เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 9732 อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 14:08

พื้นที่ีปากแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากแนวสันดอนที่มีลักษณะเป็นโคลนปนทราย ธรรมชาติตามแนวโค้งแม่น้ำ ทำให้กระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว ซัดบางพื้นที่ให้หายไปทีละน้อย ส่วนดินที่ถูกซัดจะไปปรากฏเป็นแผ่นดินตรงฝั่งตรงข้าม ที่กลับยื่นออกไปเรื่อยๆ

คลองบางปลากด เป็นคลองคตเคี้ยว กว่าจะแจวเรือเข้าไปสู่ชุมชนหนึ่งจะต้องผ่านโค้งตลอดแนว ชาวบ้านเรียกกันว่า เป็นคลอง 33 คตคุ้ง การเดินทางไม่สะดวก โดยเฉพาะช่วงน้ำลง จะเป็นเนินสันดอนเข้าออกไม้ได้ ผมจึงยังไม่แน่ใจข้อมูลของคุณ Patric Dumon เพราะมีบันทึกนักเดินทางหลายท่านที่แจ้งว่า แลเห็นอัมส์เตอร์ดัมจากบนเรือ ไม่น่าจะตั้งอยู่ลึกเข้าไปในคลองบางปลากด ถึงพื้นที่ A ตามแผนที่
 
อย่างเช่น บันทึกการเดินทางของเรือดีไลท์ โดย กัปตันจอห์น สมิธ ในภารกิจของบริษัทอิสอินเดียของอังกฤษ ซึ่งเดินทางมาจากประเทศจีนว่า

“...วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ตุลาคม ค.ศ. ๑๖๘๓ (พ.ศ.๒๒๒๖) เราได้มาถึงก้นอ่าวสยามและพบแม่น้ำ ได้ส่งนายอับร. นาวาโรขึ้นฝั่งไป...ในตอนเย็นนายนาวาโรได้กลับมายังเรือ และได้นำตัวคนนำร่องชาวฮอลันดาจากสำนักงานของนายท่าที่อยู่ปากแม่น้ำมาด้วย เพื่อนำเรือของเราข้ามสันดอน และได้มาทอดสมอในแม่น้ำประมาณ ๑ ลีก เหนือที่ทำการท่าเรือของฮอลันดา ซึ่งเรียกว่า อัมสเตอร์ดัม ...”
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 14:13

เหตุผล ที่ต้องขอพระบรมราชานุญาตสร้างอัมส์เตอร์ดัม

1.   เรือสินค้าที่จะเข้าปากน้ำเจ้าพระยา จะต้องผ่านด่านเก็บภาษีที่ขนอนบางกอก บางครั้งเรือที่บรรทุกสินค้าบางส่วนจากบัตตาเวียหรือมาลายู มีจุดประสงค์เพื่อเข้าไปรับสินค้าเพิ่มเติม ณ กรุงศรีอยุธยา แต่สินค้าติดลำเรือจากเมืองอื่นๆ เหล่านั้น กลับจะต้องเสียภาษี ทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจนำเข้ามาขาย อัมส์เตอร์ดัมจึงถือเป็นแหล่งพักสินค้า ก่อนจะกลับมาขนออกไปต่างประเทศ
2.   การมีคลังสินค้าตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถเก็บกัก รวบรวมสินค้าทีละน้อยในช่วงมรสุม ก่อนที่จะบรรทุกลงเรือ ออกเดินทางในช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินเรือในแต่ละปี
3.   อัมส์เตอร์ดัม เป็นชุมชนคลังสินค้า มีที่พัก สามารถทำรายได้จากค่าเช่าที่เก็บสินค้า และรับรองลูกค้าชาติอื่นๆ ได้ด้วย
4.   สินค้าบนคลังสินค้าอัมส์เตอร์ดัม ถือเป็นสินค้าปลอดภาษี เรือจากหลายๆ ชาติ สามารถแวะซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยไม่ต้องเดินทางเข้าไปถึงกรุงศรีอยุธยา
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 14:20

ปากคลองบางปลากด หันหน้าสู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เช้าวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564
ซ้าย คือ ปากคลองฝั่งเหนือ
ขวา คือ ปากคลองฝั่งใต้

อัมส์เตอร์ดัม ตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือ (ยังไม่ยืนยันสถานที่ตั้ง)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 15:53

Patrick Dumon อ้างจาก แผนที่ Kaart van de Rivier van Siam ของ Isaac De Graaff แผนที่ฉบับนี้เขียนโดยกำหนดมาตราส่วน จาก Amsterdam ถึงปากคลองบางปลากด มีระยะทางประมาณ ๑/๔ ดัชต์ไมล์ (Dutch mile) เท่ากับ ๑.๔ กิโลเมตร ซึ่งตรงกับตำแหน่ง  (C) หรือวัดยายสีเดิม


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 20:31

ขอบคุณ คุณเพ็ญชมพู มากครับ
ชัดเจนแล้วครับ ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูล 2 เรื่องนะครับ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 20:45

1. พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงปากคลองบางปลากด เป็นพื้นที่น้ำเชี่ยว เวลาน้ำขึ้นและลงในแต่ละวัน จะซัดตลิ่งทำให้แผ่นดินค่อยๆ หาย ในขณะที่พื้นที่ถัดลงมา เป็นพื้นที่ตะกอนที่ซัดตลิ่งปากคลอง ลงมากอง ทำให้กลายเป็นพื้นที่แผ่นดินงอก เป็นสาเหตุทำให้เกาะองค์พระสมุทรเจดีย์ หมดความเป็นเกาะกลายเป็นแผ่นดินริมแม่น้ำ ในขณะที่ปากคลองบางปลากดที่ถูกน้ำกัดเซาะหายไปทีละน้อย อาจทำให้อัมส์เตอร์ดัมไม่ได้อยู่ลึกไปถึงวัดยายสี (ปัจจุบัน ไม่ปรากกวัดนี้แล้วครับ)  


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 21:01

2. ระหว่างเส้นทางน้ำจากปากคลอง เข้าพื้นที่ในคลองถึงพื้นที่ A เส้นทางโบราณจะต้องอ้อม เป็นทางโค้งรูปเกือกม้า คลองบางปลากดในช่วงน้ำลง จะกลายเป็นดินโคลนของสันดอนโผล่ขึ้น ไม่น่าจะเหมาะแก่การเป็นท่าเรือ ขึ้นลงสินค้า (ไม่มีข้อมูลการขุดคลองลัดโค้ง เพราะผมจำความได้ก็เห็นคลองลัดนี้แล้วครับ)


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 21:17

คณะพระภิกษุชาวลังกาที่เดินทางเข้ามาเมืองไทย เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๒๙๔
ได้บันทึกไว้ตอนทอดสมอตรงปากอ่าวกรุงศรีอยุธยา เวลา ๑๑ โมง มีข้าราชการกรมการเมืองสมุทรปราการ ๒ คน มานำร่องพาเรือกำปั่น แล่นเข้าปากน้ำบางเจ้าพญา โดยกล่าวไว้ว่า

“เรือผ่านปากคลองบางปลากด จอดที่ตำบลอัมส์เตอร์ดัมที่พวกวิลันดา (ฮอลันดา) สร้างไว้ที่ปากน้ำ .....  ล่วงอีก ๗ วัน มีข้าราชการไทย ๓ คนมาเยี่ยม.....มอบของต้อนรับ คือ มะพร้าวอ่อน มะพร้าวห้าว หมากพลู เป็นต้น”
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 21:49

ต้นฉบับภาษาอังกฤษจากหนังสือ forgottenbooks



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 22:04

อ่่านแล้วชักไม่แน่ใจว่าคนที่คุมการเข้าออกปากน้ำเจ้าพระยา เป็นข้าราชการไทย หรือ กองเรือฮอลันดา
และคงจะเป็นขั้นตอนที่ต่างชาติคงมองว่่า หยุมหยิมล่าช้ามาก กว่าจะได้เดินทางเข้าสู่กรุงสรีอยุธยา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 ก.พ. 21, 15:59

จากหนังสือ ตามรอยบันทึกชาวต่างชาติจากอ่าวสยามสู่ลำน้ำเจ้าพระยา กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งที่ ๑ พุทธศักราช ๒๕๕๗ หน้า ๑๕๓ - ๑๕๔



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 07 ก.พ. 21, 16:29

นาทีที่ ๖.๔๕ ความเชื่ออีกแนวหนึ่ง คุณสมชาย ชัยประดิษฐรักษ์ ผู้จัดทำคลิปนี้ เชื่อว่าป้อมคงกระพันสร้างทับพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของ Amsterdam

บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 07 ก.พ. 21, 17:36

ขอบคุณมากครับ

หากเราจะเปรียบเทียบกับเมืองนิวอัมส์เตอร์ดัม ที่อเมริกา (ปัจจุบัน คือ นิวยอร์ค) ปากแม่น้ำฮัตสัน ที่สร้างในช่วงเดียวกัน โดยชาวฮอลันดาเหมือนกัน
นิวอัมส์เตอร์ดัม ปากแม่น้ำฮัตสัน สร้าง พ.ศ.2167
อัมส์เตอร์ดัม ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรม (ครองราชย์ พ.ศ.2154-2171)
เราจะพอประมาณลักษณะของเมืองอัมส์เตอร์ดัม ที่ปากน้ำเจ้าพระยา จะมีลักษณะใกล้เคียงกับอัมส์เตอร์ดัมที่อเมริกา (ตามรูปข้างล่างนี้) จะได้มั้ยครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 08 ก.พ. 21, 08:28

ภาพ "เมืองนิวอัมสเตอร์ดัม" ตอนต้นคลิปของคุณสมชาย ชัยประดิษฐ์รักษ์ แท้จริงเป็นภาพ "กรุงศรีอยุธยาท่ามกลางพายุ" วาดโดย ปีเตอร์ ฟาน เดอ อา (Pieter van der Aa) นักแผนที่ชาวฮอลันดา เป็นภาพมุมกว้างของกรุงศรีอยุธยาที่มองจากบ้านฮอลันดา ชุมชมของชาวยุโรปที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงศรีอยุธยา

ปีเตอร์ ฟาน เดอ อา ได้พิมพ์เผยแพร่และจำหน่าย ภายใต้ชื่อภาพ La Ville de Judia ou de Siam ou and quell ใน พ.ศ. ๒๒๕๐ รัชกาลพระเจ้าเสือ โดยที่ไม่เคยเดินทางมากรุงศรีอยุธยาเลย แต่อาศัยต้นแบบจากภาพ De stadt Iudia ที่วาดโดยจิตรกรชาวฮอลันดา เมื่อ พ.ศ. ๒๑๙๓ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง



ข้อมูลจาก ชมรมประวัติศาสตร์สยาม



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 08 ก.พ. 21, 10:42

คั่นรายการ,

               เมืองท่านิวอัมสเตอร์ดัม ปรากฏคงอยู่ใน คำขวัญประจำอำเภอพระสมุทรเจดีย์

phrasamutchedi.samutprakan.doae.go.th/Pravut.htm


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 20 คำสั่ง