เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 38038 สมบัติเจ้าคุณตา
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 13 ส.ค. 21, 12:33

สามก๊ก เลิศสะแมนแตนมากๆครับ อยากดูเวอร์ชันอื่นด้วยครับ
เวอร์ชันในรูป..พิมพ์ปี 1890 จัดว่าเป็นหนังสือเก่าแล้ว ณ ตอนที่คุณตาสะสม
.
แต่ละเวอร์ชัน มีรูปประกอบมากน้อยไม่เท่ากันครับ (รูปที่เป็นลายเส้นแบบจีน)
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 13 ส.ค. 21, 17:16

เท่าที่เคยเห็น ฉบับเก่ากว่าจะมีรูปประกอบมากกว่า แต่ก็มากกว่ากันไม่มากนัก
เข้าใจว่าตัวแม่พิมพ์ซึ่งเป็นลายเส้นรูปภาพ คงจะสึกหรอไปเรื่อย และไม่สามารถทำขึ้นใหม่ได้อีก
.
ที่ศาลสามก๊ก(สุสานเล่าปี่) เมืองเฉิงตู(หนังสือสามก๊กออกสำเนียงว่า เซงโต๋ว) มณฑลเสฉวน
มีหนังสือภาพสามก๊กจำหน่าย จัดพิมพ์ในรูปลักษณ์แนวนอน แบบที่เรียกว่า โก๋วแฉะ ราคาถูกมากครับ
เป็นภาพเล่าเรื่องแบบเต็มเรื่อง เป็นพันๆภาพเลยครับ ดูกันได้เต็มอิ่ม ซึ่งฉบับพิมพ์ไทยคัดเลือกมาลงในหนังสือไม่ถึง10%ของภาพทั้งหมด
.
ลักษณะรูปเล่ม โก๋วแฉะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 13 ส.ค. 21, 17:20

ในหนังสือประวัติเจ้าพระยายมราช มีรูปบ้านของท่านไหมครับ (บ้านศาลาแดง) กับบรรยากาศถนนสีลมในเวลาโน้น ขอยลหน่อยครับ
.
นอกจากสามก๊กกับผู้ชนะสิบทิศแล้ว น่าจะต้องมี ราชาธิราช ด้วยมังครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 14 ส.ค. 21, 09:35

สามก๊ก เลิศสะแมนแตนมากๆครับ อยากดูเวอร์ชันอื่นด้วยครับ
เวอร์ชันในรูป..พิมพ์ปี 1890 จัดว่าเป็นหนังสือเก่าแล้ว ณ ตอนที่คุณตาสะสม
.
แต่ละเวอร์ชัน มีรูปประกอบมากน้อยไม่เท่ากันครับ (รูปที่เป็นลายเส้นแบบจีน)

พลิก ๆ ดูแล้ว  ไม่มีรูปประกอบเลยครับ  ตัวหนังสือล้วน

ส่วน version อื่น  ก็คล้ายกันครับ 

ผมไม่ทราบว่า  ตอนคุณตาซื้อมาแต่ละ version นี่  หน้าปกเป็นอย่างไร  เพราะท่านเอามาจัดทำปกใหม่เป็นปกแข็งแล้วลงสลักที่สันเป็นชื่อของท่าน
นัยว่าน่าจะเป็นที่นิยมสำหรับคนชอบสะสมหนังสือ  เพราะมีอีกหลาย ชื่อ ที่ท่านอามาทำปกแข็งพร้อมสลักชื่อตัวเอง
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 14 ส.ค. 21, 09:48

ในหนังสือประวัติเจ้าพระยายมราช มีรูปบ้านของท่านไหมครับ (บ้านศาลาแดง) กับบรรยากาศถนนสีลมในเวลาโน้น ขอยลหน่อยครับ
.
นอกจากสามก๊กกับผู้ชนะสิบทิศแล้ว น่าจะต้องมี ราชาธิราช ด้วยมังครับ


หนังสือหนามาก  รูปประกอบก็เยอะ  ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมครับ



รูปบ้านศาลาแดงมีรูปเดียว  เห็นกันจนเกร่อ  รูปถ่ายเอียงมาตั้งแต่ต้นฉบับ








ใครพอทราบว่า 2 คนที่นั่งพับเพียบกับหมาคือใครครับ


รูปนี้ท่าแปลกตาดี  ถ่ายยากมากเพราะอยู่ประมาณกลางเล่ม


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 14 ส.ค. 21, 14:18

เสียดายจัง ปกหนังสือถูกเปลี่ยนไปแล้ว
.
ลายมือดินสอที่เขียนว่า ป.ไชยวณิชย์ กับ ปกสีเลือดหมู คงเป็นคำสั่งจัดทำสินะครับ
.
ส.เสือใส่หางอย่างกับ ษ แปลกนะครับ // สมัย ร.๕ คงมีการเขียนแบบนี้จริงๆ ถึงได้มีตะกั่วเรียงพิมพ์แบบนี้


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 14 ส.ค. 21, 14:38

หนังสือประวัติเจ้าพระยายมราช มีรอยเย็บเล่มเสริมภายหลัง?เพื่อกันสันแตก เลยเปิดยากเลย
.
คนนั่งพับเพียบ..ไม่รู้
รู้แต่หมา..ตัวที่ขนปรกจนไม่เห็นตา เป็นของเจ้าพระยารามราฆพ+คุณประจวบ สุขุม(นามสกุลเดิม)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 15 ส.ค. 21, 07:30

ส.เสือใส่หางอย่างกับ ษ แปลกนะครับ // สมัย ร.๕ คงมีการเขียนแบบนี้จริงๆ ถึงได้มีตะกั่วเรียงพิมพ์แบบนี้

ในฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ ค.ศ. ๑๘๖๗ (พ.ศ. ๒๔๑๐) มีตัวอักษรลักษณะนี้อยู่ ๓ ตำแหน่ง ส่วนในฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ ค.ศ. ๑๘๙๐ (พ.ศ. ๒๔๓๓) เหลืออยู่ตำแหน่งเดียวคือตำแหน่งที่ ๓

อักษร ส ลักษณะนี้น่าจะเกิดจากความผิดพลาดในการจัดตัวอักษรมาพิมพ์ ในการพิมพ์ครั้งที่ ๒ จึงมีการแก้ไข (แม้ไม่ทั้งหมด) ไม่น่าจะมีการเขียนจริง ๆ แบบนี้


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 15 ส.ค. 21, 09:49

ขอบคุณคุณธสาคร กับคุณเพ็ญชมพูครับ

คุณเพ็ญชมพูมีฉบับที่เก่ากว่าด้วย
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 15 ส.ค. 21, 10:09

ค้นไปค้นมาพบหนังสือตำราพรหมชาติ

ปกจัดทำใหม่ตามเคย  รวม 3 เล่ม  แต่รายละเอียดกลับอยู่ในเล่มที่ 3

เป็นผ้าอย่างดีสีแดง  แต่บัดนี้ทรุดโทรมไปตามเวลา  เลยไม่ได้ถ่ายรูปไว้



ขนาดสมัย ร.ศ. 120 ยังพิมพ์ไปแล้วตั้ง 13 ครั้ง  แสดงว่ายุคนั้นฮิตสุด ๆ

ราคา 3 บาท  กับหนังสือหนาประมาณ 1 นิ้ว  ไม่รู้นับว่าแพงรึเปล่า
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 16 ส.ค. 21, 08:57

หนังสืออีกประเภทที่คุณตามีเยอะมากคือ นิตยสาร (รายอะไรก็ไม่รู้)

มีนิตยสารเกี่ยวกับพรรณไม้ชื่อ แดงต้อย สามารถสมัครสมาชิกด้วยการส่งแสตมป์ราคา 6 สตางค์

แล้วยังมีนิตยสารบันเทิง  คนเขียนบทความใช้คำพูดเพราะมาก  ดิฉัน ผม ท่าน คุณ  คำบรรยายใต้รูปดาราจะใช้คำว่า นางสาว/นาย ตามด้วยชื่อดาราทุกครั้ง

แต่นิตสารที่ท่านซื้อไว้เยอะมากชื่อ ไทยเขษม

ท่านซื้อไว้อยู่ 2-3 ปี  ปีแรก ๆ ท่านสั่งทำปกแข็งหุ้ม  เป็นแบบ year book  ปกวัสดุอย่างดีสลักชื่อท่านด้วยสีทองที่สัน

ปีแรกที่ทำคือ 2467  ตอนนั้นท่านเพิ่งอายุ 27 เอง  แสดงว่าท่านเป็นนักอ่านมาตั้งแต่วัยรุ่น  แถมเป็นคนรักษาของด้วย

มีช่วงหนึ่งมีการเปลี่ยนชื่อหัวเป็น ไทยกำสรด  ผมเคยอ่านจากที่ไหนก็ลืมไปแล้วว่าเหตุผลคือเป็นช่วงไว้ทุกข์ ร.6 (ถ้าจำไม่ผิด)

ข้างในมีบทความนานาแบบนิตยสารทั่วไป  รวมถึงรายการทำอาหาร  มีเมนูแปลก ๆ มากมายทุกฉบับ  ถ้าคนทำอาหารเป็นแล้วชอบความแปลกไม่เหมือนใครน่าลองทำตามมาก

มีศัพท์คำหนึ่งที่เมื่ออ่านครั้งแรกงงไปเลยว่ามันคืออะไร  --- น้ำเคยดี

ปล. สำเนานิยายเรื่อง เหล็กน้ำพี้  ที่พี่มนันยาให้ทำ ใช่ทำให้ อ. รึเปล่าครับ  เอามาจากนิตยสารนี้ครับ







บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 16 ส.ค. 21, 09:11

เรื่องความชอบอ่านหนังสือก็ถ่ายทอดมาถึงแม่ด้วย  แต่แม่ชอบอ่านเรื่องแปล







ตอนนั้นยังเด็ก ไม่กล้าค้นสมบัติคุณตา  ผมเห็นแต่นิยายแปลของแม่  ก็เลยเริ่มต้นด้วยการเป็นคนชอบอ่านเรื่องแปลตามแม่
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 16 ส.ค. 21, 09:23

ตรงนี้ขอรำพึง

ผมเป็นคนสุดท้ายของ 'สาย' นี้  แล้วก็บ้าหอบฟางอยู่คนเดียว

ตอนนี้ก็ใกล้ฝั่งเข้ามาทุกที  ถ้าจบสิ้นไป

ของมีคุณค่าดี ๆ ที่สะสมมา (รวมถึงของสะสมของตัวเองด้วย) แม้จะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ก็จะกระจัดกระจาย

อดรู้สึกเสียดายไม่ได้

ผมทำเท่าที่ทำได้คือฝากเรื่องไว้ให้เพื่อนบ้านว่า ให้บริจาคให้พิพิธภัณฑ์ของนายเอนก นาวิกมูล ทั้งหมด
ซึ่งเค้าจะทำตามหรือไม่ก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้แล้ว

ถ้าใครมี idea อื่น ๆ ผมยินดีรับฟังครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 16 ส.ค. 21, 09:35

คุณโหน่งน่าจะติดต่อกับคุณเอนกโดยตรง มากกว่าไปมอบภาระนี้ให้เพื่อนบ้าน    เขาจะสะดวกขนไปให้หรือเปล่าก็ไม่ทราบ
คุณเอนกมี facebook  คุณโหน่งส่งข้อความไปหาได้ค่ะ

https://www.facebook.com/anake.nawigamune
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 16 ส.ค. 21, 10:08

ผมเห็นสมบัติเจ้าคุณตาของอาจารย์โหน่งแล้วประทับใจมากครับ

ผมรักการอ่านเพราะจำความได้ก็เห็นหนังสือเต็มบ้าน
พ่อรับนิตยสาร วารสาร สารพัดมาอ่านเป็นประจำ ผมก้พลอยอ่านไปด้วย
มีตู้หนังสือที่มีหนังสือร่วม ๑๐๐ เล่ม ที่เป็นสมบัติตกทอดมาจากย่า และที่พ่อซื้อเอง
ชุดบุเรงนองของยาขอบที่เป็นตอน ๆ สารคดีของพระองค์เจ้าจุลฯ นวนิยายของดอกไม้สด ว. ณ ประมวญมารค
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง