เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 29
  พิมพ์  
อ่าน: 15697 ความรู้ในลิ้นชัก
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 375  เมื่อ 13 ต.ค. 21, 08:01



ขยายความออกมายืดยาว ไปค้นข้อมูลมาได้ว่า เหมืองตะกั่วในพื้นที่ก็มี เช่น เหมืองถ้ําทะลุ เหมืองใหม่ เหมืองบุหลัน เหมืองบายอ เหมืองยูโรไทย และเหมืองลาหนา 

สำหรับเหมืองแร่ดีบุกก็ เช่น เหมืองปินเยาะ เหมืองราซ่า และเหมืองบรรจบ


ขอบคุณครับอาจารย์ แสดงว่าในอดีตมีความสับสนระหว่างดีบุกกับตะกั่ว
สิ่งที่เรารับรู้มาตลอดคือบรรพบุรุษทำเหมืองแร่ดีบุกทั้งเหมืองถ้ำทะลุ เหมืองบูหล่วน เหมืองบายอ

แต่มายุคหลังสมัยพ่อผมนี่ที่บูหล่วนทำแร่ดีบุกแน่ ๆ ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 376  เมื่อ 13 ต.ค. 21, 19:05

ก็เป็นข้อเท็จจริงดังนั้นครับ  ไม่สับสนตั้งแต่อดีตแล้วครับ

ในพื้นที่แถวนั้นของยะลา มีแร่ดีบุกเกิดร่วมอยู่กับกลุ่มแร่ sulfide  ซึ่งเป็นแหล่งแร่ประเภทที่ไม่พบมากนักในธรรมชาติ  พื้นที่นี้ก็เป็นหนึ่งในประเภทนั้น    เท่าที่พอจะทราบ ก็มีการเปลี่ยนการทำเหมืองแร่ตะกั่วไปเป็นการทำเหมืองแร่ดีบุกในพื้นที่ๆดีบุกถูกพัดพามาสะสมจากแหล่งกำเนิดที่ผุพัง ซึ่งมีปริมาณมากพอที่จะมีผลกำไรจากการลงทุนทำเหมืองดีบุก 

แหล่งแร่ sulfide ก็มีทั้งแบบมีแร่หลักเพียงชนิดเดียว เช่น แร่พลวง แร่ตะกั่ว   หรือมีแร่หลายชนิดเกิดปะปนกัน ซึ่งประเภทปะปนกันนี้ ที่พบกันมากมักจะมีขนาดเล็ก ส่วนมากไม่คุ้มค่าในการลงทุน  เหมืองแร่ที่ยะลานี้จึงเป็นเหมืองตัวอย่างหนึ่งที่วิศวกรเหมืองแร่รุ่นเก่าก่อนนั้นต้องรู้จักและเรียนรู้กัน     สำหรับในกรณีที่เป็นแหล่งขนาดใหญ่ ก็จะเรียกกันในอีกชื่อว่า Massive sulfide ore body    แหล่งแร่ sulfide ขนาดใหญ่นี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการในอุตสาหรรมเหมืองแร่รายใหญ่ให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการลงทุน   ในภาพง่ายๆก็คือ ลงทุนเปิดเหมืองที่เดียวแต่ได้สินค้าที่สามารถนำไปขายในตลาดโลกได้มากมาย  มากน้อยชนิดต่างกันไปในแต่ละแหล่ง ก็จะมี อาทิ ทองคำ ทองแดง เงิน ตะกั่ว สังกะสี นิเกิล สารหนู ปรอท....     

ก็มีเรื่องที่น่าสังเกตอยู่ว่า เหมืองแร่ทองคำขนาดใหญ่ทั้งหลายดูจะไม่มีคำว่าทองคำปรากฎอยู่ในชื่อเหมืองหรือในชื่อของบริษัทที่ทำผลิตทองคำจากแหล่งทองคำนั้นๆ  พอจะนึกเหตุผลได้ใหมครับ ?   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 377  เมื่อ 13 ต.ค. 21, 19:35

ขอบคุณครับอาจารย์ แสดงว่าในอดีตมีความสับสนระหว่างดีบุกกับตะกั่ว
สิ่งที่เรารับรู้มาตลอดคือบรรพบุรุษทำเหมืองแร่ดีบุกทั้งเหมืองถ้ำทะลุ เหมืองบูหล่วน เหมืองบายอ
แต่มายุคหลังสมัยพ่อผมนี่ที่บูหล่วนทำแร่ดีบุกแน่ ๆ ครับ

ที่ได้กล่าวมา ก็เป็นความเห็นไปตามความรู้เท่าที่พอจะมีของผมครับ ผมมีความคุ้นเคยกับพื้นที่น้อยมากและไม่มีข้อมูลสถิติเกี่ยวกับปริมาณการผลิตแร่ชนิดใดและการเสียค่าภาคหลวงสำหรับแร่ชนิดใดมากพอที่จะ delineate เรื่องราวต่างๆให้กระจ่างได้ตามข้อสงสัยครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 378  เมื่อ 13 ต.ค. 21, 20:49

ได้เห็นสัญญาบางส่วนเกี่ยวกับเรื่องของการทำเหมืองแร่ของบรรพบุรุษของคุณหมอ CVT แล้ว เลยคิดว่าน่าจะต้องขยายความอ่างผิวเผินกับเรื่องของสัญญาหรือความตกลงในการแสวงหาประโยชน์กับทรัพยากรของรัฐ    ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่เราๆทั้งหลายน่าจะได้พอรู้พื้นฐานของมัน  มันเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนและซ่อนเงื่อนอยู่มากทีเดียว
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 379  เมื่อ 14 ต.ค. 21, 19:22

ได้เห็นสัญญาบางส่วนเกี่ยวกับเรื่องของการทำเหมืองแร่ของบรรพบุรุษของคุณหมอ CVT แล้ว เลยคิดว่าน่าจะต้องขยายความอ่างผิวเผินกับเรื่องของสัญญาหรือความตกลงในการแสวงหาประโยชน์กับทรัพยากรของรัฐ    ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่เราๆทั้งหลายน่าจะได้พอรู้พื้นฐานของมัน  มันเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนและซ่อนเงื่อนอยู่มากทีเดียว

เนื้อความเต็มตามนี้ครับอาจารย์

Agreement entered into this day the 26th of December 1876. Between the Galena Mining Company Limited, Jalor and Raman on the one part and Tan Choo Beng on the other part.
That Tan Choo Beng hereby agrees to work the various mines or workings of the company and any other places of which he may be aware in Gua Tumbus and sell to  the above named Company whatever Galena Ores may be obtained therefrom.
For which the Company agrees to pay the said Tan Choo Beng at the rate of $2.25 per picul for ores which will when smelted return  from 55 % to 60 %  and at the rate of  $1.50 per picul for ores which when smelted will return 40 % ores of different per Centages to the above mentioned will be paid for according to value.
The Company will in the first instance supply Bores and Hammers which Tan Choo Beng must keep up and be responsible for also ore bag for the conveyance of the ore.
In cases of Sinking Shafts or Draining Levels such working must be properly carried on by being made safe and secure to the satisfaction of the Company’s Manager at the time being or any substitude he may appoint.
All ores to be conveyed from Gua Tambus to alongside the Companys road at Tan Choo Beng’s cost and risk after which the Company will take charge of it.
All ores to be weighed at the Company smelting shed and stand 106 Catties same as Patani Picul.
Powder will be supplied by the Company at the rate of $16 per keg, Fuse at 20 Cents per Coil. Dynamite $5.00 per packet and Detonators at $2.00 per tin.
Ore to be paid by cheque payable in Singapore.
This agreement to last for 20 years.
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 380  เมื่อ 15 ต.ค. 21, 19:31

ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากเลยครับ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้ทรงตั้งกระทรวงการคลังขึ้นมาได้ประมาณปีเดียว      ผมเอาข้อมูลในสัญญานี้  ข้อมูลจากประวัติของกระทรวงการคลัง(ฉบับภาษาอังกฤษ) ข้อมูลเกี่ยวกับระบบสัมปทานที่นานาชาติใช้กัน และที่ได้รู้จากการเคยร่วมทำงานที่เกี่ยวกับการสัมปทานทรัพยากรธรณี   เอามาประมวลเข้าด้วยกัน ก็ได้ความมากพอที่จะนำมาเล่าสู่กันๆฟัง แต่คงจะต้องเป็นแบบพื้นฐานที่ไม่มีความสลับซับซ้อนนัก 

แต่ก่อนนั้น การหาเงินของรัฐต่างๆเอามาใช้เป็นส่วนกลาง ส่วนมากจะใช้วิธีการตั้งบุคคลที่มีถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่หรือส่งบุคคลส่วนกลางไปอยู่ประจำ เพื่อทำหน้าที่เก็บรวบรวมสินค้า ส่วย ภาษีอากร แล้วส่งเข้าส่วนกลาง    ต่อมาเมื่อการเดินทางได้ขยายกว้างไปไกลทั้งบนบกและข้ามน้ำข้ามทะเล ข้ามซีกโลกมากขึ้น การค้าขายและการลงทุนก็ได้เปิดกว้างมากขึ้นตามไปด้วย  ทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายชนิดของหลายประเทศกลายเป็นสินค้าที่ต้องการประเทศมหาอำนาจทางตะวันตก  ซึ่งการใช้อำนาจเข้าไปครอบครองนั้นมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก  ก็เลยเกิดระบบสัมปทานขึ้นมา (น่าจะเป็นช่วงสมัย ร.2  ร.3 แถวๆนั้น ?)  ระบบนี้ ในด้านหนึ่งก็เพื่อเป็นการบีบให้ประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นที่ต้องการ เปิดให้มีการเข้าไปแสวงประโยชน์โดยได้รับผลตอบแทน (ไม่ต้องมีการใช้กำลังกัน ??)    สำหรับประเทศไทย ในสมัย ร.4 อังกฤษก็ส่ง Sir John Bowring เข้ามาทำสนธิสัญญาการค้ากับไทย  ซึ่งรายละเอียดหนึ่งในนั้นก็คือ การเก็บภาษีเกี่ยวกับทรัพยากรของรัฐ (Crowns monopolies on certain commodities) และ custom duty ในอัตราไม่เกิน 3%  (ในปีถัดไป นายพล Matthew Perry ของสหรัฐฯ ก็ไปเปิดญี่ปุ่น)   

เมื่อถึงสมัย ร.5 จึงมีการตั้งกระทรวงการคลัง สมัยนั้น เหมืองแร่ดีบุกกำลังเฟื่องฟู หากความจำยังพอใช้ได้อยู่ จำได้ว่าอยู่ในอัตรา 100 ชัก 3 ของราคาโลหะดีบุก  ดังนั้น ก็จึงต้องมีราคาอ้างอิงเพื่อความ fair ของทั้งสองฝ่ายที่ต่างก็ยอมรับกัน ซึ่งก็คือราคาตลาดโลก  ก็จะไปพัวพันกับอัตราแลกเปลี่ยนและอื่นๆ เช่น ตลาดซื้อขายอยู่ในอังกฤษใช้เงินปอนด์ แต่ซื้อขายกันในตลาดทั่วไปด้วยดอลล่า หรือในด้านการ hedging      ราคาตลาดโลกก็เปลี่ยนแปลงทุกวัน ก็เลยต้องประกาศกันทุกวัน   ท่านที่เป็นนักการเงินหรือนักบัญชีคงจะทราบเรื่องเช่นนี้ดีในเรื่องของการดำเนินการในแบบที่เป็นบวกหรือเป็นลบ

ก็เข้าใจเอาเองว่า การเก็บรายได้เข้ารัฐจากการอนุญาตให้แสวงหาประโยชน์ทรัพยากรอันเป็นของรัฐนั้นใช้คำว่า ค่าภาคหลวง     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 381  เมื่อ 16 ต.ค. 21, 20:14

นานมาแล้ว เคยสนใจเรื่องเกี่ยวกับคำว่าสัมปทาน (concession, concessionaire)   สมัยนั้นค้นหาความรู้ได้แต่เพียงจากหนังสือและวารสาร (Journal) ต่างๆ จำได้ว่าสัมปทานแรกๆที่เกิดขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ.1901 โดยเฉพาะสัญญาสัมปทานของประเทศอิหร่านที่ให้สัมปทานการขุดเจาะน้ำมันนั้นคือต้นแบบที่ได้ถูกนำมาพัฒนา จนเกิดเป็นข้อสัญญาสำคัญที่ต้องมีอยู่ในสัญญาสัมปทานในปัจจุบันหลายๆเรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของแต่ละฝ่าย  เรื่องของผลประโยชน์ เรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี  เรื่องของ Grace period  เรื่องของทรัพย์สิน (ผู้ใดลงทุน สุดท้ายเป็นของใคร)  เรื่องของเหตุสุดวิสัย (Force Majeure)  เรื่องของกรณีเกิดความขัดแย้งกัน (ใช้ระบบศาล หรือใช้ระบบอนุญาโตตุลาการ ตามกฎหมายของใคร หรือใช้ระบบของ UNCITRAL)  และเรื่องอื่นๆ เช่น ระยะเวลาของการ carry forward (ขาดทุน กำไร)  บางสัมปทานก็มีเรื่องทางการบัญชีผนวกเข้าไปด้วย

เรื่องของการสัมปทาน จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ง่ายนัก เป็นเรื่องทางเทคนิค ทางกฎหมาย ทางการเงินการคลัง ทางนโยบายระยะยาวของรัฐ ฯลฯ แล้วก็ต้องคำนึงถึงช่องโหว่ที่อาจจะนำไปสู่การบิดพริ้วและการแสวงหาประโยชน์ใดๆ     เป็นเรื่องที่ต้องคิดถึงผลที่จะตามมา (consequences) อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาของการสัมปทาน ทั้งในเชิงทางรูปธรรมและนามธรรม     
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 382  เมื่อ 17 ต.ค. 21, 10:34

นานมาแล้ว เคยสนใจเรื่องเกี่ยวกับคำว่าสัมปทาน (concession, concessionaire)      

ผมมีสำเนาเอกสารเก่า ยังไม่ใช้คำว่าสัมปทาน แต่เป็นภาษีส่วยแร่ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 383  เมื่อ 17 ต.ค. 21, 18:38

ขอบคุณมากครับ ได้เห็นเอกสารที่เป็นข้อมูลที่น่าสนใจอย่างยิ่งเพิ่มมาอีก  ลองเรียงวันเวลาดูกันนะครับ

  -ปี พ.ศ.2398  มีการลงนามในสนธิสัญญาบาวริงระหว่างไทยกับอังกฤษ
  -ปี พ.ศ.2419  มีข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของสัญญาระหว่างเอกชน ในพื้นที่ Gua Timbus เกาะลังกาวี  เป็นสัญญาระยะยาว (20 ปี) มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการคำนวณและการจัดการเกี่ยวกับผลประโยชน์ เงื่อนไขในเรื่องของภาระงานและการลงทุน และเรื่องเกี่ยวกับการเงิน (ดังที่ปรากฏในเอกสารใน คห. CVT เมื่อ 14 ตค.)
  -ปีพ.ศ.2432  มีข้อมูลเกี่ยวกับสภาพของการระบบการเก็บส่วย ภาษี อากร ในสมัยนั้น   ก็มีเรื่องของการผูกส่วย มีเรื่องของความเป็นปัจเฉกของพื้นที่ในการเรียกเก็บภาษี  และเรื่องของแนวคิดในเชิงของการอนุญาตให้สิทธิในการประกอบกิจการแบบระยะยาว(50 ปี)  เรื่องของการให้ผลประโยชน์ตอบแทนกับรัฐแบบ conclusive  และเรื่องของการกำหนดเขตพื้นที่ๆได้รับสิทธินั้นๆ 
  -ปี พ.ศ.2441 มีการจัดตั้งกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา  งานด้านการรังวัดดูจะเริ่มมีอย่างจจริงจังนช่วงนี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 384  เมื่อ 17 ต.ค. 21, 18:58

อยู่ดีๆแป้นพิมพ์คอมก็รวนขึ้นมา  อ่านทวนแล้วแก้ไขคำผิดหรือจะปรับคำอย่างไรมันก็ยิ่งไปกันใหญ่  เลยต้องหยุดชะงัก

  -ปี พ.ศ.2444  มีการตั้งกรมที่ดินขึ้นมา
  -ปี พ.ศ.2444  ก็มีการออก พรบ.แร่ ฉบับแรก  กำหนดพื้นที่ทำเหมืองได้ไม่เกิน 300 ไร่ มีอายุไม่เกิน 25 ปี
  -ปี พ.ศ.2445  จึงมีการออกประทานบัตรฉบับแรก

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 385  เมื่อ 17 ต.ค. 21, 20:02

ก็คงจะไม่ต้องมีคำวิพากษ์ใดๆ     time line และข้อมูลอันมีประโยชน์อย่างยิ่งของท่าน CVT คงจะเล่าเรื่องราวต่างๆได้ดีอยู่แล้ว เช่นเรื่องของส่วยและการผูกส่วย และเรื่องของภาษีอากรที่เป็น(อยู่ในลักษณะ) levy fee (tax) ? ซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าบางอย่างที่นำเข้ามาค้าขายหรือหาประโยชน์ในพื้นที่ของตน  รวมถึงภาพในเรื่องของผลและประโยชน์อื่นใดต่างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 386  เมื่อ 18 ต.ค. 21, 19:00

อีกภาพหนึ่งที่เกี่ยวข้องในเรื่องแรกเกิดของการสัมปทานของไทย ก็เป็นเรื่องของการทำไม้   จากประวัติของกรมป่าไม้ที่เผยแพร่อยู่ เรื่องราวก็พอประมวลได้ดังนี้

ผลจากสนธิสัญญาบาวริ่งได้ยังผลให้ในปี พ.ศ.2430 ไทยถูกบีบให้จำกัดอำนาจของเจ้านายฝ่ายเหนือในการอนุญาตให้ทำไม้สัก โดยให้การอนุญาตเข้าไปทำไม้ในแต่ละผืนป่าจะมีได้เพียงเจ้าเดียว    ในปี พ.ศ.2439 ได้มีการตั้งกรมป่าไม้ขึ้นมาและดำเนินการในหลักการว่า ไม้สักเป็นสมบัติของแผ่นดิน   ในปี พ.ศ.2449 รัฐจึงได้จึงได้เริ่มกิจการทำป่าไม้สักด้วยตนเองแทนการให้สัมปทาน   

มาถึงตรงนี้ ก็คงจะต้องเอาเรื่องราวด้านอื่นๆระหว่างไทยกับอังกฤษในช่วงเวลาต่างๆจนถึงการเสียดินแดนภาคใต้มาประกอบด้วย  โดยเฉพาะเรื่องราวทางการเมือง การปกครอง การค้า สิทธิประโยชน์ต่างๆ และเรื่องของอำนาจทางศาล   ซึ่งเมื่อเอาประมวลรวมเข้าด้วยกันแล้ว ก็ดูจะพอทำให้เห็นภาพของ quasi-judicial ที่มีอยู่ในสมัยนั้น รวมถึงภาคปฎิบัติในด้าน legitimacy ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายในเชิงของผลประโยชน์ของรัฐส่วนกลาง ส่วนของพื้นที่ และส่วนตน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 387  เมื่อ 18 ต.ค. 21, 20:04

ขออภัยที่แหกโค้งไปขุดเอาเรื่องที่อาจจะน่าเบื่อมาขยายความสู่กันฟัง  จุดประสงค์ก็เพียงเพื่อจะบอกกล่าวเป็นพื้นฐานว่า ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในผืนแผ่นดินที่ตั้งของแต่ละประเทศนั้น ล้วนเป็นทรัพย์สมบัติของแต่ละประเทศนั้นๆ และเป็นไปตามหลักการที่มีลักษณะเป็นปรัชญาว่า ลึกลงไปใต้ดินจนถึงแกนโลกและเหนือขึ้นไปจนสุดฟากฟ้า   ในอีกนัยหนึ่งก็คือ รัฐทรงไว้ซึ่งความเป็นเจ้าของและเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ทั้งหลายเหล่านั้น เพียงแต่ว่ารัฐจะจัดการกับสมบัติของประเทศเหล่านั้นด้วยวิธีการเช่นใด ซึ่งก็มี เช่น การจัดสรรค์บางส่วนให้ผู้คนสามารถเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ได้  การให้เช่า การให้สิทธิ์ในการแสวงประโยชน์กับสมบัตินั้นๆ ...

ด้วยหลักการที่ว่าข้างต้นนี้  ด้วยภาพในอดีตที่ได้กล่าวถึงมา ด้วยระบบสัมปทานที่มีช่องให้ผู้รับสัมปทานได้ประโยชน์จาก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 388  เมื่อ 18 ต.ค. 21, 20:14

กดปุ่มผิดพลาดไป เลยส่งไปก่อนจะจบความ   

ก็เลยขอจบเรื่องในวันนี้ซึ่งจะนำพาไปสู่อีกเรื่องหนึ่งที่ตั้งใจไว้ ก็คือเรื่องของระบบที่เข้ามาทดแทนระบบสัมปทาน ที่เรียกกันว่า PSC _ Production Sharing Contract   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 389  เมื่อ 19 ต.ค. 21, 18:25

การให้สัมปทานกระทำได้ทั้งในระหว่าง รัฐกับเอกชน และในระหว่างเอกชนกับเอกชน แต่เกือบทั้งหมดจะเป็นกรณีระหว่างรัฐกับเอกชน  การให้สัมปทานทั้งหลายตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานว่า ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติหรือเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์เหนือสิ่งใดๆ ได้ให้สิทธิแก่ผู้หนึ่งผู้ใดให้สามารถดำเนินการทำประโยชน์ในเรื่องหนึ่งใดบนสิ่งที่เป็นทรัพย์สมบัติหรือสิ่งที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตน โดยทำเป็นสัญญาที่มีอายุยาวระหว่างกัน และโดยที่ผู้ได้รับสัมปทานจะจ่ายค่าตอบแทนให้ตามที่ตกลงกัน (Royalty)  การสัมปทานส่วนมากจะเกิดขึ้นกับทรัพย์สมบัติประเภทที่ต้องมีการลงทุนสูง มีความเสี่ยงในเรื่องของความคุ้มค่าของผลตอบแทน ใช้เทคโนโลยีหลากหลาย และในกรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยังไม่มีขีดความสามารถเพียงพอ 

ระบบการแบ่งปันผลผลิต (PSC) ก็เป็นระบบที่ใช้กับทรัพย์สมบัติประเภทที่ต้องมีการลงทุนสูง มีความเสี่ยงในเรื่องของความคุ้มค่าของผลตอบแทน ใช้เทคโนโลยีหลากหลาย และในกรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยังไม่มีขีดความสามารถเพียงพอ    แต่ต่างออกไปตรงที่ ผู้รับสัญญาได้รับสิทธิแต่เพียงการเข้าไปบริหารจัดการทรัพย์สมบัตินั้นๆให้เกิดประโยชน์เท่านั้น จึงไม่มีระบบการจ่ายค่าภาคหลวง (Royalty)    PSC มีลักษณะเหมือนกับสัญญาจ้างทำงานโดยผู้รับจ้างเป็นฝ่ายลงทุนทั้งหมด ฝ่ายเจ้าของเกือบจะไม่ต้องลงทุนลงแรงใดๆเลย จะมีก็เพียงการอำนวยความสะดวกในบางเรื่อง  ผู้รับจ้างจะทำการใดๆก็จะต้องแจ้งและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายเจ้าของ   ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นมา ส่วนหนึ่งจะจัดแบ่งออกเป็นส่วนคืนค่าใช้จ่ายในการลงทุนของผู้รับจ้าง กำไรที่ได้เกินมาจากส่วนการลงทุนนั้นจะเอามาแบ่งกันในลักษณะที่ปีแรกๆผู้รับจ้างจะได้มาก ผู้จ้างจะได้น้อย ค่อยๆแปรผันไปจนในปีหลังๆผู้รับจ้างจะได้เป็นส่วนน้อย ส่วนผู้เป็นเจ้าของจะได้เป็นส่วนมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง