เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 15931 ความรู้ในลิ้นชัก
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 20 มิ.ย. 21, 18:28

ผมเชื่อว่า องค์ความรู้ที่เรามีอยู่ในตัวเรานั้นได้มาจาก 2 แหล่งสำคัญ คือ จากระบบการเรียนเป็นวิชาๆตามศาสตร์ต่างๆ ซึ่งสิ่งที่ได้รับก็คือ knowledge   และจากการลักจำจากผู้ที่มีความสันทัดและเชี่ยวชาญเฉพาะทางในเรื่องต่างๆที่ตนเองได้มีโอกาศรับฟัง พูดคุย หรือที่ได้เห็นจากการกระทำใดๆ  ซึ่งสิ่งที่ได้รับอยู่ในลักษณะของ know how   เมื่อเอาทั้งสองสิ่งมารวมกันก็จะเกิดเป็นองค์ความรู้ (wisdom ?)มากน้อยกันไปของแต่ละบุคคล   ในด้าน ลักจำ นี้ โดยเนื้อแท้แล้วก็ดูจะเป็นเรื่องของการสังเกตอย่างมีคุณภาพนั่นเอง     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 20 มิ.ย. 21, 19:20

ออกจากเรื่องทางปรัชญาไปสู่ในทางปฎิบัติ

เมื่อรู้ว่าเราหลงป่าแล้ว เรื่องที่ต้องปฎิบัติในเบื้องแรกก็คือ พยายามตั้งสติ ปรับลดข้อจำกัดที่มีลักษณะว่าต้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่ตั้งได้เป็นกรอบเอาไว้แต่แรก   เปลี่ยน mind set ที่ตั้งอยู่บนฐานของความรู้สึกในลักษณะของคำว่า เจ๋ง  ไปเป็นว่าจะแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมได้เช่นใด 

ก็มีเรื่องของเวลาตามมาเกี่ยวข้อง    ในพื้นที่ๆเป็นป่าเขาสูงบางบริเวณ ดวงอาทิตย์จะลับหลังเขาตั้งแต่ประมาณบ่าย 3 โมงเย็น อุณหภูมิอากาศก็จะเริ่มเย็นลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเข้าสู่เวลาประมาณ 5 โมงเย็น ความมืดก็จะเริ่มมาเยือน   ในป่าที่ค่อนข้างจะเป็นพื้นที่ราบ ดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้าเมื่อใกล้ 5-6 เย็น แต่เมื่อลับแล้วก็จะเข้าสู่ความมืดโดยเร็วทีเดียว    ผมเห็นว่าเวลาประมาณบ่าย 3 โมงเย็นคือเวลาที่ต้องเริ่มคิดและเริ่มเตรียมความพร้อมเพื่อรับอีกสถานการณ์หนึ่งเพื่อการอยู่รอด 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 18:35

ก็มีเรื่องสำคัญแต่แรกที่จะต้องให้ความสนใจอยู่ 2 เรื่อง คือ ที่นอน และแหล่งน้ำ

ในเรื่องที่นอนนั้น คงจะต้องย้อนนึกถึงคำกล่าวต่างๆของคนเก่าคนแก่ เช่น อย่าไปนอนในที่อับ อย่านอนทับด่านสัตว์ ก่อไฟนอน ฯลฯ  แล้วก็ต้องนึกถึงเรื่องราวในหนังหรือสารคดีที่มีเนื้อหาบางส่วนหรือทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเอาตัวรอดเมื่อต้องผจญภัย  แล้วประมวลคัดเอาแต่สาระที่มีความใกล้เคียงทาง scenario ทางสิ่งแวดล้อมค้ายๆกับของเรา    เอาคำสอนแต่โยราณและข้อมูลลักจำทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาดัดแปลงใช้ให้เป็นประโยชน์

อย่านอนในที่อับนั้น ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำร้ายโดยสัตว์มีพิษตัวเล็กซึ่งมักจะเป็นสัตว์หากินในตอนกลางคืนและชอบอยู่ในพื้นที่บริเวณที่มีความชุ่มชื้น  พื้นที่อับในป่าก็คือตำแหน่งหรือจุดที่มีต้นไม้ใบปกคลุมค่อนข้างจะหนาแน่น แหงนมองแล้วไม่รู้สึกโปร่ง หรือมองไม่ทะลุฟ้า   แล้วก็ พื้นที่เช่นนี้มักจะอุดมไปด้วยยุงและแมลงทั้งหลาย  ดีไม่ดี เผลอๆเป็นจุดที่อยู่ของเจ้าที่ เจ้าทาง เจ้าป่า เจ้าเขา เทพาอารักษ์ อีกด้วย   ก็แล้วแต่จะเชื่อกันนะครับ  ตัวผมเองไม่ลบหลู่ในเรื่องเช่นนี้ ก็เจอะเจอมาพอสมควรอยู่เหมือนกัน       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 19:22

อย่านอนทับด่านสัตว์    ด่านสัตว์ก็คือทางเดินประจำของสัตว์ใหญ่น้อยเพื่อไปยังแหล่งน้ำกินหรือไปกินดินโป่ง  ด่านสัตว์จะมีที่เรียกว่าด่านเล็กและด่านใหญ่   ด่านสัตว์ (ทางเดินบนดิน) จะมีสภาพเตียน ขาวเด่นออกมา ไร้พืชหรือหญ้า    ด่านเล็กและด่านใหญ่มีความต่างกันที่ความกว้างของช่องการเดินและความชัดเจนของเส้นทางที่ปรากฎบนพื้นดิน     นอกจากนี้ก็ยังมีด่านเก่าและด่านใหม่ แล้วก็มีด่านช้างอีกด้วย     อันที่จริงแล้วด่านใหญ่ก็มักจะเป็นด่านที่ช้างเดินนั่นเอง   ทางด่านของช้าง(ขนาดใหญ่จริงๆ)ที่ผมเคยเห็นนั้น อยู่ในห้วยขาแข้งฝั่งด้านตะวันตก ใหญ่และเตียนจริงๆ คล้ายถนนสำหรับรถสิบล้อใช้วิ่งได้เลย   ด่านสัตว์เป็นเส้นทางที่ค่อนข้างจะตัดตรงเข้าสู่แหล่งน้ำและโป่ง เป็นถนนที่ใช้งานกันในช่วงเวลากลางคืน

ดังที่กล่าวมา ก็คงพอจะทำให้เข้าใจได้ว่าด้วยเหตุใดจึงมีการห้ามนอนทับด่าน    หากจะต้องนอนใกล้พื้นที่ด่านจริงๆก็จึงควรที่จะหาที่นอนที่ห่างจากทางด่าน (สัก 50+/-เมตร)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 22 มิ.ย. 21, 18:56

โชคดีที่ป่าที่เราไปเที่ยวนั้น มักจะเป็นป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้งเป็นพวกป่าที่มีต้นไม้ประภทผลัดใบที่มีขนาดลำต้นพอๆกันขึ้นอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ส่วนป่าเบ็ญจพรรณนั้นเป็นป่าที่มีทั้งไม้เล็ก ไม้ใหญ่ ทั้งที่ผลัดใบและไม่ผลัดใบขึ้นผสมผสานกันอยู่     

จากประสบการณ์ของผม ป่าดิบแล้งมีสภาพออกไปทางแห้ง พื้นที่อยู่ในโทนของสีต้ำตาลอ่อน แหล่งน้ำที่เป็นหลักก็คือลำห้วยขนาดใหญ่เส้นหนึ่ง  ซึ่งจะมีน้ำไหลอยู่เหนือท้องห้วยอยู่หลายเดือน (intermittent flow) แล้วก็แห้งไป ในช่วงแห้งนี้หรือช่วงเวลาแล้งจัดก็อาจจะมีน้ำใหลอยู่ใต้ผิวท้องห้วย (subterranean flow) และก็มักจะมีแอ่งน้ำขังอยู่ตามตะพักในห้วย   ด่านสัตว์ที่ค่อนข้างจะเห็นได้ชัดและเตียนโล่งในพื้นที่ๆเป็นป่าดิบแล้งมักจะบ่งชี้ว่ามีแหล่งน้ำประเภทนี้อยู่ใกล้ๆแถวนั้น  เราจะหาน้ำที่พอจะสะอาดดื่่มได้จากการขุดทรายทำบ่อซึมบริเวณหาดทรายในห้วยหรือหาดทรายริมห้วย     หากอยากจะให้เกิดมีความสุนทรีย์ในอารมภ์ขึ้นมาบ้าง ก็ลองไปนั่งซุ่มอยู่บนฝั่งคอยดูสัตว์ลงมากินน้ำ ช่วงเวลาที่เหมาะก็จะอยู่ประมาณ 3-5 โมงเย็น เก้งและกวางเขาชอบลงมาในเวลานี้ นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นไก่ป่าและนก   ซึ่งก็มีเรื่องให้ต้องระวังอยู่ 2 เรื่อง คือ หากที่ข้างตลิ่งห้วยของเส้นทางด่านสัตว์มีลักษณะเป็นขั้นบันใด และดูใหม่หน่อย ก็ควรจะต้องหลบไปใกลๆจากด่านนั้น มันคือเส้นทางที่ช้างเขาเดิน เขาจะมาเล่นน้ำ กินน้ำ หรือเดินผ่านก็อันตรายทั้งนั้น (แล้วค่อยมาว่ากันต่อในภายหลัง)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 22 มิ.ย. 21, 20:23

ป่าเบญจพรรณนั้นเป็นป่าที่ดูจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญต่างๆ  มีสภาพออกไปทางชุ่มชื้นแต่แล้งน้ำ เป็นป่าที่มีต้นไม้ใหญ่เล็กหลากหลายชนิดขึ้นปะปนกัน มีหลากหลายระดับความสูงของเรือนยอด(ยอดไม้)  ป่าชนิดนี้มักจะมีแหล่งน้ำเล็กๆน้อยๆกระจายอยู่ทั่วไป บางก็ในโกรกห้วย บ้างก็เป็นจุดน้ำซึมน้ำซับ บ้างก็เป็นโป่งที่มีน้ำขัง   เป็นป่าที่มีสัตว์หลากหลายชนิดอาศัยอยู่ มีด่านสัตว์หลายเส้นทางพาดผ่านกวักไกว่กัน มีต้นไม้ใหญ่ที่มักจะแยกกันอยู่เป็นต้นๆ เป็นป่าที่มีต้นไทร จึงมีนกหลากหลายชนิดมาเกาะ บ้างก็เกาะอาศัยอยู่เฉยๆ  บ้างก็มากินลูกไทร ซึ่งก็มีนกเงือก นกแกง นกเขาเปล้า ที่เป็นหลัก และนกอื่นๆ เช่น นกกุลุมพู(กระลุมพู?) นกโพระดก...    เป็นป่าที่มีต้นมะค่าโมง ประดู่ ยมหิน? ร่มม้า (ค่างชอบกินผล)...

ต้นมะค่าโมงจะมัรากที่มีลักษณะเป็นปีก ทำให้เกิดเป็นร่อง(ซอง)กว้างพอที่จะเอาตัวไปซุกนอนได้ จะในท่าเอนหลับหรือนอนราบก็ได้  ในป่าชนิดนี้ ความชื้นจะมีมากที่บริเวณสองฝั่งของตลิ่งห้วย ซึ่งมักจะถึงในระดับเป็นดินที่ฉ่ำน้ำ  ในห้วยมีของที่สามารถนำมาใช้สอยได้ในเชิงอุปโภค (ต้นกระดาษ ...) ในเชิงของการบริโภคก็มี เช่น ผักกูด ต้นบุบคางคก และสัตว์ตัวเล็กตัวน้อย (กบ เขียด ปู ปลา)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 23 มิ.ย. 21, 19:32

เมื่อสถานการณ์ไปถึงจุดที่ถูกบังคับให้ต้องนอนแรม ก็คงจะต้องนึกถึงต่อไปอีกว่า คืนวันนั้นเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรม หากเป็นข้างขึ้น ดวงจันทร์จะขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าและตกในเวลาดึกก่อนเช้า หากเป็นข้างแรม ดวงจันทร์จะขึ้นเมื่อความมืดมาเยือนแล้ว และจะไปตกหลังฟ้าสาง  ก็ดูจะเป็นเรื่องที่ไ่ม่มีความสำคัญอะไรนักที่จะต้องพึงรู้  แต่ที่พึงต้องรู้บ้างก็จะดี เพระว่าในพื้นที่ป่าเขานั้น เมื่อแสงอาทิตย์ดับสนิท ความมืดก็คือความมืดที่เกือบจะมองไม่เห็นอะไรๆแม้กระทั่งมือของตนเองที่เหยียดแขนออกไป แสงจันทร์เป็นแสงสว่างเพียงอย่างเดียวที่ช่วยทำให้พอจะมองเห็นอะไรๆได้บ้างในระยะที่ไม่ไกลนัก

ก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่า ในธรรมชาตินั้นมีสัตว์พวกกินเนื้อและพวกกินพืช มีพวกหากินกลางคืนกับพวกที่หากินกลางวัน และก็มีพวกที่เป็นนักล่าและผู้ถูกล่า  ฝ่ายที่เป็นพวกผู้ถูกล่าก็ไม่นิยมที่จะออกมาเดินแสวงหาอาหารในช่วงกลางคืนมีมีแสงจันทร์สว่าง  ฝ่ายผู้ล่าไม่ค่อยจะสนใจมากนัก ออกมาเดินหาเหยื่อในทุกช่วงเวลาที่ตนเองพอจะมองเห็นได้

สิ่งแวดล้อมเช่นนี้ คิดว่าจะนอนแรมอย่างไรดี     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 24 มิ.ย. 21, 20:24

ที่ว่ามาคือการเหลียวซ้ายแลขวา เพื่อการคิดและการเตรียมรับสถานการณ์  มองฟ้าก็มองแล้ว ก็มาถึงเรื่องที่สำคัญอีก 2 เรื่อง คือ ดูร่องรอยบนพื้น และดูร่องรอยที่ต้นไม้

ทั้งคนและสัตว์ต่างก็นิยมที่จะเลือกเดินบนทางที่ราบเตียน   ร่องรอยของสัตว์อาจจะดูยากด้วยที่เราไม่ค่อยจะคุ้นเคยกัน ซึ่งบนทางด่านนั้นเป็นร่องรอยที่สังเกตได้ยากมากๆ บรรดาสัตว์ต่างๆเกือบจะไม่ทิ้งร่องรอยอะไรไว้เลย แม้กระทั่งมูลของมัน  แต่ก็มีพื้นที่ๆเราพอจะเห็นได้ชัดๆ คือที่ชายหาดห้วย ก็เอาพอรู้ว่ามี 2 ลักษณะรอยที่ควรจะรู้  ก็มีลอยที่เป็นของสัตว์กีบ ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเป็นพวกสัตว์กินพืช เป็นฝ่ายผู้ถูกล่า  และมีรอยที่เป็น paw แบบรอยเท้าสุนัข ซึ่งส่วนมากจะเป็นกินแมลงกินเนื้อ เป็นสัตว์พวกนักล่า  ทั้งสองลักษณะรอยเท้านี้มีขนาดเล็ก ใหญ่ แหลม หรือมน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นตัวอะไร    สัตว์เหล่านี้ไม่มีอันตรายต่อเรา แต่อาจจะนำพาอันตรายมาสู่เราได้    ก็พยายามสังเกตให้ดีอยู่เพียงรอยอุ้งเท้าขนาดประมาณชามก๋วยเตี๋ยว ซึ่งคือรอยเสือ  และรอยกลมๆ พื้นเรียบๆ ขนาดประมาณปิซซ่าถดเล็ก-กลาง ซึ่งรอยนี้คือรอยช้าง และยิ่งเป็นรอยเดี่ยวๆและมีกองอึอยู่แถวนั้นก็อาจจะยิ่งน่ากลัว เพราะอาจจะเป็นของช้างหนุ่ม ซน และเกเร ที่เรียกกันว่า สีดอ

อยู่ห่างพื้นที่ลักษณะสักหน่อยนี้ก็น่าจะเป็นการดี  เว้นแต่หากสนใจที่จะส่องและล่ามันเอามาเป็นอาหาร
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 24 มิ.ย. 21, 20:43

สำหรับรอบๆต้นไม้นั้น  ก็ควรจะแหงนดูว่ามีรังผึ้งหรือไม่ หากมีก็ควรจะเลือกที่นอนที่ห่างออกไปหรือเลือกต้นใหม่ที่ห่างออกไป  ตามต้นไม้ที่มีรวงผึ้งอยู่นี้ มักจะเป็นต้นไม้ใหญ่ที่เหมาะที่จะเป็นที่หลบอาศัยนอน  ที่ต้องหลบไปอยู่ห่างๆก็เพราะหมีมันชอบมาปีนหากินรังผึ้ง  หากสังเกตตามผิวรอบๆต้นไม้ที่มีรังผึ้ง เรามักจะพบว่ามีร่องรอยการขีดข่วนของเล็บหมีอยู่รอบๆต้น

เรามักจะกลัวเสือกัน ด้วยความเชื่อฝังหัวมาแต่โบราณว่า เสือนั้นมันกินคน  แท้จริงแล้ว ตามประสบการณ์ของผม เสือจะพยายามหลบหนีผู้คนมากกว่าจะไล่ผู้คน ยกเว้นในกรณีที่เราไปแย่งอาหารของมัน   สัตว์ที่น่ากลัวและมีโอกาสทำร้ายเราเมื่อเผชิญหน้ากันจริงๆดูจะกลายเป็นหมีควาย โดยเฉพาะในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ?
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 25 มิ.ย. 21, 18:25

รู้สิ่งแวดล้อมรอบๆพื้นที่แล้วก็มาถึงการจัดการเรื่องของตัวเรา    เรื่องแรกก็คือต้องมีความมั่นใจในสัญชาตญานของมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเราว่า เมื่อใดที่เรามีความรู้สึกกังวลในเรื่องของความปลอดภัย มันก็มักจะมีอะไรๆมากระตุ้นเตือนเราก่อนเสมอ  แล้วก็เป็นเรื่องปกติที่คนเดินป่าเดี่ยวๆ (แม้จะเป็นนายพรานใหญ่) จะไม่หลับในท่านอนราบ แต่จะหลับในท่าเอนนอน  เราก็จะเลือกนอนในท่าเอนเช่นกันโดยอัตโนมัติ  ก็มีอยู่นิดนึงว่า ควรจะรู้ว่าตัวเองนอนหันหัวไปทางทิศใด สำหรับตัวผมนั้นเห็นว่าควรจะหันไปทาทิศเหนือ  นอนพลิกไปทางซ้ายจะเห็นฟ้าสว่างเมื่อเช้า พลิกไปทางขวาจะเห็นดวงจันทร์ยามดึก และเมื่อมีเรื่องต้องหลบหนีกระทันหันในยามดึก ก็ยังพอรู้ว่าหลบไปทางทิศใด จะทำให้พอคลำทางกลับมายังจุดที่เรานอนซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่เรารู้ตำแหน่ง(พิกัด)ของตัวเอง ก่อนที่จะเริ่มเดินหาทางออกจากป่าต่อไปในวันใหม่

เวลากลางคืนในป่าจะมีความเงียบสงัดมาก เงียบมากพอที่จะได้ยินเสียงปลวกสั่นตัวสื่อสารกันบางอย่าง หรือเสียงใบไม้แห้งพลิกเนื่องจากการเดินของสัตว์ตัวเล็กๆ ฯลฯ   หากจิตใจของเราสงบและตั้งใจฟังเสียงต่างๆจริงๆ เราก็อาจจะได้ยินเสียงเครื่องของรถยนต์ หรือเห็นบริเวณที่มีแสงสว่างเนียนๆในความมืด ซึ่งทั้งเสียงและความสว่างแบบสุดสลัวเหล่านี้ก็คือพื้นที่ๆมีคนและมีความเจริญ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 25 มิ.ย. 21, 18:46

ในช่วงที่ผมยังทำงานสำรวจทำแผนที่อยู่นั้น จะมีหลายช่วงเวลาในแต่ละปีที่ได้เดินสำรวจและค้างแรมในพื้นที่ประเภทที่ห่างไกลจากความเจริญสุดๆ มักจะกำหนดแผนการเดินไว้ครั้งละประมาณ 7 วัน  เป็นพื้นที่ห่างไกลมากพอที่สัตว์ป่าไม่รู้จักคน  ก็เป็นความรู้สึกที่ดีครับ ประเภทเห็นหน้ากันแล้วก็มองหน้ากันสักพัก ต่างพิจารณากันว่าตัวอะไรหว่า   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 25 มิ.ย. 21, 19:18

ลืมบอกล่าวไปเรื่องหนึ่ง   เมื่อได้ที่เหมาะๆจะนอนแล้ว หากมีไฟส่องทางที่คาดหัวก็ควรจะถอดออกหรือไม่ก็หันหน้าไม่ให้มันมีโอกาสกระทบกับแสงสว่างใดๆที่มีการส่องมา     

มีพรานและชาวบ้านจำนวนมากที่ถูกยิงตายด้วยเหตุเข้าใจว่าเป็นตาของสัตว์ ซึ่งก็ให้บังเอิญว่า แสงที่สะท้อนของไฟคาดหัวนั้นมันจะนวลออกไปทางสีฟ้า ซึ่งส่วนมากจะเป็นของพวกสัตว์กีบที่เอามาทำอาหารได้    ที่จริงก็เป็นเรื่องที่ไม่มีการคิดและพิจารณากันก่อนทั้งสองฝ่าย  ฝายยิงก็ไม่พิจาณาว่าตาของสัตว์นั้นมันเป็นคู่ มีสองตา   ส่วนฝ่ายถูกยิงก็ไม่ได้คิดว่า ไฟคาดหัวนั้นมันจะสะท้อนแสงให้เห็นคล้ายกับนัยตาของสัตว์ และการนั่งหลับหรือเอนตัวหลับของตน ณ บริเวณนั้นๆ ระดับของไฟส่องสัตว์คาดหัวมันเป็นระดับเดียวกันกับตาของสัตว์ประเภทที่นิยมล่าเอามากินกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 26 มิ.ย. 21, 18:34

มาถึงเรื่องว่าควรจะก่อกองไฟเมื่อจะต้องนอนแรมหรือไม่  หากทำได้ก็พึงทำ แต่ต้องมีความเข้าใจด้วยว่า เอาใบไม้และกิ่งไม้แห้งๆมากองสุมรวมกันแล้วจุดไฟให้ติดลุกโชติช่วงนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก แต่จะทำให้มันติดคุกรุ่นอยู่ทั้งคืนนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก

หลักการก่อไฟนั้นเป็นเรื่องที่มีอยู่ในลิ้นชักความรู้ของทุกคน เป็นเรื่องที่ได้รับมาจากหลากหลายวิชาเรียน รู้กันทั้งวิธีการแบบ primitive ที่ใช้ไม้ 2 อันสีกัน วิธีการใช้หินต่อยให้เกิดสะเก็ดไฟ ไปจนถึงการใช้ขี้ไต้ ใช้ไม้เกี๊ยะ(ภาคเหนือ)   และยังอาจจะได้ทดลองปฎิบัติในวิชาลูกเสือ หรือในระหว่างการออกค่ายของนักเรียนนักศึกษา หรือไม่ก็ถูกใช้ให้ทำที่บ้าน (ติดเตาถ่าน) หรือแม้กระทั่งในวาระการทำ char coal BBQ กินกันในบางโอกาส   ทำกันในลักษณะที่มีอุปกรณ์พร้อมก็ยังก่อไฟยาก  ในป่าในสภาพที่ไม่มีอุปกรณ์พร้อม ต้องไปรวบรวมหาเอามาเองนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 26 มิ.ย. 21, 19:22

จะว่าไปแล้ว สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต่างก็กลัวไฟ ดังนั้น กลิ่นของไม้ที่ไหม้ไฟและควันไฟจะช่วยไล่สัตว์ไม่ให้เข้ามาใกล้ๆได้ ควันไฟจะช่วยไล่ยุงและแมลงต่างๆ  อากาศในช่วงเวลากลางคืนในป่าเขาจะค่อนข้างเย็น และจะเย็นมากขึ้นในช่วงเวลาประมาณตี 3 แม้ว่าจะเป็นในช่วงของเวลาอากาศร้อนจัดในพื้นที่เมืองก็ตาม   ซึ่งในช่วงเวลาประมาณตี 3 นี้ก็จะเป็นช่วงเวลาที่ในป่าจะมีน้ำค้างค่อนข้างแรง เป็นช่วงเวลาที่เรามักจะหลับสนิทอีกด้วย กองไฟที่จุดสุมไว้นั้น หากไม่ใช้ขอนไม้ดีๆ ไฟก็จะมอด แล้วก็มักจะเป็นช่วงเวลาที่สัตว์ป่าจะมักจะแวะเวียนมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น ?  ในช่วงเวลาที่ยังทำงานนั้นเจอบ่อยครับ ทั้งพวกสัตว์กีบและพวกอุ้งเท้าใหญ่เล็ก

คำแนะนำของผมก็คือ หากคิดจะก่อไฟ ก็ควรจะต้องเลือกบริเวณที่ไฟจะไม่สามารถจะลุกลามออกไปเป็นวงกว้างได้ ก่อไฟห่างจากจุดที่ตัวจะเอนนอนประมาณ 4-5 เมตร จะก่อไว้ที่ปลายเท้า หรือจะเป็นแบบรับไอร้อนด้านข้างตัวก็ได้ โดยหลักการก็คล้ายกับการเปิดไฟหน้าบ้าน คือ เห็นเขาแต่เขาไม่เห็นเรา เลือกขอนไม้แห้งขนาดประมาณโคนขาเพื่อใช้เป็นแท่งฟืนหลัก ก่อไฟให้ลุกโชติช่วงที่ปลายด้านหนึ่งของท่อนไม้นั้นจนกระทั่งไฟติดขอนไม้เป็นถ่านไฟแดงเต็มทั้งส่วนปลายขอนไม้นั้น ก่อนจะนอนก็เขี่ยขี้เถ้า ขยับท่อนไม้ให้อยู่บนกองถ่านแดงๆ เพื่อให้มันติดไฟอยู่นานๆ  ใช้กิ่งก้านไม้เล็กๆช่วยให้ไฟลุกโชน ใช้ใบไม้สุมให้เกิดควันไล่ลุงและแมลงต่างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 26 มิ.ย. 21, 19:26

จะเห็นว่ามีตัวสะกดตกหล่นเยอะมาก ต้องขออภัยด้วยครับ แป้นพิมพ์มันกำลังรวนครับ กำลังจะเปลี่ยนเครื่องครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง