เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 15879 ความรู้ในลิ้นชัก
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 07 ก.ย. 21, 20:10

หาดทรายที่มีทรายละเอียดอย่างหัวหิน อยู่ในเขตคลื่นลมสงบใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 08 ก.ย. 21, 19:18

ใช่ครับ   

ชายหาดหัวหินจะมีระดับความลาดเอียงมากกว่าชายหาดที่อยู่ขึ้นไปทางทิศเหนือ เพราะอยู่ในพื้นที่ใกล้เนินสูง (เนินเขาหินเหล็กไฟหลังตลาดฉัตรไชย) ก็จะสังเกตได้ว่า พื้นที่ราบทาง(ทิศ)เหนือจากหัวหินขึ้นไปจะค่อยๆขยายเป็นผืนใหญ่มากขึ้นไปเรื่อยๆ  ทิวเขายิ่งอยู่ห่างไกลไปทางทิศตะวันตกมากขึ้นเท่าใด พื้นที่ราบต่อเนื่องจากชายทะเลเข้าไปก็จะยิ่งแผ่กว้างมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

คงจะพอนึกภาพเก่าๆออกว่า การเดินทางไปสมุทรสงครามผ่านสมุทรสาคร หรือเดินทางไปหัวหินผ่านเขาย้อย เพชรบุรี ชะอำ  จะเห็นพื้นที่บางแห่งเป็นป่าต้นจาก ป่าต้นแสม ป่าต้นโกงกาง ...  ป่าเหล่านี้บ่งบอกถึงสภาพของน้ำที่มันเติบโตอยู่ว่าเป็นน้ำกร่อยที่มีระดับของความกร่อยมากน้อยเพียงใด  ในปัจจุบันนี้ป่าพวกนี้หายไปเกือบหมดแล้ว พื้นที่ได้ถูกพัฒนาไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่างๆกัน   หากเป็นป่าต้นเสม็ด ก็แสดงว่าน้ำในพื้นที่นั้นออกไปทางเป็นน้ำจืดแล้ว    แต่ก่อนนั้น ป่าต้นแสมยังพบในพื้นที่ย่านโรงปูนซีเม็นต์ที่ชะอำและที่ย่านเขาตะเกียบ แต่ระหว่างทั้งสองบริเวณนี้จะเป็นพื้นที่ๆเป็นทราย เป็นพื้นที่ชายหาดที่มีผู้คนไปพักผ่อนกัน (ชะอำและหัวหิน)

ในพื้นที่เขาเต่า ก็คงจะเคยสังเกตเห็นถนนบางส่วนที่ตัดเข้าสู่ อ.เขาเต่า มีการตัดผ่านเนินทราย เรียกกันว่า beach dune  เกิดมาจากการที่ลมพัดพาเอาทรายมากองรวมกันเป็นสันเป็นแนว แสดงว่าน่าจะเป็นพื้นที่ๆมีลมทะเลพัดแรง ซึ่งก็เป็นไปได้ทั้งีเป็นลมจากลมพายุเป็นครั้งคราวในอดีตหรือค่อยๆสะสมต่อเนื่องมาจนในปัจจุบัน  แต่ดูพื้นทรายก็จะเห็นว่ามีทั้งบริเวณที่มีทรายละเอียดและทรายออกไปทางหยาบที่มีเศษเปลือกหอยปน  ซึ่งบ่งชี้ไปว่าก็น่าจะเป็นชายทะเลที่มีคลื่นลมแรงเป็นฤดูกาล
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 09 ก.ย. 21, 17:29

พื้นที่ชายฝั่งของปราณบุรีและกุยบุรี ก็จะมีลักษณะคล้ายๆกับพื้นที่ราบต่อเนื่องจากย่านสมุทรสาครไปจนถึงถึงเพชรบุรี และก็มีเป็นพื้นที่เล็กๆแทรกอยู่แถวชะอำ เขาตะเกียบ ที่เป็นผืนใหญ่หน่อยก็ย่านปากน้ำปราณฯและปากน้ำกุยบุรี  ใต้ลงไปจากนี้ก็เกือบจะไม่มีอีกเลยจนเข้าสู่ย่านปากน้ำชุมพร

ขยายความออกมามากจนคิดว่าน่าจะเกินพอแล้ว  ตั้งใจไว้แต่เพียงเพื่อให้เห็นภาพความต่างกันในความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำใกล้ชายฝั่งที่มีอยู่ในแต่ละสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภายของพื้นที่และการทำงานของมวลน้ำทะเล ซึ่งก็ไปเกี่ยวข้องกับอาหารที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ หรือลอยฟ่องอยู่ใกล้ผิวน้ำ หรือที่ตกตะกอนอยู่ที่พื้นท้องทะเล   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 09 ก.ย. 21, 19:23

ก๋อนจะไปถึงเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับภาคใต้ จะต้องขอบอกกล่าวเสียก่อนว่า ผมมีความรู้ที่ค่อนข้างจะจำกัดตั้งแต่พื้นที่หัวหินลงไป เพราะไม่เคยลงไปทำงานแบบคลุกอยู่ในพื้นที่เป็นเวลานานๆ

ปราณบุรีและกุยบุรีมีแม่น้ำที่ไหลลงทะเล เป็นแม่น้ำสายสั้นที่มีต้นน้ำเป็นพื้นที่เขาสูง ที่ปากแม่น้ำมีป่าชายเลน แต่ในเขตพื้นที่น้ำขึ้น-ลง ไม่มีพื้นที่ๆเป็นดินโคลน  ลักษณะของพื้นที่เช่นนี้บ่งชี้ไปในทางว่ามีกระแสน้ำชายฝั่งไหลผ่าน น้ำทะเลจะค่อนข้างใสสะอาด  ก็คือมีการถ่ายเทและมีการนำพาเข้ามาของอาหาร   กลุ่มและชนิดของสัตว์ทะเลก็จะเปลี่ยนไป ที่พอจะนึกออกโดยเร็วก็จากปูทะเลเป็นปูม้า ปลากระเบนและปลาดุกทะเลที่ดูจะมีชุกชุมแถวเพชรบรีก็หายไป ปลาหมึกมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากย่านชะอำเป็นต้นมา เป็นต้น     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 10 ก.ย. 21, 19:27

ปราณบุรีและกุยบุรีเป็นเมืองเก่ามาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองบนเส้นทางเดินทัพที่ผ่านช่องด่านสิงขรทั้งของไทยและพม่า  ทั้งสองเมืองนี้มีแม่น้ำไหลผ่าน จึงเหมะที่จะเป็นจุดพักในการเดินทัพและเป็นที่ตั้งของหน่วยรบเพื่อสกัดการรุกรานของพม่า ซึ่ง land mark ที่สำคัญที่ใช้ในการนำทางก้คงจะเป็นเขาทุ่งกระต่ายที่ตั้งอยู่บริเวณชายทะเลอ่าวน้อย และเขาสามร้อยยอดของ อ.สามร้อยยอด   

ผมมีข้อสังเกตจากภาพถ่ายและ clip ที่ถ่ายกันในหมู่บ้านสิงขรซึ่งตั้งอยู่ในเขตพม่าว่า บ้านเรือนของคนไทยพลัดถิ่นเหล่านั้นมีลักษณะผสมผสานกันระหว่างบ้านแบบชาวบ้านไทยภาคกลาง ภาคเหนือ และมอญ  เพียงแต่สำเนียงของภาษาไทยที่พูดเป็นของภาษาทางภาคใต้    ก็เลยเดาเอาในวงกว้างว่า ผู้คนชาวปราณบุรี กุยบุรี ชุมชนเก่าแก่เล็กๆทั้งหลายแต่ดั้งเดิม น่าจะมีวิถีชีวิตแบบคนในภาคกลาง คือเป็นชาวบกมากกว่าชาวทะเล   ก็อาจจะแปลกที่ไม่มุ่งไปในเรื่องของการประมง เหตุผลส่วนหนึ่งก็น่าจะเป็นเพราะพื้นที่ปากแม่น้ำเป็นป่าชุ่มน้ำ ชายฝั่งทะเลมีลักษณะเป็นชายหาดเปิดเป็นเส้นตรงยาว   มีอ่าวเล็กอ่าวน้อยที่ไม่สามารถใช้เป็นที่หลบคลื่นลมสำหรับเรือประมงขนาดใหญ่ที่กินน้ำลึก   อีกประการหนึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องของการที่เป็นชายทะเลแบบเปิด มีคลื่นลมที่มีกำลังแรงพอดีๆ มวลน้ำไหลหมุนเวียนดีทั้งในทางราบและทางดิ่ง และมีแสงแดดดี ก็เลยทำให้อุดมไปด้วย plankton ปู ปลาหมึก ปลาเล็กปลาน้อยต่างๆ พวกปลากระบอก ปลากะพง ฯลฯ  ของกินพวกนี้ตัวจะไม่ใหญ่  ของกินดีๆประจำถิ่นก็เลยดูจะไม่หนีไปจากอาหารที่ทำง่ายๆด้วยของทะเลที่สดและนำมาทำทั้งตัว จะด้วยการนึ่งหรือการเผาก็ได้ 
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 11 ก.ย. 21, 19:06

ก็มีเรื่องที่น่าจะให้ความสนใจอยู่สองสามเรื่อง เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับเส้นทางการเดินทัพของไทยและพม่าระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเมืองตะนาวศรีของพม่า ว่าผ่านแถวใหนหรือจุดใหนบ้าง เช่น ท่าข้าม ที่ว่ากันว่าเป็นจุดข้ามน้ำแม่น้ำกุย(บุรี)ของทั้งกองทัพไทยและพม่า จุดนี้อยู่ในบริเวณของสะพานข้ามแม่น้ำกุยของเส้นทางหลวงในปัจจุบัน   หรือว่า ถนนเพชรเกษมลงใต้นั้นได้ตัดตามแนวของเส้นทางเดินทัพแต่เก่าก่อน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็ยอมหมายถึงว่าควรจะต้องมีอะไรบางอย่างที่น่าจะหลงเหลือให้พอได้พบเห็นบ้าง อาจจะเป็นชื่อสถานที่ เป็นตำนาน เป็นความเชื่อ เป็นสิ่งของ เป็นวิถีชีวิตบางอย่าง ...ฯลฯ  ผมเห็นว่าเส้นทางช่วงตั้งแต่ปราณบุรีลงไปจนถึงประจวบนั้นค่อนข้างจะแล้งเรื่องเล่าและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อย

อีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับเหตุที่ไม่มีชุมชนเมืองสำคัญตั้งอยู่ติดพื้นที่ชายทะเลตั้งแต่ประจวบฯไปจนถึง อ.บางสะพาน จ.ประวบฯ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับลักษณะของชายฝั่งที่เป็นแบบเปิดตรงและยาว เพราะไม่มีอ่าวที่สามารถใช้เป็นจุดพักเรือ เติมน้ำ เติมอาหารและหลบคลื่นลมแรง ประกอบกับอ่าวเหล่านั้นมีภูเขาหินสูงพอที่จะใช้เป็น landmark ได้อีกด้วย    ในอ่าวไทยมีการเดินเรือเลียบชายฝั่งมาตั้งแต่โบราณกาล
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 12 ก.ย. 21, 19:21

เรื่องน่าสนใจที่กล่าวถึงนี้ ได้ขยายความอยากรู้ของผมออกไปถึงเรื่องราวบางเรื่องในทางประวัติศาสตร์  ก็คือเรื่องของเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางของผู้คนที่นำพาเอาศาสนาฮินดู พระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมจากอินเดียมาแพร่ขยายในพื้นที่ของประเทศแถบบ้านเรา   แต่ยิ่งอยากรู้มากขึ้นไปเพียงใดก็ยิ่งมีความไม่รู้มากขึ้นตามไปเพียงนั้น

ขอแวะออกนอกเส้นทาง ขยายความอยากรู้ออกไปสักเล็กน้อยดังนี้   กรณีการใช้เรือจากอินเดียมาพื้นที่แหลมทอง หากเป็นในช่วงฤดูหนาว กระแสน้ำในทะเลอ่าวเบงกอลจะไหลหมุนทวนเข็นนาฬิกา หากเป็นช่วงฤดูร้อนก็จะไหลตามเข็มนาฬิกา  ดังนั้น การเดินทางด้วยเรือ (ซึ่งควรจะต้องเลาะตามชายฝั่ง) ก็ควรจะต้องเป็นในช่วงฤดูร้อน ก็จะผ่านเมืองจิตตะกอง แล้วมาถึงชายฝั่งของพม่าในพื้นที่ของรัฐยะไข่   แต่หากเดินทางใช้ช่วงฤดูหนาวกระแสน้ำก็จะพาไปยังทิวเกาะนิโคบา อีกทั้งยังเป็นการเดินทางข้ามผืนทะเลที่กว้างมาก   กรณีจึงน่าจะเป็นการเลือกเดินทางในช่วงฤดูร้อน  เมื่อผ่านชายทะเลของยะไข่แล้ว ก็สามารถเดินเรือเลาะตามชายฝั่งผ่านปากอ่าวมะตะบัน (เมาะตะมะ)  จากนั้นก็จะเป็นจุดที่ขึ้นฝั้งได้ตลอดแนวในพื้นที่ของรัฐมอญของพม่า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 12 ก.ย. 21, 19:53

หากมีการเดินทางลงใต้ต่อไปก็จะไปถึงช่องแคบมะละกา ขึ้นบกได้ทั้งฝั่งแหลมทองและฝั่งเกาะสุมาตรา   ทีนี้มาดูเส้นทางเข้าสู่อ่าวไทย และที่ราบภาคกลาง ภาคอิสานของไทย และเขมร 

ค่อยว่ากันวันมะรืน ครับ  พรุ่งนี้ตอนเย็นมีนัดกับหมอ ครับ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 13 ก.ย. 21, 12:20

ขอบคุณที่ช่วยให้ข้อมูลและขยายความเรื่องเห็ด ครับ  ยิงฟันยิ้ม 

เห็ดที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาตินั้น ผู้คนชาวเมืองมักจะไม่รู้จัก  เห็ดป่าเหล่านั้น เกือบทั้งหมดและเกือบจะทุกชนิดจะไม่เห็นว่ามีวางขายอยู่ในตลาดสดใดๆในพื้นที่ชุมชนเมือง    เห็ดหลากหลายชนิดที่ว่ากินได้เหล่านั้น จะเป็นการไปหาเองชาวบ้านในพื้นที่ๆเป็นป่าละเมาะ  ซึ่งพื้นที่่ป่านั้นๆก็ดูจะมีลักษณะจำเพาะอยู่เหมือนกัน    เห็ดที่เห็นวางขายอยู่ในตลาดในพื้นที่เมืองเกือบทั้งหมดจะเป็นพวกเห็ดที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยง มีน้อยเมนูมากที่เกี่ยวกับการใช้เห็ดที่เกิดเองในธรรมชาติ

ยังจำได้ถึงตอนที่เห็นเห็ดเผาะครั้งแรกในชีวิต วันนั้นไปกินข้าวบ้านเพื่อนแล้วแม่ครัวทำแกงหน้าตาแปลกๆขึ้นโต๊ะ
ดิฉันไม่รู้จักก็ถามว่าอะไร แม่ครัวก็ตอบอย่างภูมิใจนำเสนอว่า แกงค่ั่วเห็ดเผาะ เพื่อนก็ช่วยเสริมด้วยว่า อร่อยนะ แล้วพอเห็นดิฉันไม่ตักชิมสักที เพื่อนก็ตักแกงใส่จานข้าวให้ซะเลย ด้วยความเกรงใจ ดิฉันก็จำต้องกิน
โห! ไม่นึกเลยว่าเห็ดดำๆหน้าตาน่ากลัวมันจะอร่อยได้ปานนี้!
ตั้งแต่นั้นมาโดดเข้าใส่แกงเผ็ดเผาะเลยค่ะ แต่มันหากินยาก ไม่ค่อยเจอร้านไหนขาย เคยเจออยู่ในเมนูร้านนิตยาไก่ย่างแค่หนเดียวเองค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 13 ก.ย. 21, 16:25

เอารูปมาประกอบค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 14 ก.ย. 21, 17:26

เห็ดเผาะเป็นของอร่อยจริงครับ ถ้าชอบมากๆก็สามารถจะหามาทำกินเองได้ไม่ยาก แถมอยากจะกินเมื่อใดก็ทำกินได้ทั้งปี

ความไม่ลับมีอยู่แบบนี้ครับ  ที่สนามบินเชียงใหม่และเชียงรายมีเห็ดเผาะที่ทำสะอาดแล้ว ต้มสุกและบรรจุกระป๋องวางขายอยู่ ราคาต่อกระป๋องประมาณ 300 บาท ??  ซื้อเอามาเก็บไว้  เมนูทำกินง่ายๆ 3 เมนูที่จะแนะนำก็คือ เมนูแรก ไปหาซื้อแกงคั่วสับประรดก้บหอยแมลงภู่มา เทใส่หม้อแกง เปิดกระป๋องเอาเห็ดเผาะใส่ลงไปตามปริมาณที่ชอบ ตั้งไฟแรงปานกลางให้แกงร้อนจัดๆสักพัก ก็ตักเอามาทานกับข้าวสวยร้อนๆได้อร่อยแล้ว    อีกเมนูหนึ่งต้องทำเอง  เอานำตาลปี๊บลงหม้อแกง ใส่ซีอิ๊วขาวลงไป บุบรากผักชีใส่ลงไปด้วย ตั้งไฟให้น้ำตาลละลาย กวนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับซีอิ๊ว เอาน้ำใส่ลงไปเล็กน้อยเพื่อละลายเป็นน้ำแกงข้นๆ เอาหมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กใส่ลงไป ใส่พริกไทยดำบุบพอแหลก รวนให้หมูหดตัวลงบ้าง เอาเห็ดเผาะใส่ลงไป เติมน้ำให้ท่วมเหมือนทำแกงจืด ต้มให้เดือดสักพัก ปรุงรสให้ออกรสเค็มด้วยเกลือ+ซีอิ้วขาว อาจจะเติมน้ำตาลปี๊บลงไปเพื่อเพิ่มรสหวานให้มากขึ้นก็ได้ รสของน้ำที่ต้องการจะคล้ายกับรสของน้ำพะโล้ที่ไม่ได้ใส่อบเชยและโปยกั๋ก    กั๊กเห็ดไว้เล็กน้อย เพื่อเอาไว้กินกับน้ำพริกมะขาม     กินทั้งสามเมนูนี้แล้วก็จะมีความสุขใจไปได้อีกนานวัน   อย่าลืมก็แล้วกันว่า เมื่อเปิดกระป๋องเห็ดแล้วก็ควรจะต้องถ่ายใส่ภาชนะอื่น เก็บไว้ในตู้เย็น

เห็ดเผาะกระป๋องอาจจะหาซื้อในกรุงเทพฯได้ยากหน่อย ลองแวะเวียนไปหาดูในตลาด Bon Marche ประชาชื่น จำได้ว่ามีวางขายอยู่
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 14 ก.ย. 21, 19:33

ต่อเรื่องความอยากรู้ของผมครับ

ก็มาดูเรื่องทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ซึ่งจะขอกล่าวถึงอย่างง่ายๆเท่าที่พอจะมีความรู้ว่า    พระเจ้าอโศกฯส่งธรรมทูตมาเผยแพร่พระพุทธศาสนา (ช่วงครองราชย์ ประมาณ พ.ศ. 200-300)  พระธรรมทูตสายที่ 8 ออกเดินทางโดยมีพื้นที่เป้าหมายในย่านแหลมทองรวมทั้งอินโนีเซีย   ศาสนาพุทธในจีนเริ่มอย่างจริงจังเมื่อประมาณ พ.ศ.800 แต่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเมื่อประมาณ พ.ศ.1200 (สมัยราชวงค์ถัง)  เซอรามิกส์ Blue & White เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในช่วง พ.ศ.1300++   อินโดนีเซียเริ่มหันไปนับถือศาสนาอิลามในช่วงประมาณ พ.ศ.1400    อาณาจักรทวาราวดีมีอยู่ในช่วงประมาณ พ.ศ.1100 -1500  เขาพระวิหารเกิดขึ้นในช่วงประมาณ พ.ศ.1500  อาณาจักรสุโขทัยเกิดขึ้นในช่วงประมาณ พ.ศ.1700

ในภาพที่ได้กล่าวถึงนี้ จะเห็นว่า มีอิทธิพลของศาสนาฮินดูเป็นบริเวณจำเพาะอยู่ในพื้นที่อิสาน เขมร และภาคกลางของไทยในช่วงเวลาหนึ่ง ในขณะที่ในพื้นที่รอบๆอื่นใดอยู่ในอิทธิพลของศาสนาพุทธ  ต่อมาในพื้นที่ทางใต้รวมทั้งอินโดนีเซียก็มีการหันไปนับถือศาสนาอิสลาม

ประเด็นที่เป็นความสนใจของผมก็คือ เราพอจะรู้เส้นทางของการเดินทางเชื่อมต่อทางสังคมและวัฒนธรรมว่า ทางหนึ่งใช้เส้นทางบก อีกทางหนึ่งใช้เส้นทางทะเล แต่ดูเหมือนจะไม่มีสิ่งตกค้างทางวัตถุและวัฒนธรรมในช่วงเวลาต่างๆให้ได้เห็นกันตามพื้นที่ๆน่าจะเป็นเส้นทางที่พึงใช้กัน  ดูจะมีแต่อาหารเท่านั้นที่พอจะบ่งบอกที่มาที่ไปได้บ้าง ว่าลงมาจากทางเหนือ หรือขึ้นไปจากทางใต้ หรือมาจากแดนไกล ซึ่งก็อาจจะพอเดาต่อไปได้ถึงเส้นทางที่ใช้กันในการเดินทางของผู้คนในอดีตได้   หากเป็นการมโนที่ล่องลอยมากจนเกินไปก็ต้องขออภัยด้วยครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 15 ก.ย. 21, 19:07

ลองเอาเรื่องราวและข้อมูลต่างๆมาประมวลแล้วพิจารณาดู 

เมืองจิตตะกองตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำ Kanaphuli  การเดินทางโดยเรือคงจะต้องแวะพักสะสมสะเบียงและน้ำจืด  จากนั้นก็จะผ่านพื้นที่ปากแม่น้ำอีกสองสามแห่ง ผ่านเกาะต่างๆ จนถึงพื้นที่ปากแม่น้ำอิระวดีของพม่า ซึ่งมีเมืองย่างกุ้งตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนนี้  ไปสู่ปากแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเมาะลำเลิงตั้งอยู่ใน ไปถึงปากแม่น้ำทะวาย ซึ่งมีเมืองทะวายตั้งอยู่  ไปถึงปากแม่น้ำตะนาวศรี มีเมืองมะริดตั้งอยู่  จากนั้นก็ถึงปากแม่น้ำกระบุรี  ลงใต้ต่อไปถึงเกาะภูเก็ต เข้าอ่าวกระบี่ ตรัง สตูล แล้วก็เข้าถึงช่องแคบมะละกา

น่าสนใจก็คือ ตามชื่อสถานที่(ประเทศ)ต่างๆเหล่านี้ ผู้คนที่เป็นชายล้วนแต่มีวัฒนธรรมการใช่โสร่ง ต่างกับไทยภาคกลางและเขมรที่มีวัฒนธรรมการใช้โจงกระเบน  ความต่างนี้เกิดจากชาวอินเดียต่างกลุ่มที่มีวัฒนธรรมต่างกันเมื่อแรกเข้ามามีอิทธิพลทางวัฒนธรรมหรือไม่ ? 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 15 ก.ย. 21, 20:11

มาลองพิจารณาเส้นทางที่จะใช้เข้าอ่าวไทย โดยเฉพาะที่นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเมืองสำคัญสมัยทวาราวดีและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น    หากจะใช้ทางเรือก็จะต้องอ้อมมาเลเซียทั้งประเทศ และต้องผ่านสงขลา ซึ่งก็น่าจะเป็นที่มีชุมชนอาศัยอยู่มากในสมัยนั้น เพราะมีทะเลสาบที่มีคลื่นลมสงบและมีความสมบูรณ์ด้านอาหารการกิน  ซึ่งก็เป็นไปได้เพราะกระแสน้ำจะไหลขึ้นไปทางทิศเหนือเลาะชายฝั่ง   แต่หากเป็นการใช้เส้นทางบก ก็หมายถึงต้องพยายามเดินไปตามร่องเขาที่มีห้วยน้ำไหล แล้วเดินตัดผ่านช่องเขาสู่ที่ราบฝั่งอ่าวไทย
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 16 ก.ย. 21, 03:48

อ้างถึง
เซอรามิกส์ Blue & White เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในช่วง พ.ศ.1300++

ขออนุญาตครับ

.

เอกสารจีนว่า เครื่องลายครามจีนชนิดที่ทั่วโลกรู้จักในชื่อ   Blue & White เพิ่งจะกำเนิด ในช่วง ‘ ค.ศ.’ 1200-1300 ครับ

.

ก่อนหน้านั้น จีนมีความเชื่อดั่งเดิมเรื่องสี ว่า

ขาว และ น้ำเงิน เป็นสีเพื่อการไว้ทุกข์ จึงไม่นิยมใช้ของที่มี สีขาว-น้ำเงิน ในชีวิตประจำวัน

จีนผลิตเครื่อง Blue & White จริงๆ จังๆ หลังจากมองโกลยกทัพไปตีชนะเปอร์เซีย และกวาดต้อนช่างหลวงเปอร์เซียกลับมา

ช่างหลวงเปอร์เซียมีเทคนิคเฉพาะในการใช้แร่ที่ใช้เคลือบ  ที่หลังการเผาแล้วให้สีน้ำเงิน (จากโคบอลท์) จีนเรียกสีเคลือบแขก

พร้อมกับการเคลือบคราม ช่างหลวงนำวิธีการวาดลายลักษณะ Key pattern ที่ทางตะวันตกนิยมเข้ามาเผบแพร่ด้วยครับ



ลายที่ฝรั่งเรียก Greek Key Pattern ช่างไทยไม่เข้าใจ เรียกสืบต่อกันว่า ลายประแจจีน

แต่ทางจีนเรียก ลายฝรั่ง  ครับ ยิ้ม

“ เครื่องเคลือบลายคราม เบื้องแรกนิยมในพระราชสำนักจีน สมัยมองโกล ”  แล้วภายหลังจึงนิยมแพร่มาภายนอกวังครับ

ที่เริ่มในพระราชสำนัก เพราะคติมองโกลเชื่อในเรื่อง Totem ว่า

ชาวเผ่ามองโกลมีกำเนิดจาก สุนัขป่าสีน้ำเงิน สมสู่กับ นางกวางขาว..

.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง