เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 38236 สมบัติเจ้าคุณตา
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 16:03

ค่อยๆดูรูปไป ผมเพิ่งสังเกตเห็น "ถังเงินใส่ปั้นชา" แพลมมาหน่อยนึง ในรูปใบที่2 (จากอีเมล์..ไม่ได้โพสต์ในเรือนไทย)
"คุณตา" มีความเป็นอังกฤษนะครับ จิบชา-เล่นกีฬา-ชมกล้วยไม้(เรือนไม้ระแนงด้านหลัง)
เครดิตรูป afternoon tea จาก wongnai.com


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 22 มิ.ย. 21, 08:56

ค่อยๆดูรูปไป ผมเพิ่งสังเกตเห็น "ถังเงินใส่ปั้นชา" แพลมมาหน่อยนึง ในรูปใบที่2 (จากอีเมล์..ไม่ได้โพสต์ในเรือนไทย)
"คุณตา" มีความเป็นอังกฤษนะครับ จิบชา-เล่นกีฬา-ชมกล้วยไม้(เรือนไม้ระแนงด้านหลัง)
เครดิตรูป afternoon tea จาก wongnai.com

รีบย้อนกลับไปดู ตาดีจริง ๆ พ่อคุณ  

คุณตาท่าจะคาบลูกคาบดอกไปหน่อยเพราะ ชอบจิบชาจีน  มากกว่าชาอังกฤษ







บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 22 มิ.ย. 21, 09:14

ผมสังเกตรูปคุณตา  แต่ละรูปไม่มีเค้าว่าท่านเคี้ยวหมาก ไม่ว่าจะเป็นตอนเด็กหรือตอนโต  ทั้ง ๆ ที่เป็นยุคของคนเคี้ยวหมาก
ไม่ว่าคนสามัญหรือแม้แต่สมาชิกราชวงศ์ก็เคี้ยวหมาก
เลยจะถามผู้รู้เกี่ยวกับการเคี้ยวหมากครับ

หนุ่มสาวไฮโซสมัยรัชกาลที่ 6  ไม่ค่อยกินหมากกันค่ะ 
คุณตาเกิด 2440  เมื่อเปลี่ยนรัชกาลท่านก็อายุ 13 แล้ว  เติบโตมาแบบทันสมัย ได้เล่าเรียนในรร.อินเตอร์ในสยาม   ท่านก็คงจะยึดธรรมเนียมตะวันตกอยู่บ้างไม่มากก็น้อย   หนึ่งในนั้นคือไม่กินหมาก
แต่คนไทยที่เกิดและโตขึ้นมาในรัชกาลที่ 5   เคยชินกับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมมากกว่า จึงยังกินหมากอยู่แม้ผ่านมาถึงรัชกาลที่ 7 และ 8
ชาวบ้านทั่วไปก็ยังกินหมาก   จึงลำบากกันทั่วหน้าเมื่อจอมพลป.ห้ามกินหมาก ในยุควัธนธัม สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2   

อ่านของ อ. แล้วนึกถึงคุณยาย 

แม่เล่าว่าคุณตาชักกู่ไม่กลับ  เลยจับคลุมถุงชนให้แต่ง ฯ กับคุณยาย  คุณยายเป็นสาวชาวสวน  ละแวกคลองบางแวก  ปลูกพลูจีบพลู (เรียกแบบนี้รึเปล่าครับ) ขาย 

คุณยายกินหมาก  พอเริ่มยุควัธนธัม  คุณยายปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดโดยทิ้งเชี่ยนหมาก  แบบหักดิบ

ผลคือเป็นลม  คุณตาตกใจทำอะไรไม่ถูกเพราะไม่เคยเห็น

ขอบคุณครับ  ชีวิตคุณตาเป็นรูปเป็นร่างชัดขึ้นเรื่อย ๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 22 มิ.ย. 21, 11:18

โบราณเรียก "หิวหมาก" ค่ะ   มีอาการหาวเรอ น้ำหูน้ำตาไหล  หน้ามืด วิงเวียน  ไม่ใช่เป็นลมแบบล้มตึงหมดสติ
เคยอ่านพบว่าหมากมีคุณสมบัติเหมือนยาเสพติดอ่อนๆ เคี้ยวแล้วทำให้สบายใจ  ไม่หงุดหงิด  ส่วนสรรพคุณอื่นๆหมอแผนโบราณเขียนไว้เยอะแยะ

คลุมถุงชนเป็นประเพณีหนึ่งที่ปัจจุบันน่าจะไม่เหลือแล้ว   ในสมัยคุณตา  หนุ่มสาวอาจได้รับอนุญาตให้เห็นหน้ากันได้บ้างก่อนแต่ง  แต่ก็เป็นการเห็นชนิดมีญาติพี่น้องทั้งโขยงเป็นสักขีพยานอยู่ด้วย  แต่บางคนก็ไปเห็นกันเอาวันแต่ง เมื่อรดน้ำสังข์เลย
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 22 มิ.ย. 21, 11:37

ขอสอบถามหน่อยค่ะว่าประเพณีคลุมถุงชนส่วนใหญ่จะนิยมทำกันในหมู่คนมีฐานะ อยู่ในตระกูลสูงหรือเปล่าคะ คนธรรมดาชาวบ้านทั่วไปนิยมทำกันไหม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 22 มิ.ย. 21, 13:59

ท้องถิ่นบางแห่งก็ยอมให้หนุ่มสาวพบปะ ทำความรู้จักกันได้ค่ะ    จำได้ว่าทางเหนือมีประเพณีนี้  ทางอีสานไม่ทราบ
ส่วนคลุมถุงชน มีในสังคมที่เข้มงวดกับผู้หญิง  ไม่ให้ออกนอกบ้านไปมีสังคมของตัวเองได้ง่ายๆ  ส่วนใหญ่ก็เป็นคนมีฐานะ  และชนชั้นสูงอย่างที่ถามมาละค่ะ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 22 มิ.ย. 21, 15:43

จากการอ่านสารานุกรมวัฒนธรรมไทยสี่ภาค(ฉบับไทยพาณิชย์) ตอนนั้นอ่านเรื่องกบฎผีบุญ แล้วก็อ่านเลยเถิดไปคำดัชนีอื่น
>> ทางอีสานค่อนข้างจะปล่อยอิสระ ส่วนทางภาคกลางจะเข้มงวดกว่า , หนุ่มสาวอีสานสามารถพบปะ ไปไหนมาไหนได้ , บางครั้งเกินเลยถึงขั้นผิดผี ก็ไม่ถือเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย <<
อย่างไรก็ตาม ยุคสมัยย่อมมีผลมากต่อพฤติกรรมคนในสังคม , ผมไม่ทราบว่าบทความในสารานุกรมนั่น อ้างถึงยุคสมัยใด
.
แต่อ่านแล้วก็พอเห็นเค้าว่าจริง เพราะตอนผมบวชอยู่ที่หมู่บ้านกันดารแห่งหนึ่ง ในจ.อุดรธานี พ.ศ.2537 พิธีแต่งงานช่างเรียบง่าย
ครั้งหนึ่งผม(เป็นพระ)ผูกข้อมือให้เจ้าบ่าว อายุน่าจะไม่ถึง17 แต่งตัวตามสบายเหมือนอยู่บ้าน เจ้าสาวก็แต่งตัวแบบเดียวกัน ผมเผ้าหน้าตาไร้การแต่งเติมใดๆ
อีกครั้งหนึ่ง เดินรับบิณฑบาต มีคู่บ่าวสาวออกมาใส่บาตร ค่อยแต่งตัวเสียหน่อยตามแบบไทยประเพณี แต่ก็เป็นไปอย่างเรียบง่าย ไม่มีการสวดมนต์ให้พรใดๆ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 22 มิ.ย. 21, 16:42

รูปกล่องโลหะพิวเตอร์ swatow คือ ซัวเถา
.
คุณ nathanielnong ถ่ายภายใต้แสงเหลือง ทำให้ผมเข้าใจเนื้อวัสดุผิดไป // ถ้าไม่ได้เห็นคำว่า pewter จะไม่รู้เลยว่าเป็นพิวเตอร์
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 22 มิ.ย. 21, 19:42

ขอบพระคุณสำหรับความรู้เรื่องการคลุมถุงชนค่ะ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 23 มิ.ย. 21, 09:27

จากการอ่านสารานุกรมวัฒนธรรมไทยสี่ภาค(ฉบับไทยพาณิชย์) ตอนนั้นอ่านเรื่องกบฎผีบุญ แล้วก็อ่านเลยเถิดไปคำดัชนีอื่น

อีกครั้งหนึ่ง เดินรับบิณฑบาต มีคู่บ่าวสาวออกมาใส่บาตร ค่อยแต่งตัวเสียหน่อยตามแบบไทยประเพณี แต่ก็เป็นไปอย่างเรียบง่าย ไม่มีการสวดมนต์ให้พรใดๆ


แต่ละครั้งที่ 'สังเกต'  ผมพบว่าทุกครั้งหลังจากตักบาตรเสร็จ  'ทุกคน' จะทรุดตัวลงนั่งยอง ๆ พร้อมกับพนมมือ  ในใจจะเริ่ม 'ขอ'  และต้องขอให้เสร็จสิ้นก่อนที่พระจะสิ้นสุดการสวด ฯลฯ  ถ้าทำทันจะอิ่มใจ  แต่ถ้าเสร็จไม่ทันจะเสียใจ/ผิดหวัง
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 23 มิ.ย. 21, 09:34

ท้องถิ่นบางแห่งก็ยอมให้หนุ่มสาวพบปะ ทำความรู้จักกันได้ค่ะ    จำได้ว่าทางเหนือมีประเพณีนี้  ทางอีสานไม่ทราบ
ส่วนคลุมถุงชน มีในสังคมที่เข้มงวดกับผู้หญิง  ไม่ให้ออกนอกบ้านไปมีสังคมของตัวเองได้ง่ายๆ  ส่วนใหญ่ก็เป็นคนมีฐานะ  และชนชั้นสูงอย่างที่ถามมาละค่ะ

ตรงตามคู่คุณตาคุณยายเลยครับ  คุณยายเล่าให้แม่ฟังว่า  ไม่เคยเห็นคุณตาจนกระทั่งวันแต่ง (หรือวันหมั้นก็จำไม่ได้) 

วันที่มาดูตัวคุณชวดมากับแม่สื่อ  บุกเข้าไปในสวน  คุณยายกำลังจีบพลูอยู่

คุณชวดบอกกับแม่คุณยาย (เอ... มีศัพท์เรียกมั้ยครับ  หรือเรียกชวดทั้ง 2 ฝั่ง) ว่า 'คนนี้กำราบลูกชายฉันได้'

ปรากฏว่า คุณชวดดูคนเก่งครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 23 มิ.ย. 21, 09:37

มาสังเกตได้ว่า  ในหนังสือรางวัล  เขียนแค่ชื่อคุณตา  ไม่มีนามสกุล  มีตัวทัณฑฆาต ที่ 'ติ' ด้วย

ค้นดูพบว่า พระราชบัญญัตินามสกุลมีผลใช้เมื่อ 1 ก.ค. 2456

ทำไมทิ้งช่วงนานจัง  ถ้าเผอิญมี 3 ประวัติ  จะแยกด้วยวิธีไหนนะครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 23 มิ.ย. 21, 10:25

แม่ของคุณตา เรียก "คุณยายชวด"  แม่ของคุณยาย ก็ "คุณยายชวด" เหมือนกันค่ะ

คนยุคคุณตาคุณยายไม่อยากให้หนุ่มสาวรู้จักกันเอง  เพราะเกรงว่าจะเกิดชิงสุกก่อนห่าม อีกอย่าง คือหนุ่มสาวยังสายตาคับแคบ  ไม่กว้างไกลเท่าผู้ใหญ่   อาจจะไปลงเอยกับคนที่ไม่เหมาะสมกัน   
เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ซึ่งรอบคอบกว่า สายตากว้างไกลกว่า รู้จักโลกมากกว่า เลือกคู่ให้ลูกหลานย่อมเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง
นอกจากนี้  ยังถูกต้องตามคติทางพุทธศาสนา ว่าด้วยทิศทั้ง ๖   คือทิศเบื้องหน้า

หน้าที่ของทิศเบื้องหน้า อันได้แก่พ่อแม่  คือ
1. เลี้ยงดูให้เติบใหญ่
2. อบรมสั่งสอนไม่ให้ประพฤติชั่ว
3. อบรมสั่งสอนให้กระทำแต่ความดี
4. อบรมให้ความรู้ ให้ปัญญา
5. อุปการะทรัพย์สิน เงินทอง
6. ส่งเสียให้สำเร็จการศึกษา
7. หาคู่ครองอันเหมาะสมให้

คติอีกอย่างในสมัยคุณทวดคุณโหน่งลงมาถึงสมัยคุณตา คือการแต่งงานเป็นจ๊อบระยะยาวตลอดชีวิต เข้าไปแล้วออกไม่ได้  ถ้าออกก็เป็นเรื่องใหญ่มาก 
ดังนั้นผู้ใหญ่จึงเลือกเขยสะใภ้ที่ดูแล้วว่าจะอยู่กันได้ตลอดไป   ไม่ได้เลือกว่ารักกันมากตลอดไป   
คุณตาเป็นหนุ่มไฮโซ สมาคมนอกบ้าน น่าจะรู้จักสาวๆแยะ   ภรรยาควรเป็นผู้หญิงเก่ง เด็ดขาด ทำให้สามีเกรงใจได้    ถ้าจะมีนางเล็กๆก็ต้องรู้จักคุมเอาไว้อยู่  ครอบครัวจึงจะไปได้ด้วยดีค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 23 มิ.ย. 21, 10:29

มาสังเกตได้ว่า  ในหนังสือรางวัล  เขียนแค่ชื่อคุณตา  ไม่มีนามสกุล  มีตัวทัณฑฆาต ที่ 'ติ' ด้วย

ค้นดูพบว่า พระราชบัญญัตินามสกุลมีผลใช้เมื่อ 1 ก.ค. 2456

ทำไมทิ้งช่วงนานจัง  ถ้าเผอิญมี 3 ประวัติ  จะแยกด้วยวิธีไหนนะครับ


ในยุคก่อนมีนามสกุล   เด็กนักเรียนชื่อไทยง่ายๆ ซ้ำกันมาก  สมมุติว่าในห้องเรียนคุณตามีนายประวัติ 3 คน  ไม่มีนามสกุล  ครูเขาจะแยกด้วยการต่อด้วยชื่อพ่อ ค่ะ เพราะยังไงก็คงไม่มีชื่อพ่อซ้ำกันอีก
เช่นนายประวัติคนที่ 1   พ่อชื่อ แดง   ก็เป็น ประวัติแดง
นายประวัติคนที่ 2   พ่อชื่อเพิม   ก็เป็น ประวัติเพิ่ม
นายประวัติคนที่ 3   พ่อชื่อ เริ่ม  ก็เป็นประวัติเริ่ม

ครูอบ ไชยวสุ เล่าว่า พ่อท่านชื่อ เชย   พอมีลูกชายคลอดออกมา เลยตั้งชื่อว่า อบ   เพราะเวลาคนเรียก จะเรียก "อบเชย"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 23 มิ.ย. 21, 10:31

ประวัติ์  มีการันต์ช้างบน ต.เต่า หมายถึงว่า การันต์ที่สระ อิ ค่ะ  ไม่ใช่การันต์ที่ ต.เต่า   คือสระอิ ไม่ออกเสียง
ไม่งั้นจะอ่านว่า ประ-หวัด-ติ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง