เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 15867 ความรู้ในลิ้นชัก
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 26 พ.ค. 21, 15:44

ขออนุญาตเรียนชี้แจงอาจารย์เทาชมพูและคุณninpaat
แผนที่นี้แสดงที่ตั้งย่านบางจาก ซึ่งอยู่ระหว่างสะพานพระโขนงและแยกบางนา
ลูกศรที่ชี้ทิศทางขึ้นเหนือไปพระโขนง และลงใต้ไปบางนา จึงถูกต้องแล้ว
ตำแหน่งซอยเลขคี่และเลขคี่ก็ถูกต้องแล้ว
ในแผนที่ระบุเลขซอย 60/1 ถูกแล้วครับ font เลข 6 และ 0 ต่างกัน (ซูมดูแล้ว)
แผนที่ถูกวางตามแนว บน-เหนือ ล่าง-ใต้ ตามมาตรฐานแล้ว
แผนที่รูปนี้จึงโอเคครับ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 26 พ.ค. 21, 15:51

แผนที่ถูกวางตามแนว บน-เหนือ ล่าง-ใต้ ตามมาตรฐานแล้ว
ดูจากสัญลักษณ์ทิศที่มุมบนซ้าย
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 26 พ.ค. 21, 16:54

ผมเห็นด้วยกับคุณ Jalito ทุกประการครับ

และขอเรียนถามท่านอาจารย์นายตั้งเพิ่มเติมว่า แผนที่แบบที่ท่านอาจารย์เทาชมพูนำมาแสดงนี้ จัดเป็น Thematic map ได้หรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 26 พ.ค. 21, 19:16

แผนที่นั้นแสดงถูกต้องแล้วทั้งในเชิงของทิศและทิศทางครับ แต่ในเชิงของระยะทางนั้น ผมไม่แน่ใจนักว่าอยู่ในเกณฑ์ที่มีสัดส่วนใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด  อย่างไรก็ตาม โดยลักษณะของการให้ข้อมูลเชิงโครงข่ายถนน ซอย และสถานที่อ้างอิงที่หลากหลาย ผมมีความเห็นว่าเป็นแผนที่นำทางไปยังจุดที่ต้องการ (way point) ที่ดี  ทั้งนี้ โดยลักษณะที่ปรากฎ ก็น่าจะเป็นแผนที่ๆจัดว่ามีความถูกต้อง (accuracy) และผู้ที่ทำแผนที่นี้ดูจะมีความใส่ใจและคำนึงถึงผู้ใช้ค่อนข้างมากทีเดียว

แต่ก็เข้าใจในข้อสะกิดใจของ อ.เทาชมพู ที่เมื่อดูแผนที่แล้วต้องตั้งหลักพิจาณา  ผมเห็นว่ามันมีข้อมูลที่ไปสะกิดความรู้ในลิ้นชักของคนที่มีความคุ้นเคยกับพื้นที่นั้นๆ ที่เคยอยู่แต่ได้ย้ายถิ่นที่อยู่ออกไปค่อนข้างจะเป็นเวลานานมากแล้ว      แต่ก่อนโน้นชื่อวัดธาตุทอง คลองตัน เอกมัย พระโขนง และซอยอ่อนนุช เหล่านี้พอจะจัดได้ว่าเป็นชายขอบของ กทม.  ชื่อบางนานั้น หมายถึงขับรถไปอีกไกล และก็รับรู้กันว่ามันมี "แยกบางนา" ซึ่งหมายถึงถนนสายบางนา-ตราด      เมื่อแผนที่ได้บอกว่าปลายถนนสุขุมวิทด้านล่างเป็นเส้นทางไปบางนา ด้านบนไปพระโขนง  ก็จะเริ่มสับสนในเบื้องแรกเลยว่า แผนที่นี้อยู่ในส่วนใหนของถนนสุขุมวิท  ผมเห็นว่า เพียงเปลี่ยนการให้ข้อมูลทิศทางของถนนสุขุมวิท จาก ไปบางนา เป็น ไปแยกบางนา  และเปลี่ยนจาก ไปพระโขนง เป็น ไปแยกอ่อนนุช หรือ ไปแยกเอกมัย  บางทีก็น่าจะทำให้ลดการสะกิดใจได้ตั้งแต่แรก 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 26 พ.ค. 21, 19:41

...และขอเรียนถามท่านอาจารย์นายตั้งเพิ่มเติมว่า แผนที่แบบที่ท่านอาจารย์เทาชมพูนำมาแสดงนี้ จัดเป็น Thematic map ได้หรือไม่ครับ

ในความรู้ของผม thematic map มีลักษณะเป็นแผนที่ๆบอกเรื่องราวเฉพาะในแต่ละเรื่อง ซึ่งมักจะเป็นแผนที่ๆใช้แสดงข้อมูลของเรื่องต่างๆในเชิงปริมาณหรือในเชิงคุณภาพในภาพรวม   ในขณะที่ schematic map มีลักษณะเป็นแผนผังที่ใช้แสดงเรื่องราวหรือข้อมูลที่ต้องการจะบอกกล่าว   

ดังนั้น แผนที่ๆ อ.เทาชมพู นำมาแสดงนี้จึงไม่น่าจะเข้าข่ายเป็น thematic map ครับ   
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 27 พ.ค. 21, 05:56

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ครับ แผนที่แบบนี้ จัดเป็น schematic map นั่นเอง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 27 พ.ค. 21, 18:46

เรื่องของ ทิศ นี้ มีความเกี่ยวข้องกับผู้คน สังคม วัฒนธรรม และศาสนา อย่างไม่น่าจะเชื่อเลยทีเดียว  แต่ส่วนมากจะอยู่ในเรื่องความเชื่อ บ้างก็เป็นเรื่องของพันธะ บ้างก็เป็นเรื่องของประเพณีนิยม บ้างก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการทางธรรมชาติ บ้างก็อยู่ฐานทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ    ก็มีอาทิ  เรื่องของการนอนหันหัวไปทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออก ไม่นิยมนอนหันหัวไปทางทิศใต้ และไม่พึงนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นเรื่องของคนตาย    พระพุทธรูปควรจะตั้งวางให้ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น   

บนฐานทางวิทยาศาสตร์นั้น เกือบทั้งหมดจะเกี่ยวพันกับเรื่องของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นสุข เช่น การวางผังของบ้านที่อยู่อาศัยว่าควรจะมีลักษณะเช่นใด ในแนวของทิศทางใด...  เพื่อให้มีการผสมผสาน (compromise) กันอย่างเหมาะสมระหว่างลักษณะทางกายภาพของที่ดิน สภาพของดินฟ้าอากาศในช่วงฤดูกาลต่างๆ กระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ  ข้อจำกัดต่างๆ....   เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยสามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข           
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 27 พ.ค. 21, 19:33

ความรู้ในลิ้นชักของผู้คนในแต่ละเขตละติจูดต่างๆของโลก ก็จะต่างกันไป    ลองพิจารณาจากความเป็นจริงของธรรมชาติ  เส้นทางโคจรของดวงอาทิตย์มีอ้อมเหนือและอ้อมใต้ เมื่ออ้อมใต้ก็จะเป็นช่วงหนาวของคนที่อาศัยอยู่ในละติจูดเหนือ (เงาของเราจะทอดไปทางทางด้านทิศเหนือ) ดวงอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้าช้า แต่ตกลับขอบฟ้าเร็ว  เมื่อพระอาทิตย์อ้อมเหนือก็จะเป็นช่วงร้อนของผู้คนในละติจูดเหนือ (เงาจะทอดไปทางด้านทิศใต้) ดวงอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้าเร็วมาก และตกลับขอบฟ้าช้ามาก    ก็คงจะนึกภาพออกแล้วว่า การเก็บโกยแสงอาทิตย์มาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างมากที่สุดของพวกเขาจะต่างกันอย่างไรกับของเรา ของเรานั้นมีมากเกินพอจนต้องหลบเข่าร่ม   ทิศของพวกเขาจะไปอิงอยู่กับแนวการวางตัวของโครงสร้างต่างๆ เพื่อให้ได้ใช้แสงแดดอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด  ทิศของพวกเราจะไปอิงอยู่กับเรื่องทิศทางของลม พายุ ฝน และมรสุม   
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 27 พ.ค. 21, 19:35

เห็นพูดคุยเรื่องทิศทำให้ดิฉันนึกถึงปรากฏการณ์หนึ่งคือตะวันอ้อมข้าวกับตะวันอ้อมโขง เป็นช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ไม่ได้อยู่ทิศที่เห็นกันอยู่ทุกวันทำให้แอบสงสัยอยู่ว่าคนโบราณเขาจะมีมุมมองว่ามันดีหรือไม่เช่นไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 28 พ.ค. 21, 12:00

ในลิ้นชักของดิฉันคงไม่มีความรู้เรื่องแผนที่อยู่จริงๆ   ค้นจนทั่วแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 28 พ.ค. 21, 18:19

ไม่หรอกครับอาจารย์ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องปกติครับ   

ในการทำงานในภาคสนามของผมที่ต้องเดินสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยาไปในพื้นที่ต่างๆนั้น จะมีแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 อยู่ที่มือซ้ายตลอดเวลา มีเข็มทิศ มีสมุดบันทึก (field note)  ส่วนมือขวาก็จะถือฆ้อนธรณีฯ เพื่อใช้กระเทาะหินให้ออกเป็นชิ้นเล็ก ใช้ hand lens ส่องดูเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆในเนื้อหิน (ซึ่งบอกเรื่องราวในอดีตของยุคที่มันกำเนิดมา) และใช้กระเทาะหรือย่อยมันเพื่อเก็บเอาไปเป็นตัวอย่างสำหรับวิเคราะห์ในสำนักงานหรือ lab ต่อไป   มีวิถีชิวิตที่ต้องเกี่ยวข้องกับแผนที่ เข็มทิศ ทิศทาง พิกัด (ตำแหน่ง) และระยะ ที่อาจจะกล่าวได้ว่าค่อนข้างจะมีความสันทัดอยู่พอประมาณเลยทีเดียว   ก็ยังไม่วายหลงทิศ หลงพิกัด หรือหลงระยะได้ง่ายๆเหมือนกัน  กระทั่งนักบินก็ยังเกิดการหลงทิศได้เช่นกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 28 พ.ค. 21, 19:28

จากประสบการณ์ของผม มีความเห็นว่า อาการงงกับแผนที่และอาการหลงทิศนี้ดูจะมีต้นตอหลักๆมาจากพิกัดต้นทางที่เราเอาตัวของเราเข้าไปตั้งอยู่ แล้วใช้ในการพิจารณาแผนที่นั้นๆ  อีกสาเหตุหนึ่งดูจะเกี่ยวกับโครงสร้างในองค์รวมของพื้นที่ีๆเราดูนั้นๆไม่มีลักษณะเป็นสี่ทรงเหลี่ยม    ครับ...เราเป็นคนในโลกยุคใหม่ ในลิ้นชักความจำของพวกเรา(สมอง)จะเห็น ถูกสอน และคุ้นเคยกับอะไรๆที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง (linear) และที่เป็นทรงกล่อง (rectangular)     

ก็จึงไม่แปลกนักที่เราจะค่อนข้างจะหลงทิศ/หลงทางเมื่อขับรถหรือเดินอยู่ในพื้นที่ส่วนที่เป็นเมืองเก่าทั้งหลาย(ในโลกและของไทย) หรือเมืองใหญ่ๆที่ผังเมืองได้ถูกกำหนดให้ต้องคดโค้งไปตามแม่น้ำสายหลักที่เมืองตั้งอยู่   ซึ่งถนนในเมืองเหลานั้นดูล้วนจะมาจากเรื่องทางพื้นฐานที่ถนนทุกสายมุ่งเข้าสู่/เชื่อมโยงกับใจกลางของมหานคร  ถนนสายหลักจึงมีลักษณะเป็นดั่งเส้นใยหลักของใยแมงมุม เมื่อมีถนนสายรองตัดเชื่อมถนนสายหลักทั้งหลาย ก็จะเกิดเป็นโครงสร้างเส้นทางคมนาคมทรงสามเหลี่ยม ซึ่งเราซึ่งเป็นผู้ไปเยี่ยมเยือนไม่คุ้น การหลงทิศหลงทางจึงเกิดขึ้น     หากจะลองทดสอบอาการหลงทิศหลงทางอย่างง่ายๆ ก็เพียงลองนำตัวเข้าไปอยู่ในพื้นที่บริเวณวงเวียน 22 กรกฎาฯ แล้วลองตั้งหลักคิดว่าจะใช้เส้นทางใหนไปสถานีหัวโพง เยาวราช เจริญกรุง บรรทัดทอง โอเดียน ... เป็นต้น         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 29 พ.ค. 21, 19:52

มาถึงคำว่า "พิกัด"   เมื่อได้ยินคำนี้ ส่วนมากจะนึกถึงพิกัดทางภูมิศาสตร์ แต่หากเป็นคำภาษาอังกฤษ (coordinate) ก็มักจะนึกไปนึกถึงตำแหน่งที่ตัดกันระหว่างแนวเส้นตรงของข้อมูลที่ลากมาตัดกัน หรือมิฉะนั้นก็จะนึกถึงในความหมายของ entity (นิติบุคคล) ที่ดำเนินการประสานความร่วมมือต่างๆ    แท้จริงแล้ว การใช้คำว่า พิกัด ควรจะต้องมีสร้อยต่อท้าย เช่น พิกัดทางดาราศาสตร์  พิกัดฉาก  พิกัด GPS  พิกัดศุลกากร  ฯลฯ    พอมาถึงพิกัดศุลกากร ก็กลับกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง พิกัดศุลกากรหมายถึงระบบการจำแนกประเภทสินค้าที่มีการนำเข้าหรือส่งออกของแต่ละประเทศ แต่เดิมก็จะเป็นการจำแนกแบบของใครของมัน แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีความตกลงร่วมกันว่าจะจำแนกสินค้าเหล่านั้นให้มีความเหมือนๆกัน เรียกกันสั้นๆว่า HS Code    พิกัดศุลกากรมีลักษณะเป็นตัวเลขหลักอยู่หกหลักแต่มีรายละเอียดย่อยลงไปได้อีกหกหลัก  การศุลกากรเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภาษีที่เรียกว่า tariff   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 30 พ.ค. 21, 18:53

พิกัดทางภูมิศาสตร์ที่เรารู้จากการเรียนหนังสือตั้งแต่ระดับประถมวัยจนถึงระดับมหาวิทยาลัยนั้น อยู่ในเรื่องของละติจูด (Latitude) หรือเส้นรุ้ง  และลองติจูด (Longitude) หรือเส้นแวง ซึ่งคุณครูจะสอนให้จำได้อย่างขึ้นใจว่า "รุ้งตะแคง แวงตั้ง"  แล้วก็สอนให้รู้ว่ามันเหมือนตาข่ายคลุมโลกเรา ซึ่งมีการแบ่งตาข่ายเป็นเส้นตั้ง (แนวเหนือ-ใต้) เรียกว่าเส้นแวง ซึ่งเส้นแวงนี้มีจุดออกอยู่ที่ตำบล Greenwich ในประเทศอังกฤษ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงลอนดอนนัก (หากมีโอกาสไปเที่ยวอังกฤษและแวะพักในกรุงลอนดอน ก็น่าจะลองหาโอกาสไปแวะเที่ยวดู  มีตลาดที่ดี มีของอร่อยมากมาย โดยเฉพาะ beef stew puff หรือ pie)   ตำแหน่งของกรุงเทพฯอยู่ที่เส้นแวงประมาณ 100 องศา 30 ลิบดา นับไปทางทิศตะวันออกจาก Greenwich เขียนสั้นๆว่า 100ํํ 30' E (east)      ส่วนเส้นรุ้งจะเป็นเส้นในแนวนอนที่พาดผ่านในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก นับออกจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางเหนือหรือลงใต้    กรุงเทพฯของเราตั้งอยู่ที่เส้นรุ้งประมาณ 13ํํ องศา 30 ลิบดา ขึ้นไปทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร เขียนสั้นๆว่า 13ํํ 30' N (north) 

พิกัด(ตำแหน่ง)ที่ตั้งของเมืองกรุงเทพฯบนแผนที่ ก็คือ 100ํํ 30' E 13ํํ 30' N  (โดยประมาณ) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 30 พ.ค. 21, 19:30

แต่พิกัดนี้หมายถึงเมืองกรุงเทพฯที่จุดใด   

เพื่อให้มีความละเอียดมากขึ้น ระบบก็เลยต้องแบ่งย่อยระยะของลิบดาลงไปอีกเป็นหน่วยย่อยที่เรียกว่า ฟิลิบดา     ก็มีข้อตกลงนาๆชาติกันว่า เราจะซอยแบ่งระหว่างแต่ละองศาออกเป็น 60 ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า ลิบดา  และซอยแบ่งแต่ละลิบดาออกไป 60 ส่วนเรียกว่า ฟิลิบดา  จะใช้วงกลมขนาดจิ๋วสำหรับหน่วยองศา ใช้เครื่องหมายฟันหนูหนึ่งเส้นสำหรับหน่วยลิบดา และใช้เครื่องหมายฟันหนูสองเส้นสำหรับหน่วยฟิลิบดา    แต่เมื่อโลกเข้าสู่สังคมและเทคโนโลยีในลักษณะที่ต้องการความแม่นยำสูง (precise) มากกว่าในด้านของความถูกต้อง (accuracy) และยุคสมัยของตรรกะฐานสิบนิยม   ก็จึงมีความนิยมที่จะหันจากการใช้พิกัดในระบบ องศา ลิบดา และฟิลิบดา เราก็เลยได้เห็นค่าพิกัดของที่ตั้งต่างๆในรูปของตัวเลขขององศาที่ตามมาด้วยจุดทศนิยม 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง