เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 26 ก.พ. 21, 19:52
|
|
ก็มีที่แปลกอยู่หน่อยนึงว่า แต่เดิมนั้น ญี่ปุ่นไม่กินผักชีเลย บอกว่าเหม็น แต่อยู่ดีๆก็ได้รับอิทธิพลจากอาหารไทยมากพอ หันมากินกันอย่างระห่ำเมื่อไม่ถึงสิบปีมานี้เอง ข้าวมันไก่สไตล์ญี่ปุ่นที่ชิบุยะ  ภาพจาก พันทิป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 26 ก.พ. 21, 20:54
|
|
หลับในเลยแหกโค้งไปหน่อยครับ
ย้อนกลับไปเรื่องการถนอมอาหารด้วยการดองเพื่อให้เกิดรสเปรี้ยวนั้น ในกรณีการดองระยะยาว ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานตอนบน ดูจะเน้นไปในเรื่องของการดองผักกาดและหน่อไม้ ส่วนในพื้นที่อีสานตอนกลางและล่างนั้น ผมไม่มีความรู้ สำหรับในภาคกลางตอนบนนั้น ผมไม่เห็นมีความเด่นชัด แต่ในภาคกลางตอนล่างดูจะเด่นไปในการดองพวกใบอ่อนของพืชและผลไม้ เช่น ยอดต้นกุ่ม ผักเสี้ยน ผักหนาม มะม่วง มะขาม ส่วนภาคใต้ดูจะนิยมดองส่วนที่เป็นผล เช่น สะตอ ลูกเหลียง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 26 ก.พ. 21, 21:03
|
|
ข้าวมันไก่สไตล์ญี่ปุ่น จากประสบการณ์ของผมนั้นเป็นการทำแบบสิงคโปร์แต่ใช้ข้าวหอมมะลิของไทย เป็นการหุงข้าวมันในลักษณะที่มีการอบร่วมอยู่ด้วย อร่อยนะครับ จะเสริฟมาพร้อมกับน้ำจิ้มสามถ้วย แต่ไม่ออกรสอร่อยเหมือนน้ำจิ้มของไทยเรา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 27 ก.พ. 21, 17:34
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 27 ก.พ. 21, 19:13
|
|
ตอนที่ยากก็อยู่ที่การต้มไก่ให้สุก เนื้อนุ่ม และหนังตึงไม่ฉีกขาด ผมมีความเห็นว่าอาหารไทย(และที่แปลงโฉมไปบ้าง)หลายอย่างที่มีขายอยู่ในโตเกียวในปัจจุบันนี้ น่าจะเริ่มในช่วงหลัง พ.ศ.2546 หลังจากที่สถานทูตได้จัดงาน Thai Food Festival ในลักษณะงาน Fair ขนาดใหญ่ในช่วงปีนั้น จากนั้นไม่ถึงปีก็ได้เริ่มเห็นมีผัดกระเพรา+ไข่ดาว ขายในย่านตึกแดงของโยโกฮามา ตามมาด้วยร้านข้าวมันไก่ร้านแรกในย่าน Azabujuban กระทั่งขนมหวานแบบไทยก็มีอยู่ในเมนูของร้านอาหารแบบสำหรับครอบครัว
ขอต่ออีกนิดหนึ่งว่า หากไปเที่ยวโตเกียวแล้วนึกอยากกินขาหมู หรือข้าวต้มกับแบบร้านข้าวต้มกลางคืนของบ้านเรา ก็มีตั้งอยู่ใต้ทางรถไฟด้านทิศเหนือของสถานี Yurakocho เลยตึก Tokyo Forum ซึ่งมีคนญี่ปุ่นไม่น้อยที่ไปกินกันในช่วงอาหารเที่ยง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 27 ก.พ. 21, 19:38
|
|
ก็มาถึงอีกวิธีการหนึ่งในการใช้เกลือเพื่อทำให้เกิดการ ferment เป็นการใช้เกลือคลุกพืชผักที่ต้องการทำ แล้วหมักทิ้งไว้จนเปรี้ยว ทำแบบนี้เป็นเรื่องของฝีมือจริงๆ เพราะว่าจะต้องมีความสามารถในการประเมินว่า จะต้องใช้เกลือในปริมาณมากน้อยเพียงใดสำหรับพืชผักแต่ละชนิด ด้วยว่าพืชผักแต่ละชนิดจะมีน้ำในตัวมันที่จะคายออกมาไม่เท่ากัน (น้ำที่คายออกมานั้นจะผสมกับเกลือแล้วกลายเป็นน้ำดอง_brine) ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาในการหมักดองจนได้ผลที่ต้องการต่างกัน หรืออาจะทำให้การหมักดองนั้นๆเกิดการเน่าหรือเสียไปเลย ผลสุดท้ายก็คือการได้รสและสัมผัสจากของที่หมักดองที่ไม่เหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 27 ก.พ. 21, 20:37
|
|
ผมเคยลองทำกล่ำปลีดองแบบเยอรมัน (sauerkraut) เลยได้รู้ว่ามันง่ายที่จะบอกแต่ยากที่จะทำให้อร่อย กล่ำปลีของเขาแต่ละหัวมันมีเนื้อแน่นและหนักกว่าของเรา เมื่อซอยออกมาแล้ว ปริมาณอาจจะดูไม่ต่างกัน เอาไปคลุกเกลือในปริมาณตามสูตร ใส่เครื่องเทศ แล้วใส่ลงในใหใบเล็ก ใช้ไม้กดทับไว้ ทิ้งไว้ในที่มืดระยะเวลาหนึ่งจนกระทั่งหมดฟองปุดๆ (ประมาณ 2 สัปดาห์+) ก็ว่าใช้ได้แล้ว แต่ความอร่อยจริงๆก็ยังหามีไม่ แถมยังเกรงอีกด้วยว่ามันจะกินได้หรือไม่ (กลัวท้องเสีย) หรือจะสามารถเก็บไว้กินต่อไปได้อีกกี่วัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 27 ก.พ. 21, 21:07
|
|
มาถึงเรื่องของการใช้เกลือกับเนื้อสัตว์ของคนพื้นบ้านของไทย การเอาเนื้อสัตว์มาคลุกกับเกลือโดยกตรงแล้วหมักให้เกิดความเปรี้ยวนั้น จะทำด้วยการใช้ข้าวเจ้าหุงสุกหรือข้าวเนียวที่นึ่งสุกแล้วผสมกับกระเมียมเป็นหลัก เช่น ปลาส้ม แหนม ฯลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 27 ก.พ. 21, 21:47
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 28 ก.พ. 21, 18:14
|
|
sauerkraut มีหลายชนิด มีทั้งแบบกรอบ แบบนิ่มกรุบ แบบใกล้เละ มีแบบใส่เครื่องเทศหรือไม่ใส่ มีแบบสดและต้ม และมีทั้งที่ใช้กล่ำปลีขาวหรือใช้กล่ำปลีสีม่วง ถือเป็นผักแนมที่แสดงถึงฝีมือของคนทำครัวเลยทีเดียว หากไปเดินในซุบเปอร์มาร์เก็ตแล้วเห็นว่ามีใส้กรอกชนิดที่เขียนว่า Bratwurst ก็ซื้อเอามาเก็บแช่แข็งในตู้เย็นไว้เลย แล้วลองทำ sauerkraut กินเองดู จะใช้สูตรใหนก็ได้ครับ พอกล่ำปลีดองได้ที่ดีแล้ว ก็เอาใส้กรอกออกมาวางไว้ให้คลายเย็นจนเท่าอุณหภูมิห้อง เอาลงกระทะร้อน ไม่ใส่น้ำมัน กลิ้งไปมาให้ดูเกรียมและดูสุกดี จิ้มมัสตาร์ดและ/หรือซอสมะเขือเทศ กินกับกล่ำปลีดองที่ทำไว้ จะอร่อยสุดยอดไปเลยครับ หรือจะใช้วิธีการย่าง bratwurst ก็ได้ ใส้กรอกชนิดนี้ทำไห้อร่อยมากๆได้ด้วย 2 วิธีที่กล่าวมา
หรือหากมีใส้กรอกสด (fresh sausage) ก็ใช้ได้ จะต้มให้สุกแล้วกินก็ได้ หรือจะต้มให้สุกแล้วเอาไปเอาไปจี่ก็ได้ หรือจะจี่บนกระทะจนสุกก็ได้ ใส้กรอกอีกชนิดหนึ่งก็คือ Nuernberger ซึ่งก็ใช้ได้เช่นกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 28 ก.พ. 21, 20:07
|
|
การใช้เกลือกับเนื้อสัตว์เพื่อให้เกิดการหลักจนเปรี้ยวนั้น คงจะแยกได้เป็น 2 พวก คือ พวกที่ใช้เนื้อสัตว์สี่เท้า และพวกที่ใช้ปลา
สำหรับการใช้เนื้อสัตว์สี่เท้านั้น คิดว่าคนที่มิเคยลงไปคลุกคลีกับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากความเจริญจริงๆ ก็คงจะมิเคยเห็นกัน ชื่อเรียกจริงๆของๆกินที่จะกล่าวถึงนี้ก็ไม่แน่ใจนักว่าเป็นเช่นใด ก็มีทั้งที่เรียกว่าเนื้อส้ม จิ้นส้ม เนื้อร้า ปลาร้าเนื้อ ซึ่งจะพบว่ามีการทำเฉพาะกับเนื้อสัตว์สี่เท้าขนาดใหญ่ที่ล่ามาได้ ผมเคยทำกินเองโดยใช้วิธีการที่ได้เรียนรู้จากชาวบ้าน ก็คือ เอาเนื้อส่วนที่ไม่มีมัน หั้นเป็นชิ้นบาง เอามาคลุกเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือเข้มข้น ค้างคืนไว้ จากนั้นก็เอาข้าวสวยและกระเทียมสับคลุกลงไป เอาใส่ลงในใหใบเล็ก ปิดฝาให้ดี แล้วหมักไว้จนได้กลิ่นเปรี้ยวหอมออกมา (ประมาณ 15-20วัน) เอาออกมาทอด กินกับหอมซอย และพริกแห้งทอด ก็อร่อยดีครับ
แหนมซึ่งเป็นพวกเนื้อสัตว์หมักให้ออกรสเปรี้ยวนั้น น่าจะเป็นอาหารเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกตนเองว่าเป็นชาวล้านนา ดูจะเป็นการหมักให้เกิดรสเปรี้ยวโดยไม่ต้องใช้เกลือ หรือใช้แต่เพียงน้อยนิด แต่จะต้องใช้เนื้อ(แดง)ที่ค่อนข้างสดมากๆในกระบวนการทำ แหนมที่เราเห็นกันตามปกตินั้นมี 2 ชนิด คือประเภทที่เป็นแท่ง ดูเหมือนจะเรียกว่าแหนมแท่ง (ไม่แน่ใจ) กับประเภทที่ห่อด้วยใบตองหรือหมักอยู่ในภาชนะอื่นใด ซึ่งบ้างก็เรียกว่าแหนมห่อ บ้างก็ว่าแหนมหม้อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 28 ก.พ. 21, 20:40
|
|
แหมเปรี้ยวได้ด้วยการใช้ข้าวเหนียวผสมกับกระเทียมสับ เพื่อให้เป็นตัวสร้างและขยายเชื้อจุลินทรีย์กลุ่ม lactic acid bacteria
ก็เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เรารู้กันอยู่โดยทั้่วไปว่า ข้าว(สวย)ที่หุงสุกแล้วปิดฝาหม้อทิ้งไว้จะบูดและจะมีรสเปรี้ยว กินแล้วท้องเสียหรือไม่สบาย ต่างไปจากข้าวเหนียวที่หุงสุกแล้วตั้งทิ้งไว้ มันจะแห้งและ(ค่อนข้างจะ)แข็งคืนรูปเดิม แต่เมื่อเอามาทำให้มันฉ่ำน้ำอีกครั้งแล้วตั้งทิ้งไว้ มันก็จะเป็นข้าวเสียในลักษณะเดียวกับข้าวเจ้า ทั้งหลายก็บ่งบอกว่ามันมี lactic acid bacteria และอื่นๆที่เจริญเติบโตขึ้นมาจากข้าวที่มีความชื้นในระดับหนึ่งที่เราตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม (อุณหภูมิแบบบ้านเรา) น่าสนใจที่แต่โบราณเขารู้ว่ากระเทียมมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างการเรา เมื่อเอาไปผสมกับข้าวที่แฉะแล้วคลุกกับเนื้อมันก็จะไปทำให้เนื้อนั้นๆเปรี้ยวแต่ไม่มีจุลินทรีย์ที่ไม่ดีต่อการบริโภค
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 01 มี.ค. 21, 09:32
|
|
Nürnberger Rostbratwurst หรือ grilled sausages
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 01 มี.ค. 21, 09:45
|
|
แหมเปรี้ยวได้ด้วยการใช้ข้าวเหนียวผสมกับกระเทียมสับ เพื่อให้เป็นตัวสร้างและขยายเชื้อจุลินทรีย์กลุ่ม lactic acid bacteria
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 01 มี.ค. 21, 18:30
|
|
สำหรับท่านที่ชอบใส้กรอกชนิดอื่นๆนอกเหนือจากชนิดที่วางขายกันเป็นปกติในซุบเปอร์มาเก็ตสำหรับคนไทย ก็สามารถจะหาได้ในซุบเปอร์มาเก็ตอีกกลุ่มหนึ่งที่มีของวางขายสำหรับคนต่างชาติร่วมอยู่ด้วย หากขึ้นไปเที่ยวเชียงใหม่ ก็ลองแวะเข้าร้านที่ขายผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์โคนมซึ่งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับสวนสัตว์เชียงใหม่ อาจจะได้ของกินดีๆหลายอย่างเลยทีเดียว โดยเฉพาะใส้กรอกบางอย่างและเนย Mozzarella ที่ใช้บนหน้าพิซซา ลองเอาเนยมาหั่นบางประกบกับมะเขือเทศที่หั่นเป็นแว่น โรยเกลือและน้ำมันมะกอกเล็กน้อย เอาใส่ปากไปพร้อมกับใบโหระพาไทย(อ่อนๆ)สักใบก็อร่อยแล้ว ที่จริงในกรุงเทพฯเราก็มีร้านที่ผลิตใส้กรอกแบบ home made อยู่หลายร้าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|