เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 34363 เรืองเล่าคนเก่าแก่
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 22 เม.ย. 21, 17:53

  ตอนเด็กๆรู้สึกว่าบ้านไม้เป็นบ้านของคนจน หรืออย่างดีก็ฐานะปานกลาง  เพราะทั่วเมืองหลวงมีแต่บ้านไม้เป็นส่วนใหญ่  ส่วนน้อยถึงจะเป็นตึก   แถวถนนสุขุมวิทมีบ้านสวยๆ ปลูกใหม่ เป็นตึกทั้งนั้น
  มายุคนี้กลับเป็นตรงข้าม   ใครเป็นเจ้าของบ้านไม้สวยๆสภาพดีถือว่าเป็นรวย  เพราะไม้หายาก ถ้าเป็นบ้านไม้เก่าที่ดูแลไว้ดียิ่งหายากหนักเข้าไปอีก ใครมีก็ต้องรวยมาก  เพราะค่าซ่อมบำรุงแพงมาก   ส่วนตึกมีอยู่มากมายไปหมดจนเห็นเป็นของธรรมดา

  บ้านไม้ชั้นหรูที่สุดคือปลูกด้วยไม้สักค่ะ   ยิ่งพื้นกระดานไม้สักทองละก็ถือว่าชั้นยอดเลย  เป็นของแพง และปลวกไม่ขึ้น    รองลงมาก็ปลูกด้วยไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น เช่นไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง   ปลวกไม่ขึ้นเหมือนกัน คงทนมาก   ไม้กระดานก็ต้องไม้สัก  หน้าต่างประตูชั้นดีต้องไม้สักเหมือนกัน

 บ้านที่ราคาปานกลางหรือย่อมเยา ปลูกด้วยไม้ยาง    เป็นไม้ที่ไม่คงทนเท่าไม้สัก  แต่ก็อยู่ได้หลายสิบปีเหมือนกัน   ส่วนใหญ่บ้านไม้ยางเป็นบ้านเล็กๆ เจ้าของบ้านฐานะปานกลาง    ถ้าบ้านใหญ่โอ่อ่าละก็เชื่อได้ก่อนว่าไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 22 เม.ย. 21, 17:58

บ้านในรูปนี้ ไม่เคยเห็นของจริง แต่คิดว่าน่าจะเป็นไม้ยางนะคะ  
เพราะสมัยโน้นบ้านแบบนี้มักปลูกด้วยไม้ยาง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 22 เม.ย. 21, 18:02

บ้านนี้น่าจะเป็นไม้สักค่ะ


บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 22 เม.ย. 21, 18:12

ก็แลดูเรียบง่ายไปอีกแบบนะครับ ว่าแต่เหตุใดจึงมีรอยคราบคล้ายกับสนิมอยู่ด้วนล่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 22 เม.ย. 21, 18:33

ตรงไหนคะ
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 22 เม.ย. 21, 18:43

ต้องขอด้วยนะครับ สงสัยผมดูผิดไปเอง ดูอีกทีแล้วน่าจะเป็นสีที่เจือจางไปมากกว่า ขออนุญาตพูดต่อในเรื่องของบ้านเรือนในสมัยก่อนเลยนะครับ
ภาพที่ทุกท่านเห็นอยู่ข้างล่างนี้เป็นแบบตัวอย่างของเรียนไทยในภาคกลางทั่วไป ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือใต้ถุนที่ยกสูงเพื่อกันน้ำท่วม และหลังคาทรงจั่วยกสูง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 09:14

ข้างบนนี้ไม่ใช่เรือนไทยทั่วไปในภาคกลางค่ะ  เป็นเรือนหมู่ระดับเรือนขุนช้าง มหาเศรษฐีเมืองสุพรรณ      เรือนชาวบ้านทั่วไปเป็นแบบนี้ค่ะ
ความจริงใต้ถุนต้องสูงกว่านี้ ขนาดคนเดินลอดได้สบาย  เพื่อป้องกันน้ำท่วมขึ้นมาถึงพื้นเรือนในหน้าน้ำหลาก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 09:18

ถ้าเก่าแก่และโอ่โถงหน่อยก็เป็นแบบนี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 11:40

ขอเรียนถามเพิ่มหน่อค่ะในเรื่องเรือนว่าความต่างของเรือนภาคกลางระหว่างเรือนของชาวบ้านทั่วไปกับเรือนของคนมียศ มีฐานะดี เป็นเศรษฐีมีอะไรบ้างหรือคะ
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 15:19

ความใหญ่ครับ คนที่เป็นระดับเศรษฐีหรือมีฐานะดีหน่อย จะนิยมปลูกบ้านเป็นเรือนหมู่ซึ่งมีอยู่หลายเรือนด้วยกัน นอกจะเรือนนอนและเรือนครัวแล้ว ก็สามารถสร้างห้องโถงหรือเรือนนั่งไว้สำหรับรับแขกอีกด้วย ลักษณะเรือนหมู่ของผู้มีอันจะกินระดับเศรษฐีในสมัยโบราณก็คงจะคล้ายกับรูปที่ผมได้ใส่หลงในความคิดเห็นด่านบนนี้ ถึงจะเวอร์วังเกินขนาดไปหน่อยตามที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้ครับ(ผมต้องขออภัยด้วยหากตัวกระผมเองได้ลงรูปที่ไม่ถูกต้อง ต้องขอโทษทุกท่านด้วยนะครับ) ส่วนเรือนที่มีอยู่ทั่วไปก็ของจะมีขนาดเล็กกว่านี้ ส่วนมากจะเป็นเรือนเดี่ยวที่มีอยู่สองห้องด้วยกัน เรือนครัวและเรือนนอนครับ
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 15:29

แต่สิ่งที่เหมือนกันก็มีอยู่ครับ เกล่าคือ จะไม่มีการสร้างห้องน้ำหรือส้วมไว้ในเรือนเป็นอันขาด เนื่องจากในสมัยก่อนไม่ได้มีท่อน้ำประปาและระบบสาธารณุประโภคในเรื่องของน้ำและสิ่งปฏิกูลเหมือนกับปัจจุบันนี้ ถ้าหากสร้างห้องน้ำไว้ในเรือนก็น่าจะสกปรกน่าดูเลยนะครับ ด้วยเหตุนี้คนสมัยก่อนจึงไม่มีการสร้างห้องน้ำไว้ในเรือน แต่จะนิยมใช้ห้องนำ้ที่ปลูกไว้ท้ายสวน เรียกว่า’’เวจ’’ ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 15:57

เรือนคหบดี

https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=13&chap=1&page=t13-1-infodetail02.html
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 23 เม.ย. 21, 18:31

ภาพจิตรกรรมในลิ้งค์เป็นของใหม่  แต่วาดเรื่องราวยุคหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน   แสดงให้เห็นบ้านเรือนแบบไทยในชนบท ก่อนอิทธิพลตะวันตกจะเข้ามา

https://www.isaninsight.com/khonkaenhistorymuralpainting/
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 24 เม.ย. 21, 09:25

ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องเรือนค่ะคุณเทาชมพู
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 26 เม.ย. 21, 13:04

อ้างถึง
เรือนชาวบ้านทั่วไปเป็นแบบนี้ค่ะ
บ้านผมที่พิจิตร ตอนผมเกิดเป็นอย่างนี้เลยครับ
แต่พอลูกโตขึ้น มีสมาชิกครอบครัวเพิ่มขึ้นพ่อก็ต่อเติมด้านล่าง ด้วยการก่อผนังอิฐฉาบปูนให้ใต้ถุนกลายเป็นห้อง กลายเป็นบ้านครึงไม้ครึ่งปูนไปครับ 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง