เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 15864 ความรู้ในลิ้นชัก
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 09 ต.ค. 21, 20:23

แรดีบุกกับประเทศไทยมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกันมายาวนาน น่าจะมากกว่า 200+ ปี  มีทั้งเรื่องภายใน  เรื่องระหว่างประเทศ และเรื่องเกี่ยวกับตลาดโลก  ไทยเราเคยเป็นผู้ผลิต/ผู้ส่งออกในอันดับ 1-3 ตลอดมาจนกระทั่งตลาดดีบุกของโลกวายลง    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 10 ต.ค. 21, 17:54

ครั้งหนึ่ง โลหะดีบุกถูกจัดอยู่ในกลุ่มโลหะยุทธปัจจัยของประเทศทางตะวันตก  จัดอยู่ในระดับที่ต้องมีความจำเป็นต้องมีการเก็บสำรองให้มีพอสำหรับการใช้ในกิจการด้านการส่งกำลังบำรุง  ดีบุกใช้ในการเคลือบด้านในของกระป๋องอาหารที่ทหารใช้ในระหว่างการทำสงคราม    ซึ่งน่าจะเป็นที่มาที่ทำให้ครั้งหนึ่ง บรรดาของที่บรรจุกระป๋องวางขายกันนั้นเรียกกันว่า Tin can หรือใช้คำสั้นๆว่า Tin       คงประมาณแถวๆ พ.ศ.2520+/- กระมัง ก็ได้มีการพัฒนาวัสดุที่เป็นกระดาษเคลือบแผ่นพลาติก (polymer)  โดยวิธีการที่เรียกว่า laminate composite layer  ที่เมื่อเอามาทำเป็นภาชนะใช้งานในลักษณะกระป๋องแล้ว สามารถรับแรงดันได้ดีไม่ต่างไปจากกระป๋องที่ทำด้วยแผ่นเหล็กเคลือบผิวด้วยดีบุก  แต่มีความเบามากกว่า มีความแข็งแรงทนทานดี ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าโละหะมากนัก   ความต้องการของดีบุกในทางอุตสาหกรรมก็ลดลงไปและถูกแทนที่ด้วย laminate composite technology  ซึ่งมีการขยายการใช้ไปในเกือบจะทุกอุตสาหกรรม  สำหรับในกรณีที่ยังจำเป็นต้องใช้กระป๋องเหล็ก ก็จะเป็นกระป๋องที่ด้านในถูก laminated ด้วยพลาสติก    คำว่า tin หรือ tin can ก็เลยหายไป เหลือแต่คำว่า can ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน (ผมเห็นว่าเช่นนั้น)   

โลหะดีบุกมีการค้าขายกันในตลาดใหญ่ที่สำคัญของโลกชื่อว่าLondon Metal Exchange Market  ค้าขาย ดีบุก ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี อลูมิเนียม โคบอลท์ ลิเที่ยม โมลิดินัม นิเกิล เหล็ก และโลหะมีค่าอื่นๆ (ยกเว้นทองคำ) 

เทคโนโลยีการทำวัสดุแบบ Laminate composite นี้ได้ทำให้สิ่งของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆในโลกได้เปลี่ยนแปลงไปมาก     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 10 ต.ค. 21, 19:09

กล่วถึงเรื่องดีบุก ก็ต้องผนวกเรื่อง pewter เข้าไปด้วย

โลหะดีบุกมีความอ่อนและหลอมเหลวได้ง่ายที่อุณหภูมิประมาณ 200+/- C  ก็จึงสามารถเอามาหลอมขึ้นรูปเป็นของใช้บางอย่างได้ง่าย แต่เพื่อที่จะทำให้มันที่ความแข็งและคงรูปจากกระทบกระทั่งได้ดี ก็จึงมีการเอาโละหะอื่นๆไปผสม หลอมเข้าไปด้วยกัน ก็เป็นได้ทั้ง ตะกั่ว ทองแดง พลวง เงิน...

pewter เป็นโลหะที่มีการทำเป็นภาชนะเพื่อใช้ในด้านการบริโภคเป็นส่วนมาก (?)  พบว่ามีการทำกันมานานนับพันปี  ดูเหมือนว่าแต่ละแหล่งที่มีการผลิตและใช้ pewter ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงในปัจจุบันนี้ จะไม่มีสูตรของการใช้ชนิดของโลหะและปริมาณที่ใส่ผสมลงไปที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน  อย่างไรก็ตาม ที่พอรู้มา ก็ล้วนแต่จะมีสัดส่วนของโลหะดีบุกอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น้อยกว่า 90%  หากมีดีบุกในสัดส่วนที่น้อย ชิ้นงานก็จะค่อนข้างแข็ง หากมีดีบุกในปริมาณที่มาก ชิ้นงานก็จะออกไปทางอ่อน   ก็อาจจะเป็นด้วยที่ส่วนผสมมีลักษณะเป็นสูตรของใครสูตรของมัน  pewter เลยมีต้องมีชื่อกำกับว่าเป็นของผู้ใดทำหรือของประเทศใดทำ  ก็เลยมีเช่น Thailand pewter  มี Selangor pewter (ของมาเลเซีย)  หรือมีตราประทับว่าเป็นของบริษัทห้างร้านใดทำ ดังที่ปรากฎให้เห็นบนภาชนะเครื่องใช้ที่เป็นของเก่าของยุโรป             
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 10 ต.ค. 21, 19:21

pewter  ดีบุกผสมตะกั่ว


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 11 ต.ค. 21, 18:07

เห็นภาพแล้วทำให้นึกถึงเครื่องเงินที่ทำด้วย Sterling silver และเครื่องเงินของทางภาคเหนือของไทยเรา   

Sterling silver มีโลหะเงินเป็นพื้นฐาน ผสมกับโลหะอื่น โดยเฉพาะทองแดง เพื่อให้ชิ้นงานมีความแข็งแรง ที่เอาโลหะอื่นๆมาผสมเพิ่มลงไปด้วยก็มีเช่นกัน   ในขณะที่ Pewter มีโลหะดีบุกเป็นพื้นฐาน ผสมกับโลหะอื่นๆดังที่กล่าวถึงแล้ว      สินค้าที่ผลิตขึ้นมาของแต่ละผู้ผลิตสินค้าจากโลหะผสมทั้งสองตระกูลนี้ต่างก็จะมีตราประทับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน   ผลิตภัณฑ์จากโลหะผสมทั้งสองตระกูลนี้ มีผิวที่มีความแวววาว (luster) เกือบจะเหมือนกัน  เพียงแต่ของ sterling silver จะออกไปทาง vitreous มากกว่า  ส่วนของ pewter จะออกไปทาง dull มากกว่า

ทั้ง sterling silver และ pewter เป็นของที่มีนักสะสมของเก่านิยมจะหาซื้อเอามาเก็บสะสมกัน  ซึ่งที่นิยมกันมากดูจะเป็นพวก sterling silver  สำหรับพวกนักสะสมตัวยงก็จะพิจารณลงลึกไปถึงผู้ผลิต (ตราประทับ) กันเลยทีเดียว     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 11 ต.ค. 21, 18:43

Sterling silver


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 11 ต.ค. 21, 18:45

เครื่องเงินวัวลายของภาคเหนือ

https://www.m-culture.go.th/chiangmai/ewt_news.php?nid=954&filename=index
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 11 ต.ค. 21, 19:05

กล่าวถึง sterling silver ของฝรั่งแล้วก็ต้องขยายความออกไปอีกเล็กน้อยเกี่ยวกับเครื่องเงินของทางภาคเหนือของไทยตามที่พอจะมีความรุู้

เครื่องเงินของทางภาคเหนือน่าจะแบ่งออกได้เป็น 4 พวก คือ พวกที่ใช้โลหะเงินบริสุทธิ์ ซึ่งจะได้ชิ้นงานที่ค่อนข้างจะอ่อน  พวกที่ทำจากเงินรูปี (เงินแถบ)  พวกที่ทำจากเงินของจีน  และพวกที่ทำจากเงินที่หลอมผสมกับโลหะอื่นขึ้นมาเอง      

เครื่องเงินรุ่นเก่าเมื่อ 60+ มาแล้ว ที่มีอยู่ตามบ้านต่างๆ ส่วนมากน่าจะทำมาจากเงินของรูปีหรือเงินของจีน   ซึ่งช่างตีเงินมักจะต้องขึ้นรูปชิ้นงานโดยให้ยังคงเหลือตราประทับให้เห็นอยู่ที่ฐานว่าเป็นชิ้นงานที่ทำมาจากเงินใด     เครื่องเงินเหล่านี้ จะจัดเป็นเครื่องใช้ในกลุ่มโลหะ sterling silver ด้วยหรือไม่ ??  ในเมื่อเหรียญเงินรูปีของอินเดียและเงินแท่งของจีนต่างก็เป็นโลหะเงินผสมกับโลหะอื่นๆ  ก็อาจจะเป็นความเข้าใจที่ความคลาดเคลื่อนอย่างมหันต์ก็ได้  ช่วยชี้แนะและขยายความด้วยครับ    

สำหรับเงินบริสุทธิ์นั้นดูจะใช้กับชิ้นงานที่มีการฉลุลาย ซึ่งโดยมากดูจะเป็นชิ้นงานของช่างเงินพม่า ก็มีเช่น ขันเงินฉลุใบเล็ก  ปลอกเงินที่ใช้สวมด้ามร่มกันแดดกันฝน  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 11 ต.ค. 21, 20:20

ขอบคุณครับ สำหรับ link ไปวัวลาย แหล่งผลิตสำคัญของเครื่องเงินต่างๆ   แต่ก่อนนั้นเน้นการผลิตไปในเรื่องของขัน พาน ถาด ชุดแก้วน้ำ 2 ใบ  เครื่องประดับมีไม่กี่อย่าง ส่วนมากก็จะเป็นเข็มขัดเงินสำหรับการใส่ผ้าซิ่น และกระเป๋าเงินที่ใช้ในงานกลางคืน  จำไม่ได้ว่าเคยเห็นพวกที่ทำแบบเงินลงยาหรือไม่      ปัจจุบันนี้ ฝีมือการทำเครื่องเงินดีๆ (โดยเฉพาะเครื่องประดับ) ไปมีอยู่ในพื้นที่อื่นๆก็มี เช่นแถวหาดเสี้ยว (ศรีสัชนาลัย)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 11 ต.ค. 21, 20:25

ก็ยังมีเรื่องของดีบุกที่ใช้ในเรื่องของชิ้นงานโลหะที่เรียกว่า Bronze      แล้วค่อยต่อกันครับ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 12 ต.ค. 21, 08:44

ขันเงินพม่า  ไม่ทราบว่าเป็นอย่างที่คุณตั้งเรียกว่าขันเงินฉลุหรือเปล่า  เพราะมันไม่มีลายฉลุ แต่ตีให่เป็นรูปนูนต่ำก็มี นูนสูงก็มี ค่ะ


บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 12 ต.ค. 21, 10:46

ผมมีสำเนาสัญญาซื้อขายแร่สมัยปี ค.ศ.๑๘๗๖ ที่เหมืองในตำบลถ้ำทะลุ ยะลา ระหว่าง Galena Mining Company Limited, Jalor and Raman. กับหลวงสุนทรสิทธิโลหะ(ตันจูเบ้ง) บรรพบุรุษผม
แปลกตรงแทนที่จะเรียก tin เขาเรียกว่า galena ครับ
ซึ่งในความเข้าใจของผม galena มันเป็นต้นทางของตะกั่ว ไม่ใช่ดีบุก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 12 ต.ค. 21, 12:00

สำเนาสัญญาซื้อขายแร่สมัยปี ค.ศ.๑๘๗๖ ที่เหมืองในตำบลถ้ำทะลุ ยะลา ระหว่าง Galena Mining Company Limited, Jalor and Raman. กับหลวงสุนทรสิทธิโลหะ(ตันจูเบ้ง) บรรพบุรุษผม

Agreement entered into this day the 26th of December 1876. Between the Galena Mining Company Limited, Jalor and Raman on the one part and Tan Choo Beng on the other part.

That Tan Choo Beng hereby agrees to work the various mines or workings of the company and any other places of which he may be aware in Gua Tumbus and sell to the above named Company whatever Galena Ores may be obtained therefrom.

Tan Choo Beng (ตันจูเบ้ง) คือ หลวงสุนทรสิทธิโลหะ

รายละเอียดอยู่ใน blogspot ของคุณหมอ CVT
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 12 ต.ค. 21, 18:35

ขันเงินพม่า  ไม่ทราบว่าเป็นอย่างที่คุณตั้งเรียกว่าขันเงินฉลุหรือเปล่า  เพราะมันไม่มีลายฉลุ แต่ตีให่เป็นรูปนูนต่ำก็มี นูนสูงก็มี ค่ะ

ไม่ใช่ครับ เป็นของที่มีการฉลุลายจริงๆ มีทั้งแบบฉลุลายเฉพาะด้านข้างทั้งหมด หรืฉลุเฉพาะส่วนบนของปากขันก็มี  ผมมีเก็บสะสมไว้ใบหนึ่ง ใบขนาดประมาณอุ้งมือ ทำด้วยเงินแท้ จึงค่อนข้างจะบอบบาง เป็นฝีมือช่างพม่า  เสียดายที่นึกไม่ออกว่าเก็บอยู่ในลังเก็บของใด บังเอิญว่าได้ย้ายบ้านสลับที่อยู่กับลูก เลยเอามาถ่ายรูปให้ชมไม่ได้ ครับ

ขันเงินมักจะต้องมีการตอกลวดลาย พวกลายนูนสูงมักจะเป็นชิ้นงานที่ใช้โลหะเงินที่มีปริมาณเงินสูง ส่วนพวกที่เอาเหรีญเงินมาตีขึ้นรูป ก็มักจะทำเป็นชิ้นงานลายนูนต่ำ หรือเพียงตอกให้เป็นลายร่องเล็กๆ   ชุดเครื่องเงินที่เป็นของสะสมกันนั้น เท่าที่ผมพอจะรู้และเคยอยู่ในสิ่งแวดล้อมทางสังคมนั้นๆ  เห็นว่า ชุดแรก จะประกอบด้วยพานยกฐานสูง ขันลายนูนต่ำใบขนาดที่วางได้พอดีบนพานนั้นๆ แล้วก็ทัพพีตักข้าวตอกลายตามด้ามจับ ชุดนี้ใช้ในการใส่ข้าวเพื่อการตักบาตร  และมีพานเงินยกฐานสูงหรือถาดเงินเพื่อใช้วางเครื่องอาหารคาวหวานสำหรับใส่บาตรอีกใบหนึ่งหรือทั้งสองแบบ      อีกชุดหนึ่งก็จะประกอบด้วยขันเงินใบใหญ่ปากกว้างประมาณ 30+/- ซม. ลายนูนสูง และขันเงินใบเล็กลายตอก เพื่อใช้ใส่น้ำมนต์หรือน้ำส้มป่อยในการสรงน้ำพระ  ใช้ในการรดน้ำดำหัว หรือใช้ในพิธีการให้ศีลให้พรต่างๆ    นอกเหนือไปจากสองชุดที่กล่าวถึงนี้ และที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว (เข็มขัดผ้าซิ่น กระเป๋าถือ) ก็จะเป็นการซื้อหาสะสมไปตามความจริตและชอบของแต่ละบุคคล 

สำหรับตัวผมเองชอบขันเงินขนาดประมาณ ฝ่ามือที่ไม่มีลาย หรือมีลากตอกเล็กน้อยรอบๆปากขัน ขึ้นรูปมาจากเหรียญเงิน มีความหนา แข็งแรงดี มีน้ำหนัก และดีดที่ปากแล้วมีเสียงกังวานดี   เอามาใส่น้ำแข็ง ใส่น้ำสะอาด เหยาะด้วยน้ำยาอุทัย ทิ้งไว้สักพักให้น้ำเย็นทั่วกันทั้งมวล  กินน้ำแล้วรู้สึกชื่นใจจริงๆ   ออกไปทางโบราณมากไปหน่อย นึกอยากก็ทำเสียครั้งหนึ่ง  จะใส่น้ำชาแทนน้ำเปล่าก็ได้ ก็ได้ความรู้สึกที่ดีเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 12 ต.ค. 21, 20:11

ผมมีสำเนาสัญญาซื้อขายแร่สมัยปี ค.ศ.๑๘๗๖ ที่เหมืองในตำบลถ้ำทะลุ ยะลา ระหว่าง Galena Mining Company Limited, Jalor and Raman. กับหลวงสุนทรสิทธิโลหะ(ตันจูเบ้ง) บรรพบุรุษผม
แปลกตรงแทนที่จะเรียก tin เขาเรียกว่า galena ครับ
ซึ่งในความเข้าใจของผม galena มันเป็นต้นทางของตะกั่ว ไม่ใช่ดีบุก

เหมืองนั้นเป็นเหมืองแร่ตะกั่ว ถูกต้องแล้วครับ   พื้นที่แถบนั้นเป็นบริเวณที่มีหินอัคนีแทรกซอนขึ้นมาสัมผัสกับหินปูน  มีน้ำแร่ร้อน (Hydrothermal)  ซึ่งมีสารประกอบของธาตุต่างๆที่เกิดตามสภาพการผันแปรไปตามแรงดัน (pressure)  อุณหภูมิ (temperature) ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) และสภาพของบรรยากาศ (oxidation / reduction) ตามเส้นทางที่มันแทรกตามขึ้นมา  ยังผลให้เกิดสารประกอบต่างๆ (แร่)ที่มีความเสถียร ณ สภาพที่ต่างๆกันไป     

การสัมผัสระหว่างหินอัคนีประเภทแทรกซอนขึ้นมาในหินปูน มักจะทำให้เกิดแร่พวก sulfide  โดยเฉพาะพวกที่ให้โลหะที่เรียกกันว่าเป็นพวก Base metal (Cu Pb Zn Sb...) ซึ่งในกลุ่มแร่พวกนี้ก็มักจะให้โลหะอื่นๆปนมาอีกด้วย (เงิน ทองคำ สารหนู ปรอท..)  ระยะสุfท้ายของการแทรกซอนขึ้นมาก็มักจะเป็นสายแร่ quartz และ feldspar ซึ่งบางแห่งก็จะนำแร่ดีบุก ทังสเตน ขึ้นมาด้วย  กระทั่งพลอยบางอย่าง เช่น garnet, tourmaline, beryl และ moonstone ...

ขยายความออกมายืดยาว ไปค้นข้อมูลมาได้ว่า เหมืองตะกั่วในพื้นที่ก็มี เช่น เหมืองถ้ําทะลุ เหมืองใหม่ เหมืองบุหลัน เหมืองบายอ เหมืองยูโรไทย และเหมืองลาหนา 

สำหรับเหมืองแร่ดีบุกก็ เช่น เหมืองปินเยาะ เหมืองราซ่า และเหมืองบรรจบ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง