ปากน้ำเจ้าพระยา
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 08 ก.พ. 21, 14:21
|
|
ขอกลับไปที่โค้งรูปเกือกม้า จากปากคลองบางปลากด เข้าไปในเส้นทางลำคลอง เปรียบเทียบภาพปัจจุบัน กับ ภาพจากกรมแผนที่ทหารเมื่อปี พ.ศ.2455 แสดงว่าการขุดคลองลัดโค้ง เพิ่งทำหลังปี 2455 และ วัดโบถ ที่อยู่ตรงทางลัดโค้ง ปัจจุบัน ไม่เหลือแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปากน้ำเจ้าพระยา
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 08 ก.พ. 21, 14:44
|
|
ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งอำเภอพระสมุทรเจดีย์ มีป้อมปราการหลายป้อม จะขอเลือกป้อมที่สำคัญ 4 ป้อม ตามที่ทำตำแหน่งหมายเลขไว้บนแผนที่
1. ป้อมพระจุลจอมเกล้า สร้างสมัยรัชกาลที่ 5 2. ป้อมนาคราช เป็นป้อมใหญ่สร้างสมัยรัชกาลที่ 2 3. ป้อมผีเสื้อสมุทร ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำ สร้างสมัยรัชกาลที่ 2 4. ป้อมคงกระพัน สร้างสมัยรัชกาลที่ 3
ป้อมนาคราช และป้อมผีเสื้อสมุทร ถูกระบุว่าสร้างอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ป้อมพระจุลจอมเกล้า ก็ถูกระบุว่า สร้างอยู่ตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา แสดงว่าปากแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ค่อยๆ ยื่นออกไปเรื่อยๆ จากตำแหน่งที่ 2 + 3 (สมัยรัชกาลที่ 2) ออกไปถึงตำแหน่งที่ 1 (สมัยรัชกาลที่ 5)
ส่วนป้อมคงกระพัน ตั้งอยู่ปากคลองบางปลากดทางฝั่งเหนือ ซึ่งใกล้เคียง หรือ ตรงกับตำแหน่งเดิมของเมืองอัมส์เตอร์ดัมพอดี ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เรา ค้นหาซากเมืองอัมส์เตอร์ดัมไม่เจอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kui045
มัจฉานุ
 
ตอบ: 94
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 08 ก.พ. 21, 15:02
|
|
วัดระยะทางริมฝั่งจากป้อมผีเสื้อถึงป้อมพระจุล ประมาณ 7 กม. ไม่น่าเป็นไปได้ว่า แค่ระยะ 70-80 ปี (จากร.2-ร.5) ปากแม่น้ำจะขยับได้ไกลขนาดนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปากน้ำเจ้าพระยา
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 08 ก.พ. 21, 20:42
|
|
ปากแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้ยื่นออกไปทันที แต่จะปรากฏเป็นแนวสันดอนที่เป็นแผ่นดินปริ่มน้ำ โผล่ขึ้นยามน้ำลง หากมีการตกตะกอนของธุรลีดินที่ไหลมาจากต้นน้ำทางภาคเหนือและภาคกลาง ก็จะกลายเป็นแผ่นดิน เกิดเป็นปากแม่น้ำแหล่งใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปากน้ำเจ้าพระยา
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 08 ก.พ. 21, 20:45
|
|
สังเกตุที่คลองปากน้ำสมัยกรุงศรีอยุธยา กับแผนที่ปี 2455
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
Jalito
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 08 ก.พ. 21, 21:29
|
|
ร่องน้ำระหว่างองค์พระสมุทรเจดีย์กับเกาะป้อมผีเสื้อสมุทร นานๆไปพ้นยุคเราท่าน เป็นไปได้ว่าจะตื้นขึ้นเรื่อยๆจนเป็นผืนดินเดียวกัน เช่นเดียวกับพระเจดีย์กลางน้ำขึ้นฝั่งไปเรียบร้อยแล้ว และจะห่างฝั่งเข้าไปเรื่อยๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปากน้ำเจ้าพระยา
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 08 ก.พ. 21, 21:57
|
|
เห็นด้วยครับ โชคดีที่เกาะป้อมผืเสื้อสมุทรอยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพเรือ จึงไม่มีชาวบ้านกล้าบุกรุก และจะมีงบประมาณขุดร่องน้ำไม่ให้แผ่นดินยื่นเข้ามา ส่วนพระสมุทรเจดีย์อยู่ภายใต้การดูแลของจังหวัด ......
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Jalito
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 08 ก.พ. 21, 22:00
|
|
ไม้ป่าชายเลนท้ายเกาะป้อมผีเสื้อ ถูกทอนลงอย่างสม่ำเสมอจนมองดูเหมือนไม้่พุ่มคลุมดิน ทั้งนี้เพื่อเปิดทัศนียภาพองค์พระสมุทรเจดีย์ มิฉะนั้นจะกลายเป็นพระเจดีย์กลางป่าชายเลน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปากน้ำเจ้าพระยา
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 10 ก.พ. 21, 16:11
|
|
ป้อมคงกระพัน สร้างสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2377) ตั้งอยู่ปากคลองบางปลากดฝั่งเหนือ
บริเวณที่เชื่อว่าเป็นเมืองอัมส์เตอร์ดัม ปัจจุบัน เป็นชุมชนหมู่บ้านคงกระพันชาตรี
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปากน้ำเจ้าพระยา
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 10 ก.พ. 21, 16:13
|
|
หมู่บ้าน กับ ซากป้อมคงกระพัน แทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปากน้ำเจ้าพระยา
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 10 ก.พ. 21, 16:17
|
|
พื้น ทางเดิน พนังบ้าน รั้ว กับ ซากป้อมคงกระพัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 10 ก.พ. 21, 19:36
|
|
บริเวณที่เชื่อว่าเป็นเมืองอัมส์เตอร์ดัม ปัจจุบัน เป็นชุมชนหมู่บ้านคงกระพันชาตรี ระยะเวลากว่า ๔๐๐ ปี อาจทำให้ภูมิประเทศเปลี่ยนแปลง นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าระหว่างระยะเวลาอันยาวนานนี้ Amsterdam อาจถูกกระแสน้ําไหลพัดเซาะตลิ่งจนพังทลายลงไปในคลองเสียแล้ว
หากเป็นเช่นนั้น หมู่บ้านคงกระพันชาตรีคงไม่ได้สร้างทับ Amsterdam แต่สร้างทับป้อมคงกระพัน  นอกจากทําหน้าที่เป็นเมืองด่านทางทะเลแล้ว เมืองสมุทรปราการ ยังเป็นเมืองท่าด้วย ดังท่ีได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้มี ชาวเนเธอร์แลนด์เข้ามาค้าขายได้ต้ังสถานีการค้าของเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” ข้ึนในบริเวณบางปลากด อย่างไรก็ดีบทบาทด้านนี้คงเป็น บทบาทรองและสภาพการค้าในบางปลากดคงมีความคึกคักเพียงช่วงสั้น ๆ เท่าน้ัน เนื่องจากหลังรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมการค้าระหว่างเนเธอร์แลนด์กับสยามค่อย ๆ ซบเซาลง เนื่องจากชาวเนเธอร์แลนด์ไม่พอใจที่ราชสํานักสยาม ทําการค้าต่างประเทศด้วยตนเองมากกว่าท่ีจะทําการค้าต่างประเทศผ่านพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์สยามดําเนินนโยบาย กระชับความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสจนมีเรื่องพิพาทกับเนเธอร์แลนด์ สุดท้าย เนเธอร์แลนด์จึงทอดทิ้งสถานีการค้านิวอัมสเตอร์ดัมปล่อยให้รกร้าง ต่อมาสถานีการค้าแห่งนี้ได้พังทลายลงจากกระแสน้ําที่ไหลพัดเซาะตลิ่งจาก วิวัฒนาการของเมืองสมุทรปราการ : จากเมืองป้อมปราการสู่เมือง “กึ่งสมัยใหม่” โดย ดร.โดม ไกรปกรณ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วารสารหน้าจั่วฯ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๕๘ หน้า ๒๗๙ ซากป้อมคงกระพัน ถ่ายภาพโดย Patrick Dumon พ.ศ. ๒๕๕๖
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปากน้ำเจ้าพระยา
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 11 ก.พ. 21, 17:20
|
|
นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ การค้าของฮอลันดาในไทย ค่อนข้างขึ้นๆ ลงๆ บางครั้งก็ขัดแย้งกัน ถึงกับฮอลันดาเคยนำเรือรบมาปิดปากอ่าวสยาม แต่เอาเข้าจริง คลังสินค้าอัมส์เตอร์ดัมกลับยังคงอยู่จนถึงช่วงท้ายของกรุงศรีอยุธยา เอกสารตามบันทึกเรื่องคณะทูตลังกา พ.ศ. 2293 (17 ปี ก่อนกรุงแตก) อัมส์เตอร์ดัมยังคงอยู่ คำถาม ..... อัมเตอร์ดัม น่าจะหายไปช่วงไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปากน้ำเจ้าพระยา
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 11 ก.พ. 21, 17:26
|
|
แผนที่เมื่อปีเดียวกัน (พ.ศ.2297) “Carte Du Cours Du Menan, Depuis Siam Jusqu’a la Mer” from Jacques-Nicolas Bellin, 1750 ก็ยังปรากฎเมืองอัมส์เตอร์ดัม ตรงปากคลองบางปลากด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|