เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 38022 สมบัติเจ้าคุณตา
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 01 ก.ค. 21, 08:34

"ไอ้หมา" ออกเสียงเหน่อๆ เป็น ไอ้หม่า รึป่าวครับ // อยุธยา กับ สุพรรณ ก็ครือๆกัน
.
ยุคเราก็ดีอยู่อย่าง ที่มีรูปถ่ายให้ดู พอได้รฦกถึง // งานโบราณคดีก็มีความก้าวหน้า สามารถจินตนาการถึงยุคไกลโพ้นได้ // โซเชียลมีเดียล รุ่งเรืองมาก ดูรูปเก่ากันตาแฉะเลย

อยากเห็นหน้าพระมหากษัตริย์ยุคก่อนกล้องกำเนิดที่สุด

น่าเสียดายที่ ร. 3 ยังไม่สามารถตัดใจเรื่องความเชื่อเก่า ๆ 

ไม่งั้นคงได้เห็นรูปท่านบ้าง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 01 ก.ค. 21, 09:19

บทนี้หรือเปล่าคะ

อ้า อดีตที่ล่วงผ่านไป
เคยสนุกสุขใจ
ฤาจักหวนกลับมาเนา
โอ้โอ๋ อดีตดั่งเงา
เลือนลางว่างเปล่า
ล่วงผ่านแล้วลับวับหาย
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 02 ก.ค. 21, 08:18

บทนี้หรือเปล่าคะ

อ้า อดีตที่ล่วงผ่านไป
เคยสนุกสุขใจ
ฤาจักหวนกลับมาเนา
โอ้โอ๋ อดีตดั่งเงา
เลือนลางว่างเปล่า
ล่วงผ่านแล้วลับวับหาย

ใช่แล้วครับ ๆ

เป็นของใครมาจากที่ใดครับ อ.
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 02 ก.ค. 21, 08:28

หมวด ขัน (คำนาม ไม่ใช่คำกริยา) ครับ

ช่วยแจงให้หน่อยซิครับว่าทำด้วยวัสดุอะไรบ้าง

1.


2.


3.


4.


5. ใบนี้มีสภาพแบบนี้ เป็นเพราะอะไรครับ



ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 02 ก.ค. 21, 08:51

บทนี้หรือเปล่าคะ

อ้า อดีตที่ล่วงผ่านไป
เคยสนุกสุขใจ
ฤาจักหวนกลับมาเนา
โอ้โอ๋ อดีตดั่งเงา
เลือนลางว่างเปล่า
ล่วงผ่านแล้วลับวับหาย

ใช่แล้วครับ ๆ
เป็นของใครมาจากที่ใดครับ อ.
มาจากนวนิยายเรื่อง ในฝัน ของโรสลาเรน( หรือทมยันตี)   ค่ะ  แต่ผู้แต่งไม่ใช่คุณทมยันตี  แต่เป็นนักแปลชื่อคุณ "อมราวดี" หรือชื่อจริงว่า ลัดดา ถนัดหัตถกรรม มาจากนวนิยายแปลเรื่องหนึ่งของเธอ  ที่แปลมาจากงานของ Marie Corelli 
ในนวนิยายเรื่องในฝัน  ไม่ได้แจ้งไว้ว่าเป็นบทกวีของใคร  ทำให้คนอ่านจำนวนมากเข้าใจว่าคุณทมยันตีแต่งเอง
อ้อ  ไม่ใช่กลอนนะคะ  เป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์ฉบับ ๑๖  ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 02 ก.ค. 21, 10:09

มาจากนวนิยายเรื่อง ในฝัน ของโรสลาเรน( หรือทมยันตี)   ค่ะ  แต่ผู้แต่งไม่ใช่คุณทมยันตี  แต่เป็นนักแปลชื่อคุณ "อมราวดี" หรือชื่อจริงว่า ลัดดา ถนัดหัตถกรรม มาจากนวนิยายแปลเรื่องหนึ่งของเธอ  ที่แปลมาจากงานของ Marie Corelli  

มาจากเรื่อง Ziska ของ Marie Corelli  หรือชื่อภาษาไทยในเรื่องแปลของอมราวดีว่า พิษสวาท เอ๊ย กงเกวียน หรือเปล่าหนอ
  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 03 ก.ค. 21, 08:48

บทนี้หรือเปล่าคะ

อ้า อดีตที่ล่วงผ่านไป
เคยสนุกสุขใจ
ฤาจักหวนกลับมาเนา
โอ้โอ๋ อดีตดั่งเงา
เลือนลางว่างเปล่า
ล่วงผ่านแล้วลับวับหาย



ใช่แล้วครับ ๆ
เป็นของใครมาจากที่ใดครับ อ.
มาจากนวนิยายเรื่อง ในฝัน ของโรสลาเรน( หรือทมยันตี)   ค่ะ  แต่ผู้แต่งไม่ใช่คุณทมยันตี  แต่เป็นนักแปลชื่อคุณ "อมราวดี" หรือชื่อจริงว่า ลัดดา ถนัดหัตถกรรม มาจากนวนิยายแปลเรื่องหนึ่งของเธอ  ที่แปลมาจากงานของ Marie Corelli 
ในนวนิยายเรื่องในฝัน  ไม่ได้แจ้งไว้ว่าเป็นบทกวีของใคร  ทำให้คนอ่านจำนวนมากเข้าใจว่าคุณทมยันตีแต่งเอง
อ้อ  ไม่ใช่กลอนนะคะ  เป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์ฉบับ ๑๖  ค่ะ


เกิดอาการ งง ครับ อ.

หมายถึงว่า เริ่มแรกเลย เรื่องนี้เป็นเรื่องแปลโดย คุณ อมราวดี

แล้วคุณ ทมยันตี เอามาดัดแปลงเป็นนวนิยายเรื่อง ในฝัน เหรอครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 03 ก.ค. 21, 11:00

ไม่ใช่ค่ะ
ขอเรียบเรียงใหม่

1    "อ้า อดีตที่ล่วงผ่านไป
เคยสนุกสุขใจ
ฤาจักหวนกลับมาเนา
โอ้โอ๋ อดีตดั่งเงา
เลือนลางว่างเปล่า
ล่วงผ่านแล้วลับวับหาย"
คำประพันธ์บทนี้ปรากฏอยู่ในนวนิยายเรื่อง ในฝัน ของโรสลาเรน หรือทมยันตี
2  คำประพันธ์นี้ ผู้แต่งคือ อมราวดี
3  ในเรื่อง ในฝัน  หนังสือไม่ได้ทำเชิงอรรถหรือคำอธิบายไว้ว่า เป็นบทประพันธ์ของใคร  ทำให้คนอ่านเข้าใจว่าเป็นคำประพันธ์ของทมยันตี เอง
4  เนื้อเรื่องในฝัน  ไม่ได้เอามาจากงานของคุณอมราวดี   มีแต่คำประพันธ์บทนี้เท่านั้นที่เป็นของคุณอมราวดี

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 03 ก.ค. 21, 11:02

มาจากนวนิยายเรื่อง ในฝัน ของโรสลาเรน( หรือทมยันตี)   ค่ะ  แต่ผู้แต่งไม่ใช่คุณทมยันตี  แต่เป็นนักแปลชื่อคุณ "อมราวดี" หรือชื่อจริงว่า ลัดดา ถนัดหัตถกรรม มาจากนวนิยายแปลเรื่องหนึ่งของเธอ  ที่แปลมาจากงานของ Marie Corelli  

มาจากเรื่อง Ziska ของ Marie Corelli  หรือชื่อภาษาไทยในเรื่องแปลของอมราวดีว่า พิษสวาท เอ๊ย กงเกวียน หรือเปล่าหนอ
  ยิ้มเท่ห์
ยังไม่ได้ไปค้นหนังสือมาดู  เลยจำไม่ได้ว่าเป็นเรื่องนี้หรือเปล่าค่ะ 
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 04 ก.ค. 21, 09:37

ไม่ใช่ค่ะ
ขอเรียบเรียงใหม่

1    "อ้า อดีตที่ล่วงผ่านไป
เคยสนุกสุขใจ
ฤาจักหวนกลับมาเนา
โอ้โอ๋ อดีตดั่งเงา
เลือนลางว่างเปล่า
ล่วงผ่านแล้วลับวับหาย"
คำประพันธ์บทนี้ปรากฏอยู่ในนวนิยายเรื่อง ในฝัน ของโรสลาเรน หรือทมยันตี
2  คำประพันธ์นี้ ผู้แต่งคือ อมราวดี
3  ในเรื่อง ในฝัน  หนังสือไม่ได้ทำเชิงอรรถหรือคำอธิบายไว้ว่า เป็นบทประพันธ์ของใคร  ทำให้คนอ่านเข้าใจว่าเป็นคำประพันธ์ของทมยันตี เอง
4  เนื้อเรื่องในฝัน  ไม่ได้เอามาจากงานของคุณอมราวดี   มีแต่คำประพันธ์บทนี้เท่านั้นที่เป็นของคุณอมราวดี



โอ... เข้าใจเต็มพิกัดเลยครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 04 ก.ค. 21, 09:54



แม่เพิ่งส่งมาให้

เป็นเหรียญของคุณตา  เมื่อเรียนจบหลักสูตรจาก รร. ราชวิทยาลัย

ซึ่งก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่าหลักสูตรมีถึงชั้นไหน

คุณตาเล่า (ให้แม่ฟัง) ว่าที่ประดับเหรียญนี้อยู่ที่รังดุมเสื้อ หรือปากปกเสื้อ

สัญลักษณ์นี้ไม่ทราบความหมาย  ถาม อากู๋ ก็ไม่มีคำตอบ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 04 ก.ค. 21, 13:29

คุณวีมีตอบไว้ในกระทู้ เครื่องหมายอะไร ว่า

เหรียญนี้มีชื่อเรียกว่า "เหรียญกระดานชนวน"  เป็นเข็มที่ระลึกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างพระราชทานแก่ผู้ที่เรียนจบจากโรงเรียนราชวิทยาลัย  เมื่อครั้งที่โรงเรียนราชวิทยาลัยย้ายจากกระทรวงยุติธรรมมาขึ้นสภากรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙  และพระราชทานต่อเนื่องมาจนถึงปี ๒๔๖๗  ปี ๒๔๖๘ ยังไม่ทันพระราชทานก็พอดีสวรรคตเสียก่อน

เข็มกระดานชนวนนี้มี ๒ แบบ  คือแบบพระราชทานนักเรียน  ด้านหลังสลักชื่อ  เลขประจำตัว  ลำดับที่ที่ออกจากโรงเรียนใน พ.ศ. ที่จบการศึกษา  อีกแบบพระราชทานครู  จะต่างกับที่พระราชทานนักเรียนตรงที่ด้านหน้าตอนบน  มีคำว่า "คุรุ" ด้านหลังสลักชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทาน

เหรียญนี้มีห่วงสำหรับคล้องรังดุมเสื้อเม็ดต้น  ถ้าคอเสื้อประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ก็เลื่อนลงมาประดับรังดุมถัดลงมา


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 05 ก.ค. 21, 08:23

คุณวีมีตอบไว้ในกระทู้ เครื่องหมายอะไร ว่า

เหรียญนี้มีชื่อเรียกว่า "เหรียญกระดานชนวน"  เป็นเข็มที่ระลึกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างพระราชทานแก่ผู้ที่เรียนจบจากโรงเรียนราชวิทยาลัย  เมื่อครั้งที่โรงเรียนราชวิทยาลัยย้ายจากกระทรวงยุติธรรมมาขึ้นสภากรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙  และพระราชทานต่อเนื่องมาจนถึงปี ๒๔๖๗  ปี ๒๔๖๘ ยังไม่ทันพระราชทานก็พอดีสวรรคตเสียก่อน

เข็มกระดานชนวนนี้มี ๒ แบบ  คือแบบพระราชทานนักเรียน  ด้านหลังสลักชื่อ  เลขประจำตัว  ลำดับที่ที่ออกจากโรงเรียนใน พ.ศ. ที่จบการศึกษา  อีกแบบพระราชทานครู  จะต่างกับที่พระราชทานนักเรียนตรงที่ด้านหน้าตอนบน  มีคำว่า "คุรุ" ด้านหลังสลักชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทาน

เหรียญนี้มีห่วงสำหรับคล้องรังดุมเสื้อเม็ดต้น  ถ้าคอเสื้อประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ก็เลื่อนลงมาประดับรังดุมถัดลงมา

ยอดเยี่ยมเลยครับ 

ถามแม่ให้ช่วยดูด้านหลัง  แม่บอกไม่เห็นมีเขียนอะไรกำกับไว้เลย

แต่แม่อายุมากแล้ว (90)  อาจสายตาไม่ดี  ไม่ก็รอยสลักเลือนไปตามกาลเวลา

ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 09 ก.ค. 21, 08:42

เห็นมาตั้งแต่เกิด  ดูเผิน ๆ นึกว่าเหมือนกัน

คุณยายเล่าว่าคุณชวดให้มาตอนคุณตาปลูกบ้าน

พอโตขึ้นระดับนักเรียนได้ไปเดินพิพิธภัณฑ์ก็ได้เห็นวางอยู่ในนั้นด้วย  มีกี่ลำก็จำไม่ได้  แล้วก็ไม่ได้บอกรายละเอียดอะไรเลย  

เป็นต้นว่าเรือลักษณะแบบนี้เรียกว่าอะไร ใช้ในยุคสมัยใด ฯลฯ



แล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่า  ตอนจ่ายเงินซื้อแล้ว  เอากลับบ้านยังไง  ถุงใส่ขนาดใหญ่มีใช้แล้วยัง



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 09 ก.ค. 21, 10:01

ไม่มีความรู้เรื่องเรือไทย รอท่านอื่นนะคะ
ฝีมือทำสวยมากค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง