เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 5667 พระยาอนุชิตชาญชัย(พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) และคุณหญิงอิง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 11:19

อ่านดูแล้ว   ขอแยกประเด็นดังนี้

1  เจ้าภาพทูลเชิญเสด็จพระเจ้าอยู่หัว และคณะผู้ติดตามไปงานดินเนอร์ที่ “แรฟเฟิลโฮเต็ล”
2  เขาติดต่อมาขอรายชื่อคนไปงานทั้งหมด เพื่อจัดที่นั่งและจัดรถมารับตามรายชื่อ
3  คนที่จัดการเรื่องนี้ทางฝั่งไทย คือ เจ้าพระยารามราฆพ   เป็นคนบอกให้พระวิเศษพจนกร (ต่อมาเป็นพระไผทสถาปิต) จดรายชื่อแจ้งทางเจ้าภาพ
4  เจ้าพระยารามราฆพลืมชื่อข้าราชบริพารไป 7 คน   คือ
     1. พระยาอนุชิตชาญชัย
     2. พระยาอิศรา
     3. จมื่นเสมอใจราช
     4. นายจ่าเรศ   
     5. นายขันหุ้มแพร (ม.ร.ว.มานพ)
     6. นายเสนอหุ้มแพร (ในรัชกาลที่ ๗ เป็นพระมหาเทพ)
     7. พระดรุณรักษา
     เรียกว่าพวกนี้ตกสำรวจ
5   เมื่อไม่ได้ไปงาน เพราะไม่อยู่ในรายชื่อผู้ได้รับเชิญ    ท่านทั้ง 7  ก็เป็นอันว่าว่างในค่ำนั้น
6   เมื่อว่าง  ไม่มีใครจัดอาหารให้รับประทาน  ท่านก็ต้องไปหามื้อค่ำรับประทานเอาเอง  ก็เลยออกจากโฮเต็ลที่พักไปหาอาหารในเมือง และเที่ยวเมืองไปในตัว
7   พระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ในงานเลี้ยงที่แรฟเฟิลโฮเต็ล    เห็นข้าราชบริพารหายหน้าไปเป็นกลุ่มใหญ่  ก็กริ้วว่าคงละเลยหน้าที่ เพื่อหนีเที่ยวกัน
8   เจ้าพระยาธรรมาฯ ทูลว่าการละเลยหน้าที่ต้องถูกส่งตัวกลับ  ดังที่เคยมีมาก่อนในรัชกาลที่ 5  พระเจ้าอยู่หัวจึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาธรรมาฯส่งตัวทั้ง 7 คนกลับกรุงเทพทันที
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 11:55

  9  วันรุ่งขึ้น ทั้ง 7 คนที่จะต้องถูกส่งตัวกลับกรุงเทพฯ ได้พากันเข้าเฝ้า  มีเจ้าคุณอนุชิตชาญชัยเป็นหัวหน้านำ
  10 เจ้าคุณอนุชิตฯ และมหาดเล็กเข้าไปรออยู่ในห้องพระบรรทม เห็นว่านานนักจึงขึ้นไปบนพระที่
  11 เจ้าคุณอนุชิตฯ ปลุกพระบรรทมและกราบทูลความจริงที่ไม่ได้รับเชิญจึงไม่ได้ไปนั่งร่วมโต๊ะเสวย
  12 พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเชื่อ
  13  ทั้ง 7 คนก็ต้องถวายกราบบังคมลากลับ

   นี่คือประเด็นแรก
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 12:00

    ถ้ารายละเอียดข้างบนนี้เป็นความจริงทั้งหมด  ไม่ได้มีข้อผิดพลาดตรงไหน   ก็มีคำถามข้อหนึ่งที่ยังไม่มีคำตอบ คือ เจ้าพระยารามราฆพได้กระทำอะไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดที่ทำรายชื่อข้าราชบริพารตกหล่นไปถึง 7 คน  ในจำนวนนั้นเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับพระยาถึง 2 คนคือพระยาอนุชิตและพระยาอิศรา
     ดูจากเหตุการณ์   ในงานดินเนอร์ที่แรฟเฟิลโฮเต็ล  เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นข้าราชบริพารหายไปถึง 7 คน   ก็ไม่มีใครกราบบังคมทูลอธิบายว่่าเป็น "อุบัติเหตุ " เกิดจากฝ่ายไทยไม่ได้แจ้งรายชื่อให้ครบ
     จนมีพระบัญชาให้ส่งทั้ง 7 คนกลับกรุงเทพเป็นการด่วน  ซึ่งถือเป็นความบกพร่องร้ายแรงในหน้าที่  ก็ยังไม่มีใครพูดถึงการทำรายชื่อตกหล่นอยู่นั่นเอง 
   เวลาล่วงไปจนกระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้น เมื่อพระยาอนุชิตนำเพื่อนร่วมงานเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว  ทูลชี้แจงให้ทราบว่า ไม่ได้หนีเที่ยว แต่ไม่มีสิทธิ์จะเข้าไปร่วมงานเลี้ยงเพราะไม่มีรายชื่อ   แต่พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเชื่อ
   ไม่ทรงเชื่อเพราะอะไร?
   ก็มีคำตอบได้ 2 ข้อคือ ไม่มีใครพูดเรื่องรายชื่อตกหล่นให้ทรงทราบ   หรืออีกข้อคือ  มีการปฏิเสธว่าไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ  พวกนี้ไม่มางานเอง โดยไม่ทราบสาเหตุ
.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 13:01

(ต่อ) พันเอก เรวัต เตมียบุตรได้เล่าไว้ใน "เรื่องจริงในอดีต" ต่อมาว่า

ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ แล้ว พระยาอนิรุทธเทวาได้บอกให้บรรดา ๗ สหาย ที่ถูกส่งกลับจากสิงคโปร์เข้าเฝ้าขอพระราชทานอภัยโทษเสียให้แน่นอน เวลานั้นนั่งอยู่พร้อมเฉพาะพระพักตร์แล้ว เพียงแต่ลุกจากเก้าอี้ เข้าไปกราบพระบาทกราบทูลขออภัยโทษก็เพียงพอแล้ว พระดรุณรักษาได้เป็นคนแรกที่ลุกขึ้นไปเฝ้าตามคำแนะนำของพระยาอนิรุทธฯ      ต่อๆ มาก็พระยาอิศราฯ เจ้าหมื่นเสมอใจราช นายจ่าเรศ นายขันหุ้มแพร และนายเสนอหุ้มแพร ตามกันไปเป็นลำดับ

   พระยาอนุชิตชาญชัย คนเดียว ไม่ยอมไปขออภัยนั่งสูบไป๊เฉยอยู่ ต่อให้ใครๆ ไปบอกก็ไม่ยอมเชื่อ พร้อมกับพูดว่า

   “ผมไม่มีความผิด จะไปขอโทษทำไม?”

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นว่า เจ้าคุณอนุชิตฯ ดื้อไม่ยอมขอโทษ ก็ทรงพระพิโรธถึงกับรับสั่งว่า จองหอง ไม่ขอเห็นหน้า ห้ามไม่ให้เข้าเฝ้าอีกต่อไป

    พระยาอนุชิตฯ ก็ได้ลงกราบถวายบังคมลา แล้วฉวยหมวกออกเดินไปขึ้นรถยนต์กลับบ้านเลย”


จากนั้น  พระยาอนุชิตชาญชัยก็พ้นตำแหน่งในราชสำนัก  ออกเป็นกองหนุน แต่ยังได้รับพระราชทานเบี้ยเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองหนุนข้าราชการในพระราชสำนัก รัตนโกสินทรศก ๑๓๑
  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 13:44

ปัญหาเรื่องนี้ ดิฉันเห็นว่าแยกได้เป็น 2 ประเด็น
1  ละทิ้งงานในหน้าที่
2  ไม่ทูลขอพระราชทานอภัยโทษ

ทั้ง 2  เรื่องนี้เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน  คือถ้าทิ้งงานในหน้าที่จริง ก็ต้องขอพระราชทานอภัยโทษ (คือพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานอภัยโทษให้หรือไม่ก็ตาม  ก็สมควรขออยู่ดี)
แต่ถ้าไม่ได้ทิ้งงานในหน้าที่   ก็ไม่มีความผิด   เมื่อไม่มีความผิดก็ไม่ต้องขอพระราชทานอภัยโทษ

พระยาอนิรุทธเทวาแนะนำให้ข้าราชบริพารทั้ง 7 คน กราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษ   มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พ้นจากพระราชอาญา  
เพราะเป็นที่รู้กันว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระเมตตาแก่ผู้กระทำผิด   แม้แต่ผู้ก่อการกบฎ ก็ยังทรงเว้นพระราชอาญาประหารชีวิต เพียงแต่คุมขังเอาไว้ไม่ให้ออกมาก่อเหตุอีก

ข้าราชบริพาร 6 คนก็คงเห็นพ้องกันว่าเป็นเรื่องผ่อนหนักให้เป็นเบา    คือตัวเองจะผิดหรือไม่ผิดไม่สำคัญ ขอเพียงแต่พระเจ้าอยู่หัวหายกริ้วเท่านั้นพอ
ถ้าจะเปรียบเทียบก็คงคล้ายกับจำเลยในศาลที่รู้ว่าตัวเองไม่ผิด   แต่ในเมื่อศาลไม่เชื่อพยานหลักฐาน  ก็ยอมสารภาพผิดเพื่อบรรเทาโทษ ดีกว่าจะถูกตัดสินประหาร
ส่วนพระยาอนุชิตชาญชัยเป็นบุคคลประเภทเสียชีพอย่าเสียสัตย์   คือเมื่อตัวเองไม่ผิด  ก็จะไม่มีวันสารภาพว่าทำผิด เพื่อบรรเทาโทษ    
 ถ้าท่านทำอย่างเพื่อนๆอีก 6 คน ก็เท่ากับยอมรับว่าละทิ้งหน้าที่ หนีไปเที่ยวอย่างที่พระเจ้าอยู่หัวเข้าพระทัยเช่นนั้น   ถึงพระราชทานอภัยโทษให้ แต่ประวัติท่านก็ด่างพร้อยไปแล้ว  
 การยืนกรานไม่ขอพระราชทานอภัยโทษ คือข้อพิสูจน์ว่าท่านไม่ได้ทำผิดในหน้าที่ของท่าน  แม้จะต้องแลกด้วยอนาคตของท่านก็ตาม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 15:57

 ในประวัติของพระยาอนุชิตชาญชัย ที่พิมพ์ไว้ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ  ระบุถึงนิสัยของท่านว่า
 " พระยาอนุชิตชาญชัยมีอุปนิสัยเป็นคนตรง   และถ้าหากแน่ใจว่าตนอยู่ในที่ถูกแล้ว จะไม่ยอมโอนอ่อนให้ผู้ใดที่เป็นคนผิด แม้ว่าคนผู้นั้นจะกอปรด้วยวาสนาบารมีเพียงใดก็ตาม   อุปนิสัยข้อนี้ของพระยาอนุชิตชาญชัยเป็นที่ทราบกันดีในวงการราชสำนักของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายเรื่องเป็นตัวอย่างของความจริงข้อนี้ "

ไปเจอภาพท่านถ่ายกับคุณหญิงอิง อีกภาพหนึ่งค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 16:56

ขอพักเผื่อท่านทั้งหลายที่เข้ามาอ่าน จะแสดงความคิดเห็นบ้างค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 17:52

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์คณะข้าราชการที่ตามเสด็จฯ และบุคคลในตระกูล ณ ระนอง ร่วมถ่ายภาพบริเวณสุสานพระยาดำารงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๕๒ ในคราวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำารงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ พ.ศ. ๒๔๕๒
มีรายชื่อบุคคลดังนี้ (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

แถวยืนจากซ้าย
๑. และ ๒. ไม่ทราบชื่อ ๓. พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)
๔. พระยาดำารงสุจริตมหิศรภักดี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) ๕. ไม่ทราบชื่อ
๖. พระยาราชวัลภานุสิษฐ์ (เจ้าพระยาราชศุภมิตร - อ๊อด ศุภมิตร)
๗. หลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (พระยาสุรินทรราชา - นกยูง วิเศษกุล)
๘. นายร้อยเอก หลวงประสิทธิ์ราชศักดิ์ (ชัย บุนนาค)
๙. นายพันตรี หลวงอาจสรศิลป์ (พระยาราชมานู - ถั่ว อัศวเสนา)
๑๐. พระยาเทพทวารวดี (พระยาบำาเรอบริรักษ์ - สาย ณ มหาชัย)
๑๑. พระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์สวัสดิ - ชูโต) ๑๒. พระยาภูวนัยสนิท (อุ่น ไชยาคำา) ๑๓. ไม่ทราบชื่อ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 17:54

ภาพลงสีพระตำรวจโท พระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ-ชูโต) แต่งกายชุดพระตำรวจหลวง ประดับเหรียญตราและเครื่องราชอิสริยาภรณ์

จาก ฉายานิทรรศน์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 22:55

ถ้าดิฉันเป็นเจ้าของภาพนี้ จะขออัญเชิญโคลงพระราชนิพนธ์มาบรรยายภาพว่า

     มโนมอบพระผู้             เสวยสวรรค์
แขนมอบถวายทรงธรรม์        เทอดหล้า
ดวงใจมอบเมียขวัญ            และแม่
เกียรติศักดิ์รักข้า                มอบไว้แก่ตัว

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 14 ก.ค. 21, 08:44

    พระยาอนุชิตฯยังจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าไม่เสื่อมคลาย    ปีต่อมาเมื่อได้ข่าวว่าทรงพระประชวร  ก็ตรงเข้าวัง นอนเฝ้าอยู่ในพระที่นั่งตามอย่างที่เคยปฏิบัติมาตลอดชีวิตราชการของท่าน   ตราบจนวันสวรรคต

    ความซื่อตรงจงรักภักดีของพระยาอนุชิตฯ น่าจะเป็นที่ประจักษ์กันอยู่มาก    หนึ่งในบุคคลที่เห็นคุณค่าของท่านคือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่    เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์    จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาอนุชิตฯ เป็นองคมนตรีที่ปรึกษา     ตามตำแหน่งที่ท่านเคยได้รับมาก่อนหน้านี้ เมื่อพ.ศ.  2459   
    ต่อมาในปี 2469  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงยกเลิกพระราชบัญญัติกองหนุน ทำให้เบี้ยหวัดที่เจ้าคุณเคยได้รับยุติลง   พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้พระยาอนุชิตไปรับเบี้ยหวัดทางองคมนตรีแทน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 14 ก.ค. 21, 10:02

เจ้าคุณกับคุณหญิงมีธิดาด้วยกัน 4 คน  ได้รับชื่อพระราชทานจากพระเจ้าอยู่หัวทั้งหมด คือศุจิกา  มณฑนา  อุษา และนันทกา  คุณอุษา ธิดาคนที่สาม ถึงแก่กรรมเมื่ออายุเพียง 11 เดือนค่ะ

ก่อนพระยาอนุชิตชาญชัยสมรสกับคุณหญิงอิง ท่านมีภรรยาอีกคนหนึ่งคือ คุณถนอม โลหนันทน์ มีบุตร ๑ คนคือ พันโทพงษ์นารถ สวัสดิ์-ชูโต

จาก แผนสกุล สวัสดิ์-ชูโต ราชินีกูลบางช้าง พ.ศ. ๒๕๔๖


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 14 ก.ค. 21, 10:04

พันโทพงษ์นารถ สวัสดิ์-ชูโต เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔ ก่อนการสมรสกับคุณหญิง ๑ ปี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 14 ก.ค. 21, 10:21

ในหนังสือพระราชทานเพลิงศพ  ระบุว่าคุณถนอม นามสกุล โลหะนันทน์   ถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ. 2455 ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 14 ก.ค. 21, 10:48

พันโทพงษ์นารถ สวัสดิ์-ชูโต เกิด ณ บ้านเลขที่ ๒๐ ปากคลองบางลำพูบน พระนคร เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีกุน เวลา ๐๒.๔๐ น. เมื่ออายุได้ ๘ เดือน มารดาได้ถึงแก่กรรม พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์) ซึ่งเป็นตาได้รับไปอุปถัมภ์

จากหนังสือ ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโท พงษ์นารถ สวัสดิ์-ชูโต



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง