เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 34409 เรืองเล่าคนเก่าแก่
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 23 มี.ค. 21, 15:03

ขอบพระคุณอย่างสูงสำหรับพรของคุณ Jalito ค่ะ    ขอให้พรที่เปี่ยมด้วยความปรารถนาดีนี้ศักดิ์สิทธิ์สมเจตนา   จะได้จัดเลี้ยงสมาชิกเรือนไทยได้ทั้งเรือนเสียที
ไหนๆก็ได้รับพรดีๆมาแล้ว ขอพรอีกสักข้อคือให้แวะเข้ามาทักทายกันบ้างนะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 23 มี.ค. 21, 15:17

เคยได้ยินเรื่อง "เสือ" ที่ยายเล่าให้ฟังสมัยตอนเด็ก แต่ก็เลือนรางเต็มทน
พอโตขึ้นมาหน่อย ถึงได้รับรู้ว่า เสือที่ยายพูดถึงนั้นมีอยู่จริง จากการที่นำมาสร้างหนังหลายต่อหลายเรื่อง
ไม่ว่าจะ เสือดำ เสือใบ เสื้อฝ้าย เสือมเหศวร
เสียดายที่ตอนนั้นไม่ได้มีความรู้พอที่จะซักถาม แต่ยายเล่าว่า เวลาจะปล้น จะมีใบบอกมาก่อน ชาวบ้านก็จะหอบลูกเต้าหนีไปที่อื่นชั่วคราว
แต่ยายเล่าว่า เสือ ก็ไม่ได้ปล้นทุกบ้าน และไม่ได้มีการฆ่า หรือเผาทำลายใดๆ ก็นับถือน้ำใจคนยุคก่อนอยู่บ้าง
เป็นเรื่องเล่าของคนแถบ สิงห์บุรี อ่างทองครับ หากท่านใดพอจะทราบ หรือได้ยินได้ฟังมาอย่างไรแชร์สู่กันฟังได้ครับ

เรื่องโจร พอจะมีเกร็ดเล่าสู่กันฟังบ้างค่ะ
คำว่า โจร กับ ขโมย เมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว มีความหมายไม่เหมือนกัน   ขโมยคือพวกตัดช่องย่องเบา   วิ่งราว  ฉกลักของคนอื่น พวกนี้ทำงานเดี่ยวๆ หรืออย่างดีก็มีผู้ช่วยสักคนเอาไว้ดูทางหนีทีไล่  เมื่อปีนบ้านเข้าไปขโมยของในบ้านด้วยกัน
ส่วนโจรคือพวกปล้น  มักจะมีเป็นแก๊งค์   อยู่กันเป็นกลุ่มเรียกว่าชุม(ชน)โจร   พวกนี้มีอาชีพหลักคือยกพวกเข้าปล้นคหบดีในตำบล    หรือปล้นพ่อค้าที่เดินทางมีทรัพย์สินติดตัวมากๆจากไปค้าขาย  พอได้ก็หนีกลับเข้าป่า   เพราะพวกนี้มีซ่องโจรคือหมู่บ้านโจรอยู่ในป่าลึก
คุณยายเล่ามาถูกต้องแล้ว   โจรที่มั่นใจในฝีมือมากๆจะแจ้งล่วงหน้าให้เจ้าทรัพย์ทราบว่าจะมาปล้น    แต่ไม่ถึงกับบอกวันเวลาราวกับนัดพบ    ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าบ้านมีโอกาสเตรียมตัว  และได้วัดดวงกันว่าใครฝีมือแน่กว่าใคร
โจรภาคกลางแถวสิงห์บุรีอ่างทองนั้น มักมีสัจจะ คือปล้นเอาเงินทองเจ้าทรัพย์ไปเท่านั้น  ถือว่ามีมากนักก็แบ่งๆกันไปบ้าง   แต่จะไม่ฆ่าแบบลากตัวเอามายิงทิ้ง  แต่ถ้าตอนเข้าปล้น สาดกระสุนใส่กันหูดับตับไหม้ จะโดนฝ่ายเจ้าบ้านตายไปบ้าง ถือว่าธรรมดา 
สัจจะอีกอย่างคือจะไม่ทำร้ายผู้หญิงและเด็ก     คือถ้าปล้นได้ก็เอาข้าวของไป  แต่ไม่ลวนลาม ไม่ฉุดลูกเมียเขาไปข่มขืน   
แต่ทั้งหมดที่ว่ามานี้คือหลักการของโจร   ถ้าถามว่าเป็นยังงี้ทุกแก๊งค์หรือเปล่าก็ขอตอบว่าไม่ใช่   พวกเหี้ยมโหดฆ่าไม่เลือก ข่มขืนไม่เลือกก็มีเหมือนกัน
เสือดำ เสือใบ เสือมเหศวรมีตัวจริง     ญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่งของสามีดิฉันเป็นอดีตนายตำรวจที่อยู่ในกลุ่มจับเสือมเหศวร เคยเล่าให้ฟังว่าเสือมเหศวรไม่ได้ถูกยิงตาย แต่ยอมมอบตัว  เมื่อติดคุกจนครบกำหนดแล้วก็ออกมาประกอบอาชีพอย่างสุจริตชน  จนถึงแก่กรรมไปในวัยชรามากๆ อายุนับร้อยปี   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 23 มี.ค. 21, 15:22

เล่าเรื่องผีต่อ
นอกจากต้นไม้  สัตว์ก็เป็นผีได้เหมือนกัน  ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือเสือสมิง   เป็นเสือที่กินคนเข้าไปมากๆจนวิญญาณผีตายโหงสิงอยู่ สามารถแปลงร่างเป็นคนได้ ไปล่อมนุษย์ให้หลงเชื่อแล้วขย้ำกิน

นิทานปรัมปราเล่าว่าพระภิกษุที่ธุดงค์ในป่ามักจะเจอเสือสมิง เมื่อท่านปักกลดนอนในเวลากลางคืน    พระธุดงค์ที่มีอาคมขลังมักจะพก "ควายธนู" ไว้ในย่าม   เมื่อเสือมารบกวนก็โยนควายธนูซึ่งเป็นหุ่นควายตัวเล็กๆสานด้วยหวายเสกออกไป  มันจะกลายเป็นควายป่าไล่ขวิดเสือสมิง  หรือแม้แต่เสือธรรมดา ให้กระเจิงไป ก่อนจะกลับเป็นตุ๊กตาควายตามเดิม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 24 มี.ค. 21, 08:50

คุณปู่คุณทวดมีความเชื่อเรื่องต้นไม้ต้องห้าม     คือห้ามปลูกกันในบ้าน    เช่นต้นลั่นทม นอกจากเป็นเพราะชื่อจะคล้ายกับ "ระทม" ยังถือกันว่าเป็นต้นไม้ที่ปลูกกันในวัด   
อะไรที่เป็นของวัด ชาวบ้านจะไม่เอามาใช้ในบ้าน   ต้นโพธิ์ ต้นไทร ก็ไม่ปลูกกันด้วยเหตุผลนี้  แต่เหตุผลจริงๆอาจเป็นว่า พวกนี้รากใหญ่ไชชอนไปกว้างมาก  อาจไปทำให้เสาบ้านเอียงได้
ต้นไม้ที่มีชื่อคล้ายคำทุกข์โศก เช่น ระกำ ก็ไม่เอามาปลูกในบ้าน   ถ้าเป็นต้นคูน ถือว่าดี เพราะคล้ายคำว่า "ค้ำคูณ" เป็นมงคล

นางแย้มป่ามีดอกสวยมาก เหมือนกุหลาบขาวอมชมพูรวมกลุ่มกันเป็นพุ่ม    แต่ไม่นิยมปลูกเพราะเชื่อกันว่ามีผีสิงอยู่   ถ้าปลูกจะถูกผีขว้างเรือน
เรื่องนี้เคยเจอมากับตัว คือเอานางแย้มมาปลูกเป็นกอใหญ่ในบริเวณบ้าน  ปลูกอยู่นานพอสมควร  ต่อมาลูกสาวมาบอกแม่ว่า มักสะดุ้งตื่นมาตอนดึกๆ ได้ยินเสียงปังใหญ่บนหลังคา เหมือนอะไรตกบนหลังคา   ได้ยินบ่อย    จนต้องตามช่างมาดู  ก็ไม่พบว่าหลังคามีรอยแตกหรือรั่วอะไร  ช่างก็อธิบายว่าอาจเป็นโครงเหล็กมันหดตัวตอนกลางคืนที่อากาศเย็น
หลังจากนั้น คนสวนมาตัดหญ้าเลยถอนนางแย้มทิ้งไป    ก็ไม่ได้ยินเสียงปังบนหลังคาอีก   


บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 24 มี.ค. 21, 09:35

อีกต้นที่ไม่ควรปลูกในบ้านเท่าที่กระผมเคยได้ยินมาก็คือกล้วยตานีครับเพราะเชื่อว่าจะมีผีนางตานีสิงอยู่ อาจจะเกิดอันตรายกับคนในบ้านได้ ดอกไม้ที่ส่งกลินหอมในยามวิกาลก็ไม่นิยมปลูกเช่นเดียวกันคนโบราณจะเรียกว่า”ดอกไม้ผี’’ครับ
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 24 มี.ค. 21, 10:16

ขออนุญาตกล่าวถึงเรื่องผีในป่าต่อจากท่านอาจารย์เทาชมพูแล้วกันนะครับ นอกจากวิญญาณร้ายที่เรียกว่าเสือสมิงแล้ว ผีสางในป่าดงที่น่ากลัวอีกจำพวกก็คือ
‘‘ผีโป่งค่าง’’ครับ พรานป่าในสมัยโบราณรวมถึงผู้คนที่มีถิ่นอาศัยอยู่ใกล้ป่าล้วนหวาดกลัวครั้นครามผีชนิดนี้ยิ่งนัก ส่วนน่าตารูปร่างของผีโป่งค้างนี้เป็นจะเป็นอย่างไรก็ไม่มีหลักฐานชัดเจนผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านก็ล้วนกล่าวแตกต่างกันออกไป แต่โดยสรุปแล้วหลายท่านพูดตรงกันว่าหน้าตาของผีโป่งค่างนี้ก็เหมือนกับค่างหน้าแว่นครับ คนแก่เล่าว่าผีโป่งค่างเกิดมาจากค่างที่มีอายุยืนเกินร้อยปีขึ้นไปจะสามารถจำแลงแปลงกายไปเป็นผีโป่งค่างนี้ได้ กล่าวกันว่าผีโป่งค่างนี้นั้นส่วนมากจะอาศัยอยู่ในป่าลึกและจะปรากฏกายหลังตะวันลับขอบฟ้าไปแล้วเท่านั้น เล่ากันมาว่าผีชนิดนี้มีนิสัยดุร้ายยิ่งนักสามารถใช้วิชาอาคม’’บังตา’’ผู้คนไม่ให้เห็นร่างของมันได้ และจะมีนิสัยชอบบุกเข้ามาในห่างล้าสัตว์ของเล่าพรานป่าในเวลาดึก ใช้ปากอันยาวของมันดูดเลือดจากหัวแม่เท้าของพรานที่ลับ อยู่จนหมดสิ้น
ทำให้พรานผู้โชคร้ายคนนั้นถึงแก่ความตายโดยไม่รู้ตัวเลยล่ะครับ ด้วยความกลัวผีชนิดนี้ บวกกับความยำเกรงในสิ่งเร้นลับ และสัตว์ร้ายทีอาจจะซ่อนอยู่หย่างมิดชิด ภายในความมืดอันลึกลับและมืดมนของพืนป่า ในยามวิกาลทำให้พรานป่าและชาวบ้านบริเวณป่าในสมัยก่อนล้วนมีความเชื่อในพลังอำนาจของมนตร์คาถาใสวยศาสตร์ทั่งสิ้น และก่อนเข้าป่าก็มักจะทำพิธี’’เปิดป่า’’เสียก่อน พร้อมกับร่ายมนต์คถาในเวลาเดียวกันเพื่อที่จะป้องกันตนเองและครอบครัวจากภัยอันตรายในป่านั้นเองแหละครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 24 มี.ค. 21, 10:50

สัตว์ก็เป็นผีได้เหมือนกัน  ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือเสือสมิง   เป็นเสือที่กินคนเข้าไปมากๆจนวิญญาณผีตายโหงสิงอยู่ สามารถแปลงร่างเป็นคนได้ ไปล่อมนุษย์ให้หลงเชื่อแล้วขย้ำกิน

เรื่องเสือสมิงนี้ รัชกาลที่ ๕ ท่านทรงเล่าไว้ใน พระราชนิพนธ์คราวเสด็จประพาสจันทบุรี ว่า

"ราษฎรชาวเมืองนี้เชื่อถือกลัวเสือสมิงมาก เล่าว่าที่เมืองเขมร มีอาจารย์ทำน้ำมันเสือสมิงได้ ศิษย์ได้ลักน้ำมันนั้นทาตัวเข้า กลายเปนเสือสมิงไปถึง ๓ คน พลัดเข้ามาในแขวงเมืองจันทบุรีตัวหนึ่งเปนเสือดุร้าย เที่ยวขบกัดคนตายที่พลิ้ว ๒ คน ที่ปากจั่น ๑ คน ที่ป่าสีเซ็น ๒ คน รวม ๕ คน อาจารย์เที่ยวตามได้บอกชาวบ้านว่า ศิษย์สามคนลักน้ำมันเสือสมิงทาตัวเข้า กลายเปนเสือไปทั้งสามคน บิดามารดาของศิษย์นั้นเขาจะเอาลูกเขาจึงมาเที่ยวตามหา แล้วสั่งไว้ว่าใครได้พบปะเสือนี้แล้ว ให้เอาไม้คานตี ฤๅมิฉนั้นให้เอากระลาครอบรอยเท้า เสือนั้นก็จะกลับเปนคนได้ แต่วิธีจะแก้นี้ทำได้ก็แต่เมื่อเสือนั้นยังไม่กินคน ถ้ากินคนรังควานทับเสียแล้ว ถึงจะทำวิธีที่บอกก็ไม่กลับเปนได้

เหมือนเมื่อครั้งก่อน เรามาที่สัตหีบครั้งหนึ่ง น้ำจืดในเรือหมดต้องเกณฑ์ให้ทหารขึ้นไปตักน้ำที่หนองบนบก ไกลฝั่งประมาณ ๓๐ เส้น พวกชาวบ้านบอกว่าที่นี่มีเสือสมิงมาเที่ยวอยู่ พระสงฆ์ผู้เปนอาจารย์มาติดตาม เวลากลางคืนแล้วก็ออกไปนั่งอยู่ที่ใต้ต้นตาลริมหนองน้ำนั้น คอยจะแก้ศิษย์ซึ่งเปนเสือสมิงให้กลับเปนคน ในเวลานั้นก็ยังอยู่ พวกทหารพากันกลัว กลับลงมาเล่าที่เรือจนเรารู้ เราอยากจะให้ไปตามตัวลงมาให้เห็นหน้าอาจารย์สักหน่อยหนึ่ง ก็เปนเวลาดึกเสียแล้ว ครั้นเวลาเช้าก็ไปเสียจากสัตหีบ ท่านขรัวอาจารย์นั้นปานนี้เสือมันจะเอาไปกินเสียแล้วฤๅอย่างไรก็ไม่รู้ ที่ว่ามานี้เปนแต่ฝอยตามคำที่ราษฎรเล่าฦๅกัน"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 24 มี.ค. 21, 11:48

ผีโป่งค่างของคุณภศุสรร  น่าจะเป็นชนิดเดียวกับผีกองกอย 

ผีกองกอย เป็นผีที่มีขาข้างเดียว มีปากเป็นท่อเหมือนแมลงวัน เวลาไปไหนมาไหนจะกระโดดไปด้วยขาข้างเดียว และส่งเสียงร้องว่า ” กองกอย ๆ ” อันเป็นที่มาของชื่อ เชื่อว่ามีหน้าตาคล้ายลิงหรือค่าง บ้างเรียกว่า ผีโป่ง หรือผีโบ่งขาม สันนิษฐานว่า ความเชื่อเรื่องผีโป่ง ก็คือ ค่างแก่ที่หน้าตาน่าเกลียดไม่สามารถขึ้นต้นไม้ได้ มีความเชื่อของคนบางกลุ่มว่า ถ้าได้ดื่มเลือดค่างจะทำให้ร่างกายคงกระพันเป็นอมตะ เจ้าย่องตอดในวรรณคดีพระอภัยมณีเชื่อว่า ก็คือ ผีกองกอย นั่นเอง
เชื่อว่า ผีกองกอย จะดูดเลือดจากหัวแม่เท้าของคนค้างแรมในป่า วิธีการป้องกันคือ ให้นอนไขว้ขาหรือชิดเท้ากันทั้งสองข้าง
เป็นที่น่าสังเกตว่า ผีลักษณะแบบเดียวกับผีกองกอย มีความเชื่อกระจายทั่วไป ไม่เฉพาะในไทย ในมาเลเซียเชื่อว่า มีคนป่าเผ่าหนึ่งมีขาข้างเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า ที่จีนก็มีความเชื่อว่า มีปีศาจชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ตามภูเขา มีขาเดียว ตัวเล็ก แต่ผมยาว ตาโต หูแหลม มักขโมยอาหารหรือสิ่งของของคนเดินทาง เมื่อถึงวันตรุษก็มักเข้ามาอาละวาดในหมู่บ้าน เชื่อว่านำมาซึ่งความอัปมงคล และใครจับต้องตัวมันจะเผชิญกับโชคร้ายหรือเจ็บไข้ได้ป่วย หรือ แม้แต่ผีขาเดียว ที่ไปไหนมาไหนด้วยวิธีการกระโดด ของยุโรปก็มี
ภาคเหนือมีผีชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผีโป๊กกะโหล้ง สันนิษฐานว่า เป็นผีโป่งชนิดหนึ่ง เพราะมีลักษณะคล้ายกันคือ มีขาเดียว วิ่งไวเหมือนลมพัด แต่ผีชนิดนี้มีความแปลกอยู่บ้างตรงที่ไม่เคยดูดเลือดคนที่เดินป่า แต่ชอบบังตาคนเล่น ผีชนิดนี้มีเสียงร้องประจำตัวคือ โป๊กๆๆ กะโหล้ง โป๊กๆๆๆ กะโหล้ง เป็นลักษณะประจำตัว นิสัยประจำตัวอีกอย่างของผีชนิดนี้คือ หากมีคนตะโกนเรียกกันในป่า มันจะเลียนเสียง ทำให้คนที่ตะโกนรับหลงทางเดินห่างออกไปเรื่อยๆ ดังนั้นคนเฒ่าคนแก่ถึงได้ห้ามตะโกนในป่า เพราะผีโป๊กกะโหล้งจะเลียนเสียงทำให้หลงป่าได้

https://sites.google.com/site/tananphithiythileakhankan/phi-kxngkxy
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 24 มี.ค. 21, 11:51

ถ้าติดใจเรื่องผี   เข้าไปอ่านกระทู้เก่าได้ค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6963.msg166312#msg166312
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 24 มี.ค. 21, 18:50

เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) เล่าเรื่อง ผีนางตานีของคุณภศุสรร และ ผีนางแย้มป่าของคุณเทาชมพูไว้ในหนังสือ ผีสาง เทวดา หน้า ๒๒-๒๓ ว่า

“กล้วยตานีก็อีกอย่างหนึ่ง แต่ก่อนเขาไม่ปลูกไว้ในบ้าน เพราะเป็นกล้วยป่ามีนางไม้เรียกว่านางตานี ปลูกไว้ในบ้านไม่ดี เพราะจะถูกผีนางตานีหลอกให้ตกใจกลัว แต่เดี่ยวนี้กล้วยตานีมีราคาขายได้ เพราะตองตานีเหนียวกว่าตองกล้วยชนิดอื่น เรื่องถือไม่ปลูกไว้ในบ้านก็ดูจืตจางไป

ต้นนางแย้ม* ก็อีกอย่างหนึ่ง แม้ชื่อมันจะฟังไพเราะ ดอกก็มีกลิ่นหอมและเป็นช่องามดี แต่เขาก็ไม่ปลูกไว้ในบ้าน เพื่อนคนหนึ่งบอกข้าพเจ้าว่าที่ไม่ปลูกไว้ในบ้าน เพราะถือกันว่าถ้าต้นแก่จะกลายเบ็นมีผีขว้างเรือนให้เดือตร้อนด้วย อันที่จริงต้นนางแย้มปลูกไว้จนต้นแก่ก็รกบ้านเพราะรากมันชอนไชไปถึงไหนก็งอกหน่อเป็นต้นขึ้นที่นั่น"

* นางแย้ม ในที่นี้คือดอกทางซ้ายมือ นางแย้มป่า - (Clerodendrum infortunatum) ไม่ใช่ดอกทางขวามือคือ นางแย้ม (บ้าน) - Clerodendrum chinense


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 24 มี.ค. 21, 18:57


ต้นนางแย้ม* ก็อีกอย่างหนึ่ง แม้ชื่อมันจะพังไพเราะ ดอกก็มีกลิ่นหอมและเก็นะช่องามดี แต่เขาก็ไม่ปลูกไว้ในบ้าน เพื่อนคนหนึ่งบอกข้าพเจ้าว่าที่ไม่ปลูกไว้ในบ้าน เพราะถือกันว่าถ้าต้นแก่จะกลายเบ็นมีผีขว้างเรือนให้เดือตร้อนด้วย อันที่จริงต้นนางแย้มปลูกไว้จนต้นแก่ก็รกบ้านเพราะรากมันชอนไชไปถึงไหนก็งอก”

* นางแย้ม ในที่นี้คือดอกทางซ้ายมือ นางแย้มป่า - (Clerodendrum infortunatum) ไม่ใช่ดอกทางขวามือคือ นางแย้ม (บ้าน) - Clerodendrum chinense
สงสัยจะมีผีทั้งสองนาง - นางป่าและนางบ้าน
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 25 มี.ค. 21, 10:43

อันดับต่อไป ไม่ใช่ผีครับ เป็นเรื่องเล่าที่พ่อเล่าให้ฟัง เกี่ยวกับที่มาของชื่อตำบลที่ผมเกิด คือ ตำบล "ฆะมัง" อ.เมือง จ.พิจิตร
ผมเคยถามพ่อตอนเด็กๆว่า ทำไม ย่านนี้ จึงชื่อว่า ฆะมัง ซึ่งในความรู้สึกของผม คิดว่า แปลกประหลาด เพราะตัวอักษร ฆ ไม่ค่อยมี (มาเจออีกทีก็ตอนเรียนกฎหมายคือคำว่า โมฆะ และ โมฆียะ แต่ก็ไม่ได้ใช้เป็นอักษรนำ) ตอนนั้นพ่อเล่าว่า

"แถวบ้านเรามีแม่น้ำน่านไหลผ่าน แม่น้ำน่านมีตลิ่งที่สูง ทำให้น้ำไหลแรง ทำให้มีอุบัติเหตุคนตกน้ำตายบ่อยๆ (อย่างที่ผมเล่าไปคราวก่อนหนะครับ มีแทบทุกปี จนคนเชื่อว่า คนที่จากไปแล้ว จะพยายามหาคนมาอยู่เฝ้าคุ้งน้ำแทนตน ตนเองจะได้ไปเกิดได้) ทีนี้ คนสมัยก่อน ไม่ว่าจะกลัวอย่างไร แต่ก็ขาดน้ำไม่ได้ อย่างไรก็ต้องมาลงอาบน้ำ ตักน้ำ ซักผ้า หาปลา ที่แม่น้ำอยู่ดี พอเกิดเรื่องคนตกน้ำที เลยไม่รู้ว่า ใครตกน้ำ ชาวบ้านจึงมักจะลือกันไปว่า "คนโน้นกระมัง คนนั้นกระมัง" ไปเรื่อยๆ จนคนเรียกย่านนี้ว่าย่าน กระมัง แล้วกลายเป็น ฆะมัง ในเวลาต่อมา"

สมัยเด็กๆ ผมก็เชื่อครับ

ต่อมามีโอกาสได้อ่าน เอ่อ ผมจำชื่อที่แน่นอนไม่ได้นะครับ น่าจะเป็น จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองเหนือ หรืออะไรนี่แหละครับ มีรายงานว่า ขบวนเรือของรัชกาลที่ 5 แวะจอดพักค้างแรมที่ตำบล "บ้านขมัง" ก่อนเข้าเมืองพิจิตร บ้านขมังนี้ อยู่เลย "เขารูปช้าง" ขึ้นมา (ปัจจุบัน เรียก "เขาลูกช้าง" ครับ) ผมจึงเชื่อว่า เดิมตรงนี้ชื่อว่า "ขมัง" มาก่อน แต่ทำไมถึงชื่อบ้านขมัง และ ขมัง กลายเป็น ฆะมัง ได้อย่างไร ผมยังไม่มีโอกาสได้สืบค้นดูเลยครับ   
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 25 มี.ค. 21, 12:23

อันดับต่อไป ไม่ใช่ผีครับ เป็นเรื่องเล่าที่พ่อเล่าให้ฟัง เกี่ยวกับที่มาของชื่อตำบลที่ผมเกิด คือ ตำบล "ฆะมัง" อ.เมือง จ.พิจิตร
ผมเคยถามพ่อตอนเด็กๆว่า ทำไม ย่านนี้ จึงชื่อว่า ฆะมัง ซึ่งในความรู้สึกของผม คิดว่า แปลกประหลาด เพราะตัวอักษร ฆ ไม่ค่อยมี (มาเจออีกทีก็ตอนเรียนกฎหมายคือคำว่า โมฆะ และ โมฆียะ แต่ก็ไม่ได้ใช้เป็นอักษรนำ) ตอนนั้นพ่อเล่าว่า

"แถวบ้านเรามีแม่น้ำน่านไหลผ่าน แม่น้ำน่านมีตลิ่งที่สูง ทำให้น้ำไหลแรง ทำให้มีอุบัติเหตุคนตกน้ำตายบ่อยๆ (อย่างที่ผมเล่าไปคราวก่อนหนะครับ มีแทบทุกปี จนคนเชื่อว่า คนที่จากไปแล้ว จะพยายามหาคนมาอยู่เฝ้าคุ้งน้ำแทนตน ตนเองจะได้ไปเกิดได้) ทีนี้ คนสมัยก่อน ไม่ว่าจะกลัวอย่างไร แต่ก็ขาดน้ำไม่ได้ อย่างไรก็ต้องมาลงอาบน้ำ ตักน้ำ ซักผ้า หาปลา ที่แม่น้ำอยู่ดี พอเกิดเรื่องคนตกน้ำที เลยไม่รู้ว่า ใครตกน้ำ ชาวบ้านจึงมักจะลือกันไปว่า "คนโน้นกระมัง คนนั้นกระมัง" ไปเรื่อยๆ จนคนเรียกย่านนี้ว่าย่าน กระมัง แล้วกลายเป็น ฆะมัง ในเวลาต่อมา"

สมัยเด็กๆ ผมก็เชื่อครับ

ต่อมามีโอกาสได้อ่าน เอ่อ ผมจำชื่อที่แน่นอนไม่ได้นะครับ น่าจะเป็น จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองเหนือ หรืออะไรนี่แหละครับ มีรายงานว่า ขบวนเรือของรัชกาลที่ 5 แวะจอดพักค้างแรมที่ตำบล "บ้านขมัง" ก่อนเข้าเมืองพิจิตร บ้านขมังนี้ อยู่เลย "เขารูปช้าง" ขึ้นมา (ปัจจุบัน เรียก "เขาลูกช้าง" ครับ) ผมจึงเชื่อว่า เดิมตรงนี้ชื่อว่า "ขมัง" มาก่อน แต่ทำไมถึงชื่อบ้านขมัง และ ขมัง กลายเป็น ฆะมัง ได้อย่างไร ผมยังไม่มีโอกาสได้สืบค้นดูเลยครับ   
เรียนคุณ Naris ครับ กระผมได้ไปสืบค้นหาที่มาของชื่อตำบลฆะมัง มาให้แล้วนะครับ ตามประวัติจากเวบไซต์ของอบต.ได้เขียนว่าชื่อตำบลฆะมังนั้นมีที่มาจากตำนานที่ว่ามีชาวบ้านเคยค้นพบ’’ปลากระมัง’’ตัวใหญ่ลอยน้ำมาติดอยู่ที่บริเวณวัดในสมัยก่อนครับ สำหรับปลากระมังนั้นเป็นชื่อเรียกปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายปลาตะเพียนและก็อยู่ในวงศ์เดียวกันกลับปลาตะเพียนเสียอีกด้วยครับ ส่วนคำว่า’’ขมัง’’ชึ่งปรากฎอยู่ในชื่อตำบลเก่านั้นผมได้ลองไปสืบค้นดูในพจนานุกรมออนไลน์พบว่าคำว่า’’ขมัง’’นั้นก็เป็นชื่อเรียกของปลาอีกชนิดหนึ่ง กล่าวคือ’’ปลาเสือพ่นนำ้’’’นั้นเองล่ะครับ

อ้างอิง https://www.thaitambon.com/tambon/660111 และ https://dictionary.sanook.com/search/dict-fish/%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B9
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 มี.ค. 21, 12:25

รูปภาพปลากระมังและปลาขมังครับ กระผมขออนุญาตสันนิษฐานดูอย่างสุ่มสี่สุ่มห้าว่า บริเวณลำน้ำน่านชึ่งไหลผ่านตำบลฆะฆังนั้นอาจจะมีปลาทั้งสองชนิดนี้อยู่ชุกชุมมากพอสมควร อาจจะมากจนถึงขั้นเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่เลยก็เป็นได้ ชาวบ้านในพื้นถิ่นร่วมถึงชาวถิ่นอื่นจึงได้พากันเรียกบริเวณนี้ว่าตำบลกระมังจนติดปาก สำหรับคำถามว่าชื่อ’’ตำบลกระมัง’หรือ’’ขมัง’’ เปลี่ยนเป็น’’ตำบลฆะฆัง’’ในภาษาเขียนได้อย่างไรนั้นตัวกระผมเองมีข้อสันนิษฐานอยู่๒ข้อครับ กล่าวคือ

๑ สำเนียงในการเรียกอาจจะเพี้ยนไปตามกาลเวลา และส่วนหนึ่งอาจจะมีเหตุมาจากสำเนียงการพูดของคนต่างถิ่น อาจจะออกเสียงคำว่ากระมังไม่ชัด ชาวบ้านที่มาตั้งรกรากที่หลังจึงพากันเรียกตามกันไป นานเข้าสำเนียงการพูดจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร

๒ อาจจะมาจากการที่ ทางการและข้าราชการที่มาจากต่างถิ่น ไม่ได้มีความคุ้นเคยกับสำเนียงและคำเรียกต่างๆในพื้นที่(กระผมเองก็ไม่ทราบว่าจังหวัดพิจิตรมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์หรือเปล่า] ประกอบไม่ทราบว่าปลากระมังนั้นหมายถึงอะไรจึงได้เกิดการ’’ฟังผิด เขียดผิด’’ขึ้น กล่าวคือข้าราชการท่านนั้อาจจะเขียนชื่อตำบลตามที่ตนเองได้ยิน มิได้คำนึงถึงถึงความหมายและที่มาอย่างไร คำว่ากระมังนั้นจึงอาจจะถูกเขียนผิดเป็นฆะฆังไปครับ ทั้งสองข้อนี้เป็นเพียงขอสันนิษฐานอย่างสุ่มเดาของตัวกระผมเองเท่านั้นมิได้มีแหล่งอ้างอิงมาสนับสนุนครับ ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นกระผมก็ขอประทานโทษด้วยนะครับ




บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 25 มี.ค. 21, 13:21

ประวัติของตำบลฆะฆังอีกฉบับหนึ่ง ได้กล่าวถึงที่มาของชื่อตำบลฆะฆังตรงกันกับคำเล่าของ คุณพ่อของคุณNaris ครับ เกล่าคือ

‘`ชื่อบ้านขมัง ตำบลขมัง เมืองพิจิตรนี้มีสะกดทั้งขมัง คะมัง และ ฆะฆัง มีตำนานเล่าว่ามีพระมหากษัตริย์องค์หนึ่งของไทย เสด็จทางเรือมาถึงหมู่บ้านนี้
และได้จัดให้มีการแข่งขันเรือหน้าพระที่นั่ง เมื่อเรือแข่งแล่นมาถึงบริเวณที่มีน้ำไหลเชี้ยวทำให้เรือล่ม ฟีผายจมนำ้ตายหลายคน ญาติพี่น้องของผู้คนตายต่างอุทานด้วยความตกใจว่า ลูกกูกระหมั่ง ลูกข้ากระมั่ง ลูกกูมั้ง กันเซ่งแซ่ ทำให้ชาวบ้านเรียกหมู่บ้านนี้ว่า กระมังบ้าง ขมังบ้าง ตามลำดับ’’

ที่มา https://www.nat.go.th/Portals/0/Documents/pijit.pdf
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง