เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 5602 พระยาอนุชิตชาญชัย(พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) และคุณหญิงอิง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 09 ก.ค. 21, 15:15

ด้วยความอนุเคราะห์ของคุณหมอ CVT  ค้นเอกสารประวัติของท่านทั้งสองมาให้ได้   จึงสามารถตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาได้ค่ะ
ต้องขอขอบคุณคุณหมอ CVT  เป็นอย่างสูง

เริ่มต้นจากกระทู้ก่อนหน้านี้
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6914.0
ซึ่งมีกระทู้ ไฮโซโบราณ ก่อนหน้านี้นำหน้ามาอีก

ก่อให้เกิดปริศนาว่าสตรีปริศนาผู้นี้เป็นใคร บัดนี้ก็ได้คำตอบแล้วว่า ท่านคือคุณหญิงอนุชิตชาญชัย (อิง สวัสดิ์-ชูโต)
จากนั้น  ก็นำไปสู่การเล่าประวัติของท่าน และประวัติของเจ้าคุณอนุชิตชาญชัย   ซึ่งดราม่าไม่แพ้ละครย้อนยุคเรื่องใดเลย

การเล่าเรื่องนี้ขอเล่าด้วยความคารวะต่อท่านทั้งสองค่ะ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 ก.ค. 21, 15:19

พระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 ก.ค. 21, 15:34

   สกุล "สวัสดิ์-ชูโต"  เป็นสายหนึ่งของสกุล "ชูโต" แต่แยกมาใช้นามสกุลของตนเองตั้งแต่รัชกาลที่ 6   เช่นเดียวกับ "แสงชูโต"   ส่วนชูโตซึ่งเป็นบรรพบุรุษ นับเป็น "ราชินิกุล" คือสกุลฝ่ายพระราชินี   อันได้แก่สกุลเดิมของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 
  พระชนกชนนีของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีเป็นคหบดีชาวบางช้าง จ.สมุทรสงคราม    มีบุตรธิดาด้วยกัน 10 คน ในจำนวนนี้ บุตรคนที่สามเป็นชาย ชื่อคุณโต เป็นต้นสกุล "ชูโต" ส่วนคนที่สี่เป็นหญิง คือสมเด็จพระอมรินทรฯ
  สกุลชูโตมีทายาทสืบต่อกันมาไม่ขาดสาย  จนถึงรัชกาลที่ 5  สมาชิกคนหนึ่งของสกุลคือพระยาสุรนารถเสนี (เป๋า) มีบุตรธิดาหลายคน  หนึ่งในจำนวนนั้นชื่อ พงษ์ เกิดจากภรรยาชื่อท่านขาบ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ก.ค. 21, 10:27

   เมื่อยังเยาว์ เจ้าจอมมารดาเยื้อนได้นำตัวคุณพงษ์เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  จนเจ้าฟ้าเสด็จไปศึกษาต่อที่อังกฤษ ทางนี้ เด็กชายเข้าเรียนที่ร.ร.อัสสัมชัญและไปต่อที่ร.ร.สวนกุหลาบ จนถึงมัธยม 6  ก็ลาออกไปรับราชการในกองล่าม กระทรวงนครบาล ตอนนั้นอายุ 18 ปี
    ต่อมาเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเสด็จกลับจากอังกฤษ ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  คุณพงษ์ก็เปลี่ยนมารับราชการเป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทม  ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นลำดับ  ได้เป็นนายเวรมหาดเล็กกองตั้งเครื่องและหัวหน้าห้องพระบรรทม  ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 21 ด้วยซ้ำ
   เมื่ออายุครบ 21 ปี  สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  ได้พระราชทานพระราชอุปการะให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง จำพรรษาอยู่ ณ วัดบวรนิเวศ   ต่อมาเม่ื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชผนวช ณ วัดบวรนิเวศ  ประทับที่พระตำหนักปั้นหย่า  พระภิกษุพงษ์ก็ได้เข้าไปจำวัด ณ ที่นั้นด้วย   บวชจนครบ 1 พรรษา สอบได้นวกเอก แล้วก็ลาบวชกลับมารับราชการตามเดิม
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ก.ค. 21, 11:32

ตามมาจากกระทู้โน้น ตามที่อาจารย์ชี้ทาง
ได้ที่นั่งที่แรกเลยหรือนี่ ยังไม่มีใครเลย!

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 ก.ค. 21, 12:13

อพยพหนีโควิดกันหมดแล้วมังคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 10 ก.ค. 21, 17:23

คุณพงษ์ก้าวหน้าในราชการด้วยดี  หรือจะเรียกว่าดีเยี่ยมคงจะถูกต้องกว่า   ดังเรียงลำดับได้ดังนี้

อายุ  23  ปี  เป็นนายเวรขวา  เงินเดือน 160 บาท
อายุ   24   ปี  เป็นรองจางวางกรมรถม้า ควบตำแหน่งนายเวรขวา  เงินเดือน  180    บาท
อายุ 26  ปี เป็นนายวรกิจบรรหาร  หุ้มแพรวิเศษ  ผู้บังคับกองรถ ในกรมอัศวราช เงินเดือน 200 บาท
อายุ 27  ปี  เข้าเป็นเสือป่า  ยศหมู่เอก ในกองเสือป่าหลวงรักษาพระองค์ 
ปีเดียวกันนั้นได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงปราบพลแสน  ปลัดกรมพระอัศวราช เงินเดือน 250 บาท จนถึง 400 บาท  และเลื่อนเป็นพระปราบพลแสนในปีเดียวกัน   ส่วนยศทางเสือป่าเลื่อนเป็นนายกองโท

ทางด้านส่วนตัว เมื่ออายุ 28 ปี  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ขอพระราชทานนางข้าหลวงของสมเด็จพระพันปี ชื่อนางสาวอิง ศุภมิตร  ธิดาของเจ้าพระยาราชศุภมิตร(อ๊อด ศุภมิตร)ให้เป็นภรรยาพระปราบพลแสน
พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ประกอบพิธีสมรส ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน   ทรงเจิมและพระราชทานน้ำสังข์แก่คู่บ่าวสาว  แล้วพระราชทานเงินรับไหว้ 400 บาท กับเข็มพระบรมนามาภิไธยทองคำประดับเพชรชั้น 1  แก่เจ้าสาว
สมเด็จพระพันปีหลวง พระราชทานเงินรับไหว้อีก 400 บาท 
ในปีเดียวกันนี้เอง  พระปราบพลแสนได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาศรีสุริยพาห  จางวางกรมอัศวราช เงินเดือน 700 บาท

สรุปว่าท่านเป็นพระยาเมื่อยังหนุ่มมาก อายุ 28 ปีเท่านั้นเอง   คุณอิงก็ได้เป็นคุณหญิงเมื่ออายุ 25 ปี
อีก 3 ปีต่อมาเมื่ออายุ 30 ปี ก็ได้เป็นอธิบดีกรมอัศวราช
อายุ 32 ท่านได้เป็นองคมนตรีที่ปรึกษา

เมื่ออายุ 34  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเปลี่ยนบรรดาศักดิ์เป็นพระยามหามนตรีศรีองครักษสมุห เจ้ากรมพระตำรวจในขวา  ส่วนยศทางเสือป่าได้เป็นนายกองใหญ่เสือป่า
เมื่ออายุ 36  ได้เป็นพระยาอนุชิตชาญชัย จางวางกรมพระตำรวจขวา  เลื่อนเป็นผู้ช่วยสมุหพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์  ยศพระตำรวจโท  ส่วนเงินเดือนขึ้นไปสูงถึง 1100 บาท
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 ก.ค. 21, 18:30

พยายามคิดว่าเมื่อ 100 ปีก่อน ค่าของเงินเดือน 1100 บาทเท่ากับเท่าไรสมัยนี้ 
ไปเจอในเว็บนี้ค่ะ
https://aommoney.com/stories/tarkawin/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99-1000-%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97-%E0%B9%83%E0%B8%99-100-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99/20799#kqxoql0431


เงินเดือนสุดท้ายของพระยาบริหารราชมานพ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงระดับเจ้ากรมชั้นที่ 1 เดือนละ 600 บาท (อ้างอิงจากจดหมายเหตุวชิราวุธ)

คิดโดยเงินอัตราเงินเฟ้อ 6% เป็นเวลา 100 ปี = 203,581.25 บาท
คิดโดยการอ้างอิงราคาทองคำกับค่าเงิน USD 647.92 เท่า 100 ปี = 388,752 บาท


เงินเดือนเจ้าคุณประมาณแปดแสนบาทได้ไหมคะ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 10:07

ขอกล่าวถึงประวัติของคุณหญิงอิง อนุชิตชาญชัยบ้างค่ะ

ท่านเกิดเมื่อวันที่ 22   กรกฎาคม พ.ศ. 2430 อ่อนกว่าเจ้าคุณ 3  ปี
เป็นบุตรีเจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร)มารดาชื่อท่านทรัพย์  มีพี่น้องร่วมบิดา 2 ท่านคือมหาเสวกตรี พระยาสมบัติบริหาร (เอื้อ) และคุณวิมลา ภรรยาคุณประจวบ บุรานนท์
และมีน้องชายร่วมมารดาอีกคนชื่อนายคาด สมัครไทย

ตระกูลศุภมิตรนี้เป็นสายแยกจากตระกูลบุนนาค  กล่าวคือมีบรรพบุรุษคนเดียวกัน อันได้แก่เจ้าพระยามหาเสนา(บุนนาค)ในรัชกาลที่ 1    
ต่อมาเมื่อมีการพระราชทานนามสกุลในรัชกาลที่ 6  โปรดเกล้าฯพระราชทานให้เชื้อสายของเจ้าพระยามหาเสนาและเจ้าคุณนวล ภรรยาเอกผู้เป็นน้องสาวของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ว่า "บุนนาค"  
ดังนั้นบุนนาคจึงนับเนื่องเป็นราชินิกุล คือสกุลฝ่ายพระราชินีของพระราชวงศ์จักรี

จากนั้น ก็เกิดปัญหาตามมาว่า เจ้าพระยามหาเสนาท่านมีภรรยาหลายคนตามธรรมเนียมโบราณ  ดังนั้นบุตรหลานเหลนที่ไม่ได้มีเชื้อสายเจ้าคุณนวล   ก็ไม่ใช่ราชินิกุล   จะใช้นามสกุลบุนนาคได้อย่างไร  พระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามสกุลแก่ลูกหลานเหล่านี้ แยกออกไปต่างหากอีกหลายตระกูล ศุภมิตรก็เป็นตระกูลหนึ่ง   อีกตระกูลหนึ่งก็คือบุรานนท์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 10:09

กลับมาที่คุณหญิงอิง

คุณหญิงมีโอกาสทางการศึกษาดีกว่าเด็กหญิงในยุคเดียวกัน คือได้ศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ต่อมาก็ได้ไปเป็นข้าหลวงรุ่นจิ๋วอายุ 7 ขวบในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  สมเด็จฯทรงพระกรุณาส่งเด็กหญิงเข้าเรียนที่โรงเรียนสุนันทาลัยซึ่งตั้งอยู่ที่โรงเรียนราชินีในปัจจุบัน    ในร.ร.มีทั้งครูไทยและครูต่างประเทศ
คุณหญิงได้เรียนหนังสือกับมจ.มณฑารัพ กมลาสน์ และมจ.พิจิตรจิราภา เทวกุล

ต่อมาเมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ ทรงตั้งร.ร.ราชินีขึ้น   คุณหญิงก็ได้เข้าศึกษารุ่นแรกเมื่อพ.ศ. 2447  ได้เลขประจำตัวนักเรียนหมายเลข 1
การศึกษาสมัยนั้นนอกจากเรียนหนังสือแล้ว ก็ยังได้เรียนเย็บปักถักร้อยและประดิษฐ์ดอกไม้เทียม    เรียนมาจนสมเด็จฯทรงเห็นว่าโตเป็นสาว อายุพอสมควรแล้ว จึงโปรดเกล้าฯให้ออกจากโรงเรียน กลับไปรับราชการฝ่ายในเป็นนางข้าหลวงตามเดิม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 11:35

    เมื่อมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างดี  คุณหญิงก็อ่านเขียนได้คล่อง   ได้ทำหน้าที่อ่านหนังสือถวายสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ พระพันปีหลวงเวลาเสด็จเข้าที่พระบรรทมเป็นประจำ    นอกจากนี้ยังรับหน้าที่สอนหนังสือเจ้านายเล็กๆชั้นหม่อมเจ้าที่อยู่ในพระอุปการะ และยังไม่ได้เข้าโรงเรียนอีกด้วย
    เรื่องนี้ทำให้คุณหญิงปรารภกับครอบครัวเสมอว่าเป็นโชคดีที่ได้เป็นนางข้าหลวงของสมเด็จพระพันปี ผู้ทรงเห็นการณ์ไกลเรื่องการศึกษาของสตรี   ทำให้ท่านผู้เข้ามาอยู่ในวังหลวงกลับมีโอกาสดีกว่าสตรีรุ่นเดียวกันที่อยู่นอกวัง  คือได้เล่าเรียนเขียนอ่านมีความรู้ติดตัว

    เมื่ออายุ 25 ปี  ท่านได้สมรสกับพระยาอนุชิตชาญชัย  ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็นพระปราบพลแสน

    เนื่องจากคุณหญิงเป็นนางข้าหลวง รับราชการฝ่ายในอยู่กับสมเด็จพระพันปี   การแต่งงานจึงไม่ใช่เรื่องง่าย  แค่ผู้ใหญ่พูดจาสู่ขอตกลงกัน    แต่มีขั้นตอนซับซ้อนมากกว่่านั้น
    กล่าวคือพระปราบพลแสนต้องทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่่หัว ขอพระราชทานคุณข้าหลวง อิง สวัสดิ์-ชูโต ธิดาเจ้าพระยาราชศุภมิตรมาเพื่อสมรส   
    พระเจ้าอยู่หัวก็ต้องทรงขอพระราชทานจากสมเด็จพระพันปีอีกทีหนึ่ง
   ในการนี้ พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ส่งพระยาบำเรอบริรักษ์(สาย ณ มหาชัย) จางวางมหาดเล็ก ไปกราบบังคมทูลสมเด็จพระพันปีอีกต่อหนึ่ง   
    เมื่อสมเด็จฯทรงมีพระบรมราชานุญาตแล้ว  จึงประกอบพิธีสมรสได้


 
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 15:07

ตามมาจากกระทู้โน้น ตามที่อาจารย์ชี้ทาง
ได้ที่นั่งที่แรกเลยหรือนี่ ยังไม่มีใครเลย!



เมื่อวานผมมาแอบหลังห้อง แต่ไม่ได้รายงานตัวครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 15:59

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยครับท่านอาจารย์ ต้องขอกราบสวัสดีท่านอาจารย์และสมาชิกทุกท่านด้วยนะครับ ว่าแต่โรงเรียนสวนกุหลาบในสมัยนั้นคงจะต้องถือว่าเป็นโรงเรียนอันดับชั้นต้นของประเทศเลยกระมังครับ ถึงสมัยนี้ก็หยังคงอันดับต้นได้ไม่เปลี่ยนแปลง โรงเรียนอมตะจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 16:49

     จ้าคุณกับคุณหญิงถือได้ว่าเป็นคู่ "กิ่งทองใบหยก"   ได้รับสมรสพระราชทาน    พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำสังข์ให้ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อ 23 สิงหาคม 2455
     คุณหญิงได้รับพระราชทานเข็มพระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" ทองคำฝังเพชรล้วน ชั้นที่ 1  และเงินก้นถุงอีก  5  ชั่ง  มีเจ้าพระยายมราชและท่านผู้หญิงเป็นผู้ปูที่นอนแก่คู่บ่าวสาว    สมเด็จพระพันปี ก็ได้พระราชทานเงิน 5 ชั่งให้เช่นกัน

      ต่อมาเจ้าคุณได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ   พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯชั้นตติยจุลจอมเกล้าฝ่ายในแก่คุณหญิงด้วย
คุณหญิงอนุชิตฯจึงเป็นคุณหญิงทั้งในฐานะภรรยาเอกของพระยา  และเป็นเพราะได้รับพระราชทานเครื่องราชฯจุลจอมเกล้าอีกด้วย

      เจ้าคุณกับคุณหญิงมีธิดาด้วยกัน 4 คน  ได้รับชื่อพระราชทานจากพระเจ้าอยู่หัวทั้งหมด คือศุจิกา  มณฑนา  อุษา และนันทกา
     คุณอุษา ธิดาคนที่สาม ถึงแก่กรรมเมื่ออายุเพียง 11 เดือนค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ก.ค. 21, 18:52 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 16:50

เข็มเพชรพระราชทาน


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง