เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 15704 ความรู้ในลิ้นชัก
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 345  เมื่อ 05 ต.ค. 21, 19:31

ก็น่าสนใจอยู่เหมือนกันว่า อาหารแบบปักษ์ใต้ที่ดูจะมี tag ชื่อว่าเป็นอาหารของครัวแบบจังหวัดโน่นนี่นั้น ก็อาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของข้าวแกงรสจัดจ้านและอร่อยๆตามสถานีรถไฟได้เหมือนกัน    ท่านที่เคยเดินทางด้วยรถไฟขบวนรถเร็วและขบวนหวานเย็นที่แวะจอดเกือบจะทุกสถานี น่าจะนึกออกสภาพดังกล่าวนี้ได้บ้าง

สายใต้ก็จะเริ่มจากที่นครปฐม ก็มีอาทิ ข้าวหมูแดง ข้าวหลาม ไก่ย่าง เข้าเขตราชบุรีก็มีไก่ย่างบางตาล ข้าวเหนียว  เข้าเขตเพชรบุรีก็จะมี ข้าวราดแกง ขนมหม้อแกง และขนมหวานอื่นๆ ฯลฯ   สายเหนือก็จะเริ่มที่อยุธยา แต่นึกไม่ออกแล้ว จำได้แต่แถวบางมูลนาก พิจิตร ก็จะมีนกกระจาบทอดกรอบ
บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 346  เมื่อ 06 ต.ค. 21, 09:14

ก็จะมีนกกระจาบทอดกรอบ

ตอนนี้ไม่น่าจะมีแล้วครับ นกกระจาบและรังนกกระจาบเป็นสัตว์คุ้มครองไปแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 347  เมื่อ 06 ต.ค. 21, 18:44

ใช่ครับ ไม่มีแล้ว ตัวนกกระจาบและรังของมันก็เกือบจะไม่มีให้เห็นแล้วอีกด้วย  นกกระจาบจะอยู่กันเป็นฝูงๆ  เห็นมากในช่วงที่ข้าวแก่จัดกำลังสุก ชาวนาไม่ชอบเพราะมันจะลงมากินข้าวที่กำลังจะเก็บเกี่ยว ได้รับความเสียหายในระดับที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย  ช่วงเวลาหนึ่งคงเห็นว่าจะไล่ก็ไม่จบเรื่องเสียที เลยจับเอามาถอนขนแล้วทอดขายบ้างก็คงจะดีกว่า  คนที่จะกินนกกระจาบทอดก็คงจะเป็นพวกตั้งวงสนทนายามแดดร่มลมตก ที่จะเอาไปทำผัดหรือแกงสับนกก็คงจะไม่มีมากนัก เพราะนกตัวเล็กมาก มีเนื้อน้อย มีแต่กระดูก       

หากขับรถขึ้นเหนือโดยใช้เส้นทาง อ.อินทร์บุรี จ.สิงหฺบุรี - อ.วังทอง จ.พิษณุโลก  ก็จะเห็นที่ราบที่กว้างใหญ่มองไกลสุดลูกหูลูกตาทั้งสองฝั่งถนน ตลอดเส้นทางประมาณ 200+ กม. ล้วนแต่เป็นพื้นที่ใช้ทำนากันทั้งนั้น   

จากข้อมูลที่คุณ unicorn9u ว่า นกกระจาบเป็นสัตว์คุ้มครองไปแล้ว   ก็ทำให้มองได้ใน 2 ด้าน  ในด้านหนึ่งดูจะบ่งบอกว่า นกกระจาบถูกจับไปบริโภค ถูกจับไปทำลาย หรือมีการตัดตอนวงจรชีวิตของมัน มากไปจนเกินความเหมาะสมของการคงสายพันธุ์ตามธรรมชาติ (species sustainability)     ในอีกด้านหนึ่งดูจะบ่งบอกว่า สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติได้แปรเปลี่ยนไปโดยการกระทำของมนุษย์ จนทำให้มันไม่สามารถเจริญพันธุ์ได้ในปริมาณที่มากพอเพื่อการคงสายพันธุ์ตามธรรมชาติ       ก็ดูเป็นเรื่องที่น่าสนใจนะครับ พื้นที่ๆเป็นแหล่งอาหารสำคัญของพวกมันใหญ่ขนาดนั้น ประชากรของพวกมันก็คงจะต้องมีอยู่เป็นจำนวนมากเลยทีเดียว  วันหนึ่งพวกมันก็หายไปมากพอที่จะต้องถูกคุ้มครอง    แล้วสาเหตุหรือต้นเหตุที่แท้จริงคืออะไร  เป็นไปได้ใหมว่าเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของการใช้ยาปราบแมลงต่างๆ  แมลงมักจะเป็นส่วนหนึ่งในวงจรอาหารการกินของนกโดยเฉพาะในวัยแรกเกิดและเริ่มโต     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 348  เมื่อ 06 ต.ค. 21, 20:32

ลืมบอกกล่าวถึงของดีๆของสงขลา  ก็มีมะม่วงเบาแช่อิ่ม และผ้าฝ้ายทอมือของเกาะยอ   มะม่วงเบาเป็นมะม่วงที่อร่อย ออกผลทั้งปี ผลดิบไม่มีรสที่เปรี้ยวจัด เอามากินกับน้ำปลาหวานจะอร่อยมาก  จะเป็นน้ำปลาหวานที่ทำแบบลวกๆหรือที่แบบแบบมีเครื่องปรุงครบก็อร่อยทั้งนั้น       สำหรับที่หาดใหญ่ก็น่าจะลองไปกินปลากระบอกแช่เย็น อร่อยมาก  และก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาหมึก

ก็มีเรื่องของข้าวมันไก่ที่น่าสนใจอยู่ว่า เขาว่าไก่เบตงและข้าวมันไก่เบตงนั้นมีความสุดอร่อย  ไก่สายพันธุเบตงนั้น เท่าที่พอจะมีความรู้ เขาว่าเป็นสายพันธุ์ที่มาจากมณฑกวางสีของจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ๆใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไทยและภาษาจีนกวางตุ้ง   แต่ที่เราในภาคกลางมักจะรู้กัน คือข้าวมันไก่อร่อยต้องเป็นแบบไหหลำ   ก็ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วมีความอร่อยต่างกันเช่นใด 

แวบออกนอกเส้นทางหน่อยนึง -หากประสงค์จะสัมผัสกับความรู้สึกที่ตื่นเต้นในพื้นที่ภาคใต้บ้าง ก็น่าจะลองขับรถในช่วงเวลาก่อนพลบค่ำบนถนนระหว่างอำเภอในพื้นที่ส่วนใต้ตัว จ.สงขลา ลงไป  จะรู้สึกโดดเดี่ยวและวังเวงดีครับ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 349  เมื่อ 06 ต.ค. 21, 20:42

ข้าวมันไก่เบตง ข้าวมันไก่ไหหลำ ข้าวมันไก่​สิงคโปร์ ต่างจากข้าวมันไก่ธรรมดาอย่างไรครับ?

https://pantip.com/topic/36253716
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 350  เมื่อ 07 ต.ค. 21, 17:49

แต่ก่อนนั้น ข้าวมันไก่จะต้องมีต่อท้ายด้วยคำว่า 'ตอน'  เหมือนกับจะบอกว่าเป็นข้าวมันไก่ที่ใช้ไก่ตอน มิได้ใช้ไก่ตัวใหญ่อ้วนๆธรรมดาๆ และในแต่ละจานที่สับไก่ใส่ลงไปก็จะต้องมีเลือดไก่สองสามชิ้น มีเครื่องในไก่เป็นกึ๋นและตับอีกอย่างละชิ้นสองชิ้นแนมมาด้วย   บางเจ้าในต่างจังหวัดมีการใส่ไข่อ่อนมาด้วยก็มี    แต่หากเป็นแบบสับไก่โปะหน้าข้าวก็จะมีแต่เพียงเลือดหนึ่งชิ้นเท่านั้น   ในปัจจุบันนี้ดูทุกเจ้าดูจะเหลือแต่เลือดเท่านั้น     แต่ก็มีเจ้าที่สับไก่แบบพิถีพิถันในอีกแบบหนึ่ง คือ ลอกหนังไก่ออกมา ขูดเอามันออกไป เอาหนังนั้นปะกลับไปบนเนื่อแล้วจึงสับใส่จาน  ร้านน่าจะยังคงอยู่แถวๆย่านบรรทัดทอง

ข้าวมันไก่นั้นดูคล้ายกับจะเป็นอาหารที่ทำง่ายๆ  แท้จริงแล้วไม่ง่ายนัก เพราะมีสูตรและวิธีการทำที่หลากหลายทีเดียว ทั้งวิธีการต้มไก่และวิธีการหุงข้าวมันให้อร่อย กระทั่งน้ำจิ้มของมัน    แต่ก็เป็นเรื่องที่ดีเพราะแต่ละวิธีดูจะเหมาะกับลักษณะและสภาพของแต่ละครัวที่แตกต่างกัน  หากจะทำกินเองก็จึงควรจะต้องหาอ่านสูตรการทำต่างๆที่เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมของตน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 351  เมื่อ 07 ต.ค. 21, 18:44

ก็มีอีกไม่กี่เรื่องที่จะกล่าวถึงสำหรับในพื้นที่ภาคใต้ 

ลงไปเที่ยวใต้ถึงพังงาแล้วก็ควรจะหาโอกาสไปบ้านบางพัฒน์ เป็นหมู่บ้านเล็กๆอยู่ปากคลองบางลิง ก้นอ่าวพังงา  บ้านอยู่อาศัยของชุมชนมีลักษณะคล้ายๆกับหมู่บ้านชาวเลของเกาะลันตา   ผู้คนที่นี่มีอัธยาศัยดีและมีความเป็นมิตรกับคนต่างถิ่นมาก มีร้านอาหารอร่อย   ไปหมู่บ้านนี้แล้วรู้สึกสบายใจและผ่อนคลายกับธรมชาติที่เกือบจะไร้การปรับแต่งโดยฝีมือของมนุษย์     

ขากลับออกจากเมืองพังงาก็น่าจะลองหาซื้อข้าวดอกข่าติดมือกลับมาด้วย เอามาลองหุงทานกัน  ข้าวดอกข่าเป็นข้าวพันธุ์โบราณของพื้นที่แถบนั้น มีการปลูกแบบข้าวไร่  จัดว่าเป็นข้าวไร่สายพันธุ์หนึ่งที่ยังคงมีการปลูกกันที่พังงา     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 352  เมื่อ 07 ต.ค. 21, 19:28

พักอยู่ในเมืองพังงา พอตกบ่ายๆก็ขับรถไป อ.ท้ายเหมือง ตรงลงหาดไปเลย หาดทรายแถบนี้เป็นพื้นที่อยู่สำคัญของตัวจั๊กจั่นทะเล ซึ่งเป็นสัตว์มีเปลือกพวก Crustacean   เอามาทำกินได้หลายอย่าง สำหรับคนต่างถิ่นก็อาจจะนิยมเอามาทอดกรอบ สำหรับคนพื้นที่ก็อาจเอามาใช้ในแกงต่างๆ

ที่จะกล่าวถึงนั้นเป็นเรื่องของความสนุกในการจับตัวจั๊กจั่น   จะจัดเป็นการไป picnic ง่ายๆที่หาดท้ายเหมืองก็ได้  เป็นหาดที่มีผู้คนน้อย จึงไม่ต้องมีเรื่องใดที่จะต้องกังวลมากนัก   เมื่อพร้อมแล้วก็ออกไปทำความคุ้นเคยกับคลื่นที่เข้ามากระทบฝั่งและระยะที่น้ำซัดเข้ามาบนหาดทราย  ตั้งใจรอดูว่าในช่วงเวลาที่น้ำที่ซัดเข้ามาบนหาดนั้นกำลังไหลกลับทะเล จะเห็นฟองน้ำปุดๆอยู่ ก็รีบวิ่งไป ณ จุดนั้นโดยเร็ว แล้วเอามือขุดวิดทรายออกมา ก่อนที่มันจะฝังตัวลงไปนิ่งอยู่ใต้ทราย   ก็สนุกดี ได้ออกกำลังเล็กๆน้อยๆ  ก็คงไม่สามารถหาตัวมันได้มากพอที่จะเอามาทำกิน  หากจะลองกินมันก็คงต้องไปหาเอาตามร้านอาหาร     ก็อาจจะขับรถเข้าตลาดซึ่งอยู่ใกล้ๆเพื่อดูลักษณะอาคารที่ทำเป็นคอนโดของนกนางแอ่นก็ได้อยู่ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 353  เมื่อ 07 ต.ค. 21, 19:39

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 354  เมื่อ 07 ต.ค. 21, 19:41

https://www.facebook.com/JJWHOUSE3939/posts/760460607459455/


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 355  เมื่อ 08 ต.ค. 21, 14:14

ของดีๆของสงขลา  ก็มีมะม่วงเบาแช่อิ่ม มะม่วงเบาเป็นมะม่วงที่อร่อย  
ไม่รู้จักมะม่วงเบาค่ะ ตอนแรกไม่อยากรบกวนอาจารย์เลยไปถามอากู๋ ปรากฏอากู๋ไม่มีคำอธิบายอะไรเลยค่ะ มีแค่รูปมะม่วงให้ดู สังเกตได้ว่าเป็นมะม่วงลูกเล็กๆทั้งนั้น ทำให้ไม่แน่ใจว่ามะม่วงเบาหมายถึงมะม่วงลูกเล็กๆน้ำหนักเบา หรือว่าเป็นชื่อพันธุ์ เลยต้องมารบกวนขอความรู้จากอาจารย์ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 356  เมื่อ 08 ต.ค. 21, 19:05

คงจะให้ความเห็นตามความรู้ที่ประมวลได้จากการทำงานภาคสนามในพื้นที่ต่างๆ และเป็นความเห็นนอกตำราทางภาษาศาสตร์และทางเกษตรศาสตร์

ผลิตผลของพืชไร่/พืชสวนต่างๆนั้น จะมีแบบที่ออกดอกผลตามฤดูกาลตามธรรมชาติของมัน และมีแบบที่ออกดอกผลนอกฤดูกาลของมัน   ชาวบ้านจะนิยมเรียกพืชผลที่ออกนอกฤดูกาลโดยใช้คำว่า 'ทะวาย' ต่อท้ายชื่อพืชผลนั้นๆ    ในกรณีที่ระยะเวลาตั้งแต่พืชผลนั้นๆออกดอกจนสามารถเก็บเกี่ยวผลได้ มีช่วงเวลาที่สั้นกว่าที่เป็นไปตามธรรมชาติตามปกติของพืชผลนั้นๆ ก็นิยมจะใช้คำว่า 'เบา' ต่อท้ายชื่อนั้นๆ 

พืชผลที่เป็นพวก 'ทะวาย' และ 'เบา' นั้นมีทั้งที่เป็นไม้สายพันธุ์ตามธรรมชาติ  มีทั้งไม้ที่มาจากการตัดต่อข้ามสายพันธุ์ หรือกระทั่งการใช้สารเคมีเพื่อแปรผันวัฎจักรช่วงเวลาของการออกดอกผลและการให้ผลผลิตของมัน

ผมมีความเห็นว่า มะม่วงเบาก็คือมะม่วงป่าสายพันธุ์หนึ่งที่มีการเอามาปลูกกันในสวน   ที่ใช้คำว่าเบาต่อท้ายนั้น น่าจะหมายถึงการเอามะม่วงที่ยังไม่แก่ (เม็ดในยังไม่เป็นเปลือกแข็ง)  เก็บเอามากินกัน ซึ่งจะได้ทั้งกลิ่นและรสที่ชวนกินมากกว่าตอนที่มันแก่และสุกแล้ว (ซึ่งจะมีเนื้ออยู่น้อยมากเพราะว่ามันเป็นลูกมะม่วงขนาดเล็ก)

แล้วมะม่วงเบามีสายพันธุ์หรือไม่  ก็มี  ดูจะเป็นชื่อของสายพันธุ์ตามชื่อจังหวัดหรือสวนที่เพาะพันธุ์ขายกัน   เชื่อว่าน่าจะเน้นไปในเรื่องของปริมาณผลผลิตมากกว่าในเรื่องของรสและกลิ่น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 357  เมื่อ 08 ต.ค. 21, 20:02

จาก อ.ท้ายเหมือง ขึ้นเหนือไปตามถนนเพชรเกษม ก็จะผ่านเขาหลัก ผ่านบ้านน้ำเค็ม ซึ่งเป็นพื้นที่ๆได้มีพิบัติภัยอย่างรุนแรงทางธรรมชาติจากคลื่น Tsunami เมื่อ พ.ศ.2547  แล้วก็เข้าสู่ จ.ระนอง ซึ่งบ้านเมืองได้เปลี่ยนไปจนเกือบจจะไม่หลงเหลือภาพเดิมๆให้เห็นเลย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 358  เมื่อ 09 ต.ค. 21, 19:06

ก็มีเรื่องหนึ่งที่กั๊กไว้เพื่อเอามาเล่ารวมกันเมื่อถึงระนอง ก็คือ เรื่องของแร่ดีบุก  แหล่งแร่ดีบุกของไทยเรานั้น พบกระจายอยู่ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี   ที่เป็นแหล่งใหญ่มีชื่อที่รู้จักกันดี  ทางตอนเหนือก็คือ บ.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ ซึ่งมีแร่วูลแฟรม (Wolframite) เกิดร่วมอยู่ด้วย  ใต้ลงมาก็มี ห้วยเต่าดำ อ.ไทรโยค  ใต้ลงไปอีกก็จะเป็นที่ ตะโกปิดทอง และ เจิงเจ้ย  อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี  แล้วก็ไปที่ หาดส้มแป้น จ.ระนอง   ทางฝั่งอ่าวไทย ก็จะเริ่มพบใต้ลงไปของเส้นทางหลวงสาย อ.หลังสวน (ชุมพร) - ต.หงาว (ระนอง)

แหล่งแร่ดีบุกเกือบทั้งหมดของไทยจะอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า Placer deposit   ตัวแร่ดีบุก (Cassiterite)จะอยู่ปะปนกับชั้นทรายปนกรวด การทำเหมืองจึงใช้วิธีการฉีดน้ำแรงๆเพื่อทำให้ดินทรายแตกตัวออกจากกัน แล้วปล่อยในน้ำปนทรายนั้นให้ไหลผ่านรางน้ำที่มีลูกขั้น แร่ดีบุกซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าทรายก็จะตกสะสม จากนั้นก็เอามาล้างทำให้มันสะอาด เอาทรายที่ยังคงเหลือออกให้หมด      แร่ดีบุกปริมาณประมาณ 1 กระป๋องนมข้น จะมีน้ำหนักประมาณหนึ่งกิโลฯกับอีกขีดสองขีด

ขอย้อนกลับไปนิดนึง บนเส้นทางยะลา-เบตง จะต้องผ่าน บ.ปินเยาะ  ต.ถ้ำทะลุ    ที่ปินเยาะก็มีการทำเหมืองแร่ดีบุก เป็นเหมืองที่ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวตลอดยุคเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้  พื้นที่นี้ได้เคยเป็นเสมือนจุดเชื่อมต่อของเจตนารมภ์ของการ compromise ของทั้งสองฝ่าย 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 359  เมื่อ 09 ต.ค. 21, 20:08

แร่ดีบุก


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง