เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 3832 ขออนุญาตเรียนถามถึงที่มาคำเรียกเครือญาติของคนไทยภาคกลางบางคำหน่อยค่ะ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 เม.ย. 21, 09:46

น้าชาติมาจากเลือกตั้งไม่ใช่หรือคะ
ในปี พ.ศ. 2529 พลเอกชาติชายขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าชาติไทย ชนะการเลือกตั้งได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งในปี พ.ศ. 2531 ในชั้นต้นมีการทาบทาม พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อเป็นสมัยที่ 4 แต่พลเอกเปรมปฏิเสธ และประกาศวางมือทางการเมือง พลเอกชาติชายจึงได้รับการสนับสนุน ให้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 17 ของประเทศไทย


สมัยหนึ่งบุคคลอาวุโสในวงการบันเทิง มักจะได้รับคำนำหน้าว่า "พ่อ" และ "แม่"  เช่นคุณสุประวัติ  ปัทมสูตร ศิลปินแห่งชาติ   หรือ " พ่ออี๊ด"   คุณพิศมัย วิไลศักดิ์ คือ "มี้" ย่อจาก "มามี้"   คุณฉันทนา กิตติยพันธ์ุ "แม่แดง" คุณสุดา ชื่นบาน " แม่เม้า"

บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 เม.ย. 21, 15:25

อ้างถึง
เขาใช้คำเรียกเครือญาติในลักษณะของการบอกว่า ผู้นั้นเป็นพ่อใคร หรือเป็นแม่ใคร และก็ยังบอกแต่เพียงว่าเป็นพ่อหรือแม่ของลูกชายตนโตที่ชื่อนั้นๆเพียงเท่านั้น
คล้ายๆกับประโยคนายเอที่เป็นลูกนายบี นายซีที่เป็นลูกแม่ดีหรือเปล่าคะ แบบว่าต้องมีชื่อพ่อชื่อแม่พ่วงมาด้วยในการเรียกคนนั้น

ดิฉันกลับไปดูข้อมูลอีกรอบแล้วรู้สึกว่าในภาษาภาคอีสานน่าจะมีการนำคำมาต่อกันเพื่อบอกฝั่งพ่อ ฝั่งแม่ บอกอายุของคนที่ถูกเรียก และบอกว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรกับคนที่เรียกทีเดียวเลย ไม่รู้ว่าที่ดิฉันคิดจะถูกต้องไหมคะ เช่น
ฝั่งชาย                                
ทวด (ผู้ชาย)    พ่อซ่น           
ปู่            ปู่, ตู้ปู่           
ตา            พ่อตู้, พ่อใหญ่   
ลุง            ลุง, พ่อลุง            
น้า (ผู้ชาย)   น้าบ่าว           
อา (ผู้ชาย)   อาว   

ฝั่งหญิง  
ทวด (ผู้หญิง)  แม่ซ่น
ย่า             ย่า, ตู้ย่า
ยาย             แม่ตู้, แม่ใหญ่
ป้า             ป้า, แม่ป้า
น้า (ผู้หญิง)   น้าสาว
อา (ผู้หญิง)   อา            

ซึ่งภาษาเหนือ ใต้ ดิฉันไม่แน่ใจว่าคำศัพท์บอกขนาดนั้นเหมือนภาษาอีสานไหม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 28 เม.ย. 21, 19:25

ผมคงไม่มีคำตอบ แต่มีความเห็นจากประสบการณ์ที่ได้เดินทางไปทำงานและคลุกคลีกับชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆที่กระจายอยู่ในภาค ว่า  การใช้ภาษาของไทยของแต่ละชุมชนที่เป็นชาวถิ่นและพวกที่ยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรมที่มีลักษณจำเพาะเหล่านั้น ต่างก็มีลักษณะของการใช้ภาษาพูดและมีคำศํพท์ที่ใช้ต่างกัน มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป รวมทั้งในเชิงของการออกเสียงตามอักขระวิธี       

เรียนรู้คำพูด คำศัพท์จากที่หนึ่ง นำไปใช้ในอีกที่หนึ่ง เขาก็ฟังแล้วไม่เข้าใจ เราก็เปลี่ยนการสนทนาให้เป็นการสนทนาแบบสนุกสนาน ล้อเลียนกันไปมาแต่สอดแทรกด้วยคำถามเพื่อให้ได้สาระและองค์ความรู้ใหม่ๆ ก็เลยพอจะได้ความรู้ลึกๆจากตรงนั้นเพิ่มเติมขึ้นมา   นานปีเข้าก็ทำให้พอจะปะติดปะต่อเรื่องที่ได้รับรู้นั้น ประมวลกันเป็นเนื้อหาสารัตถะได้เล็กๆน้อยๆพอสมควรในหลายๆประเด็น

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 28 เม.ย. 21, 21:41

ข้อสงสัยของคุณดาวกระจ่างนั้น ดูว่าไม่น่าจะมีคำตอบที่ยุ่งยากมากนัก   แต่..สำหรับตัวผมเห็นว่า กลับเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะตอบ       ผู้คนที่เราว่าเป็นคนไทย มีเชื้อชาติไทย และมีสัญชาติไทย ที่อยู่กันเป็นกลุ่มก้อนในพื้นที่แต่ละภูมิภาคเหล่านั้น โดยเนื้อในแล้วเป็นการอยู่ร่วมกันของผู้คนชาติพันธ์ที่ล้วนใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไท-กะได ซึ่งหมายความว่าก็จะต้องมีแขนงของการใช้ภาษาและคำศัพท์แตกออกไปอีกมากมายตามพื้นฐานของวิถีการดำรงชีวิต ความเชื่อ สังคม และธรรมชาติแวดล้อม    ภาษาและคำศัพท์ที่เป็น norm แม้จะมีเป็นมาตรฐานอยู่เหมือนๆกัน แต่ก็มิได้หมายความว่าจะไม่มีคำศัพท์ สำนวน รวมทั้ง slang ที่มีเพิ่มเข้ามาใช้เหมือนๆกันด้วย   

ตัวอย่างของการกระจายตัวของกลุ่มคนที่ใช้ภาษไท-กะได เป็นแกน แต่มีความหลากหลายในด้านการผสมผสานการใช้ภาษาและคำศัพท์กับผู้คนชาวถิ่นอื่นๆจนได้ลักษณะคำที่แตกต่างกันในหมู่คนพวกกันเองที่อยู่ต่างถิ่น (ซึ่งกลับกลายเป็นคำมาตรฐานของผู้คนในภูมิภาคนั้นๆด้วยการใช้ในเชิง quantitative)         ในภาคเหนือมีชาวโยน(โยนก)แถว อ.เชียงแสน มีไทลื้อแถว อ.เทิง จ.เชียงราย และแถว อ.สูงเม่น จ.แพร่    มีชาวยองแถวใน จ.ลำพูน และ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่   มีชาวไทเขินแถว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่    มีชาวไทพวนอยู่กระจายตั้งแต่ จ.แพร่ จนถึง จ.ราชบุรี ฯลฯ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 29 เม.ย. 21, 19:18

ที่มีความเห็นแสดงออกไปเช่นนั้น ก็เพียงเพื่อจะกล่าวว่าที่เราเรียกว่าภาษาเหนือ ภาษาอิสาน หรือภาษาใต้นั้น  อาจจะเป็นเพียงภาษาและศัพท์ที่เราคุ้นเคยมาจากการได้ยินการใช้ที่มีกระจายมากอยู่ในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใด  ซึ่งเราอาจจะคุ้นเคยจนทำให้เห็นว่ามันเป็นแก่นของภาษานั้นๆ   คำพูดและศัพท์ที่แปลกออกไปจากที่เราคุ้นเคยนั้นกลายเป็นเพียงการใช้กันในผู้คนกลุ่มย่อย 

ก็ขอยกตัวอย่างเช่น ในช่วงเวลาปี 2510+/- เคยถามคนเชียงใหม่ในตัวเมืองว่ามีการใช้คำว่า เกิ๋น ใหม (กระใดที่ใช้พาดปีนขึ้นลง) ซึ่งคำนี้มีการใช้กันเป็นปกติในพื้นที่ตัวเมืองเชียงราย  คำตอบที่ได้รับ คือไม่รู้จัก  แต่คำนี้กลับมีการใช้ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่       คำว่า เกิ๋น นี้ดูจะมีการใช้กันในภาคอิสานเช่นกัน ดูจะออกเสียงต่างกัน แต่จะมีการใช้มากน้อยเพียงใดก็ไม่ทราบ  แล้วก็ให้บังเอิญ(?)ว่า ดูจะไปคล้องจองกับคำว่า เกริน ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้ในงานทางพิธีการของภาคกลาง       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 29 เม.ย. 21, 19:36

พาออกอ่าวไปเสียไกล ผิดๆถูกๆเช่นใดก็พึงพเคราะห์  ทั้งหลายนี้ก็เพียงเพื่อจะนำเสนอข้อที่พึงนำมาร่วมในกระบวนการพิจารณาการ pairing ของภาษาและคำศัพท์   

ก็คือ ย่อมต้องมีเรื่องของ assimilation และ dissemination เข้ามาเกี่ยวข้อง

   
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 05 พ.ค. 21, 11:11

ขอบพระคุณสำหรับความรู้และคำชี้แนะค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 19 คำสั่ง