เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 9557 อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 11 ก.พ. 21, 21:42

Patrick Dumon อ้างจาก แผนที่ Kaart van de Rivier van Siam ของ Isaac De Graaff แผนที่ฉบับนี้เขียนโดยกำหนดมาตราส่วน จาก Amsterdam ถึงปากคลองบางปลากด มีระยะทางประมาณ ๑/๔ ดัชต์ไมล์ (Dutch mile) เท่ากับ ๑.๔ กิโลเมตร ซึ่งตรงกับตำแหน่ง  (C) หรือวัดยายสีเดิม

สภาพแวดล้อมเมืองอัมเตอร์ดัม

จากข้อมูลคุณ Patrick Dumon จากปากอ่าวสยาม ก่อนจะเข้าสู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา นักเดินทางจะต้องเจออุปสรรค์สำคัญ คือ สันดอน
สันดอน เป็นแนวดินโคลนปนทราย เกิดจากการทับถมของธุลีดิน ที่ไหลลงมาจากทางภาคเหนือและภาคกลาง ทุกครั้งที่เราเห็นภาพข่าว โคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก น้ำที่มีสีขุ่นดำหรือน้ำตาล ทั้งหมดจะไหลลงมากองอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
สันดอน เป็นแผ่นดินใต้น้ำ ขนาดกว้างและไกลออกจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 10 กิโลเมตร ในอดีตสันดอนถือเป็นปราการธรรมชาติที่คอยกั้นเรือข้าศึกไม่ให้บุกเข้าสู่เมืองหลวงได้โดยง่าย เรือที่เข้ามาโดยไม่มีความชำนาญ จะติดสันดอน กลายเป็นเป้านิ่งให้โดนโจมตี
ดังนั้น เรือจากต่างประเทศทุกลำจะต้องจอดอยู่บริเวณนอกสันดอน เพื่อรอข้าราชการไทย ส่งเรือเล็กไปรับสินค้า หรือนำร่องเข้าสูปากแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างปลอดภัย

ภาพ เรือติดสันดอน เรือลำนี้ติดสันดอนประมาณ 60 วัน กว่าจะหลุดจากสันดอนโคลนดูด


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 11 ก.พ. 21, 21:59

เรือทุกลำเมื่อผ่านข้ามสันดอนเข้าสู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ จะต้องจอดบริเวณด่านเมืองสมุทรปราการ
เมืองสมุทรปราการดั้งเดิมตั้งอยู่บริเวณ ปากคลองบางปลากดฝั่งใต้ ตรงข้ามเมืองอัมส์เตอร์ดัม ที่ตั้งอยู่ปากคลองบางปลากดฝั่งเหนือ
หน้าที่ของเจ้าเมืองสมุทรปราการ คือ การตรวจเช็คเรือทุกลำไม่ให้นำอาวุธเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา ปืนใหญ่ทุกกระบอกจะถูกลากลง เก็บไว้ที่คลัง และจะกลับมารับคืนได้ เมื่อจะเดินทางออกทะเล

การก่อสร้างเมืองสมุทรปราการ และการมีพระบรมราชานุญาตให้ฮอลันดาสร้างชุมชนอัมส์เตอร์ดัม ก็เพื่อผลประโยนช์ร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศ

เมืองสมุทรปราการ มีหน้าที่ปกป้องเรือข้าศึกไม่ให้เข้าสู่เมืองหลวง และคอยสอดส่องดูแลเมืองอัมส์เตอร์ดัมไปในตัว
เมืองอัมส์เตอร์ดัม จะต้องคอยรักษาผลประโยนช์ และสินค้า ไม่ให้ถูกเรือจากชาติอื่นเข้ามาแย่งตลาด เมืองอัมส์เตอร์ดัมจึงต้องมีป้อมขนาดย่อมป้องกันตัวเอง และยังมีเรือติดอาวุธเฝ้าระวังอยู่ปากแม่น้ำหรือปากอ่าวสยาม
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 12 ก.พ. 21, 16:50

https://thesiamsociety.org/wp-content/uploads/2014/04/JSS_102_0g_Dumon_AmsterdamTheVOCWarehouse.pdf
Amsterdam: The VOC warehouse at the Mouth of the Chao Phraya River โดย Patric Dumon

1.   ระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม พ.ศ.2198 มีการขนสินค้าลงท่าเรืออัมเตอร์ดัมถึง 520 ตัน และยังมีสินค้าอยู่ระหว่างการเดินทาง จะเข้ามาเสริมอีก 1000 ตัน
2.   อัมส์เตอร์ดัม ยังมีชื่อเสียงด้านการเป็นอู่ซ่อมเรือสินค้า เพราะราคาถูก คุณภาพดี มีช่างไม้ที่มีความชำนาญ
3.   เรือสินค้าพร้อมเจ้าหน้าที่ประจำเรือจำนวน 100 นาย สามารถเข้าเทียบท่า และพักอาศัยได้

สภาพเมืองอัมส์เตอร์ดัม :
การสร้างท่าเทียบเรือจะต้องใหญ่โตมั่นคง คลังสินค้าจะต้องกว้างใหญ่มาก ถึงขนาดรับสินค้า 1000 ถึง 1500 ตัน อาคารที่พักจะต้องรองรับพนักงาน พร้อมที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่เรือลูกค้า ลักษณะคงต้องเป็นชุมชนขนาดใหญ่ การจัดหาอาหาร สิ่งอุปโภคบริโภค น้ำจืด น้ำใช้ ทั้งเรือลูกค้าก็ยังมีทั้งเรือจากจีน แขกมาลายู ฝรั่ง การเตรียมสถานที่สำหรับคนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา จะต้องมีความพร้อม และที่สำคัญที่สุด เมืองจะต้องมีระบบความปลอดภัยทั้งจำนวนคน ป้อมค่าย และอาวุธ ฮอลันดายังมีเรือติดอาวุธ ดูแลตั้งแต่ปัตตาเวีย มาลายู ปัตตานี จนถึงปากน้ำเจ้าพระยา

ในหนังสือแปลโดย นันทนา สุดกุล. เอกสารของฮอลันดาสมัยยกรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร) 2513 หน้า 44-45
สินค้าของบริษัทอินเดียตะวันออก (ฮอลันดา) มีทั้งจากการซื้อและขาย นำเข้าและส่งออก
ของจากไทยได้แก่ พริกไทย งาช้าง หนังสัตว์ ฝาง
ของนำเข้า ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร เครื่องถ้วยชาม  

บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 12 ก.พ. 21, 17:30

กำเนิดธงแดงของไทย อาจไม่ได้เกิดที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ขออนุญาตสรุป     : เรือฝรั่งเศสแล่นมาถึงป้อมวิไชยประสิทธิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไม่ทราบธรรมเนียน ได้ชักธงฮอลันดาขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศสไม่พอใจ จนเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ต้องแก้ปัญหาโดยการหยิบผ้าแดงขึ้นมาทำเป็นธง จนฝรั่งเศสให้การยอมรับ เป็นที่มาของธงชาติไทยผืนแรก คือ ธงแดง

ความสมเหตุสมผล : ก่อนฝรั่งเศสจะเข้ามา ไทยมีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกแล้วหลายชาติ ทั้งโปรตุเกส อังกฤษ ฮอลันดา ควจจะทราบธรรมเนียมระหว่างประเทศดี
ความเห็นส่วนตัว   : เหตุน่าจะเกิดที่ปากน้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางปลากดระหว่างเมืองสมุทรปราการ และเมืองอัมส์เตอร์ดัม เพราะสิ่งแรกที่เรือฝรั่งเศสจะพบ คือ อัมส์เตอร์ดัม ไม่ใช่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไม่น่าจะกล้าชักธงฮอลันดา แต่น่าจะเป็นชาวฮอลันดาที่ต้องแสดงอาณาเขตพื้นที่คลังสินค้าของตน

จากภาพ ธรรมเนียมการจัดขบวนเรือต้อนรับคณะทูตลังกา ณ เกาะอัมส์เตอร์ดัม ก่อนจะเดินทางไปป้อมที่บางกอก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 13 ก.พ. 21, 10:53

ในหนังสือ Dutch East India Company Merchants at the Court of Ayutthaya  Dutch Perceptions of the Thai Kingdom, c.1604-1765 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า ๔๓-๔๔ ระบุว่า Amsterdam ตั้งอยู่ที่ 'บ้านเจ้าพระยา' (Ban Chao Phraya)❓

The VOC had some other properties which were established by per- mission of the kings and were also indications of the range and nature of Dutch activities in the kingdom. Besides the comptoir in Ayutthaya, the Company possessed a warehouse called Amsterdam situated in the village of Ban Chao Phraya (often called the ‘Sea Village’ in the VOC records) at Pak Nam, the mouth of the Chao Phraya River, which is connected to the present-day Gulf of Thailand; it was the place at which the East Indiamen called.

Ban Chao Phraya คือ Bantianphia ในแผนที่ของแกมป์เฟอร์

MAP OF THE CHAO PHRAYA RIVER BY ENGELBERT KAEMPFER (Siam 1690)


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 13 ก.พ. 21, 11:33

ขอบคุณ คุณเพ็ญชมพู มากครับ
 
สภาพทางภูมิศาสตร์ อัมส์เตอร์ดัม ปากคลองบางปลากด
ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา เอกสารบางฉบับเรียก เกาะอัมส์เตอร์ดัม ซึ่งน่าจะเกิดจากการขุดคลองล้อมรอบเพื่อเป็นแนวป้องกัน พื้นที่โดยรอบเป็นแนวชายเลนป่าจาก โกงกาง ลำพู น้ำท่วมถึง ตลิ่งจะตื้นด้วยแนวโคลน การสร้างท่าเรือจะต้องยื่นออกแม่น้ำ หรือยื่นออกแนวริมคลองพอสมควร พื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยกุ้งหอยปูปลาและลิงแสม น้ำในคลองช่วงน้ำขึ้นจะเป็นน้ำเค็ม แล้วจะเป็นน้ำจืดถึงจืดสนิทในช่วงน้ำลง สัตว์ป่าในบริเวณนี้จะตัวโตกว่าที่อื่น สมัยรัชกาลที่ 5 ยังปรากฏจระเข้ขนาดใหญ่ ขึ้นมาคาบคนจากในคลองว่ายออกปากแม่น้ำเจ้าพระยา เอกสารของคุณ Patrick Dumon ยังเล่าว่า มีเสือเข้าทำร้ายกะลาสีเรือขณะเมาหลับจนเสียชีวิต

คนปากน้ำปัจจุบัน จะนึกไม่ออกว่ามีเสือในพื้นที่ได้อย่างไร แต่เอกสารของแกมป์เฟอร์ เข้าพักค้างคืนที่อัมส์เตอร์ดัม เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2233 ก็ยังได้กล่าวย้ำถึงเสือและสัตว์ร้ายอื่นๆ อีกด้วย
ภาพจากหนังสือ ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเกลื่อน ชัยนาม ) พระยาอุภัยพิพากษา วันที่ 25 มีนาคม 2487


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 13 ก.พ. 21, 12:46

หนังสือ ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเกลื่อน ชัยนาม ) พระยาอุภัยพิพากษา วันที่ 25 มีนาคม 2487

คุณประกอบเคยเอาหนังสือมาฝากไว้ในเรือนไทย  ยิงฟันยิ้ม

พอดีเคยไปโหลดหนังสือ "ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์" มาจากเพจแห่งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว แปลและจัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร ไม่มั่นใจเรื่องลิขสิทธิ์ แต่ใครสนใจลองโหลดไปอ่านได้ครับ

shorturl.at/jqP89

แผนที่การเดินทางของหมอแกมป์เฟอร์ตามลำน้ำเจ้าพระยา จาก หนังสือไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ หน้า ๒๖-๒๗



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 13 ก.พ. 21, 16:17

หน้า ๒๔ - ๒๕




บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 13 ก.พ. 21, 16:54

ในหนังสือ Dutch East India Company Merchants at the Court of Ayutthaya  Dutch Perceptions of the Thai Kingdom, c.1604-1765 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า ๔๓-๔๔ ระบุว่า Amsterdam ตั้งอยู่ที่ 'บ้านเจ้าพระยา' (Ban Chao Phraya)❓

The VOC had some other properties which were established by per- mission of the kings and were also indications of the range and nature of Dutch activities in the kingdom. Besides the comptoir in Ayutthaya, the Company possessed a warehouse called Amsterdam situated in the village of Ban Chao Phraya (often called the ‘Sea Village’ in the VOC records) at Pak Nam, the mouth of the Chao Phraya River, which is connected to the present-day Gulf of Thailand; it was the place at which the East Indiamen called.

Ban Chao Phraya คือ Bantianphia ในแผนที่ของแกมป์เฟอร์

MAP OF THE CHAO PHRAYA RIVER BY ENGELBERT KAEMPFER (Siam 1690)

บ้านเจ้าพระยา (บางเจ้าพระยา บางคนอ่าน Bantianphia ว่า บ้านท่านพระยา) เป็นชุมชนปากคลองปากน้ำ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามคลองบางปลากด เป็นอีกหนึ่งชุมชนปากน้ำเจ้าพระยาที่หายไปจากแผนที่ เพราะสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อเนื่องถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างป้อมปราการหลายป้อม มีข้อความในหนังสือประวัติวัดกลางวรวิหาร (ตั้งอยู่ริมคลองปากน้ำ) กล่าวว่า ท่านเจ้าอาวาสวัดกลางฯ เห็นความลำบากของชาวบ้านที่ถูกเวนคืนที่ เพื่อสร้างป้อมปราการ จึงจัดที่ดินบริเวณหลังวัดให้ชาวบางเจ้าพระยาเข้ามาอยู่ เรียกว่า ชุมชนบ้านใหม่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 13 ก.พ. 21, 17:19

Bantianphia บางเจ้าพระยา : ปากน้ำบางเจ้าพระยา โดย คุณสมชาย ชัยประดิษฐรักษ์

บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 14 ก.พ. 21, 19:12

คลองบางปลากด
เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา กับ แม่น้ำท่าจีน เป็นทางน้ำเก่าแก่ คดเคี้ยว เพราะเกิดจากกระแสน้ำธรรมชาติพัดตลิ่งจนเป็นทางโค้งไปมา ระหว่างทางจะมีชุมชนโบราณ คือ บ้านสาขลา ที่มีหลักฐานการขุดพบวัตถุโบราณ ชาวบ้านสาขลาจะให้ฉายาคลองบางปลากดเป็นคลอง 33 คดคุ้ง เดินทางลำบาก ปี พ.ศ.2482 รัฐบาลจึงแก้ปัญหาด้วยการขุดคลองใหม่ ตรงจากปากน้ำเจ้าพระยาออกปากแม่น้ำท่าจีน คือ คลองสรรพสามิต ทำให้คลองบางปลากดหมดความสำคัญและตื้นเขินไปหลายจุด

สมุทรปราการ มีคลองโบราณสำคัญ 2 คลอง เป็นเส้นทางเชื่อม 3 แม่น้ำ ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ในการเดินทางระหว่างลุ่มน้ำท่าจีน เจ้าพระยา สู่เมืองเมืองนครธมในสมัยโบราณ
คลองสำโรง (เชื่อว่าขอมเป็นคนสร้าง) เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา กับ แม่น้ำบางประกง
คลองบางปลากด (ไม่ทราบคนสร้าง) เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา กับ แม่น้ำท่าจีน

จากภาพในแผนที่เก่า ปี พ.ศ.2097 สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมัยที่ฝรั่งยังมองเอเชียจากทิศทางของตัวเองเป็นหลัก (แผนที่ กลับหัว) ปรากฏมีชื่อคลองบางปลากด อยู่ด้วย
Southeast Asia with China, Japan and the Philippines, by G.B. Ramusio. 1554
https://sanderusmaps.com/our-catalogue/antique-maps/asia/china/old-antique-map-of-southeast-asia-with-china-japan-and-the-philippines-by-g-b-ramusio-26314


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 14 ก.พ. 21, 19:14

หนังสือ ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเกลื่อน ชัยนาม ) พระยาอุภัยพิพากษา วันที่ 25 มีนาคม 2487

คุณประกอบเคยเอาหนังสือมาฝากไว้ในเรือนไทย  ยิงฟันยิ้ม

พอดีเคยไปโหลดหนังสือ "ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์" มาจากเพจแห่งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว แปลและจัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร ไม่มั่นใจเรื่องลิขสิทธิ์ แต่ใครสนใจลองโหลดไปอ่านได้ครับ

shorturl.at/jqP89

แผนที่การเดินทางของหมอแกมป์เฟอร์ตามลำน้ำเจ้าพระยา จาก หนังสือไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ หน้า ๒๖-๒๗

เส้นทางคลองบางปลากด


บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 16 ก.พ. 21, 12:46

อาจเป็นไปได้ว่าอัมสเตอร์ดัมที่ริมเจ้าพระยาอาจหายไปเพราะกระแสน้ำกัดเซาะตลิ่งตลอดมาเป็นเวลา ๔๐๐ ปี เและที่ตั้งเป็นฝั่งคุ้งน้ำ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 16 ก.พ. 21, 14:34

ฮอลันดา ภายใต้ชื่อบริษัทอินเดียตะวันออก  เริ่มเดินทางเข้าสู่หมู่เกาะเครื่องเทศ  เจรจาทางการค้า กับเจ้าผู้ปกครองชาวพื้นเมือง แล้วส่งทูตมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวรในปี พ.ศ.2147 โดยมีกองทหารและกองเรือรบคอยคุ้มครองผลประโยชน์ผ่านเมืองปัตตานี จุดมุ่งหมายสำคัญคือการอาศัยเรือสำเภาไทยไปหาช่องทางค้าขายในประเทศจีน และญี่ปุ่น

บันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของ ฟาน วลีต ระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดาเป็นไปอย่างดีเยี่ยม ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงส่งขณะทูตเดินทางไปประเทศฮอลันดาในปี พ.ศ.2151 เจ้าชายมอรีสก็ได้ส่งคระทูตและเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นการตอบแทน ช่วงนี้เองที่ฮอลันดาได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งคลังสินค้าในกรุงศรีอยุธยา พร้อมให้ดูแลเรือเข้าออกปากแม่น้ำเจ้าพระยา


วันวลิต เขียนว่า พระนเรศวร เป็นผู้ส่งคณะทูตและพระราชสาส์น ไปถวายเจ้าชายมอริส ครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 16 ก.พ. 21, 14:40

กำเนิดธงแดงของไทย อาจไม่ได้เกิดที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ขออนุญาตสรุป     : เรือฝรั่งเศสแล่นมาถึงป้อมวิไชยประสิทธิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไม่ทราบธรรมเนียน ได้ชักธงฮอลันดาขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศสไม่พอใจ จนเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ต้องแก้ปัญหาโดยการหยิบผ้าแดงขึ้นมาทำเป็นธง จนฝรั่งเศสให้การยอมรับ เป็นที่มาของธงชาติไทยผืนแรก คือ ธงแดง

ความสมเหตุสมผล : ก่อนฝรั่งเศสจะเข้ามา ไทยมีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกแล้วหลายชาติ ทั้งโปรตุเกส อังกฤษ ฮอลันดา ควจจะทราบธรรมเนียมระหว่างประเทศดี
ความเห็นส่วนตัว   : เหตุน่าจะเกิดที่ปากน้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางปลากดระหว่างเมืองสมุทรปราการ และเมืองอัมส์เตอร์ดัม เพราะสิ่งแรกที่เรือฝรั่งเศสจะพบ คือ อัมส์เตอร์ดัม ไม่ใช่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไม่น่าจะกล้าชักธงฮอลันดา แต่น่าจะเป็นชาวฮอลันดาที่ต้องแสดงอาณาเขตพื้นที่คลังสินค้าของตน

จากภาพ ธรรมเนียมการจัดขบวนเรือต้อนรับคณะทูตลังกา ณ เกาะอัมส์เตอร์ดัม ก่อนจะเดินทางไปป้อมที่บางกอก

เหตุการณ์นี้ ค่อนข้างชัดเจนว่าเกิดขึ้นที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ครับ คนชักธงเป็นเจ้าหน้าที่ของไทย ไม่ใช่ฮอลันดา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง