เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 3488 ภาษาอเมริกันวันละคำ Hate crime/Hate speech
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 04 เม.ย. 21, 19:56

     ในประเทศไทย  เรามีความรู้ด้าน Hate Crime น้อยมาก อาจเป็นเพราะประเทศไทยไม่มีการกีดกันเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา หรือวัฒนธรรมอย่างเข้มข้นรุนแรง    เราก็เลยรู้สึกว่าคนไทยใจกว้าง จะเป็นคนชาติไหนมาตั้งถิ่นฐานเราก็รับได้หมด   
      แต่ความจริง HC  ไม่จำเป็นต้องหมายถึงอคติทางเชื้อชาติเท่านั้น  การที่ใครคนหนึ่งอยู่ๆก็ทำร้ายใครอีกคนเพราะถือว่าไม่ใช่พวกเดียวกัน  ก็เป็น HC ได้  เช่นในอดีต เราคงเคยอ่านข่าวนักเรียนช่างกลยิงนักเรียนอีกโรงเรียนตาย ทั้งๆไม่รู้จักกัน  เพียงแต่เห็นว่าเป็นคนในรร.คู่อริเท่านั้นก็ยิงตายคารถเมล์  นี่ก็จัดเข้า HC   หรืออาจเคยอ่านข่าววัยรุ่นรุมกันฉุดทอมไปรุมโทรม  เพียงเพราะหมั่นไส้ว่าเป็นหญิงที่ทำตัวเป็นชาย ก็เข้าข่ายเป็น HC 
     ในเมื่อไทยไม่มีกฎหมาย  Head Crime  จึงไม่มีบทลงโทษด้านนี้  แต่ลงโทษเฉพาะการกระทำอย่างอาชญากรรมทั่วไป    เช่นนักเรียนยิงนักเรียนในรร.คู่อริตาย ก็ถือว่าผิดข้อหาฆ่าคนตาย     แต่ถ้าเป็นประเทศที่มีตัวบทกฎหมาย Head Crime  เขาจะบวกข้อหาว่าทำผิด  HC  เข้าไปอีกหนึ่งกระทง    คือเจอโทษหนักกว่าฆ่าคนตายอย่างธรรมดาทั่วไป
     ต่อไปจะอธิบายถึง Hate Speech

 
บันทึกการเข้า
pratab
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 04 เม.ย. 21, 21:27

    อยากทราบว่าทำไมคนชาติต่างๆหลายชาติ ถึงเกลียดหรือไม่ชอบคนยิว ผมไม่เคยติดต่อคบหากับยิวจึงไม่เข้าใจ ขอความกรุณาท่านใดพอเข้าใจเรื่องนี้โปรดให้ความรู้ด้วยครับ

  ขออธิบายคร่าวๆก็แล้วกันนะคะ   ถ้าพูดละเอียดอาจจะกลายเป็นตำราเล่มเบ้อเริ่มเลยก็ได้

   ยิวเป็นที่เกลียดชังของคนหลายชาติ โดยเฉพาะฝรั่ง   มีสาเหตุหลายประการ
   ๑   มาจากความเชื่อทางศาสนา     คริสตศาสนิกชนเชื่อว่า กษัตริย์ยิวตามที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นปรปักษ์ตัวร้ายของพระเยซูคริสต์  คือ Herod ที่สั่งฆ่าทารกทุกคนในช่วงที่พระเยซูประสูติ  เพื่อไม่ให้เติบโตขึ้นมาเป็นผู้นำ  อีกคนคือ  Pontius Pilate ที่ร่วมมือกับพวกโรมันสั่งประหารพระเยซู
   ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันต่อมาว่า ยิวคือกลุ่มคนที่ถูกสาป  ไม่มีดินแดนของตัวเอง ต้องกระจายไปอยู่ตามประเทศต่างๆในยุโรป
   ๒  ยิวเป็นชาติที่มีหัวทางธุรกิจการเงินอย่างสูง     ไปอยู่ในประเทศไหนก็รวยที่นั่น เพราะแหลมคมในการค้าขายยากจะหาใครเทียบ     รวยจนกลายเป็นเจ้าหนี้ของเจ้าของถิ่น   เมื่อเป็นเจ้าหนี้ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ลูกหนี้จะไม่ชอบใจ  
   การที่ยิวคุมเศรษฐกิจของเยอรมนีอยู่หมัด ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ฮิตเลอร์ไม่พอใจ จนเป็นที่มาของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ๋ถึง ๖ ล้านคน
   ๓  จนทุกวันนี้ ยิวก็ยังคุมเศรษฐกิจในโลกตะวันตกอยู่   แต่เป็นอย่างเงียบๆไม่กระโตกกระตาก  มีอำนาจเงินมากพอจะบันดาลทิศทางการเมืองในหลายประเทศได้  
   อาจจะมีเหตุผลอื่นๆด้วย   แต่ขอบอกย่อๆแค่นี้ค่ะ   ใครอยากเสริมก็เชิญนะคะ
      พอเข้าใจแล้วครับ ขอบคุณมากครับคุณเทาชมพู ตอนแรกผมนึกไปถึงเรื่องนิสัยใจคอที่ไม่น่าคบหา(ซึ่งคงไม่ใช่)โดยลืมนึกถึงเรื่องประวัติศาสตร์
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 05 เม.ย. 21, 09:27

ผมสนใจการกำหนดโทษในความผิดลักษณะ HC นี้ครับ ในต่างประเทศที่มีการจำแนกความผิดลักษณะนี้ออกเป็นประเภทหนึ่งต่างหาก มอง HC เป็น เหตุฉกรรจ์ หรือ เหตุบรรเทาโทษ หรือ ไม่ได้มองว่าเป็นอะไรเลย

ขยายความเล็กน้อยครับ ในระบบกฎหมายอาญา จะมีการบัญญัติมาตราที่เป็นความผิดไว้ เช่น
มาตรา ๒๘๘ ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี

แต่ถ้ากระกระทำความผิดในมาตรานั้น มีข้อเท็จจริงบางประการเพิ่มขึ้น ก็อาจส่งผลให้โทษที่จะได้รับหนักขึ้นได้ เช่น
มาตรา ๒๘๙  ผู้ใด
(๑) ฆ่าบุพการี
(๒) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
(๓) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
(๔) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(๕) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
(๖) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
(๗) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้
ต้องระวางโทษประหารชีวิต


และในทางกลับกัน ถ้ากระกระทำความผิดในมาตรานั้น มีข้อเท็จจริงบางประการเพิ่มขึ้น ก็อาจส่งผลให้โทษที่จะได้รับลดลงได้
เช่น มาตรา ๒๙๐  ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๙ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบ


ข้อเท็จจริงบางประการที่ส่งผลให้โทษที่จะได้รับหนักขึ้น เราเรียกว่า เหตุฉกรรจ์
ส่วนข้อเท็จจริงบางประการที่จะส่งผลให้โทษที่จะได้รับลดลง ก็เรียกว่า เหตุบรรเทาโทษ ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 05 เม.ย. 21, 09:33

Hate Speech   ไม่ได้แปลว่าคำพูดที่แสดงความเกลียดชัง    ถ้าคุณตะโกนด่าเพื่อนบ้านที่คุณโกรธเกลียด    ไม่ถือว่าเป็น hate speech  แต่ถ้าคุณแสดงออกด้วยคำพูดในที่สาธารณะ  เพื่อยุยงปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  ด้วยอคติที่คุณมีต่อสถานภาพของเขา เช่นเชื้อชาติ ศาสนา  ตำแหน่งการงาน  เพศสภาพ ฯลฯ เพื่อยั่วยุให้เกิดความรู้สึกรุนแรง จนอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อ    อันนี้เป็น  hate speech
็HS  อาจรวมถึงการแสดงออกอื่นๆด้วย ไม่เฉพาะแต่คำพูดออกจากปาก   เช่นการแสดงสัญลักษณ์  ถือป้าย เขียนข้อความ วาดการ์ตูน  เป็นต้น

ประเทศไทยมีกฎหมายที่ห้าม Hate Speech อยู่มาตราหนึ่งคือกฎหมายหมิ่นประมาท   แต่เน้นเฉพาะปัจเจกบุคคลที่เสียหายจาก HS     แต่ถ้าเป็น HS  ที่เหวี่ยงแหไปในวงกว้าง เช่นแสดงอคติ  ยั่วยุให้เกลียดชังต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  เช่นชนกลุ่มน้อย   คนท้องถิ่น   กลุ่มรักร่วมเพศ   ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองในลักษณะนี้  
  
ความรุนแรงของ  hate speech ไม่ได้อยู่ในตัวของมันเองโดยตรง   ไม่เหมือนการทำร้ายร่างกาย   ดังนั้นในหลายประเทศจึงไม่ถือว่า HS  เป็นอาชญากรรม    แต่ข้อเสียของ HS คือนำไปสู่อาชญากรรม Hate Crime  ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็จะลุกลามมีผลกระทบในวงกว้าง จนกลายเป็นปัญหาระดับประเทศ และอาจนำไปสู่ความแตกแยก หรือเสียความมั่นคงในสังคมโดยตรงได้
ตัวอย่าง HS ที่ก่อผลเสียหายในระดับโลกมาแล้ว คือสุนทรพจน์หลายครั้งของฮิตเลอร์ที่ปลุกใจเยอรมนีให้เกลียดชังยิว  และลุกขึ้นมาต่อสู้ เพื่อความเป็นมหาอำนาจ  จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ ๒   มีคนตายจากสงครามนี้มากกว่า ๖๐ ล้านคน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 05 เม.ย. 21, 09:49

@Naris
ในที่สุด นักกฎหมายอดไม่ได้    เลิกแอบนอกห้อง เข้ามานั่งในชั้นเรียน
ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายโดยตรง   แม้ว่าเคยทำงานด้านนี้มาบ้าง จะให้แจงถึงขั้นมาตราอะไรต่อมิอะไร คงยังไม่ได้
งั้นตอบแบบความเข้าใจส่วนตัวก็แล้วกัน     ถ้าหากว่าผิดก็ขอให้นักกฎหมายที่ผ่านมาเห็นช่วยแก้ให้ถูกด้วยนะคะ

ดิฉันเข้าใจว่า Hate Crime ในอเมริกา เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่จะถูกพ่วงเข้าไปในคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้น   เพราะอ่านจากข่าวที่คุณป้าชาวฟิลิปปินส์ถูกทำร้ายที่ไทมสแควร์   ตำรวจตั้งข้อหาคนร้าย ๒ กระทงคือทำร้ายร่างกาย ๑   และทำร้ายร่างกายด้วย Hate Crime อีก ๑   เป็น ๒ กระทง
แสดงว่า ถ้าคนร้ายรายนี้ทำร้ายคุณป้าด้วยเหตุส่วนตัวอะไรก็ตาม เช่นเขม่นหน้ากันมาก่อน  ก็โดยข้อแรกข้อเดียว   แต่ถ้าทำเพราะอคติที่มีต่อคนเอเชีย  ทั้งๆคุณป้าไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย  ก็โดนพ่วง HC  อีกกระทง
ยังงี้คงไม่ใช่เหตุบรรเทาโทษแน่ๆ       แต่จะเรียกว่าอะไรต้องถามกลับไปที่คุณนริศอีกทีค่ะ   มันคงคล้ายๆคดีขับรถชนท้ายรถคู่กรณีด้วย  แล้วยังลงไปทุบรถเขาจนกระจกแตกด้วย   หนักกว่าชนอย่างเดียว มั้งคะ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 05 เม.ย. 21, 11:02

ขอบพระคุณครับ
ถ้าอย่างนี้ ก็คล้ายๆกับ การด่าคนลงในเครือข่ายโซเชียล ซึ่งอันที่จริงก็ครบองค์ประกอบเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญาในตัวเองอยู่แล้ว แต่ทุกวันนี้ก็ยังมี พรบ. คอมพิวเตอร์ฯ ขึ้นมาสำทับอีกกฎหมายหนึ่ง
 

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 05 เม.ย. 21, 11:37

คิดว่าเป็นอย่างนั้นค่ะ   ขอบคุณที่อธิบายให้เห็นชัด

อเมริกาเป็นประเทศที่ชอบเก็บข้อมูลสถิติ    เพื่อให้รู้คำตอบที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆในสังคมได้   
การแยกอาชญากรรม Hate Crime จากอาชญากรรมทำร้ายร่างกายอย่างธรรมดา   ก็เพื่อดึงปัญหานี้ให้ออกมาชัดเจนได้ว่าแตกต่างจากการทำร้ายโดยทั่วไป   และเก็บสถิติข้อมูลเอาไว้ว่ามีมากน้อยเพียงใดในแต่ละปี 
ไม่งั้นมันก็ปนกันไปหมดระหว่างอาญากรรมธรรมดา และอาชญากรรมเฉพาะอย่าง     จนมองไม่เห็นปัญหาแท้จริงว่ามีมากน้อยเพียงใด
รัฐต่างๆส่วนใหญ่ในอเมริกามีกฎหมายนี้ และเก็บสถิติข้อมูลไว้ด้วย 

ขอให้ดูภาพที่คุณหมอ SILA นำมาให้ดูกันในคห. 6 นะคะ   
รัฐสีน้ำเงินคือรัฐที่มีกฎหมาย Hate Crime Law   และเก็บสถิติข้อมูลไว้ด้วยว่าเกิดมากน้อยเพียงใด 
รัฐสีเทาคือมีกฎหมายนี้ แต่ไม่เก็บสถิติข้อมูล     ใครทำผิดก็โดนข้อหา  แต่ถ้าจะถามว่ามากน้อยเพียงใด  ต้องไปแยกแยะนับกันเอาเอง
ส่วนรัฐสีแดงคือไม่มีกฎหมาย   เมื่อไม่มีก็ไม่มีการเก็บสถิติข้อมูล   ใครจะทำร้ายใครเพราะชังชาติ(หรือเพศสภาพ หรืออะไรที่เข้าข่าย) ก็เจอข้อหาทำร้ายร่างกายธรรมดาๆ



บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 07 เม.ย. 21, 09:28

ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับ HS อยู่บางประการครับ
การพูดในลักษณะเช่นนี้ นับเป็น HS หรือไม่
(1) ภาพยนต์อิงประวัติศาสตร์เชิงปลุกใจให้รักชาติ ที่มีภาพกองทัพของประเทศเพื่อนบ้านบุกเผาทำลายพระนคร ฉุดคร่าสตรี ฆ่าฟันชาวบ้าน ทำให้คนในสังคมมีอคติต่อประเทศเพื่อนบ้าน
(2) การรณรงค์ต่อต้านการทุจริต ที่มีการนำเสนอภาพข้าราชการโกงกิน แม้จะไม่ได้ระบุว่า เป็นข้าราชการกรมใด กระทรวงใด แต่ก็ส่งผลให้ข้าราชการมีภาพลักษณ์ที่เป็นลบ
(3) การหาเสียงเลือกตั้ง ที่มีการพูดในทำนองว่า รัฐบาลของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม ประหารประเทศล้มเหลว ทำให้ประชาชนเสื่อมความนิยมในพรรคการเมืองพรรคนั้นๆ
(4) การนำเสนอข่าวอาชญากรรม ที่มีการระบุคุณลักษณะบางประการของผู้กระทำความผิด เช่น เป็นเด็กแว้น เป็นผู้ขับขี่บิ๊กไบค์ เป็นกลุ่มวัยรุ่น เป็นเกมส์เมอร์ ทำให้สังคมมองผู้มีคุณลักษณะอย่างนั้นไปในทางลบ
(5) การนำเสนอข่าวบันเทิง เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของดารา ไปในทำนองว่า ดาราท่านนี้ มีพฤติกรรมด้านชีวิตคู่ที่เสียหาย เช่น มากรักหลายใจ(เป็นมือที่ 3) ครอบครัวล้มเหลว(เตียงหัก) แม้กระทั่งเรื่องรสนิยมทางเพศ (เป็นเก้งกวาง เป็นไบ หรือมีคนใกล้ชิดเป็น) ทำให้คนในสังคมมองดาราท่านนั้นไปในทางลบ 

และในทางกลับกัน การพูดโต้ตอบบุคคลที่พูดในลักษณะ (1) - (5) นั้น ด้วยอารมณ์เกลียดชัง หรืออย่างที่เรียกว่า "ทัวร์ลง" จะจัดเป็น HS ด้วยหรือไม่
เช่น กรณีพิธีกรชาย ที่ถึงบุคคลที่มีเพศสภาพไม่แน่นอนในรายการทีวีรายการหนึ่ง แล้วถูก "ทัวร์ลง" เป็นต้น   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 07 เม.ย. 21, 14:14

เพิ่งไปเจอ wikipedia ภาษาไทยอธิบายคำว่า Hate Speech ไว้ว่า ประทุษวาจา  จึงขอยกมาให้อ่านเพิ่มเติมค่ะ

ประทุษวาจา (hate speech) คือ ถ้อยคำโจมตีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือรสนิยมทางเพศ เป็นต้น

กฎหมายในบางประเทศระบุว่า ประทุษวาจา หมายถึง ถ้อยคำ ท่วงทีหรือพฤติกรรม ลายลักษณ์อักษร หรือการแสดงออกอย่างใด ๆ ซึ่งต้องห้าม เพราะอาจยั่วยุให้เกิดความรุนแรง การต่อต้าน หรือการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่กฎหมายคุ้มครองไว้ในบางประเทศ ผู้เสียหายจากประทุษวาจาสามารถร้องขอการเยียวยาตามกฎหมายได้

ในประเทศไทย ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติคำว่า "ประทุษวาจา" ขึ้นเมื่อต้น พ.ศ. 2557 และเคยมีแนวคิดจะบรรจุบทบัญญัติเกี่ยวกับประทุษวาจาไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 แต่ถูกตัดออกในชั้นพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 07 เม.ย. 21, 14:28

ก่อนตอบคำถามของคุณ Naris  ขอยกความเห็นขององค์กรสำคัญต่างๆมาให้อ่านตามนี้
(แต่ในเมื่อนำมาจากวิกิพีเดีย  ก็ไม่ค่อยแน่ใจเรื่องความถูกต้อง  ฝากท่านผู้รู้ช่วยตรวจสอบอีกทีนะคะ)

เว็บไซต์ที่ใช้ประทุษวาจานั้นเรียก "เฮตไซต์" (hate site) ส่วนใหญ่มีลานประชาคมอินเทอร์เน็ต (internet forum) และย่อข่าวซึ่งนำเสนอแนวคิดบางแนวโดยเฉพาะ นอกจากนี้ ยังมีการถกเถียงกันว่า บนโลกอินเทอร์เน็ตควรมีเสรีภาพในการพูดด้วยหรือไม่
การประชุมอภิปรายข้อถกเถียงดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees) อย่างต่อเนื่อง

อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination) ข้อ 4 ประณามและให้รัฐภาคีตรากฎหมายลงโทษ "ความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเหนือกว่าทางเชื้อชาติ หรือความเกลียดชังอันเกิดจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ การช่วยกระตุ้นให้เกิดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และการกระทำรุนแรงหรือกระตุ้นให้เกิดการกระทำรุนแรงนั้นต่อชนเชื้อชาติหนึ่งเชื้อชาติใด หรือกลุ่มบุคคลที่มีสีผิวอื่นหรือเผ่าพันธุ์กำเนิดอื่น ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินต่อกิจกรรมชาตินิยม"
ขณะที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ข้อ 20 ว่า "การสนับสนุนให้เกิดความเกลียดชังในชาติ เผ่าพันธุ์ หรือศาสนา ซึ่งยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเป็นปฏิปักษ์ หรือการใช้ความรุนแรง เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย"
อย่างไรก็ดี วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ไมเคิล โอฟลาเฮอร์ตี (Michael O'Flaherty) พร้อมด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Committee) ออกอรรถกถาสามัญ (general comment) ฉบับที่ 34 ว่า ประทุษวาจาไม่เข้าข่ายรุนแรงถึงขนาดต้องห้ามตามข้อ 20 ดังกล่าว


ทีนี้  มาพิจารณาจากคำถามของคุณนริศ    ดิฉันเห็นว่าในเมื่อยังไม่มีกฎหมายไทยออกมาชี้เฉพาะในเรื่องนี้   เราก็คงจะต้องตอบแบบคาดเดากันเป็นหลัก   ว่าอะไรก็ตามที่เป็น hate speech  คงจะต้องดูที่จุดมุ่งหมาย ว่าผู้กระทำตั้งใจจะให้เกิดความเกลียดชัง ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย เป้าหมายที่เขาเอ่ยถึงหรือเปล่า   ถ้าใช่ ก็เป็น HS 
ส่วนภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อปลุกใจให้รักชาติ  คงจะหลีกเลี่ยงได้ยากถึงเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ  เช่นชาติอื่นรุกรานเข้ามาทำสงคราม    เพราะถ้าจะกล่าวถึงประเทศชาติว่าอยู่เย็นเป็นสุข  ประชาชนสบายดีกันตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง   ก็ไม่รู้จะปลุกใจกันในเรื่องอะไร   
กรณีทำหนังหรือละครต่อต้านทุจริตก็เหมือนกัน    ถ้าต่อต้านก็แปลว่าต้องมีผู้ทุจริต    ถ้าจะสร้างตัวละครให้สุจริตกันทุกตัว ก็จะกลายเป็นละครเสริมสร้างสุจริต   ไม่ใช่ละครต่อต้านทุจริต     
ดิฉันจึงเห็นว่า ทั้ง ๒ ประเด็นนี้ไม่เข้าข่าย HS
ส่วนข้ออื่น   ดิฉันว่าเข้าข่าย HS  ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 เม.ย. 21, 16:03

อ้างถึง
การพูดโต้ตอบบุคคลที่พูดในลักษณะ (1) - (5) นั้น ด้วยอารมณ์เกลียดชัง หรืออย่างที่เรียกว่า "ทัวร์ลง" จะจัดเป็น HS ด้วยหรือไม่
เช่น กรณีพิธีกรชาย ที่ถึงบุคคลที่มีเพศสภาพไม่แน่นอนในรายการทีวีรายการหนึ่ง แล้วถูก "ทัวร์ลง" เป็นต้น  

HS  ไม่เน้นที่ส่วนตัวบุคคล   คือไม่ใช่ว่า นาย ก. เป็นคนพูดหรือทำอะไรให้เกิดความเกลียดชัง จนถูกทัวร์ลง    อย่างนั้นน่าจะเข้าข่ายการทะเลาะวิวาทกันมากกว่า
แต่ HS  เกิดจากอคติในสถานภาพของบุคคลเป้าหมาย   เช่นผู้โจมตีมีอคติต่อใครก็ตามที่เป็นเจ้าของบิ๊กไบค์        เชื่อว่าคนขี่บิ๊กไบค์ต้องเป็นคนโลดโผนโจนทะยาน  ขับขี่รถไม่ระวัง  ชอบฝ่ากฎจราจร   ดังนั้นถ้าได้ข่าวว่าคนขี่บิ๊กไบค์ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต  แม้ไม่รู้จักกัน ไม่รู้รายละเอียด  ก็เขียนข้อความได้ทันทีว่า "สมน้ำหน้า ขี่บิ๊กไบค์ก็สมควรตาย"  ทั้งๆในความเป็นจริง เจ้าของบิ๊กไบค์อาจขี่ด้วยความระมัดระวัง ทำตามกฎจราจร  แต่เป็นฝ่ายถูกรถยนต์ซึ่งขับผิดกฎจราจรชนจนเสียชีวิตก็ได้

ในกรณีพิธีกร   หากว่ากล่าวร้ายด้วยอคติต่อบุคคลที่มีเพศสภาพไม่แน่นอน ด้วยความเกลียดชัง หมั่นไส้  คนประเภทนี้  เลยเห็นพวกเขาทำอะไรก็ประณามว่าเลวร้ายเอาไว้ก่อน   ไม่ใช่เพราะไม่ชอบหน้ากันเป็นส่วนตัว   ก็เข้าข่าย HS ค่ะ
็ประเทศที่ถือว่า HS  เป็นสิ่งไม่สมควร ถึงขั้นเข้าข่ายผิดกฎหมายได้   มีเหตุผลคือมุ่งคุ้มครองบุคคลกลุ่มน้อยที่มีลักษณะบางอย่างผิดแผกไปจากคนกลุ่มใหญ่ในประเทศ    ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดการกดขี่ข่มเหงรังแกโดยพวกเขามิได้เป็นผู้กระทำผิด    
HS  ในตัวของมันเองไม่ใช่การทำร้ายร่างกาย   บางประเทศจึงไม่เห็นว่า HS  ก่อความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน    (ส่วนเสียหายทางใจ หรือรำคาญหู  กฎหมายไม่นับ) ก็เลยไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรม   แต่ความสำคัญของ HS  คือมันนำไปสู่ Hate Crime  ซึ่งมีผลเสียในวงกว้างกว่าคดีอาญาประทุษร้ายบุคคลต่อบุคคลโดยทั่วไป

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Hate Speech ได้ที่นี่ค่ะ
https://hilight.kapook.com/view/98194
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 08 เม.ย. 21, 10:29

ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

บ้านเรามีความแปลกบางอย่างครับ การตีความกฎหมายก็เช่นกัน ในการทำงานผมเจอรูปแบบการตีความแบบลากให้เข้าทางของตนเองอยู่บ่อยครั้ง จนกลายเป็นแนวคิดว่า หากจะกำหนดกฎหมายขึ้นมาสักเรื่อง นอกจากการคิดแบบธรรมดาแล้ว ต้องพยายามคิดให้แหวกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในทุกทาง เพื่อดูว่า เคสหลุดโลกเหล่านั้น จะกลายเป็นช่องว่างของกฎหมายได้หรือไม่ เพื่อหาทางอุดช่องว่างเหล่านั้นให้หมด

พอได้มีโอกาสสนทนาเรื่องนี้ ก็เลยลองคิดในมุมต่างๆ อย่างว่าดูบ้างหนะครับ

นี่ มาวันนี้ เจออีกแล้ว Covid Cluster จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ
ประชาชนในเน็ต เริ่มออกมาด่าทอ "ชนชั้นอิลีท" "นายทุน" "ดารา" "นักการเมือง" และ "รัฐบาล" ในประเด็นว่า ทีประชาชนหละพูดจังว่า การ์ดอย่าตกๆ แต่พวก... เหล่านั้น กลับไปเที่ยวกันเริงร่า สรรหา Covid สายพันธุ์ใหม่มาระบาดในประเทศ รัฐบาลงี้เงียบกริ๊บ ไม่เห็นต่อว่าพวกขะนั้นเลย ในความเป็นจริง รัฐบาลก็บังคับใช้มาตรการกับทุกกลุ่มเหมือนกันนั่นแหละครับ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า สมมุติว่า วันนี้ เรามีกฎหมาย HS แล้ว แต่การขีดเส้นว่า อะไรคือ HS ยังไม่ชัดเจน ก็เป็นไปได้ที่จะมี "ชนชั้นอีลีท" ไปยื่นฟ้องว่า คำพูดพวกนี้ ทำให้สังคมมองคนอย่างพวกเขา (ดารา นักเที่ยว คนทำงานกลางคืน) ในทางที่ไม่ดี แล้วให้ศาลดำเนินคดีกับคนโพสต์ กรรมเดียวผิด 3 ข้อหาเลย หมิ่นประมาท, พ.ร.บ. คอมฯ, และ HS

อีกสัปดาห์ต่อมา เราจะได้เห็นภาพ แม่ค้าตลาดสด หรือสาวโรงงาน คนหนึ่งถูกจับขึ้นศาล เธอสารภาพว่า "โพสต์จริง เพราะเจ็บใจที่พวกนี้ทำให้เกิดเรื่องจน เธอไม่สามารถกลับบ้านไปหาแม่ในช่วงสงกรานต์ได้" ศาลลงโทษฐาน HS เพราะเป็นการกระทำความผิด "กรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท" ลงโทษบทหนักสุด คือความผิดฐาน HS (อันนี้แหละครับ ที่ตอนแรกผมสนใจว่า HS เป็น เหตุฉกรรจ์ หรือ เหตุบรรเทา โทษแรงกว่าปกติ หรือเบากว่าปกติ หรือเท่ากัน) ภาพแบบนี้เป็นภาพที่สังคมไทยต้องการหรือเปล่า มันแทบจะเป็นคนละมุมกับการเหยียดคนเอเซียในอเมริกาเลยนะครับ

เพราะงั้น ถ้าจะบัญญัติกฎหมาย ทำอย่างไรถึงจะให้กำเนิดเครื่องมือที่ดี ที่จะระงับยับยั้ง HS ได้ โดยไม่ให้เกิดเรื่องพวกนี้ขึ้นหนะครับ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 08 เม.ย. 21, 11:02

ตอนที่ทำงานพิจารณาร่างกฎหมาย  นอกจากพบเรื่องการตีความที่หลากหลายแล้ว  ยังพบด้วยว่ากฎหมายแต่ละชนิดก็ยังไม่ตรงกันเสียอีก    ยกตัวอย่างง่ายๆเรื่องอายุของเยาวชน  ถ้ากระทำผิด ก็กำหนดอายุแบบหนึ่ง  ถ้าเกี่ยวกับอาชีพ  ก็กำหนดอายุอีกแบบหนึ่ง   
ส่วนความพยายามจะอุดช่องโหว่ของกฎหมายแต่ละข้อ  ก็เช่นกันค่ะ   เพราะถึงผู้ร่างจะพยายามอุดช่องโหว่ยังไงก็ตาม  ก็ยังมีโอกาสให้ตีความได้หลากหลาย  อาจจะด้วยเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก  คือถ้าแน่นนักจนกระดิกกระเดี้ยไม่ได้  คนเป็นจำเลยก็อาจมีจำนวนมากขึ้น

เรื่อง  Hate speech   ที่คุณนริศยกมา  น่าเสียดายที่ร่างกฎหมายเรื่องนี้ตกไป เลยไม่ได้เห็นว่าร่างกันแบบไหนเลยไม่ผ่าน  แต่พิจารณาจากตัวอย่างที่ยกมา    ดิฉันเห็นว่าไม่เข้าข่าย Hate Speech  แต่จะไปเข้าข่ายหมิ่นประมาทหรือเปล่าต้องดูประเด็นและผลที่คาดคะเนได้ว่าจะตามมา
 
กลุ่มอีลีทไปเที่ยวสถานที่แพงๆอย่างสถานบันเทิง จนติดเชื้อ  พวกนี้ทำผิดกฎของสาธารณสุข  ไม่ฟังรัฐบาล  ทำเอาเดือดร้อนไปทั่วประเทศ   ประชาชนโกรธเลยเขียนด่าลงโซเชียลมิเดีย  คนโกรธไม่น่าเข้าข่ายกระทำ Hate Speech   เพราะกลุ่มถูกด่านั้นสร้างเหตุสมควรให้เขาประณาม   
Hate Speech  เป็นเรื่องของอคติ  ที่กระทำต่อเหยื่อซึ่งไม่ได้ทำผิดอะไร  เพียงแต่มีสถานภาพที่เจ้าตัวเขาเองก็อาจจะแก้ไขไม่ได้  เช่นเป็นชนกลุ่มน้อย คนรักร่วมเพศ  คนพิการ  คนนับถือศาสนาหรือลัทธิอย่างหนึ่งอย่างใดแตกต่างจากคนส่วนใหญ่   
ถ้ากฎหมาย Hate Crime  กลับมาอีกครั้งจริงๆ   รวม Hate Speech ด้วย หลักการคือต้องคำนึงว่า มันมีอีกชื่อหนึ่งว่า Bias Crime    การกระทำหรือคำพูดที่ไม่ bias  ย่อมไม่เข้าข่าย ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง