เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 38029 สมบัติเจ้าคุณตา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 19 มิ.ย. 21, 10:19

ถ้าคุณโหน่งอยากอ่านหนังสือที่คุณตาได้รับเป็นรางวัล  เข้าไปอ่านได้ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ
แล้วจะรู้ว่าภาษาอังกฤษของเด็กไทยชั้นมัธยมปลาย ในอดีต แน่ขนาดไหนเมื่อเทียบกับปัจจุบัน
หนังสือเล่มนี้เป็นวรรณกรรมเยาวชน(อายุ ๑๕-๒๕ ปี) ที่แพร่หลายมากเล่มหนึ่งในอังกฤษ

https://www.gutenberg.org/files/17546/17546-h/17546-h.htm
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 19 มิ.ย. 21, 14:00

การแบ่งชั้นเรียนสมัย ร.๖ ดูประหลาดนะครับ คงรับแนวทางมาจากอังกฤษ ผมลองค้นจากกูเกิล..ปรากฏว่าเป็นเช่นนั้น
ความประหลาดใจจึงถูกส่งต่อไปยังอังกฤษ ผมเลยเดาว่าอังกฤษคงพัฒนาต่อยอดระบบศึกษา ขยายชั้นเรียนมาเรื่อยตลอดระยะเวลาเป็นร้อยๆปี ทำให้สเกลชั้นเรียนดูไม่ค่อย numeric

"คุณตา"เรียนชั้น4 ตอนอายุ18 เมื่อเทียบกับปัจจุบันแล้ว แค่ ม.2 เท่านั้นเอง // อืม...ไม่น่าใช่ ผมยังไม่ได้ค้นข้อมูลโดยละเอียด อาจเข้าใจผิดไปเอง


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 19 มิ.ย. 21, 14:35

ผมชอบเล่นแบดมินตัน จึงสะสมแร็กเกตโบราณ รูปถ่าย+สิ่งพิมพ์เก่า ที่เกี่ยวกับแบดมินตัน โดยซื้อจากเว็บอีเบย์ ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่ของไทย
อันที่ซื้อหาไม่ได้ หรือค้นเจอจากเว็บที่ไม่ใช่เว็บซื้อขาย ผมก็เก็บเป็นไฟล์ดิจิทัลไว้ กะไว้ว่าใช้ตกแต่งสนามแบดมินตันของตนเอง
ทำตู้โชว์เสร็จ ไม้แบดขึ้นโชว์เสร็จ ก็หยุดอยู่แค่นั้นครับ ไม่ได้ทำต่อด้าน"รูปภาพ"ประดับฝาผนัง เพราะการตรวจชำระเอกสารใช้เวลาค้นคว้ามาก ทำไปทำมา..ความกระตือรือร้นลดลงทำให้โครงการหยุดไป
แต่ผมก็ยังสะสมไฟล์ดิจิทัลต่อไปตามโอกาสอำนวย โดยเฉพาะรูปถ่าย"การแบดมินตัน"ในประเทศไทย ซึ่งหาได้ยากหนักหนา
.
ที่ร่ายยาวมานี่ คือผมจะขอ(ขอดื้อๆนี่แหละ)ไฟล์ฟูลไซส์ "ก๊กคุณตากับไม้แบด" มา ณ โอกาสนี้ครับ // ลายแทงครับ >>> tanitj.69แอ็ตจีเมล์.คอม // ขอบคุณครับ


บันทึกการเข้า
kui045
มัจฉานุ
**
ตอบ: 94


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 19 มิ.ย. 21, 16:26

ภาพที่ 2 ใน คห. 134
ถ้าให้ผมเดานะ
ผมเดาว่าน่าเป็นหน้าโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน ถ่ายด้านหน้า ฉากหลังด้านซ้ายมือ เป็นต้นมะขาม กับท้องสนามหลวง
รูปพระพิฆนเศวร ก็พ้องกับกรมศิล พอดี

เดานะครับ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 19 มิ.ย. 21, 17:54

รูปถ่ายของคุณ nathanielnong ถ่ายราวสมัย ร.๗ // โรงละครแห่งชาติ สร้าง2504 เสร็จ2508
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 20 มิ.ย. 21, 09:44

ถ้าคุณโหน่งอยากอ่านหนังสือที่คุณตาได้รับเป็นรางวัล  เข้าไปอ่านได้ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ
แล้วจะรู้ว่าภาษาอังกฤษของเด็กไทยชั้นมัธยมปลาย ในอดีต แน่ขนาดไหนเมื่อเทียบกับปัจจุบัน
หนังสือเล่มนี้เป็นวรรณกรรมเยาวชน(อายุ ๑๕-๒๕ ปี) ที่แพร่หลายมากเล่มหนึ่งในอังกฤษ

https://www.gutenberg.org/files/17546/17546-h/17546-h.htm

ขอบคุณครับ อ.

โหน่งว่า  การที่ภาษาอังกฤษของเด็กไทยสมัยก่อนแน่มากน่าจะเป็นเพราะยุคนั้น  ต้องเป็นฝรั่งเท่านั้นถึงจะสื่อสารภาษาอังกฤษได้  ครูสอนภาษาอังกฤษจึงเป็นครูฝรั่งที่เป็นต้นกำเนิดภาษา (อเมริกัน อังกฤษ) ไม่มีครูจากสิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ อินเดีย ฯลฯ เหมือนสมัยนี้นะครับ

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 20 มิ.ย. 21, 09:46

การแบ่งชั้นเรียนสมัย ร.๖ ดูประหลาดนะครับ คงรับแนวทางมาจากอังกฤษ ผมลองค้นจากกูเกิล..ปรากฏว่าเป็นเช่นนั้น
ความประหลาดใจจึงถูกส่งต่อไปยังอังกฤษ ผมเลยเดาว่าอังกฤษคงพัฒนาต่อยอดระบบศึกษา ขยายชั้นเรียนมาเรื่อยตลอดระยะเวลาเป็นร้อยๆปี ทำให้สเกลชั้นเรียนดูไม่ค่อย numeric

"คุณตา"เรียนชั้น4 ตอนอายุ18 เมื่อเทียบกับปัจจุบันแล้ว แค่ ม.2 เท่านั้นเอง // อืม...ไม่น่าใช่ ผมยังไม่ได้ค้นข้อมูลโดยละเอียด อาจเข้าใจผิดไปเอง

แนวการค้นคว้า 'amazing' เช่นเคย

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 20 มิ.ย. 21, 09:51

ผมชอบเล่นแบดมินตัน จึงสะสมแร็กเกตโบราณ รูปถ่าย+สิ่งพิมพ์เก่า ที่เกี่ยวกับแบดมินตัน โดยซื้อจากเว็บอีเบย์ ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่ของไทย
อันที่ซื้อหาไม่ได้ หรือค้นเจอจากเว็บที่ไม่ใช่เว็บซื้อขาย ผมก็เก็บเป็นไฟล์ดิจิทัลไว้ กะไว้ว่าใช้ตกแต่งสนามแบดมินตันของตนเอง
ทำตู้โชว์เสร็จ ไม้แบดขึ้นโชว์เสร็จ ก็หยุดอยู่แค่นั้นครับ ไม่ได้ทำต่อด้าน"รูปภาพ"ประดับฝาผนัง เพราะการตรวจชำระเอกสารใช้เวลาค้นคว้ามาก ทำไปทำมา..ความกระตือรือร้นลดลงทำให้โครงการหยุดไป
แต่ผมก็ยังสะสมไฟล์ดิจิทัลต่อไปตามโอกาสอำนวย โดยเฉพาะรูปถ่าย"การแบดมินตัน"ในประเทศไทย ซึ่งหาได้ยากหนักหนา
.
ที่ร่ายยาวมานี่ คือผมจะขอ(ขอดื้อๆนี่แหละ)ไฟล์ฟูลไซส์ "ก๊กคุณตากับไม้แบด" มา ณ โอกาสนี้ครับ // ลายแทงครับ >>> tanitj.69แอ็ตจีเมล์.คอม // ขอบคุณครับ


ด้วยความยินดีครับ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 20 มิ.ย. 21, 13:06

ผมได้รับทักทางอีเมล์ 9.53น. (2นาทีหลังจากโพสต์บนเรือนไทย)
ขอบพระคุณมากครับ


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 08:39

ผมได้รับทักทางอีเมล์ 9.53น. (2นาทีหลังจากโพสต์บนเรือนไทย)
ขอบพระคุณมากครับ

อ้าววววว... (ทำเสียงสูง) มาโผล่อยู่ที่นี่เองพ่อหนุ่ม

ไอ้เราก็ไปคอยอยู่ที่โน่น  กำลังสงสัยว่าหรือเราจะ จ่าหน้าผิด

รอกะเดี๋ยวนะ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 08:54

ผมได้รับทักทางอีเมล์ 9.53น. (2นาทีหลังจากโพสต์บนเรือนไทย)
ขอบพระคุณมากครับ

อ้าววววว... (ทำเสียงสูง) มาโผล่อยู่ที่นี่เองพ่อหนุ่ม

ไอ้เราก็ไปคอยอยู่ที่โน่น  กำลังสงสัยว่าหรือเราจะ จ่าหน้าผิด

รอกะเดี๋ยวนะ

ส่งไปแล้ว...

เออ... ขอถามหน่อย  สมัยปลายยุค 60s ที่กรุงเทพฯ เค้าใช้ไม้แบดยี่ห้ออะไรบ้างครับ

เท่าที่จำได้มี Wilson กับ Dunlop  รู้สึกจะมีอีกแต่นึกไม่ออก  ที่บ้านก็เล่นเป็นประจำ (พี่ ๆ เล่น ผมเก็บลูก)

ตอนเด็ก ๆ จำได้ว่ามีนักแบดฯ 2 คนที่ดังมาก (คงได้ยินมาจากกีฬา Asian Games)

Liem Swie King ชาว อินโดฯ กับ Prakash Padukone ชาวอินเดีย
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 09:31

ผมสังเกตรูปคุณตา  แต่ละรูปไม่มีเค้าว่าท่านเคี้ยวหมาก ไม่ว่าจะเป็นตอนเด็กหรือตอนโต  ทั้ง ๆ ที่เป็นยุคของคนเคี้ยวหมาก

ไม่ว่าคนสามัญหรือแม้แต่สมาชิกราชวงศ์ก็เคี้ยวหมาก

เลยจะถามผู้รู้เกี่ยวกับการเคี้ยวหมากครับ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 14:44

ปลายยุค 60s ในไทยมีอีกยี่ห้อคือ Slazenger // ในยุคเดียวกันมีอีกยี่ห้อ ที่ใช้มากในอเมริกาคือ Spalding แต่คนไทยไม่รู้จัก
คนไทยที่จะใช้ Wilson , Dunlop , Slazenger นี่ต้องชอบเล่นแบดเป็นประจำแล้วครับ และตีในคอร์ตด้วย // ถ้าเด็กๆ หรือชาวบ้านๆ ตีเล่นในซอยหน้าบ้าน นี่ได้จับแค่ยี่ห้อจับฉ่ายเท่านั้น
มีอีกยี่ห้อ "มงคลประดิษฐ์" คนไทยทำเอง คุณภาพดีเทียบเท่าแบรนด์ดัง // พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ ก็โปรดใช้  "มงคลประดิษฐ์" ครับ // ยี่ห้อนี้เลิกผลิตไปราว40ปีแล้ว
.
ปรากาช ปราดูโคน ถือว่าดังในระดับโลกก็จริง แต่ผลงานยังสู้ไม่ได้ เมื่อเทียบ เลียม ซวี คิง(อินโด) กับ หันเจี้ยน(จีนแดง) คู่นี้เข้าชิงชนะเลิศกันบ่อยในหลายๆทัวร์นาเมนต์
.
รูปประกอบ จากวารสารปี1936 พ.ศ.2479 // คาดว่าใกล้เคียงกับ "รูปถ่ายคุณตา" ครับ


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 14:47

ผมได้รับไฟล์รูปเรียบร้อย ขอบคุณอีกครั้งครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 15:17

ผมสังเกตรูปคุณตา  แต่ละรูปไม่มีเค้าว่าท่านเคี้ยวหมาก ไม่ว่าจะเป็นตอนเด็กหรือตอนโต  ทั้ง ๆ ที่เป็นยุคของคนเคี้ยวหมาก
ไม่ว่าคนสามัญหรือแม้แต่สมาชิกราชวงศ์ก็เคี้ยวหมาก
เลยจะถามผู้รู้เกี่ยวกับการเคี้ยวหมากครับ

หนุ่มสาวไฮโซสมัยรัชกาลที่ 6  ไม่ค่อยกินหมากกันค่ะ 
คุณตาเกิด 2440  เมื่อเปลี่ยนรัชกาลท่านก็อายุ 13 แล้ว  เติบโตมาแบบทันสมัย ได้เล่าเรียนในรร.อินเตอร์ในสยาม   ท่านก็คงจะยึดธรรมเนียมตะวันตกอยู่บ้างไม่มากก็น้อย   หนึ่งในนั้นคือไม่กินหมาก
แต่คนไทยที่เกิดและโตขึ้นมาในรัชกาลที่ 5   เคยชินกับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมมากกว่า จึงยังกินหมากอยู่แม้ผ่านมาถึงรัชกาลที่ 7 และ 8
ชาวบ้านทั่วไปก็ยังกินหมาก   จึงลำบากกันทั่วหน้าเมื่อจอมพลป.ห้ามกินหมาก ในยุควัธนธัม สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.098 วินาที กับ 20 คำสั่ง