เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 38028 สมบัติเจ้าคุณตา
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


 เมื่อ 17 เม.ย. 21, 14:53

รบกวนถามผู้รู้ถึงรายละเอียดของ ป้านน้ำชา ใบนี้ครับ





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 เม.ย. 21, 16:17

ป้านชาตรามังกร     คาบแก้วร่อนบนเวหา
สมบัติเจ้าคุณตา      ดูทีท่าน่าสนใจ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 เม.ย. 21, 18:44

เคยเห็นป้านชาคล้ายๆแบบนี้ ในร้านของเก่า  แต่ไม่มีความรู้เรื่องนี้ค่ะ
ต้องรอผู้รู้มาตอบ
ึคุณโหน่ง พอจะเล่าอะไรเกี่ยวกับป้านชานี้ได้บ้างไหมคะ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 เม.ย. 21, 09:48

เคยเห็นป้านชาคล้ายๆแบบนี้ ในร้านของเก่า  แต่ไม่มีความรู้เรื่องนี้ค่ะ
ต้องรอผู้รู้มาตอบ
ึคุณโหน่ง พอจะเล่าอะไรเกี่ยวกับป้านชานี้ได้บ้างไหมคะ

เห็นมาตั้งแต่เกิดครับ  ตั้งอยู่บนโต๊ะใหญ่ในห้องกินข้าวบนบ้าน  แรก ๆ หัวยังเตี้ยกว่าโต๊ะ เลยไม่รู้ว่าบนโต๊ะมีอะไรบ้าง  พอสูงจนหัวเลยโต๊ะขึ้นมาก็เห็นป้านนี้มาตลอด  คุณยายเอาไว้ใส่น้ำชา  คนใช้จะทำไว้ให้ทุกเช้า  เคยลองชิมน้ำชาดูปรากฏว่าขมปี๋  ความจริงไม่ขมหรอกครับ  แต่ลิ้นเด็กน่ะ  แต่ก็จำฝังหัวมาจนถึงบัดนี้  คือไม่ชอบกินน้ำชา  

วันดีคืนดีคุณยายก็จะเอาที่ใส่ (เค้าเรียกขันรึเปล่าครับ) มาขัด  ใช้น้ำมะขามเปียก  ขัดเสร็จก็เป็นวาววับ  เอาไปตั้งบนโต๊ะต่อ  

มีถ้วยชา/ถ้วยกาแฟ  วางเกะกะ  สมัยก่อนเห็นดื่นดาด  

ป้านยังมีอีก 3-4 แบบ  รอผู้รู้ไขใบนี้ก่อน



ปล. ความจริงน่าจะเช็ดฝุ่นซะก่อน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 เม.ย. 21, 10:18

เครื่องหมายประดับนี้     อาจบ่งชี้แหล่งที่มา
อยากเห็นเต็มเต็มตา     ช่วยจัดหามาให้ชม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 เม.ย. 21, 10:42

ขอแยกสมบัติในรูปออกเป็น ๒ ชิ้น
ชิ้นแรกคือป้านชา  รูปทรงเป็นกาน้ำชาจีน   ดูตราที่ประทับอยู่บนก้นป้านชา น่าจะผลิตในเมืองจีน ส่งมาขายในสยาม 
ชิ้นที่สองคือภาชนะที่ใส่ป้านชา   ดูรูปร่างแล้วเป็นของไทยแน่นอน   น่าจะเป็นขันที่ทำขึ้นเพื่อโอกาสพิเศษ ไม่ใช่ขันน้ำวางขายทั่วๆไป  สังเกตได้จากตราที่ติดอยู่ มีรูปมงกุฎอยู่ด้านบน   
ขันใบนี้มีนวมสำหรับหุ้มป้านชาเพื่อให้น้ำชาอุ่นอยู่เสมอ  เป็นนวมกำมะหยี่มีเกลียวทองประกอบ   ด้านหนึ่งเว้าสำหรับรองรับพวยกาได้พอเหมาะ
ถ้าเป็นของมีมาพร้อมป้านชาตั้งแต่เดิม  ไม่ใช้ของเย็บใหม่ใส่เข้าไป  ก็ต้องถือว่าเป็นป้านชาชุดพิเศษ เจ้าคุณตาอาจได้รับในโอกาสพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นเป็นของชำร่วยในงานสำคัญอะไรสักอย่าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 18 เม.ย. 21, 10:46

ส่วนถ้วยน้ำชาฝรั่งทั้งหมู่นั้น    น่าจะเป็นของแถมจากสินค้าที่ประทับตราอยู่ค่ะ   ซื้อโอวัลติน ๑ กระป๋องแถมถ้วยกระเบื้องพร้อมจานรอง   
ดูจากหน้าตาแล้วบอกอายุได้ว่าหลายสิบปีแล้ว   ยุคนั้นไม่มีเรซิ่น หรือเมลามิน  เป็นกระเบื้องแท้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 18 เม.ย. 21, 11:19

ปั้นชาน่ารักดีครับ ดูสีจะออกเทาแดง ที่ฝากามีตัวอักษรอะไรบ่งบอกยี่ห้อไหมครับ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 เม.ย. 21, 13:39

ปั้นสาย ขัดเงา สีตับหมู (ตับเป็ด) ประมาณสมัยรัชกาลที่ 5 ตรงกับปลายราชวงศ์ชิง สยามคิดหุ่นปั้นแล้วสั่งทำจากจีน เรียกว่า “ปั้นอย่าง” หรือ “ปั้นอย่างสยาม” ส่วนมากเป็นปั้นขนาด 200-500 มล. ขณะใช้งานนิยมวางบนจานรองปั้น หรือชามรองปั้น
ปั้นสาย=ปั้นที่มีวงโค้งสำหรับหิ้ว (อีกแบบคือ ปั้นหู ที่หูจับติดเป็นเนื้อเดียวกับกา)

สีตับหมู หรือสีตับเป็ด เรียกกันตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า “กัวเซ็ก” หรือจีนกลางว่า “กานเส่อ” (肝色-Gān sè) แปลตรงตัวได้ว่า “สีตับ” เป็นสีโทนน้ำตาลอมม่วง น้ำตาลแดง หรือน้ำตาลเข้ม ได้รับความนิยมในสมัยรัชกาลที่ 2-5 โดยพบข้อมูลจากหนังสือเรื่อง “ปั้นชาและเครื่องถ้วยชาจีน” ของมัตตัญญู ที่กล่าวถึงปั้นชาสีตับหมูที่นิยมในสมัยโบราณว่า “สียิ่งเข้มยิ่งดี” แต่สีดำสนิทนั้นไม่นิยม เพราะไม่ได้เกิดจากสีของดินแท้ๆ
.
ปั้นชาสีตับ หรือ กัวเซ็ก ทำจากดินจื่อซา (紫砂 – zǐshā) ประเภท จื่อหนี (紫泥 - zǐ ní)(ดินม่วง) จากเมืองอี๋ซิง ประเทศจีน เผาด้วยอุณภูมิกว่า 1000 องศาเซลเซียส จากนั้นนำมาขัดผิวให้เงา-ใส่สายหิ้ว-เลี่ยมขอบในสยาม ปั้นดินจื่อหนีมีคุณสมบัติเก็บความร้อนได้ดี มีรูพรุนมากกว่าปั้นสีแดง(จูหนี) จึงทำให้สามารถเก็บกลิ่นชาไว้ในเนื้อปั้นได้มาก จนมีผู้นิยมดื่มชาบางท่านกล่าวว่า ปั้นชาจื่อหนี สามารถชงชาผูเอ่อร์ได้รสชาติกลมกล่อมที่สุด ยิ่งใช้บ่อยยิ่งชงชาได้หอมลึกซึ้งยิ่งนัก ชงชาที่มีรสขมก็กลับกลายเป็นหวาน (หวานอย่างชามิใช่หวานอย่างน้ำตาล)
---------
ดินจื่อซาใช้ทำปั้นชามาตลอดตั้งแต่สมัยหมิงเป็นต้นมา แต่ในยุคหลังมีปั้นที่ทำเลียนแบบรูปทรง แต่ไม่ได้ใช้ดินจื่อซาแท้แบบปั้นอี๋ซิง เนื่องจากช่างฝีมือดีๆและดินจื่อซาคุณภาพดี มีราคาแพง จึงพบเห็นปั้นรูปทรงโบราณ แต่ทำจากดินอื่นที่มีเนื้อสีดำๆ ดินแม่น้ำ ดินกระถาง หรือแม้แต่ดินเคมี
.
การขัดเงา จากการอ่านพบว่ามีหลายวิธี เช่น ขัดด้วยกากเพชร ใบกล้วย น้ำยาชักเงา ฯลฯ ซึ่งผู้ที่สามารถขัดเงานั้นหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน
.
ระโยง https://www.facebook.com/Kenniegallery/posts/1588148794682976


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 18 เม.ย. 21, 14:03

คุณธสาคร  ขอบคุณมาก ๆ ครับ  อ่านไปขนลุกไป

คุณ siamese และ คุณเพ็ญชมพู  ขอเวลาแป๊บครับ  เพิ่งทำงานบ้านเสร็จ  วัน ๆ ไม่ค่อยว่าง
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 18 เม.ย. 21, 15:13

กลับมาแล้วครับพร้อมรูปเพิ่มเติม

ก่อนอื่นต้องบอกว่ารูปดั้งเดิม  ไปเข้าเครื่องปรุงแต่งให้ออกมาสวยงามเกินความเป็นจริง  ความตั้งใจแรกเริ่มคือเอาไว้ทัศนาตามลำพัง

รูปใหม่นี้สภาพดั้งเดิมครับ  โดยเฉพาะตัวขันเงิน  หาความเป็นเงินไม่เจอ  มีแต่ขี้ไคล  แต่ยังพอเห็นเค้าลวดลาย



(คุณ siamese บน/ใต้ฝา  ไม่มีตัวอักษรใด ๆ ครับ)

คุณเพ็ญชมพูครับ  ตัวขันมีลายตัวละคร 4 ด้าน  ก้นเป็นลายแบบในรูป













ขอบคุณที่ให้ข้อมูลครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 19 เม.ย. 21, 12:14

รูปนี้ จาก ebay ระบุว่า เป็น ขันเงินจากไทย ตอกลายนูนแบบดั้งเดิมของพม่า
(ด้านก้นขันมีตัวหนังสือไทย)

เทียบลวดลายแล้ว ของเจ้าคุณตาจขกท. งานละเอียดชัดเจนมากกว่า - อาจจะเป็น ของพม่า หรือ
ของไทยระดับงานฝีมือ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 19 เม.ย. 21, 13:12

หลังจากรู้ว่าไม่ใช่เครื่องหมายมงกุฎ  แต่เป็นชฎา  มองขันเงินแล้วนึกถึงศิลปะเครื่องเงินพม่ายุค ๗๐-๘๐ ปีมาแล้วค่ะ
พวกนี้เป็นที่นิยมกันก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒  เคยเห็นขันเงินใบใหญ่ในร้านของเก่าแถวถนนอัษฎางค์ สิบกว่าปีมาแล้ว ก็คล้ายๆแบบนี้
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 เม.ย. 21, 13:36

หลังจากรู้ว่าไม่ใช่เครื่องหมายมงกุฎ  แต่เป็นชฎา  มองขันเงินแล้วนึกถึงศิลปะเครื่องเงินพม่ายุค ๗๐-๘๐ ปีมาแล้วค่ะ
พวกนี้เป็นที่นิยมกันก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒  เคยเห็นขันเงินใบใหญ่ในร้านของเก่าแถวถนนอัษฎางค์ สิบกว่าปีมาแล้ว ก็คล้ายๆแบบนี้

ขอบคุณมาก ๆ ครับ  ยังติดใจ สัญลักษณ์รูปมังกรใต้ปั้นชา  มันต้องมีความหมายแน่ ๆ  อยากรู้จัง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 19 เม.ย. 21, 13:46

ลวดลายเหมือนพม่า    สองเสียงว่าคล้ายคลึงกัน
สี่องค์ลงรอบขัน         กลางเครือวัลย์พันเรียงราย


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง