เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 27 28 [29]
  พิมพ์  
อ่าน: 15699 ความรู้ในลิ้นชัก
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 420  เมื่อ 01 พ.ย. 21, 20:18

เมื่อขับรถลุยน้ำ ก็จึงมีโอกาสที่น้ำจะซึมเข้าไปปะปนอยู่กับน้ำมันของเฟืองขับเพลาล้อ โดยเฉพาะในกรณีที่ระดับน้ำนั้นสูงใกล้ๆระดับครึ่งล้อรถ     รถที่ใช้งานมานานระยะหนึ่งแล้ว ส่วนประกอบเรียกว่าซีลกันน้ำมันต่างๆไม้ให้รั่วซึมออก(หรือกันน้ำไม่ให้เข้า)ซึ่งทำด้วยยางนั้น นานเข้ามันก็จะแข็งและสึกหรอ มีประสิทธิภาพในการกันการรั่วซึมได้น้อยลง  ดังนั้นเมื่อพ้นช่วงเวลาของสภาวะตามธรรมชาติแล้ว ก็จึงควรจะต้องนำรถไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันของระบบเฟือง  ซึ่งก็ควรจะถามช่างหรือขอเข้าไปดูน้ำมันที่ถ่ายออกมาด้วยตาของตัวเราเอง น้ำมันพวกนี้ ของใหม่จะมีความใส หากมีน้ำปนก็จะมีสีน้ำตาลหรือสีกากีและดูเป็นฟอง และหากเป็นสีดำก็แสดงว่าใช้มานานจนมันใหม้ ไม่มีคุณสมบัติใดๆเหลือสำหรับใช้งานต่อไป

น้ำก็มีโอกาสเข้าไปในอ่างน้ำมันเครื่องยนต์ได้เช่นกัน โดยผ่านทางมู่เล่ (pulley) ของเหลาข้อเหวี่ยงลูกสูบ   ผู้ที่ชอบกิกรรม off road ในถิ่นทุรกันดารในปาที่ต้องขึ้นเขา ลงห้วย ข้ามน้ำ การมีน้ำมันเครื่องสักแกลอนหนึ่งติดรถไว้จึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ  เราจะรู้ว่ามีน้ำเข้ามาปนอยู่กับน้ำมันเครื่องได้ด้วยการดูสีและระดับน้ำมันเครื่องที่ก้านวัดน้ำมันเครื่อง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 421  เมื่อ 02 พ.ย. 21, 18:19

สำหรับรถประเภท 4x4 นั้น   ผู้ที่ครอบครองรถก็น่าจะเป็นผู้ที่ชอบและสนใจในการขับรถแบบลุยๆในพื้นที่ๆเป็นเขาเป็นดอยสูงต่ำทั้งหลาย หรือเป็นผู้ที่ชอบการพักผ่อนด้วยการออกไปขับรถผจญความท้าทายตามเส้นทางที่มีสภาพเป็น off road จริงๆ   

ในชีวิตการทำงานของผมนั้น การเดินทางในพื้นที่ต่างๆเกือบจะทุกแห่ง จะเป็นการใช้ถนนป่าในสภาพที่สุดจะบรรยาย  รถจำเป็นจะต้องมีกว้าน (winch) ติดไว้ และจะต้องเป็นกว้านชนิดที่ขับด้วยเพลาอีกด้วย (ใช้เฟืองถ่ายกำลังจากชุดเกียร์ของรถ)  กว้านที่ใช้กำลังไฟฟ้านั้นเหมาะสำหรับการใช้เป็นครั้งคราว  สำหรับกว้านที่ใช้กำลังของระบบไฮดรอลักส์นั้นดูค่อนข้างจะไว้ใจได้ไม่เต็มร้อย    ท่านที่เคยไปเที่ยวน้ำตกไทรโยค ในปัจจุบันจะใช้เวลาเดินทางจากตัว จ.กาญจนบุรี ไม่ถึง 1 ชม. ในสมัยที่ผมทำงานอยู่นั้น หลายๆครั้ง การเดินทางระหว่างตัว จ.กาญจนบุรีกับสถานีน้ำตก (บ.ท่าเสา) ออกเดินทางเวลา 8 โมงเช้า ถึงปลายทางเวาลาประมาณสี่ทุ่ม บางช่วงของถนน ต้องเอาผ้าขะม้าคาดเอวแล้วเอาตะขอของสลิงกว้านเกี่ยวหลัง เดินนำรถ  ก็ได้สัมผัสและมีประสบการณ์กับเส้นทางลักษณะ off road เช่นนี้ในหลายๆพื้นที่ประมาณ 20 ปีกระมัง  จะเล่า tactic ต่างๆก็ก็คงจะไม่มีประโยชน์นัก เพราะสภาพถนนต่างๆได้เปลี่ยนไปมากแล้ว อีกทั้งจะใช้วิธีเขียนก็ยาก สู้เล่าด้วยปากเปล่าไม่ได้   ก็เลยคัดเอาแต่เพียงเรื่องที่สำคัญมาขยายความ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 422  เมื่อ 02 พ.ย. 21, 19:13

รถ 4x4 รุ่นเก่าจะมีคันเกียร์อยู่ 3 คันเกียร์   รุ่นใหม่ก็จะมี 2 คันเกียร์   ส่วนในรุ่นที่วางขายกันอยู่ในปัจจุบัน ที่เรียกว่ารถ SUV นั้น ไม่รู้ว่าควรจะจัดเป็น 4x4 หรือ AWD  เพราะสามารถจะเปลี่ยนการขับเคลื่อนจากตามปกติที่ขับเคลื่อนด้วยล้อคู่หลัง ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยล้อคู่หน้าผสมผสานพร้อมๆกันไปได้อีกด้วย โดยใช้ระบบการหมุนตุ่มบิด (knob) สั่งการด้วยระบบไฟฟ้า 

ไม่ว่าจะเป็นแบบ 3 คันเกียร์ หรือ 2 คันเกียร์ หรือรถรุ่นใหม่ๆ เมื่อจะปรับเปลี่ยนให้มีการใช้กำลังของ 2 ล้อคู่หน้าร่วมด้วย สิ่งที่ควรจะต้องกระทำก็คือการลดความเร็วของรถลงให้มากที่สุด น่าจะเป็นความเร็วที่ต่ำกว่า 60 กม./ชม. ซึ่งสำหรับรถรุ่นเก่าก็ควรจะน้อยกว่านั้น    เมื่อต้องการปลดออก สิ่งที่ควรกระทำก็คือควรจะลดความเร็วของรถให้เหลือน้อยที่สุด อาจจะ 20-30 กม./ชม. หรือสำหรับรถบางยี่ห้อหรือบางรุ่นที่มีระบบ auto locking wheel hub ก็อาจจะต้องหยุดรถสนิทหรือถอยหลังเล็กน้อยเพื่อปลดให้ล็อคหลุด         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 423  เมื่อ 03 พ.ย. 21, 18:52

สำหรับรถที่มีเกียร์สโลว์  การใช้สโลว์จะต้องมีผ่านการทำให้ล้อคู่หน้าทำงานพร้อมเสียก่อนจึงจะเข้าเกียร์ทดกำลังแบบสโลว์ได้  ในระบบของการเข้าสโลว์นั้น จะต้องผ่านจุด neutral แล้วจึงจะเข้าสโลว์   เมื่อเข้าเกียร์สโลแล้ว โดยทั่วๆไป ผู้คนทั่วไปจะใช้คู่กับเกียร์ 1  แท้จริงแล้วจะใช้คู่กับเกียร์ 2 หรือ 3 ก็ได้ในกรณี่ที่ต้องการลุยหลุมโคลนด้วยความเร็วต่ำๆ  หรือแม้กระทั่งกรณีไต่เนินเขาชันเป็นช่วงๆ 

ก็มีข้อที่ไม่พึงกระทำเลย โดยเฉพาะกับคนที่ไม่มีความสันทัดมากพอในการเปลี่ยนเกียร์ที่ต้องเบิ้ลคลัช ก็คือการเปลี่ยนเกียร์ไปมาหรือใส่เกียร์สโลว์ในระหว่างการขับรถไต่พื้นที่ลาดชันสูง แม้กระทั่งพวกที่มีความชำนาญค่อนข้างมากก็ยังไม่นิยมจะทำกันเพราะว่าเมื่อผลักคนเกียร์ผ่าจุด neutral แล้วมักจะมีการติดขัดเล็กน้อยในการผลักคันเกียร์เข้าสู่สโลว์  การใส่เกียร์สโลว์มีความจำเป็นจะต้องหยุดรถเสียก่อน  แต่หากคุ้นเคยกับเส้นทางดี ก็มักจะใส่เฉพาะเกี่ยร์ที่ทำให้มันขับเคลื่อนสี่ล้อไว้ก่อน เมื่อกำลังรถเริ่มไม่พอจะไต่ลาดชันนั้นๆก็จึงใส่สโลว์     เมื่อจะปลดระบบการใช้เกียร์สโลว์ ก็พึงหาที่ค่อนข้างราบและจึงหยุดรถทำการปลดระบบ    ห้ามเด็ดขาด ห้ามปลดระบบในขณะที่รถกำลังอยู่บนลาดชัน หากต้องการความเร็วมากขึ้นก็ใช้เกียร์ 2 หรือ 3 ก็พอจะได้ความเร็วที่พอเพียง           
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 424  เมื่อ 03 พ.ย. 21, 19:19

ต่ออีกนิดนึงแล้วก็จะพอสำหรับเรื่องรถ

เมื่อขับรถลงเขาหรือทางลาดชัดที่ถนนมีักษณะเปียกลื่น (ด้วยดินโคลนหรือน้ำ) ก็ควรจะต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นอีกหน่อย    คงจะเคยสังเกตว่าเมื่อทำการเบรครถนั้น ส่วนหน้าของรถจะยวบลงไป    เมื่อขับรถลงที่ลาดชันแล้วมีการเบรครถ ท้ายรถซึ่งส่วนมากจะมีความหนักมากกว่าส่วนหน้ารถก็จึงมักจะลื่นปัด อาการเช่นนี้อาจจะรู้สึกได้น้อยมากบนถนนหลวงโดยทั่วๆไป  แต่จะเห็นได้ชัดก้บรถที่ใช้เส้นทางในป่าเขา แม้กระทั่งจะขับแบบช้าๆลงตามลาดชันบนถนนที่เป็นดินโคลนลื่นๆ จะขับโดยใช้วิธีเบรคด้วยเครื่องยนต์หรือระบบเบรคของรถก็ตาม   วิธีหนึ่งที่ใช้ในการแก้ไขสำหรับพวกขับรถป่าก็คือ ถอนการเบรคหรือเหยียบคลัชปลดระบบเบรคด้วยเครื่องยนต์เป็นช่วงๆ เพื่อให้รถได้เคลื่อนที่ไปในลักษณะของ free fall เป็นระยะๆ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 425  เมื่อ 03 พ.ย. 21, 19:59

ขอเว้นรรคไป ตจว. หลายวันครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 27 28 [29]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง