให้หาได้ก็ไม่น่าจะเกิดทันเห็นท่าน   ก็เลยเบนเข็มไปทางฝ่ายศุภมิตร   
ล่าสุดได้รับคำตอบจากท่านผู้หญิงพึงจิตต์ ศุภมิตร  เมื่อเห็นรูปสตรีปริศนาที่ลูกสาวท่านนำไปให้ดู    ท่านบอกว่าใช่คุณหญิงอนุชิตชาญชัยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 12 ก.ค. 21, 19:03

    ธิดา 3  ท่านของเจ้าคุณและคุณหญิง  มีประวัติสั้นๆดังนี้
    คนแรก อาจารย์ศุจิกา เป็นอาจารย์ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา สอนภาษาฝรั่งเศส ในสมัยที่ดิฉันเรียนอยู่ก็รู้จักท่านดี แต่ท่านไม่ได้สอนห้องดิฉัน    อาจารย์ศุจิกาสมรสกับคุณวิชา เศรษฐบุตร อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี
    คนที่สอง อาจารย์มณฑนา นวรัตน์ ณ อยุธยา  สมรสกับม.ร.ว.ปราณเนาวศรี นวรัตน์
    คนสุดท้อง  คุณหญิงนันทกา  สุประภาตะนันทน์  สมรสกับนายธวัช สุประภาตะนันทน์
    คุณหญิงนันทกาเป็นผู้หญิงเก่งแถวหน้าของประเทศในยุคของท่าน   มีตำแหน่งเป็นปลัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งยังไม่เคยมีผู้หญิงคนไหนได้เป็น   และยังทำงานให้สภาสตรีในการผลักดันด้านสิทธิสตรีในรัฐธรรมนูญ  ท่านมีอายุครบ 100 ปีเมื่อปี 2561  ตอนนี้ก็ 103 ปีแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 ก.ค. 21, 21:23

น่าสนจริงๆครับ ท่านพระยาอนุชิตฯ ท่านคงจะมีความสามารถมากเป็นแน่แท้ ท่านรับราชการจึงได้เลื่อนขั้นได้ไวดั่งสายฟ้าแล้บ คุณหญิงท่านก็คงจะเป็นสตรีที่มีความสามารถมากเช่นเดียวกัน นับเป็นกิ่งทองไบหยกโดยแท้เลยนะครับ ไม่ทราบว่าเงินก้นถุง400บาทในสมัยนั้นจะเทียบได้กับเงินสมัยปัจจุบันนี้เป็นเท่าไหร่ครับ?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 08:11

ไม่ทราบว่าเงินก้นถุง400บาทในสมัยนั้นจะเทียบได้กับเงินสมัยปัจจุบันนี้เป็นเท่าไหร่ครับ?

ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๗  ราคาอาหารฟาส์ตฟู้ดของไทย (ก๋วยเตี๋ยว, ข้าวแกง) ชามละ ๑ อัฐ*

มาตราเงินในสมัยนั้นคือ
 
๑๐๐ เบี้ย     =   ๑ อัฐ
     ๒ อัฐ     =   ๑ ไพ
     ๔ ไพ     =   ๑ เฟื้อง
     ๒ เฟื้อง  =   ๑ สลึง
     ๔ สลึง   =    ๑ บาท
     ๔ บาท   =   ๑ ตำลึง
    ๒๐ ตำลึง =   ๑ ชั่ง

คำนวณแล้ว ๑ อัฐ = ๐.๐๑๕ บาท  ข้าวแกงปัจจุบันราคาขั้นต่ำน่าจะประมาณ ๓๐ บาท แพงขึ้นประมาณ ๒,๐๐๐ เท่า ถ้าใช้ราคาข้าวแกงเป็นดัชนีชี้วัด เงิน ๕ ชั่ง หรือ ๔๐๐ บาทใน พ.ศ. ๒๕๓๗ (๑๘ ปีก่อนวันสมรสพระราชทานของท่านเจ้าคุณและคุณหญิงใน พ.ศ. ๒๔๕๕) จะเท่ากับประมาณ ๘,๐๐,๐๐๐ บาททีเดียว  ยิงฟันยิ้ม

* จาก เรื่องสนทนากับคนขอทาน โดย  จุลลดา ภักดีภูมินทร์  นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๖๙๖ ปีที่  ๕๒ ประจำวัน  อังคาร ที่  ๒๐ มิถุนายน  ๒๕๔๙
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 09:35

ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เพ็ญชมพูด้วยครับ สำหรับคำตอบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 11:03

   ชีวิตรุ่งโรจน์เหมือนดวงตะวันยามเที่ยงของพระยาอนุชิตชาญชัยดำเนินไปจนถึงพ.ศ. 2467  หนึ่งปีก่อนสิ้นรัชกาลที่ 6  ก็ประสบความผันผวนอย่างไม่มีใครนึกถึง   แม้แต่ตัวท่านเองก็ไม่รู้ล่วงหน้าว่าตะวันจะลับฟ้าได้ภายในเหตุการณ์เดียว
   เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสสิงคโปร์และแหลมมลายูเพื่อเป็นการเจริญทางพระราชไมตรี  ระหว่างวันที่ 21 กันยายน ถึง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2467  เจ้าคุณอนุชิตได้ตามเสด็จด้วย

   ขอยกข้อเขียนของพันเอก เรวัติ เตมียบุตร อดีตนักเรียนมหาดเล็กหลวง บันทึกไว้ใน “เรื่องจริงในอดีต” ในหนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ นายประวิตร บัณฑุรัตน์ ความว่า
.
...ในวันที่ผู้ว่าราชการสิงคโปร์ทูลเชิญเสด็จเสวยที่ “แรฟเฟิลโฮเต็ล” พร้อมด้วยข้าราชบริพาร เขาได้ทำการ์ดชื่อวางไว้ที่โต๊ะและจัดรถไปรับ เจ้าพระยารามราฆพบอกให้พระวิเศษพจนกร (ต่อมาเป็นพระไผทสถาปิต) เป็นผู้บอกชื่อให้ฝรั่งจด
.
บังเอิญลืมบอกไปเสีย ๖-๗ คน คือ ๑. พระยาอนุชิตชาญชัย ๒. พระยาอิศรา ๓. จมื่นเสมอใจราช ๔. นายจ่าเรศ (ในรัชกาลที่ ๗ เป็นพระนายสรรเพ็ชร) ๕. นายขันหุ้มแพร (ม.ร.ว.มานพ) ๖. นายเสนอหุ้มแพร (ในรัชกาลที่ ๗ เป็นพระมหาเทพ) ๗. พระดรุณรักษา ทั้ง ๗ คนจึงไม่มีชื่อนั่งโต๊ะและไม่มีรถมารับ
.
เพราะรถเขาก็แขวนป้ายบอกชื่อคนนั่งด้วยเหมือนกัน เป็นอันว่าท่านทั้ง ๗ คนไม่ได้ไปแน่นอน จึงปรึกษาเห็นชอบพร้อมกันว่าไปหาอะไรกินเองและเที่ยวกันดีกว่า
.
ในหลวงทรงพระพิโรธด้วยทรงคิดว่า ที่มิได้ทรงเห็นบุคคลดังกล่าว ทรงคิดว่าไม่มีความจงรักภักดีและคงไปเที่ยวหาผู้หญิงกันหมด อ้ายพวกนี้อาศัยการตามเสด็จมาเที่ยวเตร่กัน
.
ณ ที่โต๊ะเสวย ทันใดนั้นเจ้าพระยาธรรมาฯ ก็ได้กราบทูลว่า
.
“เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรป ได้เคยมีมหาดเล็กตามเสด็จและประพฤติเช่นนี้ พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงโปรดให้ส่งกลับเมืองไทย มีมาแล้วเป็นตัวอย่าง”
.
ในหลวงจึงรับสั่งอย่างทันทีว่า "นั่น ! ต้องเอาอย่างนั้น”
.
แล้วรับสั่งให้เจ้าพระยาธรรมาฯ จัดการส่งมหาดเล็กทั้ง ๗ คนนั้นกลับกรุงเทพฯ
.
วันรุ่งขึ้น มหาดเล็กที่จะต้องถูกส่งตัวกลับกรุงเทพฯ ได้พากันเข้าเฝ้าขอพระราชทานอภัยโทษ โดยให้เจ้าคุณอนุชิตชาญชัยเป็นหัวหน้านำ เจ้าคุณอนุชิตฯ และมหาดเล็กเข้าไปรออยู่ในห้องพระบรรทม เห็นว่านานนักจึงขึ้นไปบนพระที่ เจ้าคุณอนุชิตฯ ก็ปลุกพระบรรทมและกราบทูลความจริงที่ไม่ได้รับเชิญจึงไม่ได้ไปนั่งร่วมโต๊ะเสวย พระองค์ไม่ทรงเชื่อ ดังนั้น ต่างก็กราบถวายบังคมลากลับ
.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 11:05

ว้นแต่พระดรุณรักษายังหมอบเฝ้าและขอพระราชทานอภัยโทษจนได้ ประจวบเหมาะกับเวลานั้นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เสด็จมาถึงทรงทราบเรื่องราว ได้ช่วยกราบทูลขอให้ทรงยกโทษ แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ส่งกลับซึ่งมีเจ้าพระยาธรรมาฯ พระยาปฏิพัทธ์ภูบาลได้ดำเนินไปตามพระกระแสรับสั่งเสียแล้ว จึงเป็นอันว่าท่านทั้ง ๗ ต้องถูกส่งกลับกรุงเทพฯ
.
ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ แล้ว พระยาอนิรุทธเทวาได้บอกให้บรรดา ๗ สหาย ที่ถูกส่งกลับจากสิงคโปร์เข้าเฝ้าขอพระราชทานอภัยโทษเสียให้แน่นอน
.
เวลานั้นนั่งอยู่พร้อมเฉพาะพระพักตร์แล้ว เพียงแต่ลุกจากเก้าอี้เข้าไปกราบพระบาทกราบทูลขออภัยโทษก็เพียงพอแล้ว พระดรุณรักษาได้เป็นคนแรกที่ลุกขึ้นไปเฝ้าตามคำแนะนำของพระยาอนิรุทธฯ ต่อๆ มาก็พระยาอิศราฯ เจ้าหมื่นเสมอใจราช นายจ่าเรศ นายขันหุ้มแพร และนายเสนอหุ้มแพร ตามกันไปเป็นลำดับ
.
พระยาอนุชิตชาญชัยคนเดียว ไม่ยอมไปขออภัยนั่งสูบไป๊เฉยอยู่ ต่อให้ใครๆ ไปบอกก็ไม่ยอมเชื่อ พร้อมกับพูดว่า
“ผมไม่มีความผิด จะไปขอโทษทำไม?”
.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นว่าเจ้าคุณอนุชิตฯ ดื้อไม่ยอมขอโทษ ก็ทรงพระพิโรธถึงกับรับสั่งว่า จองหอง ไม่ขอเห็นหน้า ห้ามไม่ให้เข้าเฝ้าอีกต่อไป
.
พระยาอนุชิตฯ ก็ได้ลงกราบถวายบังคมลา แล้วฉวยหมวกออกเดินไปขึ้นรถยนต์กลับบ้านเลย และโดยไม่แยแส ไม่มาเฝ้าอีกต่อไป...”
.
จากนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปลด พระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) ออกจากราชการรับพระราชทานเบี้ยหวัดเป็นกองหนุน ตาม มาตรา ๒ (ก.) ของพระราชบัญญัติกองหนุนข้าราชการในพระราชสำนัก ร.ศ. ๑๓๑ เพื่อเป็นการลงโทษให้ลดทิฐิมานะส่วนตัวลงเสียบ้าง
.
ซึ่งพระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) น่าจะทราบพระราชประสงค์ในข้อนี้ดี แม้จะไม่ได้เข้าเฝ้าถวายงานรับใช้ใกล้ชิดอีก แต่ยังมีความจงรักภักดีอย่างไม่เสื่อมคลาย
.
จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรใกล้สวรรคต ก็ได้มาเฝ้าฟังพระอาการและนอนค้างที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณทุกคืนดังเช่นข้าราชบริพารใกล้ชิดคนอื่นๆ จนกระทั่งเสด็จสวรรคต
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.11 วินาที กับ 20 คำสั่ง