เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 15698 ความรู้ในลิ้นชัก
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 30 ก.ย. 21, 19:06

ก็มีสถานที่ๆมีความสำคัญทางศาสนาที่โด่งดังในเขต จ.ปัตตานี อีก 3 จุด คือ ศาลเจ้าแม่กอเหนื่ยว  มัสยิดกรือเซะ  และวัดช้างให้ ซึ่งเป็นวัดที่เป็นจุดเริ่มต้นของความโด่งดังและความมีชื่อเสียงขจรขจายของหลวงพ่อทวด  วัดตั้งอยู่ประมาณครึ่งทางบนเส้นทางระหว่างปัตตานีกับยะลา

เข้าไปในเขต จ.นราธิวาส ก็มีเรื่องที่น่าสนใจอยู่ค่อนข้างจะมาก แต่คงจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะมีคนสนใจอยากจะรู้กันนัก เพราะดูจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะไกลตัว   แต่เรื่องของข้อมูลและความรู้ที่ไกลตัวเหล่านี้มันเป็น butterfly effect ที่อาจจะส่งผลต่อการทำงานในอนาคตทั้งด้านวิชาชีพ การดำเนินชีวิต และการอยู่รอดในระดับความสำเร็จที่ดีในเชิงของ social hierarchy  ในอีกด้านหนึ่งก็คือการทำงานอยู่บนพื้นฐานของการรู้จักตัวตนของตนเองและของประเทศ ในองค์รวมก็คือ เป็นเรื่องของการมีข้อมูล มีความรู้ และความเข้าใจในเชิงของ geopolitical sphere และ sphere of influences ตั้งแต่ในระดับ sub-regional ไปจนถึงระดับ global   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 30 ก.ย. 21, 20:23

ชื่อที่คุ้นเคยกันในพื้นที่ชายแดนใต้สุดก็น่าจะเป็น โต๊ะโม๊ะ (เหมืองทองคำ)  อ.แว้ง   อ.สุไหงโกลก   อ.เบตง   ตันหยงมัส   ปาดังเบซาร์    น่าแปลกที่ผมไม่ต้องมีงานไปถึง อ.เบตง และ อ.สุไหงโกลก ก็เลยไม่เคยไปทั้งสองอำเภอนี้

โต๊ะโม๊ะ และ แว้ง เป็นสถานที่คู่กัน คือ ขุดทองได้ที่โต๊ะโม๊ะแต่ต้องขนไปส่งที่แว้ง เพื่อดำเนินการธุรกรรมในด้านการค้าขายต่อไป 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 01 ต.ค. 21, 18:28

เรื่องราวของการเหมืองแร่ทองคำที่โต๊ะโม๊ะ สามารถจะค้นคว้าหาอ่านได้ไม่ยาก ก็จะขอข้ามไปแตะบางเรื่องราวของทองคำที่อาจจะสนใจแทน   

ทองคำที่พบอยู่ในธรรมชาตินั้น โดยพื้นฐานแล้วพบได้ในรูปของทองคำบริสุทธิ์และในรูปที่เป็นสารประกอบทางเคมีของแร่บางชนิด  ทองคำในรูปที่บริสุทธิ์นั้น มีตั้งแต่ขนาดเล็กจัดจนต้องใช้กล้องจุลทัศน์จึงจะเห็นได้ ไปจนถึงเป็นก้อนขนาดใหญ่ที่เรียกว่า gold nugget    สำหรับพวกที่มีขนาดเล็กจัดนั้น ส่านมากจะพบแทรกอยู่ในช่องว่างหรือรอยแตกระหว่างผลึกของกลุ่มแร่อื่นๆ (แร่ในกลุ่ม sulfide minerals) 

เหมืองทองขนาดใหญ่ส่วนมากจะเป็นเหมืองแร่ที่ทำการขุดแร่ในกลุ่มแร่ sulfide  ได้แร่มาแล้วก็เอามาบดให้ละเอียดจนถึงระดับที่สามารถจะให้ทองคำแยกตัวออกมา จากนั้นก็เอาแร่ที่บดนั้นไปผ่านน้ำยา(ที่กลัวกัน)เพื่อแยกทองคำ แล้วเอาไปผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้เป็นตัวโลหะทองคำออกมา หลอมให้เป็นแท่งเพื่อสะดวกในการขนย้าย   ทองคำที่ได้มาในขั้นนี้ยังไม่ใช่โลหะทองคำบริสุทธิ์ แต่จะอยู่ที่ประมาณ 95+% ขึ้นไป ในเนื้อจะยังมีธาตุบางอย่างปนอยู่ เช่น เงิน ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว    ทองแท่งในขั้นนี้จะมีสีแปลกๆที่ออกไปทางสีซีด  ต้องเอาไปผ่านกระบวนการทำให้เป็นทองคำที่บริสุทธิ์เพื่อให้สามารถขายได้ในตลาดต่อไป             
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 01 ต.ค. 21, 20:06

ได้กล่าวถึงการทำเหมืองแร่ทองคำ แต่ในทางปฎิบัติการกลับกลายเป็นการขุดแร่พวก sulfide ore body  ซึ่งแร่ในกลุ่มนี้ก็คือแร่ที่มีการทำเหมืองเพื่อสกัดเอาโลหะ ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี รวมทั้งโลหะหรือสารประกอบในกลุ่ม base metal อื่นๆ     การทำเหมืองทองคำในหลายๆกรณีก็เลยไม่เป็นที่แน่ชัดว่า จริงๆแล้วคือการทำเหมืองแร่อะไร  ในหลายๆกรณี ปริมาณทองคำคือตัวกำไร โลหะอื่นๆที่ขายได้คือค่าใช้จ่ายในการทำเหมือง 

แต่ตลาดค้าขายแลกเปลี่ยนแร่โลหะพวก base metal กับตลาดทองคำเป็นคนละตลาดที่มีระบบไม่เหมือนกันเลย รวมทั้งสมาชิกก็ต่างกลุ่มกันอีกด้วย    สำหรับการค้าขายในตลาดทองคำนั้น ทองคำที่ขายได้จะต้องเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่มีตราประทับรับรองระดับความบริสุทธิ์(บนทองแท่ง)ของหน่วยงาน หรือองค์กร หรือผู้ที่ทำการให้ทองนั้นๆมันมีความบริสุทธิ์  ซึ่งผู้ที่ทำการรับรองนั้นจะต้องเป็นที่ยอมรับกันของประเทศต่างๆอีกด้วย เพราะทองคำมันไปเกี่ยวข้องกับการใช้เป็นทรัพย์สินประกันค่าของเงินและความมั่นคงทางด้านการเงินและการคลังของแต่ละประเทศ

อาจจะขยายความอืดอาดไปบ้างเพราะต้องใช้เวลาในการคิดตรองว่าจะบรรยายเช่นใดจึงจะพอให้เห็นภาพ และได้เห็นความโยงใยของเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับทองคำ   เพียงเคยทำงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาบ้างทั้งในด้านวิชาการและด้านนโยบาย ก็เลยอยากเล่าให้ฟังในส่วนที่ไม่ค่อยจะรู้กัน   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 01 ต.ค. 21, 20:12

gold nugget


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 01 ต.ค. 21, 20:15

ทองคำบริสุทธิ์


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 02 ต.ค. 21, 18:26

ทองคำที่ยังไม่บริสุทธิ์จากเหมือง เมื่อเอาไปทำให้มันมีความเป็นทองคำบริสุทธิ์ (refine) เราก็หวังว่าจะได้ทองคำ 100%  แต่ในการทำจริงๆก็ไม่สามารถจะทำให้ได้เป็นเนื้อทองคำ100% เต็ม ยังไงๆก็ไม่สามารถจะ refine เอาโลหะธาตุสามสี่ตัว(impurities)ที่กล่าวถึงออกไปให้หมดได้   ที่เราเรียกว่าทองคำบริสุทธิ์หรือทองคำ 100% นั้นจึงไม่มี และในธรรมชาติก็ไม่มี จะมีก็แต่ทองคำที่มีความบริสุทธิ์ 99.99+/-%   

ด้วย impurities นี้ จึงทำให้ทองคำที่จัดว่าเป็นทองคำบริสุทธิ์นั้นมีได้หลายสี ที่เด่นๆชัดเจนก็จะมีสีเหลืองสด สีเหลืองอมเขียว สีเหลืองอมแดง   หากจะโยงไปโยงมาก็พอจะโยงไปถึงแหล่งที่ทำเหมืองจนได้ทองคำบริสุทธิ์นั้นๆออกมา หรือ ก็พอจะรู้ว่าทองคำนั้นมาจากตลาดค้าทองคำตลาดใด   คนไทยดูจะนิยมทองคำสีเหลืองอมเขียว หากเป็นคนที่นิยมของเก่า  แต่หากเป็นคนที่มีความนิยมตะวันตกและเชื่อในเรื่องสีทองกับความบริสุทธิ์ ก็ดูจะนิยมสีเหลืองทองอร่าม  คนอินเดียและตะวันออกกลางดูจะนิยมทองคำที่มีสีเหลืองอมแดง(ชมพู) ... 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 02 ต.ค. 21, 18:43

สีของทองคำแปรเปลี่ยนไปตามเปอร์เซ็นต์ของโลหะเจือปน

ภาพจาก วิกิพีเดีย


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 02 ต.ค. 21, 19:35

ทองคำบริสุทธิ์ที่ค้าขายกันในตลาดโลก น่าจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทระดับประเทศ (รัฐบาล กระทรวงการคลัง แบงค์ชาติ) และประเภทระดับเอกชน  

ระดับประเทศ    ด้วยที่ทองคำมันมีราคาสูงมาก มีน้ำหนักมาก ซื้อขายกันในปริมาณ ในมูลค่าที่สูงมาก และมีปัญหาในเรื่องของความปลอดภัยทั้งในระหว่างการขนย้ายและในการเก็บรักษา  การซื้อขายจึงมีอยู่ในสองลักษณะ คือ แบบแลกเปลี่ยนกระดาษกัน กับแบบซื้อแล้วมีการเคลื่อนย้ายตัวทองคำนั้นๆจริงๆ ซึ่งก็แล้วแต่จะตกลงกันว่า จะฝากไว้ก่อน หรือจะขนย้ายไปเก็บไว้ที่ใดหรือฝากใว้ที่ใด...

มองง่ายๆว่า กระดาษแผ่นเดียวที่มีข้อมูลแสดงมูลค่าที่ซื้อขายกันนั้น มันก็เป็นกระดาษที่มีมูลค่าดังที่ปรากฎเช่นนั้น  แต่ถ้าหากผู้ถือกระดาษแผ่นนั้นเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือสูง เขาก็อาจจะเอากระดาษอีก 10 แผ่น  100 แผ่น 1000 แผ่น หรือหลายร้อยหลายพันล้านแผ่น เอามาเขียนตัวเลขบอกค่าของกระดาษแต่ละแผ่น ซึ่งเมื่อเอามูลค่าในกระดาษทุกๆแผ่นที่เขียนตัวเลขบอกไว้นั้น เอามาบวกรวมกันแล้วก็ได้ตัวเลขมูลค่าเท่ากับกระดาษแผ่นแรกต้นทาง     ในองค์รวมก็คือระบบเงินตราและความมั่นคงทางการคลังของแต่ละประเทศ     ก็เป็นภาพที่ดูง่ายๆดี แต่ไม่ง่ายเลยในทางปฏิบัติ    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 02 ต.ค. 21, 20:41

Ternary diagram ที่คุณเพ็ญชมพูนำมาแสดงนั้น เป็นข้อมูลที่อธิบายให้เห็นสีต่างๆของทองคำได้ดี เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่หากจะนำข้อมูลนี้ไปใช้ในปฏิบัติการทดลองแปรเปลี่ยนสีของทองคำ ก็ควรจะต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้กับคำว่า wt% (of Au, Ag, Cu) ที่เห็นอยู่แต่ละด้านของกราฟสามเหลี่ยมนั้น     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 03 ต.ค. 21, 18:34

เนื่องจากทองคำบริสุทธิ์ที่ได้มาจากการ refine จะมีความบริสุทธิ์ที่ตัวเลข 99 % เป็นพื้นฐาน แล้วมีตัวเลข .1 ถึง .9 ต่อท้ายอีก ก็เลยทำให้มันมีความบริสุทธิ์ที่ต่างกัน ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่ 99.1% ไปจนถึง 99.9%  แล้วก็ยังมีความบริสุทธิ์ยิ่งยวดเข้าไปอีก เป็น 99.91% ไปจนถึง 99.99 % หรือเพิ่มต่อท้ายเข้าไปอีกตัวเลขหนึ่งก็ยังมี   

ทองคำบริสุทธิ์เหล่านี้ ก็คือทองคำแท่งที่เราเรียกกัน  ราคาของทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ต่างกันก็จะมีราคาที่ต่างกัน ยิ่งบริสุทธิ์มากก็ยิ่งมีราคาสูงมากเป็นธรรมดา  ดังนั้น หากจะเป็นนักสะสมทองคำแท่ง ก็ต้องดูด้วยว่ามันมีตราประทับรับรองขนาดของความบริสุทธิ์อยู่บนทองแท่งนั้นๆด้วยหรือไม่

ทองคำแท่งที่ขายกันตามร้านขายทองในไทย หากเป็นแบบที่มีตราประทับและมีตัวแลขบอกความบริสุทธิ์ ก็เป็นทองที่น่าจะขายได้ทั่วโลก    แต่หากเป็นทองแท่งที่มีตราประทับเป็นของกลุ่มร้านทองนั้นๆ ก็จะซื้อขายกลับไปกลับมาได้กับกลุ่มร้านทองนั้นๆ จะขายข้ามกลุ่มได้ยากและยังถูกกดราคาอีกด้วย ทั้งทองแท่งและทองรูปพรรณ      เหตุผลก็เป็นเรื่องความริสุทธิ์ ไม่ว่าจะมาจากต้นทาง(ทองจากตลาดค้าทองนานาชาติ) หรือเป็นทองที่มีการเพิ่มโลหะธาตุเข้าไปตามสัดส่วนที่เป็นมาตรฐานของกลุ่ม       ผมไม่มีความรู้ว่า ความบริสุทธิ์ของทองแท่งที่ยอมรับและซื้อขายกันในกันในหมู่ผู้ค้าทองในไทยนั้นเป็นอย่างไร
   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 03 ต.ค. 21, 20:19

พูดถึงเรื่องทองคำเลยทำให้นึกถึงเรื่องของงานของภาครัฐที่เรียกเราเรียกว่า กษาปณ์  ซึ่งโดยพื้นฐานก็คือ โรงหลอมโลหะมีค่าเพื่อสะสมเป็นทรัพย์สินของรัฐ (ทุนสำรอง) แล้วแปรสภาพ(บางส่วน)ไปอยู่ในรูปของเงินตราที่ใช้ในการซื้อขายหรือในการพาณิชย์ต่างๆ  ประเทศที่มีแหล่งโลหะทองคำและแหล่งโลหะเงิน ล้วนจะต้องมีกิจการด้านนี้ ซึ่งหากมีทรัพยากรมากและประชาชนมีความต้องการใช้มาก ก็อาจจะดำเนินการในรูปแบบเชิงอุตสาหกรรมไปเลย (Mint industry) เช่น ในออสเตรเลีย

โรงกษาปณ์มีบทบาทค่อนข้างมากในบางสถานการณ์ เช่น เมื่อครั้งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง  ทุนสำรองทองคำของบางประเทศ(ไม่ใช่ไทย)ได้หดหายไปจนเกือบจะไม่เหลือเลย รัฐก็ออกรับซื้อทองคำจากชาวบ้านที่ร่อนเลียงสะสมได้มาจากเสี่ยงโชค  เอาทองคำเหล่านั้นมา refine ใช้เป็นทุนสำรองเพื่อพยุงความมั่นคงของระบบเงินตราและเศรษฐกิจของตน     หรือในอีกลักษณะหนึ่ง คือ การเอาทองรูปพรรณต่างๆมา refine ให้กลับไปเป็นทองบริสุทธิ์เพื่อหมุนเวียนใช้ในตลาดอีกครั้งหนึ่ง

โรงกษาปณ์ของไทยมีบันทึกการจัดตั้งอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 4   แต่จริงๆแล้ว โรงกษาปณ์น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เพียงแต่คงจะมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น คือจะต้องมีมาตั้งแต่เมื่อครั้งเราใช้เงินพดด้วงที่มีตราของทางราชการประทับอยู่

แหกโค้งจนมาถึงเรื่องของการกษาปณ์แบบสังเขปแล้ว ด้วยเพราะว่ามันเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกัน    ก็คงจะต้องขอกลับเข้าสู่เส้นทางหลักแต่เดิม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 04 ต.ค. 21, 18:30

ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ย่านเหมืองแร่ทองคำโต๊ะโม๊ะ ส่วนมากจะเป็นชาวไทยพุทธมาจากภาคอื่นๆ มีอาชีพหลักในการทำสวนผลไม้ เมื่อมีเวลาว่างๆก็เอาเลียงร่อนแร่เดินลงห้วยไปร่อนหาทองคำ ได้วันละเล็กละน้อยสะสมไว้    หากว่าท่านใดได้มีโอกาสไปเที่ยวที่โต๊ะโม๊ะก็น่าจะลองเจรจาขอแบ่งซื้อเอามาเก็บไว้เป็นที่ระลึกบ้าง ก็น่าจะดี   ในต่างประเทศ ทองคำที่หาได้โดยวิธีการใช้เลียงร่อนหาตามลำน้ำนี้  มักจะถูกแบ่งเอามาใส่ขวดเล็กๆ ใส่น้ำสะอาดๆให้เต็มขวด แล้วนำมาขายเป็นของที่ระลึก   

อาจจะไม่รู้กันว่า ในลำน้ำแควน้อย แถว ต.บ้านเก่า ก็เคยมีชาวบ้านลงน้ำขูดทรายท้องแม่น้ำแควเอามาเลียงหาทองคำกัน ซึ่งก็พบทองเหมือนกัน แต่น้อยนิดเอามากๆจนไม่คุ้มค่ากับการไปนั่งแช่เปียกอยู่ในน้ำทั้งวันหลายๆวัน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 04 ต.ค. 21, 20:12

ขยายความนิดนึงครับ

แหล่งแร่ทองคำพอจะจำแนกได้ง่ายออกได้เป็น 3 แบบ คือ แบบทองคำเกิดร่วมอยู่กับกลุ่มแร่อื่นๆ (พวกแหล่ง copper-lead-zinc sulfide)  แบบที่เกิดประปรายอยู่ตามสายแร่ quartz ที่ตัดผ่านไปในหินบางอย่าง  และแบบที่ตัวทองคำหลุด แยกตัวออกมาเป็นอิสระแล้วถูกพัดพาไปพร้อมกับ หิน-ดิน-ทราย ไปตกสะสมอยู่ในที่อื่นใดสถานที่หนึ่ง เรียกกันว่า placer deposit

แหล่งทองคำแบบแรกจะเป็นการทำเหมืองขนาดใหญ่ ทั้งแบบทำเหมืองเปิด และเหมืองใต้ดิน แต่ส่วนมากจะเป็นเหมืองใต้ดิน ซึ่งบางเหมืองมีอุโมงค์ขนาดกว้างใหญ่พอที่รถ 10 จะวิ่งสวนทวงกันได้อย่างสบายๆ  เดินในอุโมงค์ต้องมีความระวังไม่ต่างไปจากการเดินตามถนนหลวง  เหมืองแบบนี้จะมีเจ้าของกิจการในรูปของบริษัท    แบบที่สองจะเป็นแบบที่เราเห็นตามที่ปรากฎในภาพยนตร์ มักจะเป็นเหมืองแบบขุดเจาะเป็นอุโมงค์เข้าไปในเขา อุโมงค์มีขนาดพอตัวหรือพอที่จะใช้พาหนะเล็กๆขนหินออกมาได้  เจ้าของเหมืองมักจะเป็นแบบหุ้นส่วน หรือเป็นเจ้าของเดี่ยว     แบบที่สามจะเป็นแบบที่เราเห็นในสารคดีที่เกี่ยวกับเรื่องราวของคนทำเหมืองทอง เป็นแบบที่มีการใช้รถขุดตักดินเอาไปล้างเพื่อเอาทองคำ ส่วนมากจะเป็นเหมืองขนาดไม่ใหญ่ ยกเว้นกรณีของเหมืองทองใน Alaska ของสหรัฐอเมริกา ในประเทศ Canada  ใน Australia 

ความคุ้มค่าในการทำเหมืองทองคำ จะพิจาณาจากปริมาณน้ำหนักของทองคำที่จะได้ต่อน้ำหนักของหินดินทรายที่จะต้องขุดเอาออกมา  ตัวเลขที่ค่อนข้างจะเป็นข้อพิจารณาในเบื้องต้น(ก่อนที่จะนำเรื่องขององค์ประกอบในการทำเหมืองอื่นใดเข้ามาเกี่ยวข้อง) มักจะอยู่ในเกณฑ์ว่า ในหินดินทรายน้ำหนัก 1 ตัน ที่ขุดออกมา เมื่อเอามาผ่านกระบวนการล้างหรือทดสอบแล้ว ควรจะต้องได้ทองคำเป็นน้ำหนักประมาณ 2-3 กรัม  ซึ่งในอีกมุมก็คือ ในน้ำหนักของหินดินทราย 1 ตัน ควรจะได้ทองคำน้ำหนักประมาณ 2-3 กรัม

ลองดูในอีกภาพหนึ่ง น้ำหนักทองคำ 1 บาท เท่ากับประมาณ 15 กรัม  สลึงหนึ่งก็จะประมาณ 4 กรัม    น้ำหนักหินดินทราย 1 ตัน ยังได้ทองไม่ถึงสลึงเลย       

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 05 ต.ค. 21, 19:15

เหมืองแร่ทองคำอยู่ในพื้นที่ อ.สุคิริน  แต่มีผู้คนไม่มากนักที่จะเคยได้ยินชื่ออำเภอนี้     ตันหยงมัส เป็นชื่อที่ผู้คนส่วนมากจะรู้จักในด้านของเรื่องผลไม้ชื่อ ลองกอง และก็รู้จักชื่อ อ.ระแงะ ว่าเป็นพื้นที่ในด้านที่มีความอ่อนไหวทางด้านความมั่นคง  แท้จริงแล้วตันหยงมัสเป็นชื่อของสถานีรถไฟที่อยู่ในตัวเมือง อ.ระแงะ     เพื่อนคนหนึ่งซึ่งเคยเป็นนายอำเภออยู่ในพื้นที่แถบนั้น บอกว่า บรรดาผลไม้จากสวนของชาวบ้านในพื้นที่แถบ อ.สุคิริน อ.แว้ง รวมทั้งบางส่วนของ อ.ศรีสาคร อ.จะแนะ และ อ.รือเสาะ   ผลไม้เหล่านั้น (ลองกอง มังคุด เงาะ...) และผลิตผลเกษตรอื่นๆ จะถูกขนไปขึ้นรถไฟที่สถานีตันหยงมัสเพื่อเข้าส่งเข้ากรุงเทพฯ    แต่เดิม ลองกอง เป็นผลไม้ที่ส่งในปริมาณมากจากสถานีตันหยงมัส เมื่อเริ่มมีมาวางจำหน่ายในกรุงเทพ ก็เลยได้ชื่อว่าเป็นของจากตันหยงมัส     เงาะโรงเรียน(เงาะนาสาร)และไข่เค็มไชยา ของสุราษฎร์ธานี    มังคุดและทุเรียนหลังสวน ของชุมพร .... ก็ดูจะไม่ต่างไปจากตรรกะนี้นัก  แน่นอนว่าผลไม้เหล่านี้ที่ปลูกกันในถิ่นต่างๆก็ย่อมจะมีคุณลักษณะและคุณภาพจำเพาะที่เป็นที่ถูกใจของผู้คน ก็เลยมี tag ติดท้ายเพื่อระบุว่าเป็นความต้องการของผู้ซื้อผู้นั้น         
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง