เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 38039 สมบัติเจ้าคุณตา
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 27 เม.ย. 21, 09:57

ปั้นสุดท้าย  ใบกระจิ๋วหลิว  ไม่รู้ว่าคุณตาซื้อมาทำไม  แต่จำได้คร่าว ๆ ว่า  มันแพง  คุณธสาคร  อ่านตัวจีนก้นป้านได้มั้ยครับ





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 27 เม.ย. 21, 10:52

เป็นปั้นชาเลี่ยมทองตรา หลี่เต๋อหยวน  李得源 สมัยปลายราชวงศ์ชิง ตัวปั้นชาผลิตจากจีน แต่ส่งมาเลี่ยมโลหะและขายในประเทศไทย

ข้อมูลจาก สมาคมผู้นิยมปั้นชาแห่งประเทศไทย


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 27 เม.ย. 21, 13:35

ปั้นจิ๋วสำหรับชงดื่มคนเดียว (ไม่เปลืองใบชา)
ปกติปั้นใบจิ๋วจะเป็นปั้นหู..ไม่ค่อยเห็นปั้นสายครับ  ที่สายหิ้วฝังพลอย?
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 27 เม.ย. 21, 19:23

ขอบคุณ คุณเพ็ญชมพู และ คุณธสาคร ครับ

ไม่ได้ฝังพลอยครับ  เป็นแบบจุดขาว  เรียกไม่ถูก  นึกถึงจุดขาวที่ด้ามเสียบปากกา Parker  แต่บุ๋มลงไป
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 29 เม.ย. 21, 08:42

นอกจากใช้ดื่มคนเดียวแล้ว สำหรับผู้นิยมชาบางท่าน ท่านจะให้ความสำคัญกับป้านชามาก ป้านใบหนึ่ง จะใช้สำหรับชงชาตัวเดียวเท่านั้น ถ้าตัวนี้ใช้ชงผูเออร์ ก็จะไม่นำไปชงอู่หลง หรือต้าหงผาว เด็ดขาด นัยว่า ไม่ให้กลิ่นและรสของชาที่ซึมอยู่กับเนื้อดินเผานั้นปะปนกัน ทำให้กลิ่นและรสของชาผิดเพื้ยนไปครับ
(ผมก็ไม่รู้ว่ามีคนซีเรียสขนาดนั้นจริงไหม หรืออันนี้เป็นเพราะร้านชาอยากให้ผมซื้อป้านชาหลายๆ ใบก็ไม่รู้ครับ)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 29 เม.ย. 21, 09:30

ปั้นชาจิ๋วแบบนี้นิยมใช้ในการชงชาแบบ 功夫茶 (แต้จิ๋ว-กังฮูเต้) แปลเอาความว่า การชงชาแบบประณีต

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 29 เม.ย. 21, 09:46

ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 29 เม.ย. 21, 09:52

ลูกอีช่างถามมาพร้อมกับคำถามต่อไปครับ

เคยเห็นจานแบบนี้มั้ยครับ  เค้าเรียกว่าอะไร  จานผิวหยาบมาก  ผิวสูงต่ำตามลวดลาย  น่าจะเอาไว้โชว์มากกว่าใส่อาหาร



บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 29 เม.ย. 21, 12:15

จุดสีขาว บุ๋มลงไป บนสายหิ้วป้าน น่าจะเรียกว่า ลงยา
.
@Naris เรื่องการใช้ป้านจำเพาะชาแต่ละชนิด คงจริงครับ // ผมเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับการชงชา เขาละเอียดแม้กระทั่ง น้ำที่ใช้ชงชา ว่าน้ำแหล่งไหนเหมาะกับชาชนิดใด (เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ขึ้นชื่อ)
ตอนไปเที่ยวเมืองจีน มีไฟต์บังคับคือการแวะร้านขายของที่ระลึก ครั้งแรก..ยินดี ไม่เป็นไร // แต่ปีถัดไป ถัดไป ก็ยังสินค้าเดิม จะรู้สึกเบื่อและเสียดายเวลาการท่องเที่ยว
แต่ร้านขายชา ชอบ อยากให้แวะทุกครั้งที่ไปทัวร์ // เขาชงชาได้อร่อยมาก ผมซื้อกลับมาชงเอง ก็ทำรสชาติสู้เขาไม่ได้
ผมเคยซื้อน้ำแร่ 3-4 ยี่ห้อในไทย มาลองชงชา ปรากฏว่าให้รสชาติต่างกันจริงๆครับ
.
@ nathanielnong ลักษณะจานดูครึ่งจีน-ครึ่งเวียดนาม // ลวดลายและสีสันไม่กลมกล่อมตามมาตรฐานของเครื่องเคลือบจีน // ตามคำอธิบายว่า "จานผิวหยาบ ผิวสูงต่ำตามลวดลาย" ก็เป็นลักษณะของเครื่องเคลือบเวียดนาม
(ถือว่าแสดงความเห็นนะครับ ไม่อาจเรียกวิจารณ์ เพราะมีความรู้เพียงน้อยนิด)
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 30 เม.ย. 21, 15:02

จุดสีขาว บุ๋มลงไป บนสายหิ้วป้าน น่าจะเรียกว่า ลงยา


อ้อ... หน้าตาอย่างนี้เอง 
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 30 เม.ย. 21, 17:07

กำไลลงยา สินค้าของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 01 พ.ค. 21, 10:37

กำไลลงยา สินค้าของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 01 พ.ค. 21, 10:39

เคยเห็นมีดแบบนี้มั้ยครับ  ลายสวยดี

ไม่รู้มีดตลาดรึเปล่า  แต่น่าจะมีรายละเอียดเพราะคุณตาเก็บไว้อย่างดีในตู้ล็อคกุญแจ








บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 03 พ.ค. 21, 09:43

ชุดนี้เอาไว้ทำอะไรครับ

นึกถึงชุดเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยว




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 04 พ.ค. 21, 19:40

เครื่องพวงทองเหลืองหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง