เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 15917 ความรู้ในลิ้นชัก
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 01 มิ.ย. 21, 18:32

ในการทำงานเดินสำรวจทำแผนที่ธรณีฯของพวกผม จะใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 และใช้ค่าพิกัดแสดงตำแหน่งด้วยระบบ UTM ซึ่งจะแตกต่างออกไปจากระบบละติจูด-ลองติจูด   ค่าพิกัดนั้นใช้ตัวเลข 6 หลัก จะต้องอ้างอิงตำแหน่งของระวางแผนที่ด้วย คงจะไม่เล่าขยายความนะครับ เป็นเรื่องยาวที่ต้องย้อนไปถึงเรื่องของแผนที่ในระบบ UTM (Universal Transverse Mercator) ซึ่งแผนที่ของระบบนี้จะมีความถูกต้องในเรื่องของทิศและระยะทาง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 01 มิ.ย. 21, 18:37

จะต้องขออภัยที่ช่วงนี้การเล่าความจะกระท่อนกระแท่น  กำลังย้ายบ้านสลับกับบ้านของลูก ยังจัดทุกอย่างไม่เข้าระบบที่พึงจะเป็นครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 01 มิ.ย. 21, 18:51

ตามสบายค่ะ  คุณตั้ง
เรียบร้อยแล้วกลับมาคุยกันต่อนะคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 15 มิ.ย. 21, 18:39

ขออภัยที่ต้องเว้นวรรคไปช่วงหนึ่ง  ตอนนี้พอจะเป็นรูปเป็นร่างใกล้รูปแบบที่ตนเองคุ้นเคยแล้ว ก็เลยจะขอต่อเรื่องราวต่างๆครับ

สรุปเรื่องที่สำคัญตามที่ได้กล่าวมาก็คือ แผนที่ดีควรจะต้องมีการทำที่อิงกับมาตราส่วน โดยเฉพาะในเชิงของระยะทาง  หัวกระดาษของแผนที่ควรจะต้องเป็นด้านทิศเหนือเสมอ หรือมิฉะนั้นก็จะต้องมีเครื่องหมายที่บ่งชี้ว่าทิศเหนืออยู่ทางใหนของกระดาษแสดงแผนที่นั้นๆ 

แผนที่ๆเราถามหาและกล่าวถึงกันในวิถีการใช้ชีวิตในโลกปัจจุบันนี้ เกือบทั้งหมดจะเป็นแผนที่ๆใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมเป็นฐานในการแปลงให้เป็นผังภาพลายเส้นกราฟฟิค (vector graphic)  เพื่อการนำพาผู้คนไปสู่สถานที่(พิกัด)เป้าหมายที่มีตัวตนปรากฎ    (เป็นหนึ่งในวิทยาการประยุกต์ในเรื่องของการทำแผนที่ _Cartography)    แผนที่บนฐานของภาพถ่ายดาวเทียมนี้ดูจะมีขีดของความถูกต้อง +/- ในระดับเป็นเมตร (meter range accuracy)  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วลงไปได้ถึงระดับเซ็นติเมตร เพียงแต่ถูกจำกัดด้วยเรื่องของความมั่นคงต่างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 15 มิ.ย. 21, 19:34

สำหรับแผนที่ๆใช้ในการทำงานในเชิงของระบบและการวางแผนและอื่นๆนั้น เมื่อใช้คำว่าแผนที่ เกือบทั้งหมดจะหมายถึงแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 สำหรับงานทั่วๆไป  และมาตราส่วนประมาณ 1:20,000 (สำหรับเรื่องของการใช้ประโยชน์ที่ดิน)  ซึ่งมักจะอยู่ในลักษณะของการใช้แผนที่ๆต้องมีการหาจุดพิกัดต่างๆด้วยตนเอง      ความถูกต้องของพิกัดจึงขึ้นอยู่กับตัวคนที่ดำเนินการหาจุดพิกัด และบนพื้นฐานของมาตราส่วนของแผนที่ พิกัดจึงมีความคลาดเคลื่อนได้ในระดับ+/- 50 เมตรโดยประมาณ เมื่อใช้แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หรือในระดับ +/- 20 เมตรโดยประมาณ เมื่อใช้แผนที่มาตราส่วน 1:20,000

ถึงจุดนี้ก็คงพอจะได้เห็นภาพของความขัดแย้งต่างๆได้พอสมควรเลยทีเดียวสำหรับกรณีแนวเขตที่มีลากเส้นเหล่านั้นได้กระทำตั้งอยู่บนฐานของแผนที่มาตราส่วนใด  ซึ่งจะยังผลให้ระยะ +/- ของแนวเขตในพื้นที่จริงๆขยับไปมาได้มากโขอยู่ทีเดียว
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 15 มิ.ย. 21, 19:42



    แผนที่ที่ผู้คนชาวบ้านทั่วไปคุ้นเคยกันดี เห็นจะเป็นโฉนดที่ดินละมังครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 16 มิ.ย. 21, 18:19

ใ่ช่ครับ ก็คงจะเป็นเช่นนั้น  ในโฉนดที่ดินก็มีการเขียนลูกศรชี้ทิศเหนือด้วย  ซึ่งด้วยความที่คุ้นเคยก้บพื้นที่และรูปทรงของที่ดิน ชาวบ้านก็จะดูออกในทันใดว่าที่ดินข้างเคียงในแต่ละทิศนั้นมีผู้ใดเป็นเจ้าของ  คนในกรุงและในเมืองเสียอีกที่ดูจะไม่รู้หรือไม่ได้สนใจเลยว่า ด้านที่ติดถนนหรือที่เรียกว่าด้านหน้า ด้านข้าง หรือด้านหลังของที่ดินผืนนั้น ผินหน้าไปทางทิศใด   

ก็ดูจะไม่มีสาระสำคัญที่จะต้องไปสนในใจกับเรื่องของทิศและการวางตัวของผืนดินนั้นๆ  แต่สำหรับผมนั้คงจะเป็นคนคิดมากไปหน่อย คิดเลยคิดถึงในกรณีจะสร้างบ้านพักอาศัย หรือหากเป็นพื้นที่ค่อนข้างใหญ่และคิดจะใช้เป็นบ้านชนบทเพื่อการพักผ่อนแบบให้มันเลี้ยงตัวเองได้ด้วยกิจกรรมแบบประสมประสานในรูปของไร่นาสวนผสม      เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงของที่ดินผืนนั้นกับทิศทางของการวางตัวก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาในทันที
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 16 มิ.ย. 21, 19:27

ลองค่อยๆนึกดูก็น่าเห็นว่า เราถูกระบบ (พ่อ แม่ ครู อาจารย์ การเรียนหนังสือ สังคม ข่าวสาร ...... ) เอาความรู้และความเชื้อหลายๆเรื่องเข้าไปฝังเก็บสะสมอยู่ในสมองของเรา  เช่น ในช่วงปลายปี อากาศในภาคเหนือจะหนาวเย็น ดวงอาทิตย์จะเดินอ้อมใต้ เงาจะทอดไปทางทิศเหนือ  ประมาณต้นเดือนเมษายนจะมีลมแรงและฝนมาจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะมีพายุฝนเข้ามาทางทิศตะวันออก   พระพุทธรูปควรจะผินหน้าไปทางทิศเหนือหรือตะวันออก  เราไม่ควรอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก ..... เหล่านี้เป็นต้น     ประเด็นความรู้และความคิดเหล่านี้จะนำพาไปสู่การวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความเหมาะสมกับวิถีที่เราจะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข      ในอีกนัยหนึ่งก็คือ ทุกเรื่องมีเป็นไปที่สอดคล้องกับพลวัติของธรรมาติ คือ Living in harmony with nature    ในทางศาสตร์ของฮวงจุ้ยก็น่าจะเป็นเรื่องขอหยินและหยางที่เอื้ออำนวยแก่กันจนทำให้ซี่ลื่นไหลไปได้อย่างราบรื่น

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 17 มิ.ย. 21, 18:39

เมื่อเราเดินทางไปเที่ยววกวนอยู่ในสถานที่หรือพื้นที่แห่งหนึ่งที่มีความเจริญมากแล้ว แล้วไม่สามารถย้อนกลับมายังจุดเริ่มต้นได้   โดยลักษณะของรูปการณ์แล้วมันก็คือการเกิดการหลง ซึ่งเรามักจะใช้คำว่า หลงทาง     การหลงทางนี้ดูจะเกิดมาได้ทั้งจากความไม่ชัดเจนของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาจากระบบของสื่อ (information) และจากการหลงทิศทางตามความเชื่อมั่นของตัวเราเอง      แต่หากเป็นการหลงในพื้นที่ๆยังคงมีลักษณะเป็นธรรมชาติอยู่  การหลงจะมักจะเกิดจากการหลงทิศ และหลงเพราะความเชื่อมั่นในความรู้สึกของตนเอง

เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาเข้าจริงๆ ต้นตอของการหลงส่วนมากจะเริ่มต้นจากการไม่รู้จักพิกัดที่เป็นจุดออกแรกเริ่มของเราอย่างดีพอในพื้นที่นั้น

เมื่อเราจะหาพิกัดที่เรายืนอยู่ ณ จุดใดๆ  เราจะต้องมองไปรอบๆตัว ค้นหาจุดเด่นที่ปรากฎอยู่ในแนวสายตา (line of sight) หันหน้าตรงมองตรงไปทางจุดที่เด่นที่สุด แล้วบันทึกใว้ในความทรงจำว่าเราเห็นอะไรบ้างที่เด่นๆเมื่อผินหน้าไปทางซ้าย หรือขวา หรือบน หรือล่าง หรือกลับหลังไปมอง  ซึ่งจะทำให้เมื่อใดก็ตามที่เราเห็นจุดเด่นที่สุดนั้นๆก็พอจะทราบได้ว่าจุดแรกเริ่มของเราควรจะอยู่ ณ ที่ใด 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 17 มิ.ย. 21, 19:13

พิกัดจึงมิใช่เรื่องแต่เฉพาะตำแหน่งที่อยู่ พิกัดจำจะต้องมีรายละเอียดในเชิงของคุณภาพประกอบอยู่ด้วย จึงจะมีคุณค่าสำหรับการใช้ให้เกิดประโยชน์    ย้อนกลับไปที่ได้กล่าวมาเกี่ยวกับเรื่องของแผนที่ หากพิกัดต่างๆที่ปรากฎอยู่ในแผนที่ไม่มีข้อมูลใดๆประกอบอยู่ด้วยเลย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราไปถูกที่ ณ จุดที่เขาให้พิกัดแก่เรา     ในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หนึ่งจุดดินสอดำ คลุมพื้นที่ประมาณ +/- 50 เมตร    แผนที่ 1:20,000 หนึ่งจุดดินสอคลุมพื้นที่ประมาณ 20 เมตร    อนึ่ง ความแม่นยำก็ยังขึ้นอยู่กับฝ่ายผู้ปักหมุดพิกัดให้กับเรา ว่าเขาเหล่านั้นมีความพิถีพิถันมากน้อยเพียงใดในการบอกพิกัด หรือเขาได้ปักหมุดลงบนแผนที่มาตราส่วนใด  ท่านที่ใช้ app. แผนที่ต่างๆน่าจะเห็นภาพที่ได้กล่าวถึงนี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 17 มิ.ย. 21, 19:40

การหลงในพื้นที่เมืองและชนบทเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ไม่ยาก  มีเพียงปากก็ดูจะเพียงพอที่จะแก้สภาพการหลงได้ เว้นเสียแต่ว่าจะไปเจอชาวบ้านที่ช่วยแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการบอกทางออกด้วยการใช้ระบบทิศทาง  ก็คงจะต้องงๆและเออออห่อหมกไปก่อน แล้วไปถามเอาดาบหน้าต่อไป

แต่การหลงในพื้นที่อุทธยานหรือป่าเขานั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งเลย  ต้องใช้ความรู้ในลิ้นชักและสัญชาติญาณผสมผสานกันเพื่อการแก้ปัญหา หาทางออก และเอาตัวให้รอด  ซึ่งเป็นเรื่องที่จะว่ากันต่อไปครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 18 มิ.ย. 21, 18:54

จะขอใช้เรื่องการหลงป่าเป็นภาพหลักที่จะคุยกันจากนี้ต่อไปะครับ

ความรู้สึกว่าได้เกิดการหลงป่าขึ้นแล้วนั้น จะเริ่มเมื่อจิตใจของเราเริ่มพะวงจากการเห็นภาพของสรรพสิ่งในป่าในขาเดินกลับ(ไปยังจุดเริ่มต้นที่เริ่มเดินเข้าป่าไป) ว่ามันไม่เหมือนกับที่เคยเห็นหรือที่รู้สึกคุ้นเคยเมื่อตอนขาเดินเข้าป่า  เมื่อมีความพะวงมากขึ้น ก็จะเริ่มพิจารณาและวิเคราะห์สิ่งที่ได้เห็นละเอียดมากขึ้น ....   ทำให้เกิดความกังวลในเรื่องอื่นๆตามมาอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในเรื่องของเวลาและทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเวลา ภารกิจและกิจกรรมต่างๆที่มี time frame เข้ามากำกับ    เมื่อเกิดความกังวลมากๆเข้าก็กลายเป็น panic  เมื่อถึงจุดนี้ก็จะเกิดอาการขาดสติสัมปชัญญะ  ความคิดต่างๆเริ่มผันเข้าไปสู่แนวที่เป็น negative  เกิดความกลัว   ก็กลัวมากขึ้นไปจนถึงจุดที่ตั้งสติใหม่ได้ เกิดความรู้สึกของการต้องอยู่ในสภาพ isolation และการเอาชีวิตรอดในสภาพนั้น    ถึงตอนนี้ละครับ ความรู้ในลิ้นชักจะถูกรื้อค้นออกมาทั้งหมด ทั้งที่ถูกพ่อแม่ คนเฒ่าคนแก่เคยบ่น ดุด่า ห้ามปราม (เช่น เกี่ยวกับสัตว์มีพิษ ...) เรื่องน่าเบื่อจากการเรียนวิชาลูกเสือ  เรื่องของลมฟ้าอากาศ เดือน ตะวัน ทิศ   เรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ  เรื่องของการบ่มจิตใจ(ปฎิบัติ)ทางธรรม..... ฯลฯ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 18 มิ.ย. 21, 19:27

การแก้ปัญหาการหลงป่าคงจะต้องจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การทำให้ตัวเองออกจากพื้นที่ป่านั้นได้ และการเอาชีวิตให้รอด   ทั้งสองเรื่องนี้จะต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างจิตใจให้เข้มแข็ง ปรับเปลี่ยนแนวคิดที่ไปในทางลบ ให้เป็นไปในทางบวก ซึ่งเป็นการทำให้ร่างกายและจิตใจพร้อมทีจะสู้ต่อไป       จะเดินลัดเลาะไปทางใหนก็ควรจะต้องทิ้งร่องรอยไว้ให้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นการทิ้งร่องรอยให้คนที่เข้ามาช่วยเหลือเขาสามารถแกะรอยและติดตามได้  ในพื้นที่ป่าที่เราไม่คุ้นเคย เราจะเดินได้ประมาณ 2-3 กม.ต่อ ชม. แต่สำหรับคนที่ชำนาญพื้นที่เขาจะเดินได้เร็วกว่าเราอาจจะถึงประมาณเกือบ 2 เท่า      ควรพยายามนึกถึงแผนที่ๆเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆว่ามันอยู่ทางด้านบน ล่าง ซ้าย หรือขวาของถนนสายหลักที่นำพาเราเข้าสู่พื้นที่นั้นๆ  อย่างน้อยๆก็ยังช่วยให้เรามุ่งการเดินทางเข้าสู่ความเจริญ  ก็ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของทิศและทิศในแผนที่ที่เราควรให้ความสนใจ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 19 มิ.ย. 21, 19:43

เป็นเรื่องปกติมากๆที่เมื่อเดินโผล่ออกมาจากแนวป่าแล้วยังต้องเดินหาจุดตั้งต้นที่เราเริ่มเดินเข้าป่าไป (ซึ่งมักจะเป็นลานจอดรถ สถานที่ตั้งเต็นท์พักแรม ที่ตั้งจุดตรวจ ฯลฯ)  รูปการณ์ในลักษณะนี้ เกิดขึ้นได้เช่นกันในการเดินเที่ยวชุมชนต่าๆ ตลาดขนาดใหญ่ ศูนย์การค้าขนาดใหญ่  การขับรถชมเมือง ...ฯลฯ     ทางแก้ที่จะมิให้เกิดความรู้สึกว่าหลงและซึ่งจะยังให้เกิดการเปลี่ยนไปเป็นความเพลิดเพลินในรูปของการคิดเชิงของการค้นพบในบริบทของ exploration หรือ expedition ก็คือ การมีข้อสังเกตต่างๆและการบันทึกเก็บไว้(ในสมอง)ไม่ว่าจะในรูปของ ROM หรือ RAM หรือ Flash memory    ทั้งนี้ ก็จะต้องเป็นข้อมูลที่มีการพิเคราะห์และการเลือกสรรที่ผ่านการคัดกรองตามที่เหมาะสมกับจริตของแต่ละคน  บ้างก็อยู่บนพื้นฐานของลักษณะถนน  บ้างก็ต้นไม้และพืชพรรณ บ้างก็ลักษณะห้วย บ้างก็ภูมิทัศน์ บ้างก็ลักษณะดิน-หิน ฯลฯ   
 
สรุปเอาง่ายๆว่า เมื่อใดที่เราเริ่มการกระทำภารกิจใดๆ จำเป็นจะต้องมีความสังเกตในทุกๆเรื่อง (มากน้อยต่างกันไป)  คือ รู้เขา รู้เรา และรู้ตัวเอง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 19 มิ.ย. 21, 20:30

สังเกต เป็นคำหนึ่งที่อยู่ในลิ้นชักความรู้  น่าจะเป็นเป็นคำที่เราได้ยินมาตั้งแต่เด็ก และมีการพร่ำพูดคำนี้จากทุกท่านที่ทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์ในทุกระดับการศึกษา

เชื่อว่าทุกๆคนมีข้อสังเกตเป็นสมบัติประจำตัว จะมีมากบ้างน้อยบ้างในเชิงของนิสัยแตกต่างกันไป รวมทั้งความแตกต่างกันในเชิงของความละเอียด   เรื่องของความใส่ใจลงไปถึงความละเอียดจนเป็นนิสัยนี้ ผมมีความเห็นว่าส่วนมากจะเกิดขึ้นจากความสนใจและความใส่ใจในการเรียนรู้สรรพเรื่องต่างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง