เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 15906 ความรู้ในลิ้นชัก
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 20 พ.ค. 21, 20:12

ที่ได้กล่าวมาเหล่านั้น เป็น pretext ของเรื่องราวและความรู้ที่มีลักษณะเป็นเรื่องของสิ่งละอันพันละน้อยที่จะได้พูดถึงต่อไป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 21 พ.ค. 21, 17:41

ขอทำความกระจ่างเสียแต่แรกว่า เรื่องต่างๆที่จะได้เสวนากันจากนี้ต่อไปทั้งจากตัวผมและจากสมาชิกเรือนไทย จะเป็นเรื่องที่แต่ละท่านรู้อยู่แล้วก็มี รู้แต่ยังไม่ชัดเจนและครบถ้วนก็มี รู้ต่างกันเนื่องจากตรรกะทางหลักการหรือทางทฏษฏีก็มี หรือมาจากต่างประสบการณ์ต่างกันก็มี ...  เชื่อว่าน่าจะอะไรๆดีๆมากพอที่จะเก็บเกี่ยวใส่เพิ่มลงไปในลิ้นชักได้บ้าง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 พ.ค. 21, 19:15

ขอเริ่มด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแผนที่ ด้วยเหตุว่าเราใช้กันมากขึ้นในชีวิตประจำวัน จึงควรที่จะต้องรู้อะไรๆที่เกี่ยวกับมันบ้าง

แผนที่ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Map  แปลคำกลับไปกลับมาได้ตรงไปตรงมาดี แต่แผนที่มีหลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับว่าจะทำขึ้นมาเพื่อใช้งานเนื่องในวาระใด 

สำหรับงานในด้านวิชาการและความมั่นคงนั้น เขาลงลึกกันไปถึงระดับรูปทรง(กลม)ของโลก  และลักษณะของแผนที่ๆจะแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างตำแหน่งของสรรพสิ่งโลกใดๆ เช่น เน้นความถูกต้องในเชิงของเนื้อที่ หรือจะเน้นในเชิงของทิศทาง ... ซึ่งก็จะลักษณะของแผนที่ๆต่างกัน     หากสนใจที่จะหาข้อมูลและความรู้เพิ่มเติม
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการแผนที่เหล่านี้ก็จะมีอาทิ Geoid, Geodesy, Spheroidal, map projection, Mercator Projection, UTM, True north, Magnetic north .... ฯลฯ

มีแผนที่ๆเราน่าจะพึงรู้และมีความเข้าใจเล็กๆน้อยๆกับมันอยู่ 4 แบบ คือที่เรียกว่า แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map)  แผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic map)  ผัง...(Schematic map) และภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite imagery)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 21 พ.ค. 21, 20:34

แผนที่ภูมิประเทศเป็นแผนที่ๆที่ใช้ในการทำงานของฝ่ายราชการทั่วโลกที่มีภารกิจงานเกี่ยวข้องกับชาวบ้านในท้องถิ่นที่อยู่ในภูมิภาคต่างๆของประเทศนั้นๆ   แผนที่นี้มีเรื่องของมาตราส่วน(scale)มาเกี่ยวข้อง ซึ่งโดยส่วนมากก็จะใช้แผนที่มาตราส่วน 1:500,000 เพื่อดูในภาพรวม ใช้มาตราส่วน 1:250,000 ในการวางแผนดำเนินการ  ใช้มาตราส่วน 1:50,000 ในการปฏิบัติเคลื่อนย้ายในภาคสนาม  และก็มีการใช้มาตราส่วนประมาณ 1:25,000 เพื่อจัดการเรื่องในลักษณะที่เป็นโครงการเฉพาะ (ระดับตำบลหรืออำเภอ)

ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจทางทรัพยากรธรรมชาติ (แหล่งน้ำบาดาล แหล่งปิโรเลียม แหล่งกรวด หิน ดิน ทราย แร่ ฯลฯ) จะใช้แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 พร้อมกับภาพถ่ายทางอากาศมาตรส่วนเดียวกัน     ส่วนสำหรับมาตราส่วน 1:25,000 หรือ 1:20,000 นั้น เป็นเรื่องของการใช้ภาพถ่ายทางอากาศเท่านั้น ซึ่งของไทยเราใช้เพื่อแสดงรายละเอียดของสิ่งที่ปรากฎในภาพของพื้นที่บริเวณนั้นๆ เพื่อการกำหนดและการยืนยันแนวเขตการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินและของผู้ทีี่อยู่อาศัยมาก่อน

สำหรับแผนที่แนวเขตที่ดินที่ปรากฏอยู่บนโฉนดต่างๆนั้น มีลักษณะเป็นผังที่เขียนแสดงรูปทรงของพื้นที่ในขนาดมาตราส่วน 1:4,000  แต่มีการอ้างอิงถึงหมุด แนวทิศทางและระยะระหว่างหมุดโฉนด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 พ.ค. 21, 17:33

ขยายความออกไปอีกเล็กน้อยว่า มาตราส่วนของแผนที่ใช้กันในระบบการบินนั้นมีอยู่ 3 มาตราส่วน แต่ที่จะใช้มากนั้นคือมาตราส่วน 1:1,000,000  และ 1:500,000   สำหรับมาตราส่วน 1:250,000 นั้น จะใช้ในเรื่องเฉพาะกิจ

ยกเรื่องมาตราส่วนของแผนที่ขึ้นมากล่าวถึงแต่แรกก็ด้วยเห็นว่ามันให้ขัอมูลที่สำคัญที่เราเกือบจะไม่ได้นึกถึงเลย โดยเฉพาะในเรื่องของระยะทางและทิศทาง(ออก ตก เหนือ ใต้)   ก็มีแอปที่เรานิยม download มาใช้นำทางอยู่หลายแอป (เรียกกันหลวมๆว่าเป็นแอป GPS) แอปเหล่านี้เกือบทั้งหมดจะไม่บอกมาตราส่วนของแผนที่ๆปรากฎอยู่บนจอภาพ มีจำนวนมากที่ไม่ให้ข้อมูลแม้กระทั่งในเรื่องของทิศ และก็มีที่ไม่บอกอะไรเลย(จัดอยู่ในรูปของ schematic map ?)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 พ.ค. 21, 18:54

เพื่อความเข้าใจอย่างง่ายในเรื่องของมาตราส่วนของแผนที่  ความหมายพื้นฐานของมันก็มีเพียงว่า มันเป็นการย่อภาพที่ปรากฎจริงที่เราเห็นๆอยู่นั้น ให้มันเล็กลงมารวมกันอยู่ในกระดาษแผ่นหนึ่ง โดยที่มันยังคงมีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้องในเชิงของขนาด ระยะ และทิศทาง   

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ก็จะของยกแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 

ซึ่งหมายถึงว่ามันเป็นแผนที่ๆเป็นตัวแทนของๆจริงที่เป็นอยู่ แต่เราจะย่อมันโดยการใช้อัตราส่วน 1 หน่วยแทนของที่ปรากฎอยู่ในความเป็นจริงทุกๆ 50,000 หน่วย  ดังนั้น หากเราวัดขนาดสิ่งที่ปรากฎในแผนที่ได้ 1 ซม. หรือ 1 นิ้ว ก็จะหมายความว่าในความเป็นจริงสิ่งนั้นๆจะมีขนาดใหญ่เท่ากับ 50,000 ซม. หรือ 50,000 นิ้ว     ครานี้ก็ต้องใช้ความรู้ทางคณิศาสตร์เล็กน้อยว่า ไอ้ 50,000 ซม.นั้นมันคือเพียงใด      เรามีความรู้ทางมาตราต่างๆว่า 100 ซม.= 1 ม. ดังนั้น 50,000 ซม.ก็จะต้องเท่ากับ 500 ม.     แสดงว่าสิ่งที่เราวัดขนาดได้ 1 ซม.ในแผนที่ ขนาดของความเป็นจริงในธรรมชาติก็คือ 500 ม.   

ดังนั้น ระยะทาง 1 ซม.ในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ก็คือระยะทาง 500 เมตร (หรือ ครึ่งกิโลเมตร)ในความเป็นจริง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 พ.ค. 21, 19:28

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ภาพแผนที่บนจอภาพสามารถจะย่อและขยายได้ตามใจของผู้ใช้  มาตราส่วนของแผนที่ก็จึงเปลี่ยนไปตามการย่อหรือขยายนั้นๆ  แอปแผนที่จึงมักจะมี bar scale แนบมาให้ที่มุมล่างขวา เพื่อที่จะทำให้เราสามารถใช้เป็นไม้บรรทัดวัดระยะต่างๆที่เหมาะสมสอดคล้องกับมาตราส่วนของภาพที่เราย่อหรือขยายออกมานั้น  และยังให้พิกัดของตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของจุดที่เราต้องการจะทราบด้วย   และแอปเหล่านั้นยังสามารถนำภาพถ่ายดาวเทียมมาทับซ้อนบนแผนที่ เพื่อให้เราได้เห็นภาพจริงในลักษณะ bird eyes view ครอบคลุมของพื้นที่นั้นๆอีกด้วยเช่นกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 23 พ.ค. 21, 19:22

แล้วก็มาถึงเรื่องของทิศและทิศทาง

เป็นหลักการสากลและในวิชาการที่แผนที่ใดๆจะต้องสามารถบอกพิกัดของจุดต่างๆที่ปรากฎอยู่ในแผนที่นั้นๆได้ ซึ่งก็คือสามารถที่จะแสดงความสัมพันธ์กันในเชิงของระยะและทิศทางระหว่างกันของจุดต่างๆเหล่านั้นได้ทั้งหมด   โดยกำหนดเป็นมาตรฐานสากลว่า ด้านบนของกระดาษแผนที่นั้นๆคือทิศเหนือ  ดังนั้น แผนที่ของทางการของประเทศใดๆเกือบทั้งหมดก็จะเป็นในลักษณะเช่นนั้น อาทิ แผนที่เมือง แผนที่แสดงแหล่งท่องเที่ยว แผนที่แสดงเส้นทางการขนส่งมวลชน ฯลฯ    สำหรับในกรณีที่ความเป็นจริงทางกายภาพมีลักษณะเป็นรูปร่างทรงยาว ไม่เหมาะที่จะจัดให้อยู่ภายในกรอบทรง portrait หากแต่เหมาะที่จะแสดงในกรอบทรง land scape  ก็สามารถทำได้โดยจัดให้มีเครื่องหมายลูกศรชี้ไปทางทิศเหนืออยู่ที่ขอบกระดาษด้านขวาบนหรือขวาล่าง   

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ทำแผนที่หรือผู้ผลิตแผนที่ใดๆ(cartographer) ก็อาจจะเลือกวิธีการทำแผนที่ๆแบบง่ายๆ(แต่ทำยาก)เพื่อให้ข้อมูลที่สำคัญเป็นการเฉพาะกิจ  แผนที่เหล่านี้จะให้ข้อมูลที่เป็นแก่นสารสำคัญของสถานที่สำคัญๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของภาพหรืออื่นใด   โดยที่พิกัดของสถานที่ต่างๆในเชิงของทิศทางและระยะห่างต่างๆจะยังคงมีอยู่ แต่จะอยู่ในรูปของ proportional         
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 23 พ.ค. 21, 20:09

อาจจะเริ่มนึกถึงแผนที่ๆเราเคยเห็นอยู่หลังนามบัตรของร้านค้าต่างๆ หรือตามแผ่นใบปลิวหรือใบแทรกโฆษณาต่างๆ  แผนที่เหล่านี้จะไม่การแสดงทิศเหนือเพื่อการอ้างอิง แต่จะใช้จุดอ้างอิงที่เป็นสถานที่ๆเขาทั้งหลายซึ่งอยู่ในละแวกพื้นที่นั้นๆมีความคุ้นเคยกัน โดยเข้าใจว่าเราก็จะต้องมีความคุ้นเคยเช่นกันดั่งเขาด้วย เช่น การใช้ชื่อคลอง ใช้ชื่อแยก ใช้ชื่อถนน ใช้ชื่อซอยและแยกในซอย ใช้ชื่อหมู่บ้าน / อาคาร ฯลฯ  ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือไม่บอกระยะด้วย โดยเฉพาะระยะห่างจากจุดที่เขาใชอ้างอิง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 พ.ค. 21, 18:34

สำหรับที่เป็นพวกบริษัทห้างร้านต่างๆ ที่ทำแผนที่เพื่อให้ลูกค้าสามารถเดินทางไปยังร้านได้นั้น จะเป็นแผนที่ๆไม่บอกทิศก็ยังพอทำเนา แต่ประเภทที่ให้ลูกค้าต้องเดาเอาว่าจะต้องกลับหัวกลับหาง หมุนซ้ายหมุนขวาแผนที่นั้นๆไปเช่นใดจึงจะเข้าใจได้นั้น จะว่าแย่มากก็ยังไม่แย่มากเท่ากับแผนที่บอกเส้นทางการเดินทางไปสถานที่ทำโครงการราคาสูงบางโครงการซึ่งมีผู้รู้เรื่องความสำคัญของการต้องระบุทิศ และทำงานร่วมอยู่ในทีมดำเนินการของโครงการนั้นๆ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 24 พ.ค. 21, 19:28

ความรู้เรื่องทิศเป็นความรู้ในลิ้นชักของทุกคน  คือ รู้ว่ามีทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก แต่เมื่อขยับไปถึงเรื่องของทิศที่มีคำว่า เฉียง คั่นอยู่ระหว่างสองทิศ  ที่จะเข้าใจและเห็นภาพของทิศทางนี้ในทันทีก็คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ   แต่เมื่อมีการกล่าวถึงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ก็ชักอาจจะเริ่มงงๆหลงทิศทาง  สาเหตุก็คงจะไม่มีอะไรมากนัก น่าจะมาจากผลที่สืบเนื่องมาจากความรู้ที่ได้มาจากกระบวนการสอนในวิชาต่างๆ 

วิชาการที่ต่างก็ได้ร่ำเรียนกันมาเมื่อครั้งยังเด็กนั้น เราได้ถูกนำความรู้เรื่องทิศเข้าสู่ลิ้นชักในลักษณะที่ค่อนข้างจำกัด อาทิ พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ตกทางทิศตะวันตก ทิศใต้เป็นด้ามขวานของแหลมทอง ทิศเหนือเป็นป่าเขา ทิศตะวันออกเป็นชายฝั่งทะเล ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาตะนาวศรี เป็นสันเขาแบ่งเขตแดนไทยกับพม่า ทิศตะวันออกเฉียงเหนือก็คือภาคอีสาน ... เป็นต้น      กระทั่งเติบใหญ่จนเข้าเขตผู้สูงวัย ก็ลองนึกย้อยดูว่าเราเคยได้ยินมีการกล่าวถึงทิศอื่นๆนอกจากที่กล่าวถึงนี้มากน้อยเพียงใด  ก็มีครับ มีสำหรับคนที่สนใจที่จะอ่าน รับฟัง และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารในวงกว้าง รวมทั้งคนที่มีความสนใจหรือต้องสนใจในข้อมูลข่าวสารทางอุตุนิยมวิทยา       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 25 พ.ค. 21, 20:18

เมื่อวานนี้ เขียนจนเสร็จแล้ว แทนที่จะกดส่งข้อความ เผลอเรอไปหน่อย ดันไปกดปิดเพจ  เลยต้องออกจากกระทู้  น่าจะเกิดมาจากอาการแพ้วัยที่มันกำลังเริ่มเข้ามาเคาะประตู แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนมากขึ้น

สาระที่เป็นประเด็นของเรื่องที่เขียนเมื่อวานนี้ก็คือ ในปัจจุบันนี้ ผู้เยาว์ของเราดูจะรู้จักทิศและทิศทางมาจากการเรียนรู้เรื่องการจำแนกพื้นที่ออกเป็นภาคทางภูมิศาสตร์ในภาพใหญ่เพียงเท่านั้น  เด็กไทยแต่ก่อนนั้นจะรู้จักและจำได้อย่างคร่าวๆ ว่าจังหวัดใดๆของประเทศไทยอยู่บริเวณใดของประเทศ อย่างน้อยก็รู้ในลักษณะเป็นกลุ่มจังหวัด ซึ่งยังผลทำให้ได้รู้ในเรื่องของทิศและทิศทางได้ค่อนข้างจะดี   จำได้ว่า แต่ก่อนนั้นมีวิชาภูมิศาสตร์เรียนกันในระดับประถมด้วย ??

ก็พ่วงไปถึงคำว่า ขึ้นเหนือ ลงใต้(ล่องใต้) ขาขึ้น ขาลง(ขาล่อง)   ซึ่งก็มีการพูดที่กลับทางกันอยู่บ่อยๆซึ่งดูจะขัดๆหูอยู่ไม่น้อย  ในปัจจุบันนี้ได้มีการเปลี่ยนไปใช้คำว่า ขาไป ขามา เที่ยวไป เที่ยวมา ก็เลยดูจะเหมาะสมดี เพราะใช้กับเส้นทางในภาคตะวันออกและในภาคอีสานได้ ไม่รู้สึกขัดหู   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 พ.ค. 21, 20:36

ดิฉันเองก็เกิดมาในยุควาดแผนที่ตั้งแต่ชั้นประถม  ด้วยการยึดหลักว่า ขอบบนคือทิศเหนือ  ขอบล่างคือทิศใต้
ในยุคนี้ พอเจอแผนที่บางส่วนของกรุงเทพ  อ่านแล้วงง ทำให้หลงทางหาสถานที่จุดหมายไม่ถูกอยู่หลายครั้ง

ตัวอย่างแผนที่ที่ยกมาข้างล่างค่ะ    ดิฉันเคยชินกับแผนที่ถนนสุขุมวิทเชื่อมต่อจากถนนเพลินจิต   เริ่มจากทางรถไฟช่องนนทรีที่เป็นสุดเขตเพลินจิต  อยู่ซ้ายสุดของแผนที่   สุขุมวิททอดขวางกลางหน้า  มีซอยเลขคี่อยู่ทางซ้ายของถนน ซอยเลขคู่อยู่ทางขวา   แบบเดียวกับเวลาขับรถจากเพลินจิตไปสุขุมวิท
พอมาเจอแผนที่ข้างล่าง    ซอยเลขคี่ไปอยู่ทางขวา  เลขคู่อยู่ทางซ้าย เลยงง



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 25 พ.ค. 21, 20:50

ดิฉันสงสัยว่าแผนที่ข้างบนจะผิด    ถ้าเรามาจากพระโขนง   ซอยที่มีเลขคู่ต้องอยู่ทางซ้าย   ส่วนเลขคี่อยู่ทางขวา ไล่จากเลขมากไปหาน้อย     เพราะฉะนั้นลูกศรที่บอกว่าไปพระโขนงต้องอยู่ขอบล่าง   ข้างบนคือทางไปถนนเพลินจิต
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 26 พ.ค. 21, 13:44

ขออนุญาตเรียนตอบท่านอาจารย์เทาชมพู แทนท่านอาจารย์นายตั้งครับ

ที่รูปด้านบนขวาสุด ตรงลูกศรชี้ ' ไปพระโขนง ' และด้านซ้ายเขียนบอกไว้ว่า " ซ.สุขุมวิท 66/1 " นั้น
ที่จริงแล้ว ผมคิดว่าควรต้องเป็น " ซ.สุขุมวิท 60/1 " ไม่ใช่ ซ.สุขุมวิท 66/1
และสาเหตุน่าจะเป็นการพิมพ์ผิด ไม่ทันได้ตรวจทานครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง