เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
อ่าน: 9563 อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 21 ก.พ. 21, 16:49

บริเวณที่เชื่อว่าเป็นเมืองอัมส์เตอร์ดัม ปัจจุบัน เป็นชุมชนหมู่บ้านคงกระพันชาตรี

ระยะเวลากว่า ๔๐๐ ปี อาจทำให้ภูมิประเทศเปลี่ยนแปลง นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าระหว่างระยะเวลาอันยาวนานนี้ Amsterdam อาจถูกกระแสน้ําไหลพัดเซาะตลิ่งจนพังทลายลงไปในคลองเสียแล้ว

หากเป็นเช่นนั้น หมู่บ้านคงกระพันชาตรีคงไม่ได้สร้างทับ Amsterdam แต่สร้างทับป้อมคงกระพัน
 ยิงฟันยิ้ม

นอกจากทําหน้าที่เป็นเมืองด่านทางทะเลแล้ว เมืองสมุทรปราการ ยังเป็นเมืองท่าด้วย ดังท่ีได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้มี ชาวเนเธอร์แลนด์เข้ามาค้าขายได้ต้ังสถานีการค้าของเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” ข้ึนในบริเวณบางปลากด อย่างไรก็ดีบทบาทด้านนี้คงเป็น บทบาทรองและสภาพการค้าในบางปลากดคงมีความคึกคักเพียงช่วงสั้น ๆ เท่าน้ัน เนื่องจากหลังรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมการค้าระหว่างเนเธอร์แลนด์กับสยามค่อย ๆ ซบเซาลง เนื่องจากชาวเนเธอร์แลนด์ไม่พอใจที่ราชสํานักสยาม ทําการค้าต่างประเทศด้วยตนเองมากกว่าท่ีจะทําการค้าต่างประเทศผ่านพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์สยามดําเนินนโยบาย กระชับความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสจนมีเรื่องพิพาทกับเนเธอร์แลนด์ สุดท้าย เนเธอร์แลนด์จึงทอดทิ้งสถานีการค้านิวอัมสเตอร์ดัมปล่อยให้รกร้าง ต่อมาสถานีการค้าแห่งนี้ได้พังทลายลงจากกระแสน้ําที่ไหลพัดเซาะตลิ่ง

จาก วิวัฒนาการของเมืองสมุทรปราการ : จากเมืองป้อมปราการสู่เมือง “กึ่งสมัยใหม่” โดย ดร.โดม ไกรปกรณ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  วารสารหน้าจั่วฯ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๕๘ หน้า ๒๗๙

จากข้อความช่วงท้าย : ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์สยามดําเนินโยบาย กระชับความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสจนมีเรื่องพิพาทกับเนเธอร์แลนด์ สุดท้าย เนเธอร์แลนด์จึงทอดทิ้งสถานีการค้านิวอัมสเตอร์ดัม ปล่อยให้รกร้าง ต่อมาสถานีการค้าแห่งนี้ได้พังทลายลงจากกระแสน้ำที่ไหลพัดเซาะตลิ่ง

1.   สมัยสมเด็จพระนารายณ์ แม้จะมีกรณีพิพาทไทย-ฮอลันดา แต่อัมสเตอร์ดัมก็ยังไม่ถูกทอดทิ้ง เพราะแม้สิ้นแผ่นดินพระนารายณ์แล้ว 2 ปี แกมป์เฟอร์ ยังมีโอกาสเข้าพักค้างคืนที่อัมสเตอร์ดัม เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2233
อีก 60 ปีต่อมา อัมสเตอร์ดัมยังคงความสำคัญ เป็นประตูสู่สยาม  ปี พ.ศ.2293 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนเรือต้อนรับคณะทูตลังกา ณ เกาะอัมสเตอร์ดัม พักค้างคืน ก่อนเดินทางไปป้อมที่บางกอก

ช่วงประมาณ 200 ปีแรกของอัมสเตอร์เตอร์ดัม ยังไม่มีการสูญหาย


2.   จากภาพ เปรียบเทียบปากคลองบางปลากดปัจจุบัน (พ.ศ.2564) กับ ภาพกรมแผนที่ทหารปี พ.ศ.2455 แสดงให้เห็นว่า ตลอด 109 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ปากคลองบางปลากดแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม่น้ำเจ้าพระยาอาจมีกระแสแรงซัดตลิ่งพังมาก แต่ก็ไม่น่าจะทำให้พื้นที่คลังสินค้าที่เคยเก็บสินค้า 1000 – 1500 ตัน มีอู่ต่อเรือ โรงซ่อม พร้อมชุมชนที่สามารถต้อนรับเจ้าหน้าที่เรือ พักอาศัยครั้งละ 100 คน ให้หายไปได้

อัมสเตอร์ดัม สูญหายช่วง พ.ศ.2293 – พ.ศ.2455 ?




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 21 ก.พ. 21, 16:54

"นอกจากทําหน้าที่เป็นเมืองด่านทางทะเลแล้ว เมืองสมุทรปราการ ยังเป็นเมืองท่าด้วย ดังท่ีได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้มี ชาวเนเธอร์แลนด์เข้ามาค้าขายได้ต้ังสถานีการค้าของเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” ข้ึนในบริเวณบางปลากด อย่างไรก็ดีบทบาทด้านนี้คงเป็น บทบาทรองและสภาพการค้าในบางปลากดคงมีความคึกคักเพียงช่วงสั้น ๆ เท่าน้ัน เนื่องจากหลังรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมการค้าระหว่างเนเธอร์แลนด์กับสยามค่อย ๆ ซบเซาลง เนื่องจากชาวเนเธอร์แลนด์ไม่พอใจที่ราชสํานักสยาม ทําการค้าต่างประเทศด้วยตนเองมากกว่าท่ีจะทําการค้าต่างประเทศผ่านพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์สยามดําเนินนโยบาย กระชับความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสจนมีเรื่องพิพาทกับเนเธอร์แลนด์ สุดท้าย เนเธอร์แลนด์จึงทอดทิ้งสถานีการค้านิวอัมสเตอร์ดัมปล่อยให้รกร้าง ต่อมาสถานีการค้าแห่งนี้ได้พังทลายลงจากกระแสน้ําที่ไหลพัดเซาะตลิ่ง"

จาก วิวัฒนาการของเมืองสมุทรปราการ : จากเมืองป้อมปราการสู่เมือง “กึ่งสมัยใหม่” โดย ดร.โดม ไกรปกรณ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  วารสารหน้าจั่วฯ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๕๘ หน้า ๒๗๙


ขอขยายประเด็น ข้อความช่วงท้าย :
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์สยามดําเนินโยบาย กระชับความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสจนมีเรื่องพิพาทกับเนเธอร์แลนด์ สุดท้าย เนเธอร์แลนด์จึงทอดทิ้งสถานีการค้านิวอัมสเตอร์ดัม ปล่อยให้รกร้าง ต่อมาสถานีการค้าแห่งนี้ได้พังทลายลงจากกระแสน้ำที่ไหลพัดเซาะตลิ่ง

1.   สมัยสมเด็จพระนารายณ์ แม้จะมีกรณีพิพาทไทย-ฮอลันดา แต่อัมสเตอร์ดัมก็ยังไม่ถูกทอดทิ้ง เพราะแม้สิ้นแผ่นดินพระนารายณ์แล้ว 2 ปี แกมป์เฟอร์ ยังมีโอกาสเข้าพักค้างคืนที่อัมสเตอร์ดัม เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2233
อีก 60 ปีต่อมา อัมสเตอร์ดัมยังคงความสำคัญ เป็นประตูสู่สยาม  ปี พ.ศ.2293 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนเรือต้อนรับคณะทูตลังกา ณ เกาะอัมสเตอร์ดัม พักค้างคืน ก่อนเดินทางไปป้อมที่บางกอก

ช่วงประมาณ 200 ปีแรกของอัมสเตอร์เตอร์ดัม ยังไม่มีการสูญหาย


2.   จากภาพ เปรียบเทียบปากคลองบางปลากดปัจจุบัน (พ.ศ.2564) กับ ภาพกรมแผนที่ทหารปี พ.ศ.2455 แสดงให้เห็นว่า ตลอด 109 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ปากคลองบางปลากดแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม่น้ำเจ้าพระยาอาจมีกระแสแรงซัดตลิ่งพังมาก แต่ก็ไม่น่าจะทำให้พื้นที่คลังสินค้าที่เคยเก็บสินค้า 1000 – 1500 ตัน มีอู่ต่อเรือ โรงซ่อม พร้อมชุมชนที่สามารถต้อนรับเจ้าหน้าที่เรือ พักอาศัยครั้งละ 100 คน ให้หายไปได้

บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 21 ก.พ. 21, 17:01

หลังกรุงศรีอยุธยาแตก อัมสเตอร์ดัมยังคงอยู่ ปรากฏในแผนที่ ปี พ.ศ. 2328 (รัชกาลที่ 1)

แผนที่อาณาจักรอารกัน-พะโค-สยาม-กัมพูชา-ลาว โดย อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ.2328
จากหนังสือ แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452. Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศรีวานิช.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 21 ก.พ. 21, 17:07

อัมสเตอร์ดัม บนแผนที่ พ.ศ.2340 (รัชกาลที่ 1)

แผนที่ “คาบสมุทรอินเดียนอกลุ่มน้ำคงคา” โดย จิโอวานนี้ มาเรีย คาสสินี พ.ศ.2340
จากหนังสือ แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452. Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศรีวานิช.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 21 ก.พ. 21, 19:02

หลังกรุงศรีอยุธยาแตก อัมสเตอร์ดัมยังคงอยู่ ปรากฏในแผนที่ ปี พ.ศ. 2328 (รัชกาลที่ 1)

แผนที่อาณาจักรอารกัน-พะโค-สยาม-กัมพูชา-ลาว โดย อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ.2328
จากหนังสือ แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452. Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศรีวานิช.


แผนที่ฉบับนี้พิมพ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็จริง แต่ยังเป็นข้อมูลเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดสังเกตที่ตั้งของ Amsterdam อยู่คนละฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อเทียบกับแผนที่ฉบับอื่น


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 21 ก.พ. 21, 20:06

แผนที่ “คาบสมุทรอินเดียนอกลุ่มน้ำคงคา” โดย จิโอวานนี้ มาเรีย คาสสินี พ.ศ.2340

Amsterdam ตั้งอยู่ตำแหน่งเดียวกับในแผนที่ฉบับของอานโตนิโอ ซาตตา


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 21 ก.พ. 21, 22:38

หลังกรุงศรีอยุธยาแตก อัมสเตอร์ดัมยังคงอยู่ ปรากฏในแผนที่ ปี พ.ศ. 2328 (รัชกาลที่ 1)

แผนที่อาณาจักรอารกัน-พะโค-สยาม-กัมพูชา-ลาว โดย อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ.2328
จากหนังสือ แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452. Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศรีวานิช.


แผนที่ฉบับนี้พิมพ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็จริง แต่ยังเป็นข้อมูลเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดสังเกตที่ตั้งของ Amsterdam อยู่คนละฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อเทียบกับแผนที่ฉบับอื่น

ข้อสังเกต : ข้อมูลเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา อัมสเตอร์ดัมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา (นับจากมุมมองคนดูรูป)  แต่แผนที่ 2 ฉบับนี้ อัมสเตอร์ดัมกลับตั้งอยู่ฝั่งขวา ไม่ยืนยันว่าข้อมูลใหม่นี้ถูกต้องหรือไม่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 22 ก.พ. 21, 12:07

ข้อสังเกต : ข้อมูลเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา อัมสเตอร์ดัมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา (นับจากมุมมองคนดูรูป)  แต่แผนที่ 2 ฉบับนี้ อัมสเตอร์ดัมกลับตั้งอยู่ฝั่งขวา ไม่ยืนยันว่าข้อมูลใหม่นี้ถูกต้องหรือไม่

ในหนังสือของอาจารย์ภาวรรณ เรืองศิลป์ ระบุว่า Amsterdam ตั้งอยู่ที่ 'บ้านเจ้าพระยา' (Ban Chao Phraya)

The VOC had some other properties which were established by per- mission of the kings and were also indications of the range and nature of Dutch activities in the kingdom. Besides the comptoir in Ayutthaya, the Company possessed a warehouse called Amsterdam situated in the village of Ban Chao Phraya (often called the ‘Sea Village’ in the VOC records) at Pak Nam, the mouth of the Chao Phraya River, which is connected to the present-day Gulf of Thailand; it was the place at which the East Indiamen called.

Ban Chao Phraya คือ Bantianphia ในแผนที่ของแกมป์เฟอร์




Amsterdam ในแผนที่ของอานโตนิโอ ซาตตา และ จิโอวานนี มาเรีย คาสสินี อยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งเดียวกับบ้านเจ้าพระยา ฤาจะเป็นตำแหน่งเดียวกัน❓
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 22 ก.พ. 21, 12:37


แผนที่อาณาจักรอารกัน-พะโค-สยาม-กัมพูชา-ลาว โดย อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ.2328
จากหนังสือ แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452. Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศรีวานิช.

อ้างถึง
แผนที่ฉบับนี้พิมพ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็จริง แต่ยังเป็นข้อมูลเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดสังเกตที่ตั้งของ Amsterdam อยู่คนละฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อเทียบกับแผนที่ฉบับอื่น


Ban Chao Phraya  อ่านว่า บางเจ้าพระยา ไม่ใช่ บ้านเจ้าพระยา ครับ
ฺBankock/Bancoc   อ่านว่า  บางกอก ไม่ใช่ บ้านกอก
ฺBanbelkot    บางปลากด
ฺBantianphia  บางเจ้าพระยา
Bantrano      บางตะนาว

คราวนี้มาพิจารณา สถานที่ ในลุ่มแม่น้ำเดียวกันในแผนที่   อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ.2328
1. Amsterdam อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำกับ ฺBancoc  วางตำแหน่งผิดที่  กลายเป็น ฝั่งธน-ฝั่งพระนคร
2. Tiamphiatai กับ Mapran อยู่เหนือ Juthia ขึ้นไปอีก วางตำแหน่งผิดที่อีก
3. Thleepuossoune อยู่ห่างจาก Louvo มาทางใต้ ผิดตำแหน่งอีก

ดังนั้นแผนที่ฉบับนี้จึงใช้อ้างอิงตำแหน่งได้ยาก

ไม่ปรากฎว่า เคยมีการย้ายตำแหน่งของ Amsterdam
ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่ Amsterdam กับ Ban Chao Phraya จะเคยเป็นหมู่บ้านเดียวกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 22 ก.พ. 21, 16:33

ในภาพแสดงที่ตั้งของป้อมที่สมุทรปราการ มีข้อมูลจากพลตรีถวิล อยู่เย็น อธิบายว่า "พ.ศ. ๒๑๖๙ พวกฮอลันดาตั้งคลังสินค้าที่บางปลากด (เมืองนิวอัมสะเตอดัม) ค้านกับแผนที่เก่าของฮอลันดา ว่าตั้งอยู่ที่ตำบลบางเมือง สมุทรปราการ"

ตำบลบางเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งเดียวกับ Amsterdam ในแผนที่ทั้ง ๒ ฉบับ และ Bantianphia ในแผนที่ของแกมป์เฟอร์

แผนที่เก่าของฮอลันดาที่พลตรีถวิลท่านอ้างไว้คือแผนที่ของใคร❓ คงต้องให้คุณปากน้ำเจ้าพระยาและคุณคนโคราชช่วยค้นหา  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 22 ก.พ. 21, 18:41


จากแผนที่ พล ต. ถวิล ที่คุณหมอเพ็ญ ยกมา
เห็นได้ว่า วาง ตำบลบางเมือง ไว้คนละที่กับ บางเจ้าพระยา
ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องค้นหามากนักว่า ท่านอ้าง แผนที่เก่าฮอลันดาฉบับใด
ตำบลบางเมือง เมืองสมุทรปราการที่ท่านว่า ย้ายมาจากเดิมหรือไม่อย่างไรก็ว่ากันต่อไป

แผนที่แม่น้ำ ของฮอลันดา เท่าที่ทราบ ต่างก็วาง อัมส์เตอร์ดัม ไว้คนละฝั่งกับ บางเจ้าพระยา

Barend Jan Terwiel, François Valentijn’s Map of “The Great Siamese River Me-Nam”, Journal of the Siam Society, Vol. 105, 2017


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 22 ก.พ. 21, 19:26

1727 Valentijn Map of the Chao Phraya River, Thailand

จาก https://www.geographicus.com/P/AntiqueMap/ChaoPhrayaSiam-valentijn-1726

หมายเลข ๕ คือ Amsterdam หมายเลข ๘ คือ Bantiauw Pia = Ban Chao Phraya



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 25 ก.พ. 21, 14:20

1727 Valentijn Map of the Chao Phraya River, Thailand

จาก https://www.geographicus.com/P/AntiqueMap/ChaoPhrayaSiam-valentijn-1726

หมายเลข ๕ คือ Amsterdam หมายเลข ๘ คือ Bantiauw Pia = Ban Chao Phraya


1727 Valentijn Map of the Chao Phraya River, Thailand
ร่องรอยชุมชนหมายเลข 8 คลองปากน้ำ สามารถหาได้จากที่ตั้งของวัด
ล้วนเป็นวัดที่สร้างสมัยอยุธยา ได้แก่ วัดมอญ วัดใน วัดนอก วัดกลาง
ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตัวเมืองอำเภอเมืองสมุทรปราการ

1.   วัดมอญ (วัดชัยมงคล หรือ วัดโพธิ์)  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.1893
2.   วันใน (วัดในสองวิหาร) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2170
3.   วัดนอก (วัดพิชัยสงคราม) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2253
4.   วัดกลาง (ชื่อเดิมวัดตะโกทอง ชื่อปัจจุบันวัดกลางวรวิหาร) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2290


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 25 ก.พ. 21, 16:45

ในขณะพื้นที่ทำเลปากคลองบางปลากดที่ถูกคัดเลือก ให้เหมาะแก่การใช้เป็นคลังสินค้า ชุมชน และอู่ต่อเรือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นที่ตั้งชุมชน โรงงาน โกดังเก็บสินค้า เป็นอู่เรือ และโรงตัดแยกเรือเก่า

ต่างกันตรงที่ในอดีตเป็นการบริหารโดยฮอลันดา แต่ปัจจุบันบริหารโดยคนไทย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 03 มี.ค. 21, 17:40

Amsterdam ใน ข้อสอบข้าราชการกรุงเทพมหานคร  ถ้าให้ถูกต้องจริง ๆ ต้องเพิ่มอีกข้อหนึ่ง ข้อ จ. อัมสเตอร์ดัม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง