Koratian
|
ลา ลูแบร์ ได้เขียนไว้ในหนังสือ พรรณาเกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม ปี 1688 ว่า
Set infame qui achete las femmes&les filles pour les prostituer potte le titre d’Oc-ya; on l’appelle Oc-ya Meen : & c’eft un homme fort meprife. Iln’y a que les jeunes debauchez, qui ayent commetce avec luy.
(ในเหล่าผู้ที่มีบรรดาศักดิ์สูงนั้น หาได้เป็นเจ้าใหญ่นายโตทุกคนไม่) เจ้าคนฉาวโฉ่ที่ซื้อผู้หญิง และเด็กสาวเพื่อการค้าประเวณีมีบรรดาศักดิ์เป็นออกญา มันชื่อว่าออกญาเม็ง (Oc-ya Meen) เป็นคนที่น่ารังเกียจเป็นอย่างยิ่ง มีแต่พวกชายหนุ่มเสเพลเท่านั้นที่ไปติดต่อด้วย
คุณสันต์ ท. โกมล แปล Oc-ya Meen เป็น "ออกญามีน" และกลายเป็นที่รู้จักกันในเกร็ดประวัติศาสตร์ว่าออกญามีนเป็นเจ้าของธุรกิจโบราณเจ้าใหญ่แห่งอยุธยา
ในที่นี้จะแสดงให้เห็นว่า Oc-ya Meen คือ ออกญาเม็ง (หรือเป็นคนมอญ) และ เราจะหาตำบลที่ทำการของบุคคลนี้ต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 22 ก.พ. 21, 19:11
|
|
เจ้าคนนั้นต้องเสียเงินภาษีเข้าภาคหลวง กล่าวกันว่า มันมีหญิงโสเภณีในปกครองถึงหกร้อยนาง ล้วนแต่เป็นลูกสาวของขุนนางมีชื่อทั้งสิ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 23 ก.พ. 21, 13:12
|
|
ภาษีใหม่ที่เพิ่มมาในรัชกาลนี้ คือ ส่วนแรก เป็นภาษีที่เก็บจากการจัดงานบันเทิงรื่นเริงในสยาม ค่าส่วยที่เจ้าออกญาเม็ง จ่าย ก็อยู่ในส่วนนี้ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 23 ก.พ. 21, 13:37
|
|
ทหารม้าราชองครักษ์ ประกอบด้วย คนชาติลาว และ อีกชาติหนึ่งใกล้เคียง ที่มีเมืองหลักเรียกว่า เม็ง (Meen) ชาวเม็ง และชาวลาว เหล่านี้รับราชการกันพวกละหกเดือน
ออกญาลาว บังคับบัญชา กองราชองครักษ์ลาว ออกญาเม็ง (Oc-ya Meen) บังคับบัญชา กองราชองครักษ์เม็ง แต่ออกญาเม็งที่ว่านี้ไม่ใช่คนเดียวกับเจ้าคนค้าหญิงโสเภณี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 23 ก.พ. 21, 13:43
|
|
เมื่อ Meen = เม็ง = มอญ
ดังนั้น ออกญาเม็ง นักค้ามนุษย์ จึงน่าจะทำธุรกิจในแถบที่มีคนมอญ อาศัยอยู่ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมกิจการโดยใช้คนในอาณัติตนเอง
ลองดูว่าในแผนที่เมืองอยุธยา ลาลูแบร์ เจอพวกมอญอยู่ตรงไหนบ้าง
--> ปากคลองขุนละครไชย พอดี กลายเป็นว่าทำเลนี้เป็นย่านทำธุรกิจดังกล่าวมาจนปลายกรุงศรีอยุธยา เพียงแต่ว่าเปลี่ยนผู้รับสัมปทานจากมอญเป็นจีน !
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 23 ก.พ. 21, 13:53
|
|
ย่านสำเพ็งของอยุธยา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 23 ก.พ. 21, 14:24
|
|
คุณสันต์ ท. โกมลบุตร ก็นึกถึงมอญอยู่ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 23 ก.พ. 21, 19:56
|
|
https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/133
ชาวล้านนาเรียกชาวมอญว่า “เม็ง” โดยชาวเม็งและลัวะเป็นชาติพันธุ์ดั้งเดิมในที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ตามตำนานจามเทวีวงศ์ (ตำนานของพระนางจามเทวี ปญมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวี อาณาจักรหริภุญชัย) เรียกชาติพันธุ์เม็งว่า “เมงคบุตร” โดยศรีศักร วัลลิโภดม วิเคราะห์ว่า กลุ่มเมงคบุตร เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่เจริญเป็นพวกแรกในที่ราบเชียงใหม่ มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานที่กระจายตัวอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง จึงพบคำเก่าแก่ในภาษาเม็งที่เรียกแม่น้ำปิงว่า “แม่ระเม็ง” (มาจากคำว่า รเมญ ในภาษามอญโบราณ และกร่อนมาเหลือ เมญ หรือ เม็ง ในภาษาล้านนา) หรือแม่น้ำเม็ง หมายถึงแม่น้ำที่ชาวเม็งอาศัยอยู่ (เพจรามัญคดี – Mon Studies, 13 ธันวาคม 2018) นับตั้งแต่นั้นมา ชาวล้านนาและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยจึงมักเรียกชาวมอญว่า “เม็ง” จนถึงปัจจุบัน
Meen = M+ee+n = ม + ี + ง = มีง = เม็ง ดั้งนั้น Oc-ya-Meen จึงเป็น ออกญาเม็ง หรือ พระยามอญ ชาวพะโค นั่นเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 23 ก.พ. 21, 21:53
|
|
เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ที่ได้สัมปทานทำธุรกิจบริการกับภาครัฐในสมัยอยุธยา มักต้องมีเส้นสายกับผู้มีอำนาจเสมอ
เช่น นางสุ ชาวมอญ (O-Sut Pegu) ภริยาของวันวลิต เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าส่งออกรายใหญ่กับฮอลันดา มีเส้นสายกับเจ้านายสตรีชั้นสูงสมัยพระเจ้าปราสาททอง
ออกญาเม็ง หรือพระยามอญ อาจได้สัมปทาน ในยุคของออกญาพระคลังคนก่อนคือ โกษาเหล็ก ที่มีเชื้อสายมอญ แม่นมพระนารายณ์มีญาติเป็นมอญ จะเป็น connection ของนางสุ หรือไม่ ก็ไม่อาจทราบได้ สมัยพระเพทราชา ธุรกิจของเจ้าออกญาเม็งผู้นี้ก็คงยังไปได้ เพราะ โกษาปาน ขึ้นมาเป็นออกญาพระคลัง
ต่อมา ออกญาพระคลังเปลี่ยนเป็นคนจีน ธุรกิจสัมปทานของชาวมอญคงได้รับผลกระทบ ไม่มากก็น้อย ในสมัยพระเจ้าท้ายสระเศรษฐกิจรุ่งเรืองอยู่ในมือคนจีน ผ่านกลุ่มของเจ้าพระยาพระคลังจีน มีเส้นสายทางเจ้านายสตรีชั้นสูง
ในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม บันทึกว่า
"ตลาดบ้านจีนปากคลองขุนละครไชยมีหญิงละครโสเภณี ตั้งโรงอยู่ท้ายตลาด ๔ โรง รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ ตลาดนี้เปนตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือแลทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมาก ฃายของจีนมากกว่าของไทย มีศาลเจ้าจีนศาลหนึ่งอยู่ท้ายตลาด ๑"
ในที่สุดแล้ว ธุรกิจสีเทาของเจ้าออกญาเม็ง คงถูก Takeover โดยกลุ่มธุรกิจของออกญาพระคลังจีน ที่มีเส้นสายมากกว่า ตามวัฐจักรที่เป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 23 ก.พ. 21, 22:24
|
|
หลังจาก ลา ลู แบร์ เขียนถึงออกญาเม็งและธุรกิจสีเทา สองปีต่อมา แกมป์เฟอร์ มีโอกาสสำรวจเกาะเมืองอยุธยา และได้พบกับโกษาปาน แผนที่ของแกมป์เฟอร์ เขียนชื่อคลองนั้นไว้ว่า "Klong Nam Ja"
คลองน้ำชา จะเกี่ยวข้องกับโรงน้ำชาในย่านปากคลองนี้ในเวลาต่อมาอย่างไร ก็เหลือจะเดา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 24 ก.พ. 21, 08:22
|
|
ในหนังสือ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง เรียกว่า "คลองน้ำยา"
มีตลาดบนบกนอกกำแพงพระนคร ตามชานพระนครบ้าง ตามฝั่งฟากกรุงบ้าง ติดแต่ในรอบบริเวณในขนอนใหญ่ทั้ง ๔ ทิศรอบกรุงเข้ามาจนฟากฝั่งแม่น้ำตรงกรุง และชานกำแพงกรุงนั้นด้วยรวมเปน ๓๐ ตลาด คือตลาดน่าวัดน่าพระธาตุหลังขนอนบางหลวง ๑ ตลาดชาวลาวเหนือวัดคูหาสวรรค์ ๑ ตลาดริมคลองน้ำยา ๑ ตลาดป่าปลาเชิงทำนบรอ ๑ ตลาดน่าวัดแคลงแลวัดตะพานเกลือ ๑ ตลาดท่าเรือจ้างวัดนางชีน่าบ้านโปรตุเกต ๑ ตลาดบ้านบาตร์วัดพิไชย ๑ ตลาดวัดจันทนารามหลังวัดกล้วย ๑ ตลาดหลังตึกห้างวิลันดาแถววัดหมู ๑ ตลาดวัดสิงหน่าตึกยี่ปุ่น ๑ ตลาดวัดทองถนนลายสอง ๑ ตลาดวัดท่าราบน่าบ้านเจ้าสัวซีมีตึกแถวยาว ๑๖ ห้องสองชั้น ๆ ล่างตั้งร้านฃายของ ชั้นบนคนอยู่ หัวตลาดนี้มีโรงตีเหลกแลโรงเยบรองท้าว ทำยาแดงสูบกล้องฃายตลาด ๑ ตลาดบ้านปูนวัดเขียนลายสอง ๑ ตลาดบ้านจีนปากคลองขุนละครไชย มีหญิงละครโสเภณีตั้งโรงอยู่ท้ายตลาด ๔ โรง รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ ตลาดนี้เปนตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือแลทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมาก ฃายของจีนมากกว่าของไทย มีศาลเจ้าจีนศาลหนึ่งอยู่ท้ายตลาด ๑ ตลาดบ้านกวนลอดฉ้อง ๑ ตลาดท่าเรือจ้างวัดธรมา ๑ ตลาดบ้านป้อมตรงขนอนปากคู ๑ ตลาดแหลมคลองมหานาคถนนบัณฑิตย์ ๑ ตลาดวัดขุนญวนศาลาปูน ๑ ตลาดคูไม้ร้องหลังโรงเรือพระที่นั่ง ๑ ตลาดน่าวัดตะไกรลงมาน่าวัดพระเมรุ ๑ ตลาดฃ้างวัดควายวัดวัวถนนบ้านทำม่อ ๑ ตลาดป่าเหลกหลังบ้านเฃมรโยมพระ ๑ ตลาดวัดครุธ ๑ ตลาดคลองผ้าลายริมวัดป่าแดงหลังวังฟักเจ้าลาว ๑ ตลาดริมบ้านโรงกูบน่าวัดกุฎีทอง ๑ ตลาดวัดโรงฆ้อง ๑ ตลาดน่าวัดป่าคนที ๑ ตลาดบ้านป่าเหลกท่าโขลง ๑ ตลาดวัดมะพร้าวริมบ้านญวนทะเล ๑ รวมตลาดบกนอกกำแพงพระนคร ๓๐ ตลาดเปนตลาดใหญ่
"คลองน้ำยา" เรื่องและภาพจาก ayutthaya-history.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 24 ก.พ. 21, 13:44
|
|
ในหนังสือ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง เรียกว่า "คลองน้ำยา"
ตามทิศที่ว่าในเอกสารจากหอหลวง คลองน้ำยา อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง แถว ๆ ทำนบรอ ไม่ได้อยู่ใกล้กับคลองขุนละครไชยเลย แต่ Klong Nam Ja อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 24 ก.พ. 21, 19:58
|
|
ในหนังสือ อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยากับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ ฉบับชำระครั้งที่ ๒ พิมพ์เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒ อธิบายเรื่อง "คลองน้ำยา" ไว้ว่า ชาวบ้านเดี๋ยวนี้เรียกคลองที่อยู่เหนือพะเนียดเข้าไปในทุ่ง วัดบรมวงศ์ว่า คลองน้ำยา แต่ในจดหมายเหตุและแผนที่ของพวกฝรั่งเศส ซึ่งเขียนไว้ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า คลองเหนือวัดเสนต์โยเสฟคือที่เรียกกันว่าคลองตะเคียนเหนือเดี๋ยวนี้ เป็นคลองน้ำยา แต่ในหนังสือนี้เรียกคลองนี้ว่าคลองขุนละคอนไชย"คลองน้ำยา" จึงมีอยู่ ๒ แห่ง ๑. อยู่เหนือพะเนียดเข้าไปในทุ่ง วัดบรมวงศ์ เป็นตำแหน่งเดียวกับที่คุณคนโคราชอธิบายว่าอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง ๒. อยู่เหนือวัดเซนต์โยเซฟ ที่เดียวกับคลองขุนละคอนไชย ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับในแผนที่ของแกมป์เฟอร์ระบุว่าชื่อ Klong Nam Ja Klong Nam Ja ก็คือ คลองน้ำยา นั่นแล 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 24 ก.พ. 21, 22:13
|
|
ในหนังสือ อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยากับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ ฉบับชำระครั้งที่ ๒ พิมพ์เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒ อธิบายเรื่อง "คลองน้ำยา" ไว้ว่า ชาวบ้านเดี๋ยวนี้เรียกคลองที่อยู่เหนือพะเนียดเข้าไปในทุ่ง วัดบรมวงศ์ว่า คลองน้ำยา แต่ในจดหมายเหตุและแผนที่ของพวกฝรั่งเศส ซึ่งเขียนไว้ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า คลองเหนือวัดเสนต์โยเสฟคือที่เรียกกันว่าคลองตะเคียนเหนือเดี๋ยวนี้ เป็นคลองน้ำยา แต่ในหนังสือนี้เรียกคลองนี้ว่าคลองขุนละคอนไชย"คลองน้ำยา" จึงมีอยู่ ๒ แห่ง ๑. อยู่เหนือพะเนียดเข้าไปในทุ่ง วัดบรมวงศ์ เป็นตำแหน่งเดียวกับที่คุณคนโคราชอธิบายว่าอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง ๒. อยู่เหนือวัดเซนต์โยเซฟ ที่เดียวกับคลองขุนละคอนไชย Klong Nam Ja ก็คือ คลองน้ำยา นั่นแล  ตรงนี้ต้องใส่เครื่องหมายคำถามให้พระยาโบราณครับ ท่านอ้างว่า ฝรั่ง เขียน Klong Nam Ja แล้วอ่านว่า คลองน้ำยา นี่ก็เหมือน อ่าน Meen ว่า มีน
ถ้าต้องการให้อ่าน "ยา" ท่านก็น่าจะเขียน "ya" เหมือนกับ Oc-ya คือ ออกญา ไม่ได้เขียน Oc-ja
แต่ถ้า Nam ไม่ใช่ "น้ำ" แต่เป็น "นัง" ก็ตัวใครตัวมันละครับ
อีกตัวอย่างคล้ายๆกัน วันวลิต เขียนว่า พระเจ้าอู่ทองสร้าง Klong Cout tiam มีนักวิชาการแปลว่า เมืองคลองขุดเทียม ทั้ง ๆ ที่น่าจะอ่านว่า คลองคูจาม มากกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 24 ก.พ. 21, 22:37
|
|
สรุปว่าคลองนี้ ปัจจุบัน คนเชื่อว่ามีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน 1. คลองตะเคียน 2. คลองขุนละครไชย 3. คลองคูจามใหญ่ 4. คลองน้ำยา 5. คลองน้ำชา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|