เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 25
  พิมพ์  
อ่าน: 38292 สมบัติเจ้าคุณตา
kui045
มัจฉานุ
**
ตอบ: 94


ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 16 ส.ค. 21, 11:34

เรื่องความชอบอ่านหนังสือก็ถ่ายทอดมาถึงแม่ด้วย  แต่แม่ชอบอ่านเรื่องแปล







ตอนนั้นยังเด็ก ไม่กล้าค้นสมบัติคุณตา  ผมเห็นแต่นิยายแปลของแม่  ก็เลยเริ่มต้นด้วยการเป็นคนชอบอ่านเรื่องแปลตามแม่

หนังสือชุดนี้ คลาสสิคมากเลยครับ
วงการหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ กำลังจะตาย
ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้วจริงๆ
หนังสือเล่ม สู้ออนไลน์ไม่ได้
แต่ผมยังเสพติดกลิ่นกระดาษ กลิ่นหมึก เป็นบางครั้ง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 16 ส.ค. 21, 12:30

หากต้องการอ่าน “ไทยเขษม” ออนไลน์ เข้าถึงได้จากลิงก์นี้ (ใส่คำว่า 'ไทยเขษม' ลงในช่อง 'สืบค้น' - ผลการสืบค้น พบหนังสือจำนวน ๙๙ เล่ม)

http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ebooks/search.php



มีช่วงหนึ่งมีการเปลี่ยนชื่อหัวเป็น ไทยกำสรด  ผมเคยอ่านจากที่ไหนก็ลืมไปแล้วว่าเหตุผลคือเป็นช่วงไว้ทุกข์ ร.6 (ถ้าจำไม่ผิด)

ฉบับ ไทยกำสรด



บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 16 ส.ค. 21, 14:57

หนังสือเป็นของเก่า ในหมวดที่สามารถชุบชีวิตได้เกือบเต็มร้อย //
ใครๆก็อ่านหนังสือ อ่านกันมานับพันปี // สื่อสารก็ง่าย เพราะผู้พิมพ์ปูทางเพื่อการสื่อสารไว้แล้ว ต่างจากวัตถุโบราณประเภทอื่นที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญตีความเล่าเรื่อง
.
หนังสือที่ผมเห็นว่าน่าสแกนที่สุดคือ สรรพหนังสือชุดนางสาวไทย
1)เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่คุณน้า ที่ลงแรงลงเงินรวบรวมไว้เป็นกลุ่มก้อน ยากที่จะหาใครสะสมได้มากขนาดนั้น
2)เป็นหนังสือภาพ จึงชวนให้เข้าไปพลิกอ่าน // ในบรรดาความงามของธรรมชาติ หรือศิลปวัตถุใด ก็ไม่มีแรงดึงดูดเท่าความสวยงามของสตรี
3)รูปเล่มแบนบาง สามารถสแกนได้ง่าย // สแกนนะครับ ไม่ใช่ถ่ายรูป การสแกนนี่..ทีเดียวจบ..สามารถกำจัดเงาสะท้อน, กล้องสั่นไหว, torsionจากการแอ่นโค้งของหน้าหนังสือ // เนื่องจากเป็นหนังสือเก่าที่ระบบการพิมพ์ไม่ละเอียด ตั้งค่าการสแกนให้มีความละเอียดปานกลางก็พอครับ คือถ้าตั้งละเอียดสูงสุดนี่..มันจะเห็นแม้กระทั่งลักษณะเส้นใยพืชที่ใช้ทำกระดาษ เปลืองmemoryและเวลาครับ
4)ปัญหาของการสแกนคือ คุณต้องมีเวลากับมัน // ค่อยๆทำวันละเล่มก็ได้ครับ หรือจ้างนักศึกษาให้เขามีรายได้พิเศษก็ได้
5)สแกนเสร็จ ก็อัปโหลดขึ้นเว็บที่ต้องการ // เลือกเว็บที่ไม่บีบหรือลดขนาดไฟล์รูป(กรณีไม่หวงไฟล์ออริจินัล เพราะต้องการฝากไว้ในแผ่นดินอยู่แล้ว) // จะเปิดเว็บเป็นสาธารณะหรือไปพ่วงเว็บองค์กรใดก็ได้ // แล้วทุกอย่างจะเดินไปตามครรลองของอินทรเนตร ผลงานของคุณnathanielnongจะได้รับการทำซ้ำไปตราบนานเท่านาน
6)ต้นฉบับควรเก็บในเชิงอนุรักษ์ครับ ไม่ควรให้ใครมาเปิดดูอีกแล้ว
.
7)ส่วนการสแกนหนังสือประเภท text คนจะเข้าถึงได้ยากกว่า เพราะค้นหาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ // เว้นแต่ใช้โปรแกรมแปลงภาพสแกนให้กลายเป็น text นั่นล่ะ..จะได้ประโยชน์สูงสุดจาก search engine
8)วัตถุสะสมอื่นๆ ได้แต่ทำใจครับ ส่งมอบให้คนที่ไว้ใจแล้วก็ปล่อยไปตามกฎอนิจจัง
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 17 ส.ค. 21, 08:37

คุณโหน่งน่าจะติดต่อกับคุณเอนกโดยตรง มากกว่าไปมอบภาระนี้ให้เพื่อนบ้าน    เขาจะสะดวกขนไปให้หรือเปล่าก็ไม่ทราบ
คุณเอนกมี facebook  คุณโหน่งส่งข้อความไปหาได้ค่ะ

https://www.facebook.com/anake.nawigamune


ขอบคุณครับ อ.

ติดปัญหาตรงที่ยังไม่อยากบริจาคตอนนี้ครับ  ตอนนี้ยัง 'อยู่' ก็ยังอยากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่เกิด
ได้เห็น ได้สัมผัส  ได้รำลึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาตั้งแต่เป็นเด็ก ๆ  มันเป็นความสุขครับ  ยิ่งตอนนี้แก่แล้ว  ยิ่งถวิลหาความสุขในวัยเยาว์

รู้สึกติดกับ  นึกทางออกไม่ได้ครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 17 ส.ค. 21, 08:43

ขอบคุณคุณ CVT กับ คุณ Kui045

สมัยวังบูรพายังยิ่งใหญ่  ร้านหนังสือรวมอยู่ที่นั่น  จำได้ว่า 1 ปีจะมีงานลดราคาหนังสือ  รู้สึกจะช่วงเดือน ต.ค.

คนแน่นเหมือนตลาดนัด

ที่ถ่ายมาเป็นเสี้ยวเดียวของคลังหนังสือแม่  และเป็นเรื่องที่ผมอ่านมาตั้งแต่ยังอยู่ชั้นประถม

แม่อ่านเยอะมาก  แต่มีแต่เรื่องแปล  มีเรื่องแปลจีนด้วย  จำได้แม่นคือ ซิเต็งซังและซิกัง  ซิยิ่งกุ้ย (อาจจำผิดพลาดเพราะไม่ได้อ่าน)

เรื่องไทยก็มีแต่ไม่ใช่นิยาย  มีหนังสือรวมเล่มอาจินต์ ปัญจพรรค์ ชื่อ คอคิดขอเขียน  จำได้แม่นเพราะชื่อแปลกดี
รวมถึงหนังสือประวัติบุคคล/สถานที่  หนังสือภาพ ฯลฯ

แล้วนิตยสารรายต่าง ๆ (เท่าที่หารูปได้  ส่วนหนังสือหนัง/เพลง/รถ/การ์ตูน ผมซื้อเอง)



ปล. นึกได้ว่า แม่ซื้อนิยายไทยเล่มนึงชื่อ วิญญาณที่เร่ร่อน ของ เหม เวชกร
ผมเอามาอ่าน  น่ากลัวขนหัวลุก  แถมมีภาพประกอบด้วย  นอนไม่หลับไปหลายคืน

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 17 ส.ค. 21, 09:16

หนังสือเป็นของเก่า ในหมวดที่สามารถชุบชีวิตได้เกือบเต็มร้อย //
ใครๆก็อ่านหนังสือ อ่านกันมานับพันปี // สื่อสารก็ง่าย เพราะผู้พิมพ์ปูทางเพื่อการสื่อสารไว้แล้ว ต่างจากวัตถุโบราณประเภทอื่นที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญตีความเล่าเรื่อง
.
หนังสือที่ผมเห็นว่าน่าสแกนที่สุดคือ สรรพหนังสือชุดนางสาวไทย
1)เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่คุณน้า ที่ลงแรงลงเงินรวบรวมไว้เป็นกลุ่มก้อน ยากที่จะหาใครสะสมได้มากขนาดนั้น
2)เป็นหนังสือภาพ จึงชวนให้เข้าไปพลิกอ่าน // ในบรรดาความงามของธรรมชาติ หรือศิลปวัตถุใด ก็ไม่มีแรงดึงดูดเท่าความสวยงามของสตรี
3)รูปเล่มแบนบาง สามารถสแกนได้ง่าย // สแกนนะครับ ไม่ใช่ถ่ายรูป การสแกนนี่..ทีเดียวจบ..สามารถกำจัดเงาสะท้อน, กล้องสั่นไหว, torsionจากการแอ่นโค้งของหน้าหนังสือ // เนื่องจากเป็นหนังสือเก่าที่ระบบการพิมพ์ไม่ละเอียด ตั้งค่าการสแกนให้มีความละเอียดปานกลางก็พอครับ คือถ้าตั้งละเอียดสูงสุดนี่..มันจะเห็นแม้กระทั่งลักษณะเส้นใยพืชที่ใช้ทำกระดาษ เปลืองmemoryและเวลาครับ
4)ปัญหาของการสแกนคือ คุณต้องมีเวลากับมัน // ค่อยๆทำวันละเล่มก็ได้ครับ หรือจ้างนักศึกษาให้เขามีรายได้พิเศษก็ได้
5)สแกนเสร็จ ก็อัปโหลดขึ้นเว็บที่ต้องการ // เลือกเว็บที่ไม่บีบหรือลดขนาดไฟล์รูป(กรณีไม่หวงไฟล์ออริจินัล เพราะต้องการฝากไว้ในแผ่นดินอยู่แล้ว) // จะเปิดเว็บเป็นสาธารณะหรือไปพ่วงเว็บองค์กรใดก็ได้ // แล้วทุกอย่างจะเดินไปตามครรลองของอินทรเนตร ผลงานของคุณnathanielnongจะได้รับการทำซ้ำไปตราบนานเท่านาน
6)ต้นฉบับควรเก็บในเชิงอนุรักษ์ครับ ไม่ควรให้ใครมาเปิดดูอีกแล้ว
.
7)ส่วนการสแกนหนังสือประเภท text คนจะเข้าถึงได้ยากกว่า เพราะค้นหาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ // เว้นแต่ใช้โปรแกรมแปลงภาพสแกนให้กลายเป็น text นั่นล่ะ..จะได้ประโยชน์สูงสุดจาก search engine
8)วัตถุสะสมอื่นๆ ได้แต่ทำใจครับ ส่งมอบให้คนที่ไว้ใจแล้วก็ปล่อยไปตามกฎอนิจจัง

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ  แต่แรงไปเต้นแร้งเต้นกาเหือดหายไปมากแล้ว  อีกทั้งออกมาอยู่ห่างไกลความเจริญด้วย

ไม่รู้จะไปหา 'จิตอาสา' ได้จากไหน
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 321  เมื่อ 17 ส.ค. 21, 12:10



เรื่องไทยก็มีแต่ไม่ใช่นิยาย  มีหนังสือรวมเล่มอาจินต์ ปัญจพรรค์ ชื่อ คอคิดขอเขียน  จำได้แม่นเพราะชื่อแปลกดี
รวมถึงหนังสือประวัติบุคคล/สถานที่  หนังสือภาพ ฯลฯ



คอคิดขอเขียน เป็นของขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนาคพันธุ์) ครับ ไม่ใช่ของอาจินต์ ปัญจพรรค์
ของอาจินต์ที่อาจารย์มีต้องเป็นพ็อคเก็ตบุ๊ค ชุดโอเลี้ยง ๕ แก้วครับ ซึ่งรวบรวมเรื่องสั้นของนักเขียนหลายท่านมารวมเล่มเช่น หลังเที่ยงคืน ของสง่า อารัมภีร์
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 322  เมื่อ 17 ส.ค. 21, 12:20


แต่ผมยังเสพติดกลิ่นกระดาษ กลิ่นหมึก เป็นบางครั้ง

   ประเด็นนี้เป็นเรื่อง จักรกฤษณ์ สิริริน : Bibliosmia “กลิ่นกระดาษ” ปัจจัยชี้ขาด “หนังสือเล่ม” ไม่มีวันตาย!

https://www.matichonweekly.com/in-depth/article_343863

            วารสาร Heritage Science เปิดรายงานวิจัยของ University College London หรือ UCL เกี่ยวกับ “กลิ่นหนังสือ”
            ผู้ที่หลงใหลใน “กลิ่นหนังสือ” ก็เหมือนกับคนที่หลงรัก “กลิ่นช็อกโกแลต” หรือ “กลิ่นกาแฟ”
            Heritage Science อ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ VOCs หรือ Volatile Organic Compounds (สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย)
ว่า ใน “ช็อกโกแลต” และ “กาแฟ” นั้น มีองค์ประกอบ VOCs ที่คล้ายกับ “หนังสือ”
            VOCs ของ “ช็อกโกแลต” และ “กาแฟ” มีสารประกอบทางเคมี (ที่ผ่านการหมักหรือคั่ว) อยู่สองตัว
ได้แก่ Lignin และ Cellulose ซึ่งสารทั้งสองอย่างนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีอยู่ใน “กระดาษหนังสือเก่า” นั่นเอง
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 323  เมื่อ 17 ส.ค. 21, 19:31

ไม่รู้ว่าคนรักหนังสือในห้องนี้จะเคืองหรือเปล่า    แต่ส่วนตัวคิดว่าหนังสือเล่มกำลังหายใจแผ่วลงทุกทีค่ะ  ยิ่งมีโควิดมาซ้ำเติม อาจจะต้องใส่สายออกซิเยน
คนรุ่นที่เติบโตมากับหนังสือเล่ม  ยังรักและอาลัยหนังสืออยู่ แน่นอนค่ะข้อนี้
แต่ผ่านไปอีก 20 ปี  ดิฉันเกรงว่า หนังสือจากหน้าจอจะมาแทนที่   ด้วยความจำเป็นหลายอย่าง
1  สะดวกในการหาอ่าน  ตื่นมาเปิดอ่านข่าวประจำวันได้เลย  ไม่ต้องเดินออกไปซื้อหนังสือพิมพ์  ถ้าเป็นการค้นคว้าข้อมูล ก็ไม่ต้องไปถึงห้องสมุด
2  หนุ่มสาวยุคนี้และยุคต่อจากนี้ ไม่อาศัยอยู่ในบ้าน แต่อาศัยอยู่ในห้อง   พื้นที่จำกัดเกินกว่าจะเก็บหนังสือเล่มได้ 
3  หนังสือจากหน้าจอ มีให้อ่านฟรีมากมาย   ประหยัดเงินไปได้มาก
4  เคยชินกับอ่านจากหน้าจอเล็กๆ ข้อความสั้นๆ   ทำให้เกิดอาการสมาธิสั้นได้ง่าย  ไม่สามารถอ่านอะไรยาวๆหลายร้อยหน้าได้
5  หนังสือเป็นการสื่อสารทางเดียว  จะถูกแทนที่ด้วยการสื่อสารสองทาง จนคนไม่สนุกที่จะอ่านอะไรเงียบๆอีกต่อไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 324  เมื่อ 17 ส.ค. 21, 20:05

สนทนาประสาคนรักหนังสือ ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 325  เมื่อ 18 ส.ค. 21, 07:48

ไม่รู้ว่าคนรักหนังสือในห้องนี้จะเคืองหรือเปล่า    แต่ส่วนตัวคิดว่าหนังสือเล่มกำลังหายใจแผ่วลงทุกทีค่ะ  ยิ่งมีโควิดมาซ้ำเติม อาจจะต้องใส่สายออกซิเยน
คนรุ่นที่เติบโตมากับหนังสือเล่ม  ยังรักและอาลัยหนังสืออยู่ แน่นอนค่ะข้อนี้
แต่ผ่านไปอีก 20 ปี  ดิฉันเกรงว่า หนังสือจากหน้าจอจะมาแทนที่   ด้วยความจำเป็นหลายอย่าง
1  สะดวกในการหาอ่าน  ตื่นมาเปิดอ่านข่าวประจำวันได้เลย  ไม่ต้องเดินออกไปซื้อหนังสือพิมพ์  ถ้าเป็นการค้นคว้าข้อมูล ก็ไม่ต้องไปถึงห้องสมุด
2  หนุ่มสาวยุคนี้และยุคต่อจากนี้ ไม่อาศัยอยู่ในบ้าน แต่อาศัยอยู่ในห้อง   พื้นที่จำกัดเกินกว่าจะเก็บหนังสือเล่มได้ 
3  หนังสือจากหน้าจอ มีให้อ่านฟรีมากมาย   ประหยัดเงินไปได้มาก
4  เคยชินกับอ่านจากหน้าจอเล็กๆ ข้อความสั้นๆ   ทำให้เกิดอาการสมาธิสั้นได้ง่าย  ไม่สามารถอ่านอะไรยาวๆหลายร้อยหน้าได้
5  หนังสือเป็นการสื่อสารทางเดียว  จะถูกแทนที่ด้วยการสื่อสารสองทาง จนคนไม่สนุกที่จะอ่านอะไรเงียบๆอีกต่อไป

เห็นด้วยครับอาจารย์
สำหรับตัวผมเอง เมื่อสายตายาวมากขึ้นตามวัย การอ่านหนังสือจึงไม่สนุกเหมือนก่อน
การมานั่งอ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์สะดวกกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดต่อการอ่านอะไรยาว ๆ จริง ๆ ครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 326  เมื่อ 18 ส.ค. 21, 09:12



เรื่องไทยก็มีแต่ไม่ใช่นิยาย  มีหนังสือรวมเล่มอาจินต์ ปัญจพรรค์ ชื่อ คอคิดขอเขียน  จำได้แม่นเพราะชื่อแปลกดี
รวมถึงหนังสือประวัติบุคคล/สถานที่  หนังสือภาพ ฯลฯ



คอคิดขอเขียน เป็นของขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนาคพันธุ์) ครับ ไม่ใช่ของอาจินต์ ปัญจพรรค์
ของอาจินต์ที่อาจารย์มีต้องเป็นพ็อคเก็ตบุ๊ค ชุดโอเลี้ยง ๕ แก้วครับ ซึ่งรวบรวมเรื่องสั้นของนักเขียนหลายท่านมารวมเล่มเช่น หลังเที่ยงคืน ของสง่า อารัมภีร์

ขอบคุณที่แก้ไขครับ  จำสับสน  เห็นแต่สันวางเรียง ๆ กันเป็นแถว  นึกแล้วเสียดายน่าจะถ่ายรูปเก็บไว้  พวกหนังสือเก่า ๆ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 327  เมื่อ 18 ส.ค. 21, 09:16


แต่ผมยังเสพติดกลิ่นกระดาษ กลิ่นหมึก เป็นบางครั้ง

   ประเด็นนี้เป็นเรื่อง จักรกฤษณ์ สิริริน : Bibliosmia “กลิ่นกระดาษ” ปัจจัยชี้ขาด “หนังสือเล่ม” ไม่มีวันตาย!

https://www.matichonweekly.com/in-depth/article_343863

            วารสาร Heritage Science เปิดรายงานวิจัยของ University College London หรือ UCL เกี่ยวกับ “กลิ่นหนังสือ”
            ผู้ที่หลงใหลใน “กลิ่นหนังสือ” ก็เหมือนกับคนที่หลงรัก “กลิ่นช็อกโกแลต” หรือ “กลิ่นกาแฟ”
            Heritage Science อ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ VOCs หรือ Volatile Organic Compounds (สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย)
ว่า ใน “ช็อกโกแลต” และ “กาแฟ” นั้น มีองค์ประกอบ VOCs ที่คล้ายกับ “หนังสือ”
            VOCs ของ “ช็อกโกแลต” และ “กาแฟ” มีสารประกอบทางเคมี (ที่ผ่านการหมักหรือคั่ว) อยู่สองตัว
ได้แก่ Lignin และ Cellulose ซึ่งสารทั้งสองอย่างนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีอยู่ใน “กระดาษหนังสือเก่า” นั่นเอง
     

ตรงนี้ทำให้นึกได้ว่า สมัยเด็ก ๆ ชอบดมหนังสือใหม่  เป็นต้นว่าหนังสือเรียนประเภทพื้นกระดาษขาว ๆ  กลิ่นจะหอมมาก  ออกไปทางนมผงกลาย ๆ

มีใครรู้สึกแบบนี้บ้างหนอ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 328  เมื่อ 18 ส.ค. 21, 09:34

ไม่รู้ว่าคนรักหนังสือในห้องนี้จะเคืองหรือเปล่า    แต่ส่วนตัวคิดว่าหนังสือเล่มกำลังหายใจแผ่วลงทุกทีค่ะ  ยิ่งมีโควิดมาซ้ำเติม อาจจะต้องใส่สายออกซิเยน
คนรุ่นที่เติบโตมากับหนังสือเล่ม  ยังรักและอาลัยหนังสืออยู่ แน่นอนค่ะข้อนี้
แต่ผ่านไปอีก 20 ปี  ดิฉันเกรงว่า หนังสือจากหน้าจอจะมาแทนที่   ด้วยความจำเป็นหลายอย่าง
1  สะดวกในการหาอ่าน  ตื่นมาเปิดอ่านข่าวประจำวันได้เลย  ไม่ต้องเดินออกไปซื้อหนังสือพิมพ์  ถ้าเป็นการค้นคว้าข้อมูล ก็ไม่ต้องไปถึงห้องสมุด
2  หนุ่มสาวยุคนี้และยุคต่อจากนี้ ไม่อาศัยอยู่ในบ้าน แต่อาศัยอยู่ในห้อง   พื้นที่จำกัดเกินกว่าจะเก็บหนังสือเล่มได้  
3  หนังสือจากหน้าจอ มีให้อ่านฟรีมากมาย   ประหยัดเงินไปได้มาก
4  เคยชินกับอ่านจากหน้าจอเล็กๆ ข้อความสั้นๆ   ทำให้เกิดอาการสมาธิสั้นได้ง่าย  ไม่สามารถอ่านอะไรยาวๆหลายร้อยหน้าได้
5  หนังสือเป็นการสื่อสารทางเดียว  จะถูกแทนที่ด้วยการสื่อสารสองทาง จนคนไม่สนุกที่จะอ่านอะไรเงียบๆอีกต่อไป

เห็นด้วยกับ อ. ครับ  

ตอนนี้หนังสือเล่ม (โดยเฉพาะหนังสือปกแข็ง) กลายเป็นของประดับบ้าน

โหน่งย้ายบ้านออกมาอยู่ ตจว. แต่ยังอยู่ในหมู่บ้าน
บ้านใหม่เล็กมีชั้นเดียว  ไม่สามารถขนสมบัติบ้ามาได้หมด
แม้แต่หนังสือของโปรดที่เคยมีกว่า 7-800 เล่ม (ทั้งไทย/อังกฤษ) ก็คัดแล้วคัดอีกจนเหลือประมาณ 100 กว่าเล่ม

เพื่อนบ้านที่มาเยี่ยมพอเห็นก็ตื่นตาตื่นใจ (แต่ไม่นึกอยากอ่าน)  ทุกคนบอกว่าไม่เคยเห็นใครมีหนังสือ 'มาก' ขนาดนี้  
ส่วนหนังสือภาษาอังกฤษพวกเธอมองอย่างพิศวง

เคยถามว่าเคยอ่านหนังสือบ้างมั้ย  ตอบแบบเสียงขุ่น ๆ ว่า เค้ย... ทำไมจะไม่เคย
ถามว่า อ่านอะไรกันล่ะ
ตอบว่า ขายหัวเราะ
ถามต่อว่า หมายถึงหนังสือเป็นเล่ม ๆ น่ะ
ตอบกลับมาว่า ขายหัวเราะก็เป็นเล่ม

ตอนมาอยู่ใหม่ ๆ คนที่มาเยี่ยมจะตรงมาดูที่ตู้หนังสือเป็นแห่งที่สอง (ตู้ของสะสมเป็นแห่งแรก)

วันที่ไปเข้าคิวฉีดยาฯ  ทุนคนที่รอเวลาล้วนแต่อ่าน มือถือ  มีโหน่งคนเดียวอ่านหนังสือ (เพราะไม่มีมือถืออัจฉริยะเหมือนชาวบ้าน)
คนรอบข้างชำเลืองดูกัน

ชั้นอ่านหนังสือ  แปลกตรงไหนวะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 329  เมื่อ 18 ส.ค. 21, 09:57

ของอาจินต์ที่อาจารย์มีต้องเป็นพ็อคเก็ตบุ๊ค ชุดโอเลี้ยง ๕ แก้วครับ ซึ่งรวบรวมเรื่องสั้นของนักเขียนหลายท่านมารวมเล่ม
เช่น หลังเที่ยงคืน ของสง่า อารัมภีร์

           เคยอ่าน ชีวิต หลังเที่ยงคืน ชุด 3 ของ (ครู)แก้วฟ้า ครูแก้วเล่าถึง บุคคลต่างๆ ในแวดวงมิตรสหายเพื่อนร่วมงาน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง