เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 9560 อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
 เมื่อ 05 ก.พ. 21, 19:30

ฮอลันดา (ฮอลแลนด์) เป็นภูมิภาคตะวันตกของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีความหมายว่า “ที่ลุ่มต่ำ” เนื่องจากพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล มีเมืองหลวงชื่อ “อัมส์เตอร์ดัม”  ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ฮอลันดาได้ขยายอิทธิพลทางการค้าไปทั่วโลก ก่อตั้งเมืองที่เป็นท่าเรือคลังสินค้า ตามความชำนาญพื้นที่ กล่าวคือ เป็นที่ลุ่มต่ำ ดินเลน น้ำท่วมถึงตรงปากแม่น้ำ จากนั้นก็จะตั้งชื่อเมืองใหม่ ตามชื่อเมืองหลวงของตนว่า “อัมส์เตอร์ดัม” ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในโลกอยู่ 2 แห่ง ก่อตั้งขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน คือ

1.   เมืองนิวอัมส์เตอร์ดัม ปากแม่น้ำฮัตสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
2.   เมืองนิวอัมส์เตอร์ดัม ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ราชอาณาจักรสยาม (ประเทศไทย)

ผมจะขอเน้นไปที่เมืองนิวอัมส์เตอร์ดัมที่บ้านเราก่อนนะครับ
หรือท่านใดมีข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างเมืองนิวอัมสืเตอร์ดัม อเมริกา กับ นิวอัมส์เตอร์ดัม ประเทศไทย ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ก.พ. 21, 19:34

ฮอลันดา ภายใต้ชื่อบริษัทอินเดียตะวันออก  เริ่มเดินทางเข้าสู่หมู่เกาะเครื่องเทศ  เจรจาทางการค้า กับเจ้าผู้ปกครองชาวพื้นเมือง แล้วส่งทูตมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวรในปี พ.ศ.2147 โดยมีกองทหารและกองเรือรบคอยคุ้มครองผลประโยชน์ผ่านเมืองปัตตานี จุดมุ่งหมายสำคัญคือการอาศัยเรือสำเภาไทยไปหาช่องทางค้าขายในประเทศจีน และญี่ปุ่น

บันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของ ฟาน วลีต ระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดาเป็นไปอย่างดีเยี่ยม ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงส่งขณะทูตเดินทางไปประเทศฮอลันดาในปี พ.ศ.2151 เจ้าชายมอรีสก็ได้ส่งคระทูตและเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นการตอบแทน ช่วงนี้เองที่ฮอลันดาได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งคลังสินค้าในกรุงศรีอยุธยา พร้อมให้ดูแลเรือเข้าออกปากแม่น้ำเจ้าพระยา
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ก.พ. 21, 19:39

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (2154-2171) กองเรือชาวฮอลันดาได้มีโอกาสสร้างความดีความชอบในการช่วยเหลือปกป้องราชสำนัก พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินปากน้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางปลากดฝั่งเหนือ ก่อสร้างบ้านพัก คลังสินค้า หอสังเกตการณ์เดินเรือ  เรียกว่า  “อัมส์เตอร์ดัม”  (เอกสารหลายฉบับ เรียกว่า นิวอัมส์เตอร์ดัม) มีนักเดินเรือที่เดินทางผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาหลายท่าน ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับเมืองนิวอัมเตอร์ดัม แต่ก็ไม่ค่อยละเอียดมากนัก

ช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 มีบันทึกการเผาคลังสินค้าฮอลันดาทั้งที่กรุงศรีอยุธยา และที่นิวอัมเตอร์ดัม จนถึงปัจจุบัน ชาวเมืองสมุทรปราการไม่ว่ารุ่นไหน ไม่มีใครที่จะเคยได้เห็น หรือได้เคยฟังเรื่องเรื่องราวของเมืองอัมส์เตอร์ดัม ที่บริเวรปากน้ำเจ้าพระยาอีกเลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ก.พ. 21, 20:55

พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินปากน้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางปลากดฝั่งเหนือ ก่อสร้างบ้านพัก คลังสินค้า หอสังเกตการณ์เดินเรือ  เรียกว่า  “อัมส์เตอร์ดัม”  (เอกสารหลายฉบับ เรียกว่า นิวอัมส์เตอร์ดัม)

ในแผนที่เก่า ๒ ฉบับนี้ เรียกเมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาของฮอลแลนด์ว่า "Amsterdam"


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ก.พ. 21, 22:19

ขอบพระคุณ คุณเพ็ญชมพู มากครับ

สังเกตจากแผนที่ บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีคลองสำคัญอยู่ 2 คลอง
ปากน้ำฝั่งซ้าย (จากภาพ) คือ คลองบางปลากด
ปากน้ำฝั่งขวา คือ คลองปากน้ำ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 ก.พ. 21, 22:28

ปากคลองบางปลากด น่าจะมีความสำคัญมากในอดีต
เพราะเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง
อัมส์เตอร์ดัม ตั้งอยู่ตรงปากคลองบางปลเกดทางฝั่งเหนือ
สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการ ตรงปากคลองบางปลากดทางฝั่งใต้
ก่อนที่จะย้ายเมืองสมุทรปราการ มาฝั่งตรงข้าม ตรงคลองปากน้ำ ในสมัยรัชกาลที่ 2


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 ก.พ. 21, 22:33

ผมเข้าใจว่า การก่อสร้างเมืองสมุทรปราการตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางปลากด ฝั่งตรงข้ามเมืองอีมส์เตอร์ดัม ก็เพื่อติดตามเฝ้าระวังพ่อค้าชาวฮอลันดา
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 ก.พ. 21, 22:35

อัมส์เตอร์ดัม  ตั้งอยู่ปากคลองบางปลากดฝั่งเหนือ
สมุทรปราการ ตั้งอยู่ปากคลองบางปลากดฝั่งใต้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 ก.พ. 21, 22:46

Amsterdam ในบันทึกของ Engelbert Kaempfer นายแพทย์ชาวเยอรมัน ประจำคณะทูตของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East India Company) ซึ่งเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักญี่ปุ่น ใน พ.ศ. ๒๒๓๓ ระหว่างทางได้แวะ มายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อถวายพระราชสาส์นของราชทูตแด่สมเด็จพระเพทราชา

ขอชวนไปอ่านบันทึกการเดินทางของแกมป์เฟอร์กันก่อนนะครับ การเดินทางช่วงนี้อยู่ในบทที่ 3 ของบันทึก (การพิมพ์หนังสือเล่มนี้บางครั้งแยกพิมพ์เป็นหลายเล่มย่อย กรณีนี้ บทนี้จะเป็นบทที่ 3 ในเล่ม 1) บันทึกของแกมป์ฟอร์นี้อ่านสนุก มีอะไรดีๆ เรียได้ว่าแทบจะทุกบรรทัด แต่เพื่อไม่ให้ยืดยาวเกินไป ผมจะขอตัดตอนมาเท่าที่เห็นว่าเกี่ยวข้องนะครับ

On the sixth of July we arrived at Bankok in the morning, having advanced but little all night, by reason of the difficulties we had to struggle with. We found the old Fort, which lies on an Island, in good condition; but the new Fort, that had been built by the French on the East shore, was quite demolish'd. Before evening we reached the Dutch Habitation and Store-house called Amsterdam. Amsterdam, which is but two Leagues distant from the Sea.

สรุปคร่าวๆได้ความว่า แกมป์เฟอร์ลงเรือเล็กออกมาจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1690 เพื่อไปยังเรือใหญ่ที่จอดทอดสมออยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 6 ก็มาถึงบางกอก แล้วไปถึงอัมสเตอดัม ซึ่งก็คือเมืองปากน้ำนั่นเองครับ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 ก.พ. 21, 23:25

ตามบันทึกของ แกมป์เฟอร์
 
แกมเฟอร์ผ่านปากน้ำเจ้าพระยาตรงแนวสันดอน ตลอด 2 ข้างทางมีเรือประมงชาวจีนจำนวนมาก
แลเห็นป้อมปืนปากแม่น้ำที่ยังคงสภาพการใช้งานอย่างหนัก น่าจะเกิดจากเหตุการวุนวายที่แล้วมา (หลังสวรรคตของพระนารายณ์)
แล้วจึงมาถึงชุมชนคลังสินค้า อัมส์เตอร์ดัม

ค้างคืนที่อัมส์เตอร์ดัม 1 คืน ก่อนที่จะเดินทางเรือในตอนเช้า เข้าสู่ขนอนที่บางกอก (Bangkok)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 ก.พ. 21, 23:29

ข้อความของคุณเพ็ญชมพู่ น่าจะเป็นบันทึกขากลับจากกรุงศรีอยุธยา ออกสู่ทะเล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 08:40

Amsterdam ในบันทึกของคณะทูตของพระเจ้ากีรติ ศรีราชสิงห์ แห่งศรีลังกา โดยสารเรือของฮอลันดาเคดินทางมาถวายพระราชสาส์นแด่สมเด็จพระบรมโกศ ใน พ.ศ. ๒๒๙๔

วันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1751 คณะทูตได้ขึ้นฝั่งและได้รับการรับรองที่ Amsterdam (พระประแดง)

On the twentieth day of the solar month Mithuna, which is the eighth day of the increasing moon of the lunar month Poson, being Wednesday, about the tenth hour of the morning, two officers came from the capital and accompanied us with the royal message and presents to the place called Amsterdam, which is built at the mouth of the river; here we landed and remained two days.

มีรายละเอียดอยู่ใน หนังสือ forgottenbooks
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 11:39

ปัจจุบัน สถานที่ตั้งของเมือง คือส่วนไหนของสมุทรปราการในวันนี้คะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 11:41

คั่นรายการ,

           Amsterdam  ชื่อนี้ มีที่มาจาก  Amestelle (or Amstelland) + dam

           Amestelle, or Amstelland
- พื้นที่พรุ, ชุ่มน้ำ บริเวณอ่าวแม่น้ำ Amstel ทางตอนเหนือของเนเธอร์แลนด์

               โดย Amestelle มาจากคำว่า aam หรือ ame แปลว่า น้ำ - water และ stelle แปลว่า ผืนดินดอนแข็ง,แห้ง
(solid, high, and dry ground)
           
               พื้นที่นี่ได้ถูกจับจองปรับแปรสภาพที่ดินในศตวรรษที่ 10 โดยกสิกรที่อาศัยอยู่บริเวณต้นน้ำขึ้นไป และต่อมาได้มี
การสร้างเขื่อน
              dam ในช่วงปี 1264 and 1275

A 1538 painting by Cornelis Anthonisz showing a bird's-eye view of Amsterdam


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 12:05

ปัจจุบัน สถานที่ตั้งของเมือง คือส่วนไหนของสมุทรปราการในวันนี้ค่ะ

สันนิษฐานว่าคลังสินค้าของ Amsterdam (A) อยู่ทางเหนือของวัดยายสีเดิม ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงงาน (C) ซึ่งอยู่บนถนนสุขสวัสดิ์ฝั่งซ้ายของคลองบางปลากด  ปากคลองบางปลากดเป็นที่ตั้งของป้อมคงกระพัน (B)

ภาพจากบทความเรื่อง Amsterdam: The VOC warehouse at the Mouth of the Chao Phraya River โดย Patric Dumon


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง