เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 38272 สมบัติเจ้าคุณตา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 22 เม.ย. 21, 10:25

ทำไมไม่มียี่ห้อนาฬิกา ?
ขอหมายเหตุว่าสันนิษฐานล้วนๆ   ไม่ต้องเชื่อก็ได้   ว่าเป็นนาฬิกาพกที่สั่งทำ  ตัวเรือนเกลี้ยงๆแบบนี้ช่างทองของไทยน่าจะทำตามออเดอร์ได้ไม่ยาก
เป็นหนึ่งในของพระราชทานส่วนพระองค์ที่สั่งทำจำนวนมาก ไม่ใช่ชิ้นเดียว    
เพื่อเป็นของที่ระลึกพระราชทานแก่ข้าราชบริพารในโอกาสพิเศษต่างๆ   เช่นในวันเกิด
แล้วพอพระราชทานใคร   ช่างก็ได้รับคำสั่งจากในวังให้สลักชื่อและข้อความลงไป สำหรับแต่ละคนไม่ซ้ำกัน

เมื่อดูจากอายุของผู้ได้รับพระราชทานนาฬิกาพกเรือนนี้   ถ้าเป็นข้าราชบริพาร ก็ถือว่าอยู่ในระดับชั้นผู้น้อย
แต่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษ  น่าจะเป็นมหาดเล็กที่ถวายงานใกล้ชิด  
หรือไม่ อีกกลุ่มหนึ่งที่ดิฉันนึกขึ้นมาได้คือพวกฝึกหัดโขนละครหลวง ที่เป็นชายล้วนๆ อายุประมาณนี้   กลุ่มนี้มีมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ ก็ตรงกับปีพ.ศ. ที่จารึก
คนที่รำเป็นตัวเอกๆ อาจได้พระมหากรุณาธิคุณ รับพระราชทานของในวันเกิดก็เป็นได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 22 เม.ย. 21, 10:27

ถ่ายรูประยะใกล้          ด้วยการใช้โหมดมาโคร
และแล้วส่งมาโชว์        อาจจะสืบคืบหน้าพลัน

โหมดมาโครคืออะไรก็ไม่รู้
ไม่เคยดูไม่เคยเห็นเป็นไฉน
เมื่อคุณเพ็ญรู้จักชักช้าไย
ถ่ายรูปให้เรือนไทยเห็นเป็นขวัญตา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 22 เม.ย. 21, 10:55

เพื่อเสริมเติมความรู้      ลองมาดูกันเถิดหนา
มาโครโหมดที่ว่า         เป็นไฉนได้ทราบกัน


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 22 เม.ย. 21, 13:52

- จำนวนตอบกระทู้ของคุณ nathanielnong ยังเป็น 0 อยู่ , เรียนท่านเจ้าเรือน . . ระบบเรือนไทยขัดข้องหรือไม่ครับ

ขอบคุณในความเป็นห่วงครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 22 เม.ย. 21, 14:04

ยี่ห้อนาฬิกา         อะไรหนาขอทราบที
อีกชื่อเจ้าของนี้      หากขยายอาจได้ความ


เผอิญถ่ายไว้เป็นขนาดใหญ่  ไม่ทราบพอเห็นมั้ยครับ

บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 00:13

เหลือแค่ ไม้ม้วน, หางวรรณยุกต์โผล่มาหน่อยนึง, สระอุ
ช่างลบได้เกลี้ยงเกลา ทั้งๆที่ดูจากรอยสลักที่ยังเหลือ ก็มีความ"ลึก"นะครับ // นี่ถึงขนาดฝนเนื้อโลหะทิ้ง? แล้วขีดฆ่าซ้ำอีก
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 08:25

เหลือแค่ ไม้ม้วน, หางวรรณยุกต์โผล่มาหน่อยนึง, สระอุ
ช่างลบได้เกลี้ยงเกลา ทั้งๆที่ดูจากรอยสลักที่ยังเหลือ ก็มีความ"ลึก"นะครับ // นี่ถึงขนาดฝนเนื้อโลหะทิ้ง? แล้วขีดฆ่าซ้ำอีก

เหมือนหนังสยองขวัญ  ประเภทคำสาป  เกิดอะไรขึ้นกับนาฬากาเรือนนี้นะ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 08:46

ปริศนาลำดับต่อไปครับ

กลับมาที่ปั้นชาใบที่ 3  หน้าตาอย่างนี้

ผมเคยเอาไปถามแม่ว่า  ทำไมมันหน้าตาแบบนี้  แม่บอกว่าไม่เคยสนใจ

ผมก็เลยตัดพ้อว่า  แม่น่าจะซักไซร้เกร็ดกับคุณตาบ้าง  คุณตาอยู่ใน 'แวดวง' ที่ในยุคนั้นคนธรรมดา ๆ เข้าถึงได้ยาก  จะได้มีอะไรสนุก ๆ มาเล่าให้ลูกหลานฟัง

พอเห็นแม่ทำปากเหมือนจะด่า  ผมก็เลยอุ้มปั้นวิ่งหนี

สรุปแล้ว  ไม่รู้ว่ามันเป็นแบบนี้มาแต่อ้อนแต่ออกหรือว่าเคยมีฝาแต่ฝาหาย/แตก

แต่ที่สังเกตดู  ถ้ามีฝา  ขอบปั้นน่าจะเป็นดินเผาปกติ ๆ ไม่น่ามีวงแหวนทองเหลืองประดับให้ดูเข้าชุดกับแผ่นปิดปากปั้นที่ก็มีขอบทองเหลืองเหมือนกัน

ปั้นใบนี้สีแตกต่างจาก 2 ปั้นแรก  คือออกแดงกว่า  ไม่รู้ว่าร่วมรุ่นกันรึเปล่า  สังเกตหมุดยึดหูเป็นรูปดาวเหมือนกันดิก

เรียนถามนักสืบหัวเห็ดว่า

1. ทำไมปั้นหน้าตาแบบนี้
2. สัญลักษณ์ที่ก้นปั้น  แปลว่าอะไร (ของปั้นแรกเป็นรูปมังกร  ยังเป็นปริศนา)
3. ชามที่รองปั้นเรียกว่า สังคโลก รึเปล่า
4. ตัวหนังสือจีนใต้ชาม  แปลว่าอะไร

รบกวนออกแรงด้วยครับ  ขอบคุณครับ











บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 12:36

- เก็บของเก่งจริงๆ แม้แต่ใยบวบที่รองกันกระแทกก็ยังอยู่พร้อม
- ชามรองปั้นเรียก"ลายคราม"  ถ้าเป็นสังคโลกจะเป็นผลิตภัณฑ์สุโขทัยที่มีสีเขียวจางๆ, สีน้ำตาล, สีนวล
- จารึกใต้ปั้นสีน้ำตาลแดง คิดว่าต้องหมุนภาพ180องศา โดยสังเกตจากอักษร天 ที่อยู่มุมขวาบน มันตีลังกาอยู่
เป็นจารึกภาษาจีนปัจจุบัน แต่ประดิษฐ์ให้ดูโบราณแบบอักษรสมัยราชวงศ์โจว (ราชวงศ์จิว-ภาษาแต้จิ๋ว) ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่มาก่อนราชวงศ์ฉิน คืออ่านยากมากนั่นเอง คนรู้ภาษาจีนแบบพื้นๆจะอ่านไม่ออก
- รูปประกอบ เรียกอักษรจ้วนซู ซึ่งใช้กันในสมัยราชวงศ์โจว // ตัวใหญ่=จ้วนซู  ตัวเล็ก=อักษรปัจจุบัน เอามาเปรียบเทียบกันครับ
- ผมพอรู้เส้นสายลายสือจีนอยู่บ้าง แต่ดูแล้ว รู้สึกทะแม่ง อาจเป็นภาษาไทยที่ประดิษฐ์ให้คล้ายอักษรจีน ซึ่งนี่ยิ่งอ่านยากเข้าไปใหญ่ ผมเคยเห็นมา-โอ้โฮ-ขนาดเฉลยให้ฟังแล้ว ยังอ้าปากค้าง หมุนหัวตะแคงหัวอ่านแล้วอ่านอีก


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 14:34

- เก็บของเก่งจริงๆ แม้แต่ใยบวบที่รองกันกระแทกก็ยังอยู่พร้อม
- ชามรองปั้นเรียก"ลายคราม"  ถ้าเป็นสังคโลกจะเป็นผลิตภัณฑ์สุโขทัยที่มีสีเขียวจางๆ, สีน้ำตาล, สีนวล
- จารึกใต้ปั้นสีน้ำตาลแดง คิดว่าต้องหมุนภาพ180องศา โดยสังเกตจากอักษร天 ที่อยู่มุมขวาบน มันตีลังกาอยู่
เป็นจารึกภาษาจีนปัจจุบัน แต่ประดิษฐ์ให้ดูโบราณแบบอักษรสมัยราชวงศ์โจว (ราชวงศ์จิว-ภาษาแต้จิ๋ว) ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่มาก่อนราชวงศ์ฉิน คืออ่านยากมากนั่นเอง คนรู้ภาษาจีนแบบพื้นๆจะอ่านไม่ออก
- รูปประกอบ เรียกอักษรจ้วนซู ซึ่งใช้กันในสมัยราชวงศ์โจว // ตัวใหญ่=จ้วนซู  ตัวเล็ก=อักษรปัจจุบัน เอามาเปรียบเทียบกันครับ
- ผมพอรู้เส้นสายลายสือจีนอยู่บ้าง แต่ดูแล้ว รู้สึกทะแม่ง อาจเป็นภาษาไทยที่ประดิษฐ์ให้คล้ายอักษรจีน ซึ่งนี่ยิ่งอ่านยากเข้าไปใหญ่ ผมเคยเห็นมา-โอ้โฮ-ขนาดเฉลยให้ฟังแล้ว ยังอ้าปากค้าง หมุนหัวตะแคงหัวอ่านแล้วอ่านอีก

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ  ยอดเยี่ยม

ผมเพิ่งรู้ว่าฝอย ๆ นี่เค้าเรียกว่า ใยบวบ

รูปประกอบ เรียกอักษรจ้วนซู (ข้อ 3) ... คือส่วนไหนครับ  ใต้ปั้น  หรือว่า ใต้ชาม

ต้องรอคำตอบต่อไปว่า ปั้นมีลักษณะนี้มาแต่เดิมรึเปล่า (ไม่มีฝา)
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 17:19

ใต้ปั้น ดูคล้ายอักษรจ้วนซู (แต่ก็พิลึกกึกกือ ลายเส้นของบางตัว ไม่เคยพบในภาษาจีน)
ใต้ชามรอง คืออักษรจีนปกติ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 24 เม.ย. 21, 09:37

ใต้ปั้น ดูคล้ายอักษรจ้วนซู (แต่ก็พิลึกกึกกือ ลายเส้นของบางตัว ไม่เคยพบในภาษาจีน)
ใต้ชามรอง คืออักษรจีนปกติ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 25 เม.ย. 21, 05:58

ปั้นชาใบนี้ยังคงเป็นปริศนาต่อไป

ชิ้นต่อมาครับ

นี่คือ ขวดหมึก



นี่คือ ที่พักปากกา... คาดว่า



แล้วนี่คืออะไรครับ  ใช่หลอดใส่ปากการึเปล่า  แต่มันดูเล็กยังไงไม่ทราบ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 เม.ย. 21, 09:09

สมบัติเยอะจริงๆ ค่ะ   ลูกหลานเก็บรักษาไว้ได้ดีมาก

ปากกาของเจ้าคุณตา เดาว่าเป็นชนิดต้องสูบหมึกเข้าไปในหลอดปากกา   ใช้หมึกหมดหลอดแล้วก็สูบใหม่ จึงต้องมีกระปุกหมึกใส่น้ำหมึก  ขายเป็นชุดวางประกอบบนโต๊ะทำงาน
ส่วนที่เป็นหลอดแก้วเล็กๆยาวๆ เข้าใจว่าสำหรับใส่หมึก เพราะมีฝาปิดแน่นหนา   มีเอาไว้พกติดตัวไปข้างนอก เผื่อหมึกหมดจะได้เติมใส่ปากกาได้   ไม่ได้มีเอาไว้เก็บปากกา
ปากกาที่ใช้กับหมึก มี ๒ ชนิด  คือปากกาหมึกซึม  กับอีกอย่างเรียกว่า ปากกาคอแร้ง 
ปากกาหมึกซึมมีปลอก   ปากกาคอแร้งไม่มีปลอก   บางชนิดหรูหราก็มีขนนกปักปลายไว้เป็นพวงพุ่ม


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 25 เม.ย. 21, 14:47

สมบัติเยอะจริงๆ ค่ะ   ลูกหลานเก็บรักษาไว้ได้ดีมาก

ปากกาของเจ้าคุณตา เดาว่าเป็นชนิดต้องสูบหมึกเข้าไปในหลอดปากกา   ใช้หมึกหมดหลอดแล้วก็สูบใหม่ จึงต้องมีกระปุกหมึกใส่น้ำหมึก  ขายเป็นชุดวางประกอบบนโต๊ะทำงาน
ส่วนที่เป็นหลอดแก้วเล็กๆยาวๆ เข้าใจว่าสำหรับใส่หมึก เพราะมีฝาปิดแน่นหนา   มีเอาไว้พกติดตัวไปข้างนอก เผื่อหมึกหมดจะได้เติมใส่ปากกาได้   ไม่ได้มีเอาไว้เก็บปากกา
ปากกาที่ใช้กับหมึก มี ๒ ชนิด  คือปากกาหมึกซึม  กับอีกอย่างเรียกว่า ปากกาคอแร้ง 
ปากกาหมึกซึมมีปลอก   ปากกาคอแร้งไม่มีปลอก   บางชนิดหรูหราก็มีขนนกปักปลายไว้เป็นพวงพุ่ม


ขอบคุณครับ ความรู้ใหม่

เพิ่งมาสงสัยว่า  ทำไมกระปุกใส่หมึกถึงมีที่ว่างใส่น้ำหมึกน้อยจัง  นอกนั้นเนื้อแก้วล้วน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง