เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 38323 สมบัติเจ้าคุณตา
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 14 มิ.ย. 21, 11:19

ไม้บรรทัดแบบพับได้ ผมเคยเห็นของคุณลุงซึ่งประกอบอาชีพตัดเสื้อ และผมเป็นคนเอาไปเล่นจนพังเอง แฮ่ๆ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 14 มิ.ย. 21, 12:58


ภาพหมู่  ที่หน้าสะพานพุทธฯ
ถ่ายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 14 มิ.ย. 21, 13:39

ดูจากวิธีแต่งกาย น่าจะประมาณ 2480 ค่ะ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 14 มิ.ย. 21, 17:50



รูปน่าสนใจครับ พระคเณศ(ทางซ้าย) กับ หนู?(ทางขวา) // ผมไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน เกี่ยวกับรูปสลักคู่นี้เลยครับ // สามารถโพสต์รูปใหญ่กว่านี้ได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 15 มิ.ย. 21, 08:54


รูปน่าสนใจครับ พระคเณศ(ทางซ้าย) กับ หนู?(ทางขวา) // ผมไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน เกี่ยวกับรูปสลักคู่นี้เลยครับ // สามารถโพสต์รูปใหญ่กว่านี้ได้ไหมครับ
[/quote]

เก่งจังที่ดูออก  ถ้าไม่บอกก็ไม่รู้  ดูเหมือนเป็นงานหยาบ ๆ  มีป้ายบอกด้วยแต่ไม่สามารถแกะได้  แต่อีกฝั่งซิ  

ใหญ่ขนาดนี้ได้มั้ยครับ  รูปต้นฉบับมันไม่ชัดเป็นทุนอยู่แล้วครับ

บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 15 มิ.ย. 21, 12:55

แนวการพิจารณา
1)บุคคลสวมเครื่องแบบธ.ออมสิน คงถ่ายในกรุงเทพ ในช่วงระหว่างวัน (ถ้าคุณตาไม่เคยถูกส่งไปสาขาต่างจังหวัด)
2)สถานที่ไม่ใช่วัด (ผมคิดเองว่า สมัยนู้นคงไม่ตั้งเทวรูปฮินดูในวัดเหมือนสมัยนี้)
3)ลักษณะการตั้งเทวรูป เหมือนเป็นสถานที่จำเพาะองค์ แถมสัตว์พาหนะให้ด้วย คือไม่ใช่เทวรูปเก่าที่ขาดความสนใจ หรือสักแต่ว่ายกไปประดับสถานที่ราชการ
.
ผมนึกถึงโบสถ์พราหมณ์ ที่เสาชิงช้า
4)ศิราภรณ์..ได้
5)กำไลต้นแขน..ได้
6)ความโหนกนูน..ได้
7)งวงตวัดมารับกับแขนซ้าย(ดูจากรอยหัก) ส่วนองค์ปัจจุบันคงถูกซ่อมแล้ว
8)ขนาดองค์(ไซส์)ไม่แน่ใจ เพราะรูปถ่ายใหม่ไม่มีคนยืนเทียบ
.
ฉากหลังพระคเณศดูเหมือนเป็นแค่แผงกั้น ไม่ใช่ผนังอาคารเพราะไม่มีประตู
ฉากหลังพาหนะหนู เป็นปูนกระดำกระด่าง


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 15 มิ.ย. 21, 22:04


ฉากหลังกำแพงมีใบเสมา
น่าจะเป็นพิพิทธภัณฑ์สักแห่ง
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 16 มิ.ย. 21, 09:19

แนวการพิจารณา
1)บุคคลสวมเครื่องแบบธ.ออมสิน คงถ่ายในกรุงเทพ ในช่วงระหว่างวัน (ถ้าคุณตาไม่เคยถูกส่งไปสาขาต่างจังหวัด)
2)สถานที่ไม่ใช่วัด (ผมคิดเองว่า สมัยนู้นคงไม่ตั้งเทวรูปฮินดูในวัดเหมือนสมัยนี้)
3)ลักษณะการตั้งเทวรูป เหมือนเป็นสถานที่จำเพาะองค์ แถมสัตว์พาหนะให้ด้วย คือไม่ใช่เทวรูปเก่าที่ขาดความสนใจ หรือสักแต่ว่ายกไปประดับสถานที่ราชการ
.
ผมนึกถึงโบสถ์พราหมณ์ ที่เสาชิงช้า
4)ศิราภรณ์..ได้
5)กำไลต้นแขน..ได้
6)ความโหนกนูน..ได้
7)งวงตวัดมารับกับแขนซ้าย(ดูจากรอยหัก) ส่วนองค์ปัจจุบันคงถูกซ่อมแล้ว
8)ขนาดองค์(ไซส์)ไม่แน่ใจ เพราะรูปถ่ายใหม่ไม่มีคนยืนเทียบ
.
ฉากหลังพระคเณศดูเหมือนเป็นแค่แผงกั้น ไม่ใช่ผนังอาคารเพราะไม่มีประตู
ฉากหลังพาหนะหนู เป็นปูนกระดำกระด่าง

คำตอบที่แท้จริงเป็นอย่างไร  ช่างก่อน

จุดทึ่งอยู่ที่วิเคราะห์ได้เก่งสุดขีดครับ  ขอขอบคุณและคารวะ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 16 มิ.ย. 21, 10:27

เห็นด้วยกับคุณคนโคราช น่าจะเป็นพระคเณศ ประติมากรรมหินทรายอายุ ๑,๐๐๐+ ปี ตั้งแสดงอยู่หน้าพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่ง


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 18 มิ.ย. 21, 09:21

คุณตาเรียนเก่งไม่หยอก

แต่สงสัยว่า  ชั้น 4 ในหนังสือเทียบกับปัจจุบันน่าจะเป็นชั้นอะไรครับ (คุณตาเกิด 2440)

ตอนผมอายุ 18 ผมอยู่ 'มอ' ปี 1 แล้ว

อีกเรื่องที่สงสัย  รางวัลวิชาคำนวณคือ 'หนังสือนิยายภาษาอังกฤษ'??








ชื่อ อาจารย์ใหญ่ แกะอยู่ 1 เพลินถึงได้คำตอบว่าคือ Alfred Trice Martin

ไปถามอากู๋ว่าคือใคร  อากู๋ตอบว่า

Mr. Alfred Trice Martin, who died on the evening of December 16, 1926 at Blagdon, Somerset, whither he had been moved from Clifton in failing health some months ago, was the last head master of Bath College.

The sixth son of Mr. Samuel Martin, he was born in 1855. He went to Magdalen Hall, now Hertford College, Oxford, in 1872, but soon migrated to Worcester College, where he had been selected as an exhibitioner. he was in the second class in classical moderations in 1874, and in the third class in Lit. Hum. in 1876. Soon after the beginning of the present century he succeeded the late Canon Yorke Fausset as head master of Bath College. The school, founded in 1878 by Mr. T. W. Dunn (who still survives), came to an end in 1909, in spite of Martin's admirable and spirited endeavours to prolong its success. He subsequently went to Siam as educational adviser, but the climate took its toll of a man no longer in his first youth. Returning to Clifton, where (like Dunn) he had formerly been a master, he undertook some measure of his former activities, and had in the past few years taken a vigorous and successful part in the Bath College War Memorial scheme.
 
A brave man and an inspiring teacher, he will be long remembered both at Bath and Clifton for his warm-hearted loyalties, his wide humanity, and his single-mindedness. His published works include a history of Bath for schools and an edition of Malory. He was a keen antiquary and did good work in the excavation of Caerwent. He leaves a widow, a daughter, and three sons, the eldest of whom is Commissioner of Lands in Kenya.
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 18 มิ.ย. 21, 10:01

ข้อมูลจาก โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมัยบางขวาง (พ.ศ. ๒๔๕๔-๒๔๖๘)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงยุติธรรมได้สร้างโรงเรียนกฎหมายแห่งใหม่ที่ตำบลบางขวาง นนทบุรี แต่ยังขาดครูและนักเรียนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤษดากร เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมจึงขอพระราชทานโรงเรียนราชวิทยาลัย ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงธรรมการให้โอนมาอยู่ในการปกครองของกระทรวงยุติธรรม โดยมีข้อกำหนดว่านักเรียนต้องเรียนภาษาลาตินและวิชากฎหมาย

โรงเรียนราชวิทยาลัยสมัยบางขวาง เปิดเรียนวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ครูใหญ่คนที่ ๒ เป็นชาวอังกฤษชื่อ มิสเตอร์เอไตร มาร์ติน สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสริมสร้างให้โรงเรียนราชวิทยาลัยเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง เป็นโรงเรียนเดียวในสยามที่ได้รับเกียรติให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในยุโรปได้โดยไม่ต้องสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนโรงเรียนราชวิทยาลัยมาขึ้นกับสภากรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงและทรงรับไว้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 18 มิ.ย. 21, 10:36


คุณตาของคุณโหน่ง มีพี่ชายชื่ออะไรครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 18 มิ.ย. 21, 21:12

สงสัยว่า  ชั้น 4 ในหนังสือเทียบกับปัจจุบันน่าจะเป็นชั้นอะไรครับ (คุณตาเกิด 2440)

ชั้น ๔ คือ มัธยม ๔ นั่นแล

วิธีจะจัดการโรงเรียนนั้น ให้แบ่งแยกเป็นบ้านเฉพาะบ้านหนึ่ง ๆ ซึ่งในบ้านหนึ่ง มีครูกำกับบ้านคนหนึ่ง ให้มีนักเรียนทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นต่ำสุดถึงชั้นสูงสุด ครูกำกับบ้านจะเป็นผู้รับผิดชอบ ในการปกครองบ้านที่ตนประจำอยู่นั้น ขึ้นตรงต่ออาจารย์ใหญ่ การฝึกหัดอัธยาศัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ส่วนหนึ่งเพื่อให้นักเรียนมีความรู้สึกเชื่อมั่นในทางที่ชอบที่ควร ปราศจากความเย่อหยิ่ง มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน และ ชาติบ้านเมือง การเล่น และการฝึกหัดกำลังกาย ก็ให้ถือเป็นส่วนสำคัญในการเล่าเรียนด้วยเสมอ

เมื่อโอนมาอยู่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม มีชั้นประถม ๑ ถึงประถม ๓ และมีชั้นประถมพิเศษ ทำนองเตรียมมัธยมอีก ๑ ชั้น มัธยมมีชั้น ๑ ถึงชั้นมัธยม ๕ แล้วขึ้นชั้นรีมูฟ (remove เทียบชั้น ๖) ชั้น ๖ ต่ำ (Lower Sixth เทียบชั้น ๗) และชั้น ๖ สูง (Upper Sixth เทียบชั้น ๘)

จาก http://pirun.ku.ac.th/~b521100013/index2.html
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 19 มิ.ย. 21, 09:24

สงสัยว่า  ชั้น 4 ในหนังสือเทียบกับปัจจุบันน่าจะเป็นชั้นอะไรครับ (คุณตาเกิด 2440)

ชั้น ๔ คือ มัธยม ๔ นั่นแล

วิธีจะจัดการโรงเรียนนั้น ให้แบ่งแยกเป็นบ้านเฉพาะบ้านหนึ่ง ๆ ซึ่งในบ้านหนึ่ง มีครูกำกับบ้านคนหนึ่ง ให้มีนักเรียนทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นต่ำสุดถึงชั้นสูงสุด ครูกำกับบ้านจะเป็นผู้รับผิดชอบ ในการปกครองบ้านที่ตนประจำอยู่นั้น ขึ้นตรงต่ออาจารย์ใหญ่ การฝึกหัดอัธยาศัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ส่วนหนึ่งเพื่อให้นักเรียนมีความรู้สึกเชื่อมั่นในทางที่ชอบที่ควร ปราศจากความเย่อหยิ่ง มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน และ ชาติบ้านเมือง การเล่น และการฝึกหัดกำลังกาย ก็ให้ถือเป็นส่วนสำคัญในการเล่าเรียนด้วยเสมอ

เมื่อโอนมาอยู่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม มีชั้นประถม ๑ ถึงประถม ๓ และมีชั้นประถมพิเศษ ทำนองเตรียมมัธยมอีก ๑ ชั้น มัธยมมีชั้น ๑ ถึงชั้นมัธยม ๕ แล้วขึ้นชั้นรีมูฟ (remove เทียบชั้น ๖) ชั้น ๖ ต่ำ (Lower Sixth เทียบชั้น ๗) และชั้น ๖ สูง (Upper Sixth เทียบชั้น ๘)


จาก http://pirun.ku.ac.th/~b521100013/index2.html

ว่าวววว.... ขอบคุณเป็นอย่างมากครับ  ความรู้สามารถเก็บเกี่ยวได้ไม่มีหมด 

สมัยนั้นคงยังไม่บัญญัติเกณฑ์อายุในการเข้าโรงเรียนนะครับ  เพราะคุณตาอายุตั้ง 18 แล้วยังเรียนอยู่แค่ ม.4 

เข้าใจแล้วว่าทำไม  ความสัมพันธ์ระหว่างคุณตากับเพื่อน ๆ ถึงได้เหนียวแน่นมาก  แม้จะออกมาหาเลี้ยงชีวิตกันแล้วก็ตาม  รร. หล่อหลอมมานี่เอง

ก๊กคุณตา...



สถานที่ 'hang out' คือ สโมสรสราญรมย์





บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 19 มิ.ย. 21, 09:28


คุณตาของคุณโหน่ง มีพี่ชายชื่ออะไรครับ


ไม่ถามนามสกุลก่อนเหรอครับ

คุณตาเป็นคนโตครับ  แต่มีน้องคนสุดท้องเป็นผู้ชายชื่อ สมัย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ประมุข

ทายาท 2 สายนี้ขาดการติดต่อตั้งแต่คุณตาตายเมื่อปี 2500

เอ... ผมควรจะตื่นเต้นมั้ยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง