ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
 
ตอบ: 89
|
ขออนุญาตเรียนถามถึงที่มาคำเรียกเครือญาติของคนไทยภาคกลางหน่อยค่ะ คือดิฉันเห็นว่าคนไทยภาคเหนือ อีสาน ใต้ มีบางคำเรียกเครือญาติต่างจากคนภาคกลางอยู่ตรงนิยมนำคำที่มีอยู่แล้วมาต่อกัน แต่คนภาคกลางจะเรียกเป็นคำเดียวโดดๆไปเลย เลยอยากให้ท่านๆผู้รู้ในห้องนี้ช่วยชี้แนะหน่อยค่ะว่าเพราะอะไรคำเรียกเครือญาติของคนไทยภาคกลางบางคำถึงมักเป็นคำเดียวโดดๆ ไม่นิยมนำคำมาต่อกันเหมือนภาคอื่นๆ มีที่มา มีรากศัพท์มาจากภาษาต่างชาติหรือเปล่าคะ
ขอยกตัวอย่างมาแค่บางคำนะคะ
ภาคเหนือ เช่น ปู่ – ตา ..ภาษาเหนือจะพูดว่า..ป้ออุ้ย ย่า-ยาย ..ภาษาเหนือจะพูดว่า..แม่อุ้ย ทวด ..ภาษาเหนือจะพูดว่า ..อุ้ยหม่อน
ภาคอีสาน เช่น พ่อตา เรียก พ่อเฒ่า แม่ยาย เรียก แม่เฒ่า พ่อผัว เรียก พ่อปู่ แม่ผัว เรียก แม่ย่า
ภาคใต้ เช่น ปู่,ตา โต๊ะชาย พ่อแก่ ย่า,ย่าย โต๊ะหญิง แม่แก่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 23 เม.ย. 21, 16:36
|
|
แต่คนภาคกลางจะเรียกเป็นคำเดียวโดดๆไปเลย เลยอยากให้ท่านๆผู้รู้ในห้องนี้ช่วยชี้แนะหน่อยค่ะว่าเพราะอะไรคำเรียกเครือญาติของคนไทยภาคกลางบางคำถึงมักเป็นคำเดียวโดดๆ ไม่นิยมนำคำมาต่อกันเหมือนภาคอื่นๆ
ไม่จริงนะคะ คำเรียกเครือญาติของคนไทยภาคกลาง ที่ไม่ใช่คำเดียวโดดๆก็มี เช่น แม่เฒ่า พ่อเฒ่า แม่แก่ แม่ใหญ่ พ่อปู่ พ่อลุง ปู่ใหญ่ ปู่น้อย ย่าใหญ่ ย่าน้อย ฯลฯ เพียงแต่คนรุ่นนี้อาจไม่รู้จักเท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
 
ตอบ: 89
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 24 เม.ย. 21, 09:32
|
|
ขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะคุณเทาชมพู ถ้าไม่รบกวนไปหวังว่าคุณเทาชมพูและท่านอื่นๆจะแนะนำเพิ่มเติมได้เลยค่ะว่าคำเรียกเครือญาติของคนไทยภาคกลางที่ถูกใช้ในสมัยก่อนแล้วคนสมัยนี้ไม่ค่อยใช้กันแล้วมีคำว่าอะไรอีกบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 25 เม.ย. 21, 09:56
|
|
แม่ใหญ่ = ยาย แม่แก่ = ยาย ย่า พ่อปู่ = ปู่ คนแก่เฒ่าคราวปู่ คุณป๋า = พ่อ ตอนนี้นึกออกแค่นี้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 25 เม.ย. 21, 19:45
|
|
ผมมีความเห็นว่าคำเรียกเครือญาติของคนในภูมิภาคต่างๆนั้นดูค่อนข้างจะมีขอบเขตจำกัดอยู่ในวงแคบใกล้ตัว คือสืบย้อนกลับไปไม่เกินระดับ ปู่-ย่า-ตา-ยาย ของบุคคลต่างๆในครอบครัว และตามสายลงไปถึงเพียงระดับหลาน ชื่อเรียกของเครือญาติที่จะสืบย้อนกลับไกลไปกว่าที่ได้กล่าวถึงจะเป็นการใช้วิธีการบรรยายว่าใครเป็นใคร เกี่ยวพันกันเช่นใดและอย่างไร พวกเพลงประเภท Ballad ของภาคเหนือ(ซอ) ของภาคอิสาน(เซิ้ง ?) และของภาคกลาง(เพลงขอทาน ?) เท่าที่เคยได้ฟังมาก็ดูจะบ่งชี้ในลักษณะดังที่ได้กล่าวมา
สำหรับคนในภาคกลางนั้น มีการใช้คำเรียกเครือญาติที่มีวงกว้างกว่าและจำแนกลงไปในรายละเอียดมากกว่ามาก คือสืบย้อนไปถึงระดับ พ่อและแม่ของพ่อ-แม่ของปู่-ย่า-ตา-ยายของบุคคลต่างๆในครอบครัว ขยายวงไปถึงลูกของบุคคลในระดับหลาน และยังขยายวงไปคนที่เข้ามาเกี่ยวดองกันทางสายโลหิตและทางการสมรส ก็เลยมีคำต่างๆ อาทิ เทียดชาย-หญิง ทวดชาย-หญิง ย่าใหญ่-เล็ก ลูกเขยใหญ่-เล็ก สะใภ้ใหญ่-เล็ก น้าชาย-หญิง อาชาย-หญิง น้า-อาเขย หลานเขย-สะใภ้ เหลนชาย-หญิง ฯลฯ
คำเรียกบุคคลที่เป็นเครือญาติของคนภาคกลางน่าจะแสดงถึงลักษณะทางสังคมอย่างหนึ่งที่ใกล้ไปในทางรูปของ clan ต่างไปจากของคนในภาคอื่นๆที่ดูจะออกไปในทางรูปของ family ties
ไม่ทราบว่าจะตรงประเด็นกับข้อปุจฉาหรือไม่ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 26 เม.ย. 21, 12:49
|
|
น่าสนใจมากค่ะ กรุณาอธิบายต่อได้ไหมคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
 
ตอบ: 89
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 26 เม.ย. 21, 17:48
|
|
เรื่องความหลากหลาย ความลึกของคำดิฉันไม่ทันคิดถึงประเด็นนี้เลย อย่างไรเชิญคุณ naitang มาชี้แนะต่อได้ค่ะ
อีกประเด็นหนึ่งที่ดิฉันสงสัยว่าคำเรียกเครือญาติที่คนภาคกลางใช้อยู่เป็นคำไทยดั้งเดิมไหมหรือไปรับของชาติอื่นมา คุณ naitan พอจะทราบข้อมูลบ้างไหมคะ เพราะถ้าภาคกลางมีคำหลากหลายกว่าก็แสดงว่ามีรับคำจากต่างชาติมาหรือไม่คะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 26 เม.ย. 21, 18:39
|
|
ขอเกริ่นไว้แต่แรกว่า ผมไม่มีความรู้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวในเชิงวิชาการด้านสังคมวิทยา เรื่องราวที่จะพยายามขยายความออกไปตามที่อาจารย์ขอมานั้น เป็นความเห็นที่ประมวลมาจากประสบการณ์ที่ได้เคยเดินทางไปทำงานในพื้นที่ต่างๆ ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้พูดคุยกับชาวบ้านทั้งที่เป็นชาวพื้นบ้านจริงๆและชาวบ้านที่อพยพย้ายถิ่น ครับ
ในภาคเหนือ คำว่า "อุ้ย" นั้น ในองค์รวมมีความหมายถึงผู้สูงวัยที่ควรแก่การนับถือเป็นอย่างสูง มิได้จำเพาะเจาะจงลงไปว่าจะต้องหมายถึงคนที่เป็น ปู่-ย่า-ตา-ยาย ของคนในครอบครัวนั้นๆ หากเป็นการพูดคุยกันในครอบครัวหน่วยเล็ก (พ่อ-แม่-ลูก) ในสาระของเรื่องราวในระดับ ปู่-ย่า-ตา-ยาย ก็จะใช้คำว่า พ่ออุ้ย-แม่อุ้ย และเพื่อมิให้สับสนระหว่างของฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง ก็จะบวกด้วยชื่อของอุ้ยคนนั้นๆ
พ่ออุ้ย-แม่อุ้ย ยังใช้เป็นคำเรียกรวมๆและแบบหลวมๆที่หมายถึงบรรดาผู้สูงวัยในระดับ ปู่-ย่า-ตา-ยาย ทั้งหลาย ทั้งนี้ เมื่อลงไปถึงระดับบุคคลก็จะใช้คำว่าอุ้ยนำหน้าชื่อคน นั้นๆ หากได้ยินชาวบ้านเขาเรียกบุคคลผู้ใดเช่นนั้น ก็หมายถึงผู้สูงวัยผู้นั้นเป็นบุคคลที่ชาวบ้านต่างๆเขาให้ความเคารพนับถือ จะเป็นคนดีมากน้อยเพียงใดก็สังเกตได้จากการเรียกของผู้คนต่างหมู่บ้านต่างถิ่น และในหลายกรณีก็ดูจะไม่เกี่ยวข้องกับวัย (อายุ) มากนัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 26 เม.ย. 21, 19:46
|
|
สำหรับในภาคอิสานนั้น ผมไม่ได้คลุกคลีมากนักจึงมีประสบการณ์กับชาวถิ่นพื้นบ้านน้อยมาก ได้พบแต่ผู้คนที่อพยพย้ายถิ่นไปอยู่และทำมาหากินกระจายอยู่ทั่วๆไป ซึ่งการสนทนาต่างๆที่เกิดขึ้นมิได้เป็นไปอย่างธรรมชาติบนพื้นฐานของภาษาที่เขาใช้ ด้วยที่เขาจะเลือกใช้ภาษากลาง(ภาษากรุงเทพฯ)สนทนากับเรา และถึงแม้จะใช้ภาษาอิสานและยังคงสำเนียงอยู่ ก็มิได้ใช้คำต่างๆแบบพื้นบ้านของเขา ผมจึงจับความและมีข้อสังเกตได้แต่เพียงว่า มีลักษณะการใช้คำ(ศัพท์)ไปในทำนองเดียวกันกับของทางภาคเหนือ(โดยเฉพาะคำว่า "พ่อเฒ่า-แม่เฒ่า")
ที่จับความได้อีกเรื่องหนึ่งจากภาษาพูด คำศัพท์ และลักษณะการใช้คำของคนอิสานก็คือ ผู้คนในอิสานมีความหลายมากมายในเชิงสังคมวิทยาเอามากๆเลยทีเดียว ภาษาอิสานที่เราได้ยินกันในกรุงเทพฯนั้นดูจะเป็นภาษาอิสานกลางที่ใช้สนทนากันในระหว่างผู้คนที่มีพื้นเพอยู่ในภูมิภาคอิสาน หากเราได้เดินทางไปและได้ฟังคนในแต่ละพื้นที่เขาคุยกันก็จะสังเกตเห็นความแตกต่างอยู่ไม่น้อยในเชิงของคำศัพท์และการใช้คำพูด การแบ่งเขตการปกครองเป็นตำบล อำเภอ และจังหวัดนั้นก็ดูจะเป็นไปตามลักษณะจำเพาะดังที่กล่าวถึงและดูมีความเหมาะสมดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 27 เม.ย. 21, 18:05
|
|
เขียนเสร็จแล้ว ส่งไม่ทันเวลา ก็เลยต้องเรียบเรียงเขียนใหม่ ครับ ก็ตามประสาคนแก่ที่กำลังจะเริ่มแก่จัดไปตามกาลเวลา ที่ความช้าและการหลงลืมกำลังจะเข้ามาเป็นคุณสมบัติประจำกายแบบถาวร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 27 เม.ย. 21, 19:08
|
|
ก็มีการใช้คำเรียกในอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการใช้ในกลุ่มคนในพื้นที่บางแห่งของ จ.เลย เรื่องนี้ได้รู้มาจากคนที่ทำงานมาด้วยกันหลายปี เขามีภรรยาเป็นชาว จ.เลย ได้มีโอกาสนั่งฟังเขาคุยกันในกลุ่มพวกเขา ฟังแล้วก็สนุกดีแถมงงดีอีกต่างหาก เขาใช้คำเรียกเครือญาติในลักษณะของการบอกว่า ผู้นั้นเป็นพ่อใคร หรือเป็นแม่ใคร และก็ยังบอกแต่เพียงว่าเป็นพ่อหรือแม่ของลูกชายตนโตที่ชื่อนั้นๆเพียงเท่านั้น ก็เลยมีแต่คำสนทนาที่อุดมไปด้วยคำว่า พ่อไอ้...(ชื่อลูกชายคนโต) หรือแม่ไอ้...(ชื่อลูกชายคนโต) แถมชื่อลูกชายคนโตนั้นก็ยังใช้ชื่อเล่นอีก ชื่อเดียวที่โดดเด่นออกมาของแต่ละครอบครัวนั้นๆจึงเป็นชื่อเล่นของลูกชายคนโต จะรู้ชื่อของพ่อหรือแม่ไอ้...ของครอบครัวนั้นๆได้ก็ไปจับความเอาจากเรื่องราวความสัมพันธ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ในปัจจุบันนี้ ไม่น่าจะยังคงหลงเหลือสิ่งที่ผมเคยได้ยินมาเช่นนั้นดั่งเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 27 เม.ย. 21, 19:43
|
|
แล้วก็มีการนิยมใช้คำนำหน้าชื่อว่า "น้า" ซึ่งดูจะนิยมใช้กันในพื้นที่ด้านตะวันตกของชุมชนที่เป็นเมืองในเขตพื้นที่อยุธยาลงไปจนถึงกาญจนบุรี ทุกคนเป็นน้ากันหมด เลยไม่รู้ว่าใครเป็นใคร เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกันอย่างไร ที่น่าสนใจชวนให้คิดมากต่อไป (ผมเอง  ) ก็คือ ในแถบพื้นที่ราบที่ว่านี้ เป็นพื้นที่ในทางยุทธศาสตร์ทั้งด้านการเดินทัพและการส่งกำลังบำรุงตั้งแต่สมัยอยุธยาโน่น ดูจะมีอะไรๆที่เกี่ยวโยงเป็นมรดกตกทอดเล็กๆน้อยๆทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมอยู่ไม่น้อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 27 เม.ย. 21, 20:05
|
|
คำเรียกนับญาติว่า "น้า" ใช้ในวงการบันเทิงมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนักร้องเพื่อชีวิต น้าหงา น้าแอ๊ด น้าหมู หรือตลก ๓ น้า น้านงค์ น้าพวง น้าโย่ง และที่หลายคนกำลังเป็นห่วงอยู่ตอนนี้ คือ น้าค่อม
แต่ถ้าเป็นทหารที่เข้ามามีอำนาจในวงการเมืองอยู่ขณะนี้ ไม่เรียกว่า "น้า" แต่นิยมเรียกกันว่า "ลุง" 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 27 เม.ย. 21, 22:53
|
|
แต่ถ้าเป็นทหารที่เข้ามามีอำนาจในวงการเมืองอยู่ขณะนี้ ไม่เรียกว่า "น้า" แต่นิยมเรียกกันว่า "ลุง" คงแล้วแต่ละท่าน คุณเพ็ญชมพูลืม "น้าชาติ" ไปแล้ว ท่านก็เป็นนายกฯที่เป็นทหารมาก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 28 เม.ย. 21, 09:26
|
|
เข้ามามีอำนาจ แต่ก็อาจจะแตกต่าง “น้า” เสียงประชาสร้าง “ลุง” ปูทางด้วยเสียงปืน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|