เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 3848 ขออนุญาตเรียนถามถึงที่มาคำเรียกเครือญาติของคนไทยภาคกลางบางคำหน่อยค่ะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


 เมื่อ 23 เม.ย. 21, 12:29

ขออนุญาตเรียนถามถึงที่มาคำเรียกเครือญาติของคนไทยภาคกลางหน่อยค่ะ คือดิฉันเห็นว่าคนไทยภาคเหนือ อีสาน ใต้ มีบางคำเรียกเครือญาติต่างจากคนภาคกลางอยู่ตรงนิยมนำคำที่มีอยู่แล้วมาต่อกัน แต่คนภาคกลางจะเรียกเป็นคำเดียวโดดๆไปเลย เลยอยากให้ท่านๆผู้รู้ในห้องนี้ช่วยชี้แนะหน่อยค่ะว่าเพราะอะไรคำเรียกเครือญาติของคนไทยภาคกลางบางคำถึงมักเป็นคำเดียวโดดๆ ไม่นิยมนำคำมาต่อกันเหมือนภาคอื่นๆ มีที่มา มีรากศัพท์มาจากภาษาต่างชาติหรือเปล่าคะ

ขอยกตัวอย่างมาแค่บางคำนะคะ

ภาคเหนือ เช่น
ปู่ – ตา ..ภาษาเหนือจะพูดว่า..ป้ออุ้ย
ย่า-ยาย ..ภาษาเหนือจะพูดว่า..แม่อุ้ย
ทวด ..ภาษาเหนือจะพูดว่า ..อุ้ยหม่อน

ภาคอีสาน เช่น
พ่อตา เรียก พ่อเฒ่า
แม่ยาย เรียก แม่เฒ่า
พ่อผัว เรียก พ่อปู่
แม่ผัว เรียก แม่ย่า

ภาคใต้ เช่น
ปู่,ตา  โต๊ะชาย พ่อแก่
ย่า,ย่าย  โต๊ะหญิง แม่แก่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 16:36

แต่คนภาคกลางจะเรียกเป็นคำเดียวโดดๆไปเลย เลยอยากให้ท่านๆผู้รู้ในห้องนี้ช่วยชี้แนะหน่อยค่ะว่าเพราะอะไรคำเรียกเครือญาติของคนไทยภาคกลางบางคำถึงมักเป็นคำเดียวโดดๆ ไม่นิยมนำคำมาต่อกันเหมือนภาคอื่นๆ
ไม่จริงนะคะ
คำเรียกเครือญาติของคนไทยภาคกลาง ที่ไม่ใช่คำเดียวโดดๆก็มี    เช่น แม่เฒ่า พ่อเฒ่า   แม่แก่  แม่ใหญ่ พ่อปู่   พ่อลุง  ปู่ใหญ่  ปู่น้อย   ย่าใหญ่ ย่าน้อย ฯลฯ
เพียงแต่คนรุ่นนี้อาจไม่รู้จักเท่านั้น
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 เม.ย. 21, 09:32

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะคุณเทาชมพู ถ้าไม่รบกวนไปหวังว่าคุณเทาชมพูและท่านอื่นๆจะแนะนำเพิ่มเติมได้เลยค่ะว่าคำเรียกเครือญาติของคนไทยภาคกลางที่ถูกใช้ในสมัยก่อนแล้วคนสมัยนี้ไม่ค่อยใช้กันแล้วมีคำว่าอะไรอีกบ้าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 เม.ย. 21, 09:56

แม่ใหญ่ = ยาย
แม่แก่   = ยาย  ย่า
พ่อปู่     = ปู่  คนแก่เฒ่าคราวปู่
คุณป๋า    =  พ่อ
ตอนนี้นึกออกแค่นี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 เม.ย. 21, 19:45

ผมมีความเห็นว่าคำเรียกเครือญาติของคนในภูมิภาคต่างๆนั้นดูค่อนข้างจะมีขอบเขตจำกัดอยู่ในวงแคบใกล้ตัว คือสืบย้อนกลับไปไม่เกินระดับ ปู่-ย่า-ตา-ยาย ของบุคคลต่างๆในครอบครัว และตามสายลงไปถึงเพียงระดับหลาน  ชื่อเรียกของเครือญาติที่จะสืบย้อนกลับไกลไปกว่าที่ได้กล่าวถึงจะเป็นการใช้วิธีการบรรยายว่าใครเป็นใคร เกี่ยวพันกันเช่นใดและอย่างไร  พวกเพลงประเภท Ballad ของภาคเหนือ(ซอ) ของภาคอิสาน(เซิ้ง ?) และของภาคกลาง(เพลงขอทาน ?) เท่าที่เคยได้ฟังมาก็ดูจะบ่งชี้ในลักษณะดังที่ได้กล่าวมา

สำหรับคนในภาคกลางนั้น มีการใช้คำเรียกเครือญาติที่มีวงกว้างกว่าและจำแนกลงไปในรายละเอียดมากกว่ามาก คือสืบย้อนไปถึงระดับ พ่อและแม่ของพ่อ-แม่ของปู่-ย่า-ตา-ยายของบุคคลต่างๆในครอบครัว ขยายวงไปถึงลูกของบุคคลในระดับหลาน  และยังขยายวงไปคนที่เข้ามาเกี่ยวดองกันทางสายโลหิตและทางการสมรส   ก็เลยมีคำต่างๆ อาทิ เทียดชาย-หญิง ทวดชาย-หญิง ย่าใหญ่-เล็ก ลูกเขยใหญ่-เล็ก สะใภ้ใหญ่-เล็ก  น้าชาย-หญิง อาชาย-หญิง น้า-อาเขย  หลานเขย-สะใภ้ เหลนชาย-หญิง ฯลฯ 

คำเรียกบุคคลที่เป็นเครือญาติของคนภาคกลางน่าจะแสดงถึงลักษณะทางสังคมอย่างหนึ่งที่ใกล้ไปในทางรูปของ clan    ต่างไปจากของคนในภาคอื่นๆที่ดูจะออกไปในทางรูปของ family ties 

ไม่ทราบว่าจะตรงประเด็นกับข้อปุจฉาหรือไม่ ครับ       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 เม.ย. 21, 12:49

น่าสนใจมากค่ะ กรุณาอธิบายต่อได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 เม.ย. 21, 17:48

เรื่องความหลากหลาย ความลึกของคำดิฉันไม่ทันคิดถึงประเด็นนี้เลย อย่างไรเชิญคุณ naitang มาชี้แนะต่อได้ค่ะ

อีกประเด็นหนึ่งที่ดิฉันสงสัยว่าคำเรียกเครือญาติที่คนภาคกลางใช้อยู่เป็นคำไทยดั้งเดิมไหมหรือไปรับของชาติอื่นมา คุณ naitan พอจะทราบข้อมูลบ้างไหมคะ เพราะถ้าภาคกลางมีคำหลากหลายกว่าก็แสดงว่ามีรับคำจากต่างชาติมาหรือไม่คะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 เม.ย. 21, 18:39

ขอเกริ่นไว้แต่แรกว่า ผมไม่มีความรู้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวในเชิงวิชาการด้านสังคมวิทยา     เรื่องราวที่จะพยายามขยายความออกไปตามที่อาจารย์ขอมานั้น เป็นความเห็นที่ประมวลมาจากประสบการณ์ที่ได้เคยเดินทางไปทำงานในพื้นที่ต่างๆ ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้พูดคุยกับชาวบ้านทั้งที่เป็นชาวพื้นบ้านจริงๆและชาวบ้านที่อพยพย้ายถิ่น ครับ

ในภาคเหนือ คำว่า "อุ้ย" นั้น ในองค์รวมมีความหมายถึงผู้สูงวัยที่ควรแก่การนับถือเป็นอย่างสูง มิได้จำเพาะเจาะจงลงไปว่าจะต้องหมายถึงคนที่เป็น ปู่-ย่า-ตา-ยาย ของคนในครอบครัวนั้นๆ   หากเป็นการพูดคุยกันในครอบครัวหน่วยเล็ก (พ่อ-แม่-ลูก) ในสาระของเรื่องราวในระดับ ปู่-ย่า-ตา-ยาย ก็จะใช้คำว่า พ่ออุ้ย-แม่อุ้ย และเพื่อมิให้สับสนระหว่างของฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง ก็จะบวกด้วยชื่อของอุ้ยคนนั้นๆ

พ่ออุ้ย-แม่อุ้ย ยังใช้เป็นคำเรียกรวมๆและแบบหลวมๆที่หมายถึงบรรดาผู้สูงวัยในระดับ ปู่-ย่า-ตา-ยาย ทั้งหลาย  ทั้งนี้ เมื่อลงไปถึงระดับบุคคลก็จะใช้คำว่าอุ้ยนำหน้าชื่อคน นั้นๆ หากได้ยินชาวบ้านเขาเรียกบุคคลผู้ใดเช่นนั้น ก็หมายถึงผู้สูงวัยผู้นั้นเป็นบุคคลที่ชาวบ้านต่างๆเขาให้ความเคารพนับถือ จะเป็นคนดีมากน้อยเพียงใดก็สังเกตได้จากการเรียกของผู้คนต่างหมู่บ้านต่างถิ่น และในหลายกรณีก็ดูจะไม่เกี่ยวข้องกับวัย (อายุ) มากนัก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 เม.ย. 21, 19:46

สำหรับในภาคอิสานนั้น ผมไม่ได้คลุกคลีมากนักจึงมีประสบการณ์กับชาวถิ่นพื้นบ้านน้อยมาก ได้พบแต่ผู้คนที่อพยพย้ายถิ่นไปอยู่และทำมาหากินกระจายอยู่ทั่วๆไป  ซึ่งการสนทนาต่างๆที่เกิดขึ้นมิได้เป็นไปอย่างธรรมชาติบนพื้นฐานของภาษาที่เขาใช้ ด้วยที่เขาจะเลือกใช้ภาษากลาง(ภาษากรุงเทพฯ)สนทนากับเรา และถึงแม้จะใช้ภาษาอิสานและยังคงสำเนียงอยู่ ก็มิได้ใช้คำต่างๆแบบพื้นบ้านของเขา     ผมจึงจับความและมีข้อสังเกตได้แต่เพียงว่า มีลักษณะการใช้คำ(ศัพท์)ไปในทำนองเดียวกันกับของทางภาคเหนือ(โดยเฉพาะคำว่า "พ่อเฒ่า-แม่เฒ่า")   

ที่จับความได้อีกเรื่องหนึ่งจากภาษาพูด คำศัพท์ และลักษณะการใช้คำของคนอิสานก็คือ ผู้คนในอิสานมีความหลายมากมายในเชิงสังคมวิทยาเอามากๆเลยทีเดียว   ภาษาอิสานที่เราได้ยินกันในกรุงเทพฯนั้นดูจะเป็นภาษาอิสานกลางที่ใช้สนทนากันในระหว่างผู้คนที่มีพื้นเพอยู่ในภูมิภาคอิสาน  หากเราได้เดินทางไปและได้ฟังคนในแต่ละพื้นที่เขาคุยกันก็จะสังเกตเห็นความแตกต่างอยู่ไม่น้อยในเชิงของคำศัพท์และการใช้คำพูด    การแบ่งเขตการปกครองเป็นตำบล อำเภอ และจังหวัดนั้นก็ดูจะเป็นไปตามลักษณะจำเพาะดังที่กล่าวถึงและดูมีความเหมาะสมดี
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 เม.ย. 21, 18:05

เขียนเสร็จแล้ว ส่งไม่ทันเวลา ก็เลยต้องเรียบเรียงเขียนใหม่ 

ครับ ก็ตามประสาคนแก่ที่กำลังจะเริ่มแก่จัดไปตามกาลเวลา ที่ความช้าและการหลงลืมกำลังจะเข้ามาเป็นคุณสมบัติประจำกายแบบถาวร  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 27 เม.ย. 21, 19:08

ก็มีการใช้คำเรียกในอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการใช้ในกลุ่มคนในพื้นที่บางแห่งของ จ.เลย เรื่องนี้ได้รู้มาจากคนที่ทำงานมาด้วยกันหลายปี เขามีภรรยาเป็นชาว จ.เลย  ได้มีโอกาสนั่งฟังเขาคุยกันในกลุ่มพวกเขา ฟังแล้วก็สนุกดีแถมงงดีอีกต่างหาก  เขาใช้คำเรียกเครือญาติในลักษณะของการบอกว่า ผู้นั้นเป็นพ่อใคร หรือเป็นแม่ใคร และก็ยังบอกแต่เพียงว่าเป็นพ่อหรือแม่ของลูกชายตนโตที่ชื่อนั้นๆเพียงเท่านั้น   ก็เลยมีแต่คำสนทนาที่อุดมไปด้วยคำว่า พ่อไอ้...(ชื่อลูกชายคนโต) หรือแม่ไอ้...(ชื่อลูกชายคนโต) แถมชื่อลูกชายคนโตนั้นก็ยังใช้ชื่อเล่นอีก    ชื่อเดียวที่โดดเด่นออกมาของแต่ละครอบครัวนั้นๆจึงเป็นชื่อเล่นของลูกชายคนโต   จะรู้ชื่อของพ่อหรือแม่ไอ้...ของครอบครัวนั้นๆได้ก็ไปจับความเอาจากเรื่องราวความสัมพันธ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันนี้ ไม่น่าจะยังคงหลงเหลือสิ่งที่ผมเคยได้ยินมาเช่นนั้นดั่งเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 27 เม.ย. 21, 19:43

แล้วก็มีการนิยมใช้คำนำหน้าชื่อว่า "น้า" ซึ่งดูจะนิยมใช้กันในพื้นที่ด้านตะวันตกของชุมชนที่เป็นเมืองในเขตพื้นที่อยุธยาลงไปจนถึงกาญจนบุรี  ทุกคนเป็นน้ากันหมด เลยไม่รู้ว่าใครเป็นใคร เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกันอย่างไร    ที่น่าสนใจชวนให้คิดมากต่อไป (ผมเอง ฮืม ) ก็คือ ในแถบพื้นที่ราบที่ว่านี้ เป็นพื้นที่ในทางยุทธศาสตร์ทั้งด้านการเดินทัพและการส่งกำลังบำรุงตั้งแต่สมัยอยุธยาโน่น ดูจะมีอะไรๆที่เกี่ยวโยงเป็นมรดกตกทอดเล็กๆน้อยๆทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมอยู่ไม่น้อย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 27 เม.ย. 21, 20:05

คำเรียกนับญาติว่า "น้า" ใช้ในวงการบันเทิงมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนักร้องเพื่อชีวิต น้าหงา น้าแอ๊ด น้าหมู หรือตลก ๓ น้า น้านงค์ น้าพวง น้าโย่ง และที่หลายคนกำลังเป็นห่วงอยู่ตอนนี้ คือ น้าค่อม

แต่ถ้าเป็นทหารที่เข้ามามีอำนาจในวงการเมืองอยู่ขณะนี้ ไม่เรียกว่า "น้า" แต่นิยมเรียกกันว่า "ลุง"
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 27 เม.ย. 21, 22:53

อ้างถึง
แต่ถ้าเป็นทหารที่เข้ามามีอำนาจในวงการเมืองอยู่ขณะนี้ ไม่เรียกว่า "น้า" แต่นิยมเรียกกันว่า "ลุง"

คงแล้วแต่ละท่าน    คุณเพ็ญชมพูลืม "น้าชาติ" ไปแล้ว ท่านก็เป็นนายกฯที่เป็นทหารมาก่อน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 เม.ย. 21, 09:26

เข้ามามีอำนาจ
แต่ก็อาจจะแตกต่าง
“น้า” เสียงประชาสร้าง
“ลุง” ปูทางด้วยเสียงปืน
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง