เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 34464 เรืองเล่าคนเก่าแก่
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 02 ส.ค. 21, 09:27

ไม่ทราบเรื่องคุณนันดา   ส่วนคุณเรณู โอสถานุเคราะห์พอรู้บ้างค่ะ
เธอมีฝีมือทางด้านทำเสื้อผ้าลูกไม้จากผ้าไหมไทย ด้วยการเลาะไหมแต่ละเส้นออกมาผูกเป็นลายลูกไม้ จนได้ผืนใหญ่แล้วตัดเป็นเสื้ออีกที   เป็นเสื้อลูกไม้ที่ไม่เหมือนใคร  ราคาแต่ละตัวแพงมาก
ต่อมาเธอแกะสลักกระจกใส ด้วยเครื่องมือหมอฟัน  แกะเป็นลายพิเศษตามแต่ละออกแบบ ไม่ใช่กระจกลายสลักจากโรงงาน
เธอมีบริษัท Nu House อยู่ที่ถนนชิดลมตรงริมคลองแสนแสบ  ถ้ามาจากประตูน้ำลงสะพานมาที่ถนนชิดลมก็จะเห็นอยู่ทางซ้าย   ในพื้นที่ที่เมื่อก่อนเป็นบ้านของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

ในบั้นปลายชีวิต คุณเรณูละจากทางโลกที่เธอประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี  ไปสู่ทางธรรม  ถือศีลบวชชีที่วัดอมราวดี   เธอบวชอยู่นานนับสิบปีจนถึงแก่กรรมไปเมื่อปี 2559 นี้เองค่ะ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 03 ส.ค. 21, 08:14

ไม่ทราบเรื่องคุณนันดา   ส่วนคุณเรณู โอสถานุเคราะห์พอรู้บ้างค่ะ
เธอมีฝีมือทางด้านทำเสื้อผ้าลูกไม้จากผ้าไหมไทย ด้วยการเลาะไหมแต่ละเส้นออกมาผูกเป็นลายลูกไม้ จนได้ผืนใหญ่แล้วตัดเป็นเสื้ออีกที   เป็นเสื้อลูกไม้ที่ไม่เหมือนใคร  ราคาแต่ละตัวแพงมาก
ต่อมาเธอแกะสลักกระจกใส ด้วยเครื่องมือหมอฟัน  แกะเป็นลายพิเศษตามแต่ละออกแบบ ไม่ใช่กระจกลายสลักจากโรงงาน
เธอมีบริษัท Nu House อยู่ที่ถนนชิดลมตรงริมคลองแสนแสบ  ถ้ามาจากประตูน้ำลงสะพานมาที่ถนนชิดลมก็จะเห็นอยู่ทางซ้าย   ในพื้นที่ที่เมื่อก่อนเป็นบ้านของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

ในบั้นปลายชีวิต คุณเรณูละจากทางโลกที่เธอประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี  ไปสู่ทางธรรม  ถือศีลบวชชีที่วัดอมราวดี   เธอบวชอยู่นานนับสิบปีจนถึงแก่กรรมไปเมื่อปี 2559 นี้เองค่ะ

ขอบคุณครับ  แสดงว่าโหน่งจำข้อมูลสลับกันแถมยังคลาดเคลื่อนอีก
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 03 ส.ค. 21, 21:00

ขอบคุณครับอาจารย์
เคยสงสัยมานานแล้วว่า บ้านจอมพลป.-ท่านผู้หญิงละเอียดอยู่ตรงไหนของซอยชิดลม
ตรงนู-เฮ้าส์สุดซอยชิดลมนี่เอง สมัยนู้นยังไม่มีสะพานข้ามแสนแสบ
จำได้ว่าเมื่อตอนที่สร้างสะพานเสร็จใหม่ๆ เย็นวันหนึ่งนั่งทานข้าวกับเพือ่นๆที่ร้านแถวปากซอยจารุรัตน์ฝั่งตรงข้ามเยื้องๆกับสะพาน
ได้ยินเสียงโครมใหญ่ ก็กรูกันออกมาดู
ปรากฏว่าเป็นรถบรรทุกวาดโค้งลงจากสะพานชิดลมยังไงไม่ทราบ เสยเอาแผงผลไม้พร้อมกับป้าคนขายเสียชีวิตคาที่
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 09 ส.ค. 21, 08:17

สงสัยใคร่รู้ว่า  มีข้อมูลบ่งบอกไว้หรือไม่ว่า  ห้องน้ำห้องส้วมในสมัยโบราณ  เป็นต้นว่า

ยุคอยุธยา - ทั้งของราชวงศ์ และ ชาวบ้าน
ยุคต้นรัตนโกสินทร์ - ของชาวบ้าน

หน้าตาแบบไหนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 09 ส.ค. 21, 09:50

ส้วม เดิมเรียกว่า เวจ  แต่คนส่วนใหญ่มักสะกดว่า "เว็จ"  พจนานุกรมราชบัณฑิตให้สะกดว่า เวจ   ขอแปลให้คุณโหน่งเห็นภาพว่า "ส้วมหลุม"

คนไทยภาคกลางปลูกบ้านอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง   เพราะฉะนั้นการถ่ายลงน้ำก็เป็นของสะดวก  บ้านชาวบ้านบางบ้านก็ไม่ต้องมีส้วมให้ยุ่งยาก หรืออย่างดีก็ทำเพิงต่อจากตัวบ้านมานิดหน่อยอยู่เหนือผืนน้ำ  ใช้ไม้กระดานพาดผ่านกันเป็นช่อง  เอาไว้นั่งยองๆถ่าย  เป็นส้วมที่ไม่อับทึบ อากาศผ่านได้สะดวก น้ำก็พัดพาของไป ไม่มีกลิ่นอบอวลในห้อง
ถ้าบ้านใครอยู่ไกลแม่น้ำลำคลองหน่อย   ก็สร้างส้วมหลุมอยู่ห่างตัวบ้าน จะให้มิดชิดก็เอาทางมะพร้าวมากั้นเป็นผนัง    พอส้วมเต็มก็กลบแล้วไปขุดที่ใหม่ต่อไป
ส่วนบนบ้าน  มีกระโถนสำหรับใช้ตอนกลางคืนค่ะ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 09 ส.ค. 21, 09:53

แถมให้คุณโหน่ง  ภาพข้างล่างนี้คือห้องส้วมสมัยยุคกลางของยุโรปค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 09 ส.ค. 21, 10:01

ส้วม เดิมเรียกว่า เวจ  แต่คนส่วนใหญ่มักสะกดว่า "เว็จ"  พจนานุกรมราชบัณฑิตให้สะกดว่า เวจ   ขอแปลให้คุณโหน่งเห็นภาพว่า "ส้วมหลุม"

เวจสมัยสมเด็จพระนารายณ์ในมโนทัศน์ของผู้สร้างละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 09 ส.ค. 21, 17:18

และในสมัยของแม่หญิงการะเกดนี้ ในบริเวณพระราชมนเทียรมีการสร้างสถานที่สำหรับการขับถ่าย เรียกว่า ที่ลงพระบังคน หรือ ห้องพระบังคน โดยจะขับถ่ายลงในภาชนะรองรับและมีคนคอยปรนนิบัติรับใช้นำไปทิ้งลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เขียนเล่าไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๑ ว่า

"ในประเทศสยามถือกันว่าเป็นหน้าที่ที่มีเกียรติมาก ถ้าบุคคลใดได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เทโถพระบังคนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะต้องนำไปเทลง ณ สถานที่อันกำหนดไว้เพื่อการนี้ และมียามเฝ้าระวังรักษาอย่างกวดขัน มิให้ผู้ใดอื่นกล้ำกรายเข้าไปได้ อาจเป็นเพราะความเชื่อถือโชคลางทางไสยศาสตร์ ซึ่งชาวสยามเชื่อว่าอาจมีผู้ทำกฤตยาคุณได้จากสิ่งปฏิกูลที่ถ่ายออกมาจากร่างกายนั้น"
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 11 ส.ค. 21, 09:09

และในสมัยของแม่หญิงการะเกดนี้ ในบริเวณพระราชมนเทียรมีการสร้างสถานที่สำหรับการขับถ่าย เรียกว่า ที่ลงพระบังคน หรือ ห้องพระบังคน โดยจะขับถ่ายลงในภาชนะรองรับและมีคนคอยปรนนิบัติรับใช้นำไปทิ้งลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เขียนเล่าไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๑ ว่า

"ในประเทศสยามถือกันว่าเป็นหน้าที่ที่มีเกียรติมาก ถ้าบุคคลใดได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เทโถพระบังคนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะต้องนำไปเทลง ณ สถานที่อันกำหนดไว้เพื่อการนี้ และมียามเฝ้าระวังรักษาอย่างกวดขัน มิให้ผู้ใดอื่นกล้ำกรายเข้าไปได้ อาจเป็นเพราะความเชื่อถือโชคลางทางไสยศาสตร์ ซึ่งชาวสยามเชื่อว่าอาจมีผู้ทำกฤตยาคุณได้จากสิ่งปฏิกูลที่ถ่ายออกมาจากร่างกายนั้น"

ครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 11 ส.ค. 21, 09:11

ส้วม เดิมเรียกว่า เวจ  แต่คนส่วนใหญ่มักสะกดว่า "เว็จ"  พจนานุกรมราชบัณฑิตให้สะกดว่า เวจ   ขอแปลให้คุณโหน่งเห็นภาพว่า "ส้วมหลุม"

คนไทยภาคกลางปลูกบ้านอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง   เพราะฉะนั้นการถ่ายลงน้ำก็เป็นของสะดวก  บ้านชาวบ้านบางบ้านก็ไม่ต้องมีส้วมให้ยุ่งยาก หรืออย่างดีก็ทำเพิงต่อจากตัวบ้านมานิดหน่อยอยู่เหนือผืนน้ำ  ใช้ไม้กระดานพาดผ่านกันเป็นช่อง  เอาไว้นั่งยองๆถ่าย  เป็นส้วมที่ไม่อับทึบ อากาศผ่านได้สะดวก น้ำก็พัดพาของไป ไม่มีกลิ่นอบอวลในห้อง
ถ้าบ้านใครอยู่ไกลแม่น้ำลำคลองหน่อย   ก็สร้างส้วมหลุมอยู่ห่างตัวบ้าน จะให้มิดชิดก็เอาทางมะพร้าวมากั้นเป็นผนัง    พอส้วมเต็มก็กลบแล้วไปขุดที่ใหม่ต่อไป
ส่วนบนบ้าน  มีกระโถนสำหรับใช้ตอนกลางคืนค่ะ 

แล้วก็นึกถึงตอนที่คุณชวดไปเช่าบ้านที่สี่กั๊กพระศรีให้คุณตาอยู่ในสมัย ร.6

อ. คะเนว่าส้วมที่บ้านเช่าประมาณไหนครับ  เหมือนส้วมซึมสมัยเราเด็ก ๆ รึเปล่า
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 11 ส.ค. 21, 09:17

สงสัยใคร่รู้

นี่เรียกว่า Bunsen burner รึเปล่าครับ

ถ้าไม่ใช่เค้าเรียกว่าอะไร (ขอชื่อ ภาษาอังกฤษด้วยครับ)



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 11 ส.ค. 21, 09:29

อ. คะเนว่าส้วมที่บ้านเช่าประมาณไหนครับ  เหมือนส้วมซึมสมัยเราเด็ก ๆ รึเปล่า
น่าจะเป็นส้วมซึมนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 11 ส.ค. 21, 09:31

ไม่มีความรู้เรื่องตะเกียงค่ะ  ต้องถามท่านอื่น
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 13 ส.ค. 21, 14:13

ขอถามเรื่องส้วมหน่อยค่ะถ้าคนสมัยก่อนนิยมถ่ายแล้วทิ้งในแม่น้ำลำคลอง มันไม่เกิดความหมักหมมจนแม่น้ำลำคลองสกปรก เน่าเสียหรือคะ คนในสมัยก่อนมีปัญหานี้กันไหม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 13 ส.ค. 21, 14:55

เด็ก ๆ สมัยก่อนเวลาเล่นน้ำในคลอง สิ่งที่ต้องระวังอันดับต้น ๆ คือ "แพข้าวเม่า" ซึ่งเป็นอาหารอันโอชะของ ปลาแขยง ปลาพวกนี้จึงเป็นที่รังเกียจที่จะใช้บริโภคโดยปริยาย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง