เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 34620 เรืองเล่าคนเก่าแก่
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 10 ก.ค. 21, 18:32

สมัยนั้นออกนอกบ้านมักจะแต่งตัวทำผมสวย เหมือนจะไปออกงาน   ไม่ใช่เสื้อตัวกางเกงตัวเหมือนเดี๋ยวนี้

ขอสอบถามหน่อยค่ะว่าหมายถึงการแต่งกายที่ท่อนล่างท่อนบนไปคนละทิศคนละทาง คนละสี คนละลาย หรือหมายถึงคนในสมัยนั้นนิยมใส่ชุดเดรชหรือชุดที่สีเดียวกัน ลายเดียวกันทั้งสองชิ้นคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 11 ก.ค. 21, 09:28

เสื้อตัวกางเกงตัว หมายถึงการแต่งกายแบบง่ายๆ ไม่พิถีพิถัน  หยิบอะไรขึ้นมาใส่ก็ได้ พอให้ครบท่อนบนท่อนล่างก็พอ  ไม่ต้องดูว่าเข้ากันหรือไม่
หนุ่มสาวยุค 50 ปีก่อนแต่งกายออกนอกบ้านตามแฟชั่นมากกว่าสมัยนี้    จำได้ว่าเมื่อแพนท์สูทเป็นที่นิยม  ก็มีคุณแม่ยังสาวสวมแพนท์สูท  แต่งหน้าทำผมเรียบร้อย ไปเดินจ่ายของอยู่ที่เซนทรัลสีลม


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 08:37

สงสัยใคร่รู้ว่า 

ในยุคโบราณ (ประมาณ ร.6 - ร.7)

การพูดภาษาไทยของคนไทยส่วนใหญ่ (ที่ได้รับการศึกษา) เช่น การออกเสียง ร. เรือ - ล.ลิง / คำควบกล้ำ ฯลฯ

ชัดเจนและมีจำนวนมากกว่าคนไทยในยุคปัจจุบันรึเปล่า

หรือว่าเละเทะเหมือนสมัยปัจจุบันครับ
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 09:08

ขอบพระคุณสำหรับคำถามครับ แนะนำให้คุณหน่งลองไปฟังบันทึกเสียงคนผู้คนที่เกิดในสมัยที่ว่าดูแล้วกันนะครับ







บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 09:23

ส่วนตัวนั้นผมคิดว่า คนไทยในสมัยร6-ร7นั้นออกเสียง ร-เรือ ล-ลิง ได้ชัดเจนกว่าคนไทยในปัจจุบันครับ สาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากความเข้มงวดในการสอนภาษาไทยในยุคก่อน ซึ่งเน้นเรื่องการออกเสียงให้ถูกต้อง รวมถึงการพูดจาให้ไพเราะ ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดนี้ล้วนเริ่มหาได้อยากในคนรุ่นใหม่ในยุคนี้เสียแล้ว
เห็นได้จากการใช้ภาษาวิบัติทีมากขึ้นเป็นต้น จำได้ว่าสมัยผมยังเด็กนั้น เวลาเข้าเรียน คุณครูจะมีความเข้มงวดเรื่องเสียง ร-เรือ ร-ลิงมาก ใครพูดผิดก็เห็นทีจะมีสิทธิ์โดนดุเป็นแน่แท้ อาจจะเป็นเพราะความกลัวนี้เอง ทำให้ผมติดนิสัยเรื่องการออกเสียง ร-เรือมาจนถึงปัจจุบันครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 10:24

ตอนดิฉันอยู่ชั้นประถม ก็ถูกสอนให้ออกเสียง ร  ล  ต่างกันอย่างเข้มงวด  เช่นเดียวกับ R และ L  ในภาษาอังกฤษ   อย่างหลังนี้จะใช้ปะปนกันไม่ได้เลย ความหมายผิดไปคนละทิศละทาง เช่น rice=ข้าว  lice =เหา
read = อ่าน  lead=นำ   
ภาษาไทย ร กับ ล ใช้ในความหมายต่างกัน เห็นได้ชัด เช่น รา - ลา   รอย-ลอย   รบ-ลบ   รัก-ลัก รอก-ลอก
เมื่อแยกการออกเสียงได้  เราก็จะเขียนคำเหล่านี้ได้ไม่ผิด

แต่ในระยะสัก 40 ปีมานี้ การออกเสียง ร ล  เริ่มกลืนเข้าหากัน โดยเฉพาะในกรุงเทพ   จน ร  เริ่มหายไป กลายเป็น ล  กันหมด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 20:26

การออกเสียงอีกอย่างหนึ่งที่หายไปจากลิ้นคนไทยจำนวนมากคือการออกเสียงคำควบกล้ำ ตัว ร และ ล  เช่นเกลียด  กลายเป็น เกียด 
คนรุ่นปัจจุบันจำนวนมากสะกดคำว่า เกลียด  เป็น  เกียจ  คงนึกว่ามาจากคำว่า รังเกียจ
กลาย  สะกดว่า กาย     กลับ  เป็น กับ 
เขากายเป็นคนไม่ดี     นัดกัน แต่เธอกับไม่ไป 
แสดงว่าเวลาออกเสียง ไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย    จึงสะกดไปตามที่ตัวเองพูดเพราะได้ยินมาแบบนั้น
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 13 ก.ค. 21, 21:58

อีก๒คำ ที่สะดุดหู บ่อยมากทางสื่อทีวี พิธีกร ผู้รายงานข่าว
 เคียด จาก เครียด
 อังกิด จาก อังกฤษ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 14 ก.ค. 21, 09:47

ส่วนตัวนั้นผมคิดว่า คนไทยในสมัยร6-ร7นั้นออกเสียง ร-เรือ ล-ลิง ได้ชัดเจนกว่าคนไทยในปัจจุบันครับ สาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากความเข้มงวดในการสอนภาษาไทยในยุคก่อน ซึ่งเน้นเรื่องการออกเสียงให้ถูกต้อง รวมถึงการพูดจาให้ไพเราะ ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดนี้ล้วนเริ่มหาได้อยากในคนรุ่นใหม่ในยุคนี้เสียแล้ว
เห็นได้จากการใช้ภาษาวิบัติทีมากขึ้นเป็นต้น จำได้ว่าสมัยผมยังเด็กนั้น เวลาเข้าเรียน คุณครูจะมีความเข้มงวดเรื่องเสียง ร-เรือ ร-ลิงมาก ใครพูดผิดก็เห็นทีจะมีสิทธิ์โดนดุเป็นแน่แท้ อาจจะเป็นเพราะความกลัวนี้เอง ทำให้ผมติดนิสัยเรื่องการออกเสียง ร-เรือมาจนถึงปัจจุบันครับ


อ่านแล้วนึกถึงตัวเอง  ก่อนหน้านี้ภาษาไทยของผมเละเทะมาก  โดยเฉพาะการออกเสียง  
วันหนึ่งก็ได้เจอ ดร.ถนอมวงศ์ ฯ ตำแหน่งขณะที่เจอคือ นายกสมาคมการเขียนการอ่านแห่งประเทศไทย  เจอแล้วก็ถูกชะตากัน
เธอก็เอาลิ้นผมมาทุบเสียน่วม  โดนให้ฝึกออกเสียง 'ร.เรือรุ่งริ่ง'
บัดนี้  ลิ้นผมพริ้วมากเมื่อมาถึง ร. เรือ กับ คำควบกล้ำ
เวลาได้คุยกัน  เธอจะชมว่า 'เออ... ค่อยได้ชื่อว่าเป็นคนไทยแท้หน่อย'

เมื่อฝึกการออกเสียงภาษาไทยได้ถูกต้องแล้ว  สิ่งที่สังเกตได้เมื่อ 'ออกสนาม' คือ
โดนล้อบ่อยมาก (จนถึงบัดนี้)  กลับกลายเป็นว่า  การอ่านออกเสียงภาษาไทยที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องกระแดะไป

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตคือ  คนต่างชาติ (ฝรั่ง) ที่เรียนภาษาไทย  อ่านออกเสียงคำเหล่านี้ได้อย่างน่าชื่นชม
(แต่เราคนไทยกลับออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ถูกเอาเลย  ทั้ง ๆ ที่เรามี 'วรรณยุกต์' ที่ช่วยให้สามารถเลียนเสียงต่าง ๆ ได้มากกว่าภาษาอื่น)

และที่รู้สึกอายแทนคนไทย 'ทั่วไป' คือ  ที่หมู่บ้านมีคนงานชาวเขมร  ทุกคนพูดคำเหล่านี้ได้ชัดเจนมากทั้ง ๆ ที่ไม่มีการศึกษาเลย
เคยถามว่าไปเรียนมาจากไหน  พวกเธอ ๆ บอกว่า  ดูข่าว (ไทย)
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 14 ก.ค. 21, 09:54

อีก๒คำ ที่สะดุดหู บ่อยมากทางสื่อทีวี พิธีกร ผู้รายงานข่าว
 เคียด จาก เครียด
 อังกิด จาก อังกฤษ

บางคำก็ย่อสั้นลงเสียจนอดคิดไม่ได้ว่า  'จะรีบพูดไปไหนวะ'

เช่น หนึ่งร้อยยี่สิบบาท  ก็ย่อเหลือแค่  ร้อยยี่

คำออกเสียงว่า สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า นี่ก็นับว่าย่อแล้ว  ต่อมาก็ยังย่ออีกเป็น  สะพานปิ่นเกล้า  ในที่สุดก็เหลือแค่  สะพานพระปิ่น  อีกไม่นานคงเหลือ  สะพานปื่น
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 14 ก.ค. 21, 10:02

'One thing leads to another'

เรื่องการเขียนที่เห็นทีไรหงุดหงิดใจมากคือ

'ขอบคุณ ..คะ..'

กับ

'ขอโทษนะ ..ค่ะ..'

แล้วก็อยากถามผู้รู้ว่าสมัยนี้ตามโรงเรียนยังมีวิชา อ่านไทย/เขียนไทย อยู่รึเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 14 ก.ค. 21, 10:14

ความเปลี่ยนแปลงทางภาษาที่เห็นได้ชัดอีกอย่าง คือชื่อเล่นของเด็ก
ยุคคุณทวด   ตั้งชื่อเล่นให้ลูกตามเรียงลำดับพี่น้อง คนโตชื่อใหญ่ ต่อมาก็กลาง  คนเล็กชื่อเล็กหรือน้อย
เด็กคนไหนจ้ำม่ำตอนเกิดก็ชื่ออ้วน  ป้อม  ปุ้ย   ออกมาตัวแดง ชื่อแดง  ตัวขาว ชื่อเผือก  ตัวเล็กชื่อจ้อย หรือเปี๊ยก
ต่อมายุคคุณปู่คุณย่า ชื่อมักจะสั้นๆ ไม่ได้เน้นความหมาย  เช่นอู๊ด  อ๊อด  ตุ๋ม   แต๋ว  หรือถ้ามีความหมายก็เป็นชื่อสัตว์ที่รู้จักกันดีเช่นเจี๊ยบ ไก่  หมู
ต่อมา นิยมเอาชื่อฝรั่งมาตั้ง  เช่นโอ๊ค  แอน   ออย  เจน  

ปัจจุบัน  เด็กไทยเกือบทุกคนมีชื่อเป็นสามานยนาม (common noun) ภาษาอังกฤษ  เช่น  กอล์ฟ กีต้าร์ คุกกี้  ไอซ์ ครีม แคนดี้ เบิร์ด    พัตเตอร์ ซัมเมอร์ ไทเกอร์  เด็กฝรั่งไม่มีชื่อเหล่านี้
ยังไม่เจอว่าพ่อแม่คนไหนตั้งชื่อลูกที่เกิดในปี 2564 ว่า ต๋อย จี๊ด  แอ๊ด ติ๋ม  แอ๋ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 14 ก.ค. 21, 10:15

'One thing leads to another'

เรื่องการเขียนที่เห็นทีไรหงุดหงิดใจมากคือ

'ขอบคุณ ..คะ..'

กับ

'ขอโทษนะ ..ค่ะ..'

แล้วก็อยากถามผู้รู้ว่าสมัยนี้ตามโรงเรียนยังมีวิชา อ่านไทย/เขียนไทย อยู่รึเปล่าครับ

บางทีก็เห็นครูเขียนผิดเองคะ  คุณโหน่ง    จริงๆนะค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12602



ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 14 ก.ค. 21, 11:29

แม่ปูกับลูกปู  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 14 ก.ค. 21, 12:44


ความเข้าใจคนสมัยใหม่ เขียน "ค่ะ"  เป็นเสียงใกล้เคียงกับ
ภาษาเดิม  มากกว่า  "คะ"

"นะคะ"  ออกเสียง  "หนะขะ"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง