ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
วิเสทนิยม
>
ว่าด้วยเรื่องของการถนอมอาหารแบบพื้นบ้านของคนไทย
หน้า:
1
...
7
8
[
9
]
พิมพ์
อ่าน: 9334
ว่าด้วยเรื่องของการถนอมอาหารแบบพื้นบ้านของคนไทย
naitang
หนุมาน
ตอบ: 5794
ความคิดเห็นที่ 120
เมื่อ 26 มี.ค. 21, 19:07
ทำให้นึกถึงอีก 2 วิธีการ ซึ่งทั้งสองทำด้วยการใช้ปูนแดง วิธีหนึ่งใช้การจุ่มลงไปในน้ำปูนใส (น้ำที่ปูนแดงตกตะกอนจนใสแล้ว) ใช้กับลูกพลับ ส่วนผลไม้อื่นๆนั้น นึกไม่ออกครับ อีกวิธีการหนึ่งเป็นการใช้ปูนแดง(ที่อยู่ในชุดกินหมากพลู) เอามาป้ายโคนผักที่ตัดออกมา ก็จะช่วยยืดอายุผักที่เก็บมานั้นให้สดได้ในอีกระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันนี้ กล่าวได้ว่าไม่เคยเห็นอีกเลย ส่วนหนึ่งก็น่าจะเป็นเพราะว่าระบบ logistic ของเราอยู่ในระดับที่ดีมากจนทำให้วัตถุดิบในการทำอาหารของเราอยู่ไม่ห่างมากนักจากสภาพที่เรียกว่า From farm to table
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
ตอบ: 5794
ความคิดเห็นที่ 121
เมื่อ 26 มี.ค. 21, 19:49
และสุดท้ายที่เกือบจะลืมไปเลย จะเป็นวิธีของชาวบ้านป่า เป็นวิธีการตากลม ใช้ทั้งกับพืชผักและสัตว์
กับพืชผักนั้นก็ทำง่ายๆด้วยการวางกระจายบนแคร่ไม้ไผ่ ในที่ร่ม ในบ้าน ในจุดที่มีลมพัดผ่านได้ดีทุกๆด้านทั้งด้านล่างและด้านบนแคร่ ซึ่งก็พอจะยืดอายุพืชผักไปได้สักมื้อสองมื้อ แม้จะเหี่ยวลงแต่ก็ยังคงให้ความรู้สึกของความเป็นผักสดอยู่แม้ว่าจะมิใช่ของที่เก็บมาใหม่ๆก็ตาม
กับสัตว์นั้น คงจะต้องแยกออกเป็น 2 เรื่อง เรื่องแรกเกี่ยวกับเรื่องของการเอามาทำเป็นยา ซึ่งเกือบทั้งหมดของๆประเภทนี้จะใช้วิธีตากให้แห้งด้วยการตากลม ผมเข้าใจเอาเองว่า ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้สารประกอบที่เป็นยา(เช่น พวกกรดอมิโน ...) ถูกสลายหรือทำให้ลดน้อยลงด้วย spectrum ของแสงอาทิตย์หรือด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ และอีกสาเหตุหนึ่งก็เพื่อมิให้เกิดความเสียหายกับของหายากที่ต้องการเก็บไว้ใช้ เช่น พวกดีของสัตว์ต่างๆ ซึ่งถุงน้ำดีเหล่านี้ เมื่อนำไปตากให้แห้งกับแดดมันจะระเบิดเสียหายไปทั้งหมด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
ตอบ: 5794
ความคิดเห็นที่ 122
เมื่อ 26 มี.ค. 21, 20:01
เรื่องที่สอง เกี่ยวกับการรักษาเนื้อให้พอจะมีความสดต่อไปได้อีกระยะเวลาหนึ่งสั้นๆ วิธีการนี้ใช้ทำกับเนื้อสัตว์ใหญ่ ทำโดยการแล่เนื้อเป็นชิ้นใหญ่ขนาดประมาณแขน แล้วเอาขี้เพี๊ยะพอก เอาแขวนตากลมไว้ ขี้เพี๊ยะจะเป็นเกราะป้องกันแมลงต่างๆและมิให้เนื้อส่วนในถูกแทรกซึมด้วยจุลินทรีย์ เมื่อจะกินก็ปอกเอาผิวนอกออกทิ้งไป ก็จะได้เนื้อในที่ยังให้ความรู้สึกว่ายังสดอยู่ (แต่มิใช่ของสดใหม่) ผมไม่รู้ว่าจะเก็บไว้ได้กี่วัน ที่เคยทำกินกันนั้น ไม่กี่มื้อก็หมดแล้ว
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
ตอบ: 89
ความคิดเห็นที่ 123
เมื่อ 17 เม.ย. 21, 18:48
ขอขอบคุณสำหรับความรู้ย้อนหลังด้วยนะคะคุณ naitang ขอโทษที่หายไปไปนานเลยไม่ได้มาขอบคุณสำหรับความรู้เลยค่ะทั้งที่เป็นคนถามเรื่องนี้
บันทึกการเข้า
หน้า:
1
...
7
8
[
9
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.028 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...