เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 38040 สมบัติเจ้าคุณตา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 31 ก.ค. 21, 11:17

เรื่องเพชร จนปัญญา ไม่มีความรู้มากไปกว่าเคยได้ยินมาว่าเพชรรุ่นเก่า การเจียระไนจะไม่ละเอียดเท่าเพชรรุ่นใหม่ เพราะเครื่องมือผิดกัน 
แต่รุ่นเก่าเจียระไนแบบก้นลึกแหลมกว่ารุ่นเก่า  ทำให้น้ำเพชรดูลึกและไวกว่า

แหวนของคุณแม่ ดูในรูป เม็ดใหญ่สวยมาก  เรือนก็เก๋ สวมได้ทั้งผู้ชายผู้หญิง   เรียกว่าสามารถตกทอดมาถึงลูกชายและลูกสาวได้เท่าๆกัน  ไม่ต้องเปลี่ยนเรือน
ถ้าคุณโหน่งได้แหวนวงนี้จากคุณแม่ รักษาไว้ให้ดี 
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 01 ส.ค. 21, 09:17

เรื่องเพชร จนปัญญา ไม่มีความรู้มากไปกว่าเคยได้ยินมาว่าเพชรรุ่นเก่า การเจียระไนจะไม่ละเอียดเท่าเพชรรุ่นใหม่ เพราะเครื่องมือผิดกัน 
แต่รุ่นเก่าเจียระไนแบบก้นลึกแหลมกว่ารุ่นเก่า  ทำให้น้ำเพชรดูลึกและไวกว่า

แหวนของคุณแม่ ดูในรูป เม็ดใหญ่สวยมาก  เรือนก็เก๋ สวมได้ทั้งผู้ชายผู้หญิง   เรียกว่าสามารถตกทอดมาถึงลูกชายและลูกสาวได้เท่าๆกัน  ไม่ต้องเปลี่ยนเรือน
ถ้าคุณโหน่งได้แหวนวงนี้จากคุณแม่ รักษาไว้ให้ดี 

ขอบคุณครับ อ.
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 03 ส.ค. 21, 08:17


เรียน คุณเพ็ญชมพู  สอนวิธีทำหน่อยซิครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 03 ส.ค. 21, 08:22

ถ้าคุณชวดเข้าร้านเพชรพลอยสมัยรัชกาลที่ 6   สมบัติที่ตกทอดมาน่าจะมีล็อกเก็ตเพชรแบบนี้รวมอยู่ด้วย

สงสัยเป็นอย่างที่ อ. คะเนไว้ครับ

ชิ้นนี้ไม่มีที่มา  นอกจาก 'แม่เห็นในกล่องในลิ้นชักโต๊ะคุณตา  ก็เลยขอ'



แม่บอกเป็น โอปอล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 03 ส.ค. 21, 08:47

โอปอล ไม่ใช่พลอยที่นิยมกันสมัยรัชกาลที่ 6   เข็มกลัดชิ้นนี้น่าจะอยู่หลังยุคนั้นค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 03 ส.ค. 21, 08:50

เรียน คุณเพ็ญชมพู  สอนวิธีทำหน่อยซิครับ

วิธีทำแสดงไว้ในภาพนี้ ไม่ยากหนอ  ยิงฟันยิ้ม

โรงเรียนราชวิทยาลัย


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 04 ส.ค. 21, 09:33

ไม่จิงอ้ะ  ยากจะตาย  ฮึ  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 04 ส.ค. 21, 09:41

โอปอล ไม่ใช่พลอยที่นิยมกันสมัยรัชกาลที่ 6   เข็มกลัดชิ้นนี้น่าจะอยู่หลังยุคนั้นค่ะ


ขอบคุณครับ  งั้นคุณตาคงซื้อไว้ตอนทำงานแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 04 ส.ค. 21, 09:53

ใคร่ขอคำอธิบายครับ



แพรแถบกว้าง 3 ซม.

หากคุณโหน่งพลิกดูข้างหลังเหรียญ จะพบคำอธิบาย  

คุณโหน่งพลิกดูข้างหลังเหรียญเพื่อดูคำตอบหรือยังหนอ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 04 ส.ค. 21, 09:59

ใคร่ขอคำอธิบายครับ



แพรแถบกว้าง 3 ซม.

หากคุณโหน่งพลิกดูข้างหลังเหรียญ จะพบคำอธิบาย  

คุณโหน่งพลิกดูข้างหลังเหรียญเพื่อดูคำตอบหรือยังหนอ  ยิงฟันยิ้ม

ต้องขอประทานอภัยอย่างสูง  ยังไม่สามารถทำได้ครับ  เพราะสินค้าอยู่คนละบ้าน  ต้องหาโอกาสตะล่อมคนแก่ (ขี้หงุดหงิด) ให้ปีนบันไดขึ้นไปค้นครับ

ขอเวลาแป๊บ (ใหญ่ ๆ) นะครับ 
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 05 ส.ค. 21, 09:19

ใคร่ขอคำอธิบายครับ



แพรแถบกว้าง 3 ซม.

หากคุณโหน่งพลิกดูข้างหลังเหรียญ จะพบคำอธิบาย  

คุณโหน่งพลิกดูข้างหลังเหรียญเพื่อดูคำตอบหรือยังหนอ  ยิงฟันยิ้ม

มาแย้วครับ

ต้องขอโทษในความล่าช้า  ที่เหรียญบันทึกปีไว้ว่า 2493  แสดงว่าคุณตาได้มาตอนอายุ 50 กว่าแล้ว

ตอนนั้นท่านยังมีความสัมพันธ์กับ รร. อยู่เลย



คุณเพ็ญชมพูมีเกร็ดเล่าให้ฟังมั้ยครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 05 ส.ค. 21, 09:38

เหรียญที่ระลึกแพรแถบบรมราชาภิเษก ๒๔๙๓ เป็นเหรียญแพรแถบที่ระลึกรุ่นแรกในรัชกาลที่ ๙ เป็นเหรียญที่ออกแบบมาดูเรียบ ๆ แต่แฝงไว้ด้วยความหมาย พระราชพิธีตามโบราณราชประเพณี มีขึ้นในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ (วันฉัตรมงคล) เหรียญแพรแถบบรมราชาภิเษกมีครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๖ และมีเรื่อยมา ยกเว้นในสมัยรัชกาลที่ ๘ ที่พระองค์สวรรคตก่อนที่จะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เหรียญรุ่นนี้มีขนาด ๓ เซนติเมตร มี ๓ ชนิด คือ

๑. ทองคำ
๒. เงินกาไหล่ทอง
๓. เงิน

ด้านหน้าเป็น อักษร ภปร ประดิษฐานเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ภายใต้ พระสัปตปฎลเศวตฉัตร ผู้มีสิทธิ์ประดับคือ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการสัญญาบัตร ซึ่งได้รับพระราชทาน ออกแบบโดย ศาสตราจารย์หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ และปั้นแบบโดย ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี

ปัจจุบัน เนื้อทองคำราคาไม่ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนเนื้อเงิน จาก ราว ๆ สองพันบาท ขยับมาเป็นตั้งแต่ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ บาทขึ้นไปตามแต่สภาพ

ข้อมูลจาก siamcoin


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 06 ส.ค. 21, 08:34

เหรียญที่ระลึกแพรแถบบรมราชาภิเษก ๒๔๙๓ เป็นเหรียญแพรแถบที่ระลึกรุ่นแรกในรัชกาลที่ ๙ เป็นเหรียญที่ออกแบบมาดูเรียบ ๆ แต่แฝงไว้ด้วยความหมาย พระราชพิธีตามโบราณราชประเพณี มีขึ้นในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ (วันฉัตรมงคล) เหรียญแพรแถบบรมราชาภิเษกมีครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๖ และมีเรื่อยมา ยกเว้นในสมัยรัชกาลที่ ๘ ที่พระองค์สวรรคตก่อนที่จะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เหรียญรุ่นนี้มีขนาด ๓ เซนติเมตร มี ๓ ชนิด คือ

๑. ทองคำ
๒. เงินกาไหล่ทอง
๓. เงิน

ด้านหน้าเป็น อักษร ภปร ประดิษฐานเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ภายใต้ พระสัปตปฎลเศวตฉัตร ผู้มีสิทธิ์ประดับคือ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการสัญญาบัตร ซึ่งได้รับพระราชทาน ออกแบบโดย ศาสตราจารย์หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ และปั้นแบบโดย ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี

ปัจจุบัน เนื้อทองคำราคาไม่ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนเนื้อเงิน จาก ราว ๆ สองพันบาท ขยับมาเป็นตั้งแต่ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ บาทขึ้นไปตามแต่สภาพ

ข้อมูลจาก siamcoin


โอ... อย่างนี้นี่เอง  ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 12 ส.ค. 21, 09:17

หายไปนาน  มัวแต่ไปตื่นตาตื่นใจกับหนังสือของคุณตา

ท่านเป็นนักอ่านตัวยงเลย  มีทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ

จำได้ราง ๆ ว่าใครคนหนึ่งเคยรำพึงในกระทู้ว่าหนังสือสมัยโบราณ (มาก ๆ) มักมีที่มามาจากงานศพ

จริงด้วยครับ  หนังสือเก่ามาก ๆ ของคุณตาเป็นหนังสือแจกในงานศพทั้งนั้นเลย  ส่วนใหญ่เป็นพงศาวดารตอนโน้นตอนนี้





บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 13 ส.ค. 21, 08:49

ที่น่าประหลาดใจคือ ทำไมคุณตาสะสมหนังสือชื่อเดียวกันแต่หลาย versions (อย่าง สามก๊ก ผู้ชนะสิบทิศ ฯลฯ) ก็ไม่รู้





บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง