เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 1540 พระพิจิตรราชสาส์น (สอน วินิจฉัยกุล) ข้าราชบริพารสี่แผ่นดิน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 30 ม.ค. 21, 14:03

   หลังจากคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 สำเร็จแล้ว ห้าปีต่อมาได้โอนกรมพระคลังข้างที่ ซึ่งขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรีไปขึ้นกับกระทรวงการคลัง    ก่อนโอนได้มีการนำที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ออกมาแบ่งปันซื้อขายในพวกก่อการฯด้วยกันในราคาถูก      ดังที่ปรากฏในรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 12/2480  นายเลียง ไชยกาล ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา  โดยได้ระบุชื่อผู้ที่ซื้อที่ดินทรัพย์สินไว้ประมาณ 25 คนด้วยกัน

หนึ่งในจำนวนนั้นถูกนายเลียงระบุชื่อว่า “พระพิจิตรราชสาส์น”(สอน วินิจฉัยกุล) ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 4243  อำเภอบางซื่อ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ด้วยราคา 5,945 บาท 
ข้อความตอนนี้ถูกนำมาพูดในรายการ Sondhitalk EP.61 ของสนธิ ลิ้มทองกุล ในนาทีที่ 2.09.49  ซึ่งสตรีมสดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563

ข้อความที่พาดพิงถึงพระพิจิตรราชสาส์นเป็นความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความจริงเป็นอันมาก ซึ่งยังไม่มีการแก้ไขให้ถูกต้องจนบัดนี้  นำความเสื่อมเสียชื่อเสียงมาสู่พระพิจิตรราชสาส์น (สอน วินิจฉัยกุล) ตลอดจนบุตรหลานของท่านในตระกูลวินิจฉัยกุล 
ด้วยทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่า พระพิจิตรราชสาส์นคือหนึ่งในผู้ก่อการหรือผู้สนับสนุนคณะราษฎร์ ล้มล้างระบอบการปกครองแต่เดิมของสยาม ด้วยเหตุนี้จึงได้ผลประโยชน์ร่วมกันกับคณะราษฎร์ ทั้งๆที่ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

ตามประวัติ  พระพิจิตรราชสาส์น เป็นบุตรชายของพระสรรค์บุรานุรักษ์ (ภู่ วินิจฉัยกุล) เจ้าเมืองสรรค์บุรีในรัชกาลที่ 5  และนางทองดี  รัตนกุล ได้เข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 6 จนศึกษาจบจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ก็ได้เข้ารับราชการในพระบรมมหาราชวัง   
ในรัชกาลที่ 8 ได้เป็นผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล   ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลเพียงไม่กี่คน ที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ในตอนที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตในพระที่นั่งบรมพิมานพระบรมมหาราชวังเมื่อที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489

พระพิจิตรราชสาส์นได้ขึ้นให้การเป็นพยานให้กับทางฝ่ายอัยการ ซึ่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องราชเลขานุการและมหาดเล็กอีกสองนายเป็นจำเลยในข้อหาประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 จนท้ายที่สุดศาลฎีกาได้พิพากษาตัดสินว่าจำเลยทั้งสามคนมีส่วนรู้เห็นเป็นใจ และต้องโทษประหารชีวิต

พระพิจิตรราชสาส์นไม่ได้เป็นผู้มีฐานะร่ำรวย   มีเพียงเงินเดือนราชการเลี้ยงครอบครัว  ท่านไม่ได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 4243 แต่ได้เช่าที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งเป็นของพระคลังข้างที่ (ต่อมาคือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์) ด้วยค่าเช่าเดือนละ 4 บาท เพื่อเป็นที่พำนักอาศัยของครอบครัว
เมื่อท่านสิ้นชีวิตแล้ว ครอบครัวของท่านก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่นและได้มีการโอนสิทธิ์การเช่าที่ดินให้กับบุคคลอื่นต่อไป ในปัจจุบันที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสามเสน (เลขที่ 1-2 ซอยสามเสน 22 ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพ ) ทางเจ้าของวิทยาลัยฯ นางสมบูรณ์ ศรีวิหค เป็นผู้จ่ายค่าเช่าที่ดินให้กับทางสำนักงานทรัพย์สินฯ มาจนถึงปัจจุบัน    สามารถยืนยันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเช่าที่ดินได้กับผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ รวมทั้งยืนยันได้ด้วยว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์  และไม่เคยมีการขายให้กับพระพิจิตรราชสาส์นโดยสามารถตรวจสอบหลักฐานกับทางสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร

พระพิจิตรราชสาส์นได้รับราชการด้วยความสามารถและซื่อสัตย์สุจริต    จนเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานขึ้นตามลำดับจนได้เป็นรองราชเลขาธิการ และรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูล

นอกจากนี้ บุตรชายของท่านคือนายแพทย์สิริพงศ์ วินิจฉัยกุล ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานทุนส่วนพระองค์ไปศึกษาด้านสูตินรีเวชและศัลยศาสตร์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาได้กลับมารับราชการในกองแพทย์หลวง สำนักพระราชวัง 
หากพระพิจิตรราชสาส์นได้กระทำการอันไม่สมควรดังที่ถูกกล่าวหา  ก็คงไม่มีโอกาสได้เจริญในราชการทั้งตัวท่านและบุตรชายของท่านมาจนถึงรัชกาลที่ 9

พระพิจิตรราชสาส์นได้ถึงแก่กรรมกะทันหันด้วยอาการเส้นโลหิตในสมองแตก ณ จังหวัดสกลนคร   ในขณะตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรทางภาคอีสาน  เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ได้รับพระราชทานเพลิง  ณ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 ม.ค. 21, 14:10

บ้านบนโฉนดที่ดินเลขที่ 4243  บางซื่อ  ที่พระพิจิตรราชสาส์นและครอบครัวเคยอาศัยอยู่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 ม.ค. 21, 14:18

ถ้ามีใครสงสัยว่า ในเมื่อพระพิจิตรราชสาส์นไม่ได้มีฐานะร่ำรวย มีแต่เงินเดือนราชการ  เหตุใดจึงมีบ้านใหญ่โตขนาดนี้
ก็ขอตอบว่า บ้านนี้ไม่ใช่บ้านส่วนตัว    เป็นบ้านหลวงสร้างขึ้นก่อนหน้านี้นานแล้ว  ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5  สร้างบนที่ดินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  พระพิจิตรราชสาส์นได้เช่าที่ดินอยู่เดือนละ 4 บาท  ส่วนบ้านได้อยู่ฟรี ในฐานะข้าราชบริพาร
ปัจจุบันบ้านหลังนี้ยังอยู่ เป็นอาคารที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสามเสน  เลขที่ 1-2 ซอยสามเสน 22 ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ  เจ้าของชื่อนางสมบูรณ์ ศรีวิหค ได้เช่าที่ดินของทรัพย์สินฯ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 ม.ค. 21, 14:24

ปัจจุบันบ้านหลังนี้เป็นหนึ่งในอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  มีหลักฐานอยู่ในหน้า ๑๒๓   ของหนังสือ "ทรรศนียาคาร" ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จัดพิมพ์ขึ้น สำหรับรวบรวมภาพบรรดาอาคารและสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าของไทยซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้ประชาชนได้รู้จัก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 ม.ค. 21, 14:24

ภาพตัวบ้านในปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 ม.ค. 21, 14:25

คำบรรยายในหนังสือ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 มี.ค. 24, 13:22

   ต้องดึงกระทู้นี้ขึ้นมาอีก   เพราะเรื่องยังไม่จบ
   สืบเนื่องจาก  อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต ได้ไปออกรายการ "คนเคาะข่าว" เมื่อวันที่  27-03-67  เรื่อง "เปิดความลับ 87 ปี ผลสอบปล้นพระคลังข้างที่ หลังปฏิวัติ2475 "
   ในรายการนี้  อ.ปานเทพได้นำชื่อพระพิจิตรราชสาส์น (สอน วินิจฉัยกุล) ขึ้นมาอีก  ในฐานะผู้ซื้อที่ดินของพระคลังข้างที่   หรืออีกนัยหนึ่งคือมีส่วนเกี่ยวข้องกับ "การปล้นพระคลังข้างที่  หลังปฏิวัติ 2475"  ทั้งๆลูกหลานพระพิจิตรก็ได้ชี้แจงไปแล้วว่าเป็นเรื่องไม่จริง   แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการแก้ไขแต่อย่างใด
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 มี.ค. 24, 13:26

อ.ปานเทพได้อ้างหลักฐานจากเอกสารชิ้นนี้



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 มี.ค. 24, 13:31

   ในเมื่อเรื่องยังไม่ได้ยุติ  แม้มีการชี้แจงไปยังหนังสือพิมพ์ผู้จัดการแล้ว      ลูกหลานทางฝ่ายพระพิจิตรราชสาส์น  ผู้ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องนี้ จึงทำจดหมายเปิดผนึกถึงคุณสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของและผู้จัดการหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ตามนี้อีกครั้ง
 ชี้แจง
เรื่องการซื้อขายที่ดิน  
ระหว่างพระคลังข้างที่ กับพระพิจิตรราชสาส์น (สอน วินิจฉัยกุล)

     ตามที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ได้พูดในรายการ Sondhitalk EP.61 ของสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งสตรีมสดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563  ในนาทีที่ 2.09.49 อ้างถึง   “พระพิจิตรราชสาส์น”(สอน วินิจฉัยกุล)ว่าเป็นผู้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 4243  อำเภอบางซื่อ ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ด้วยราคา 5,945 บาท  
ข้อความที่พาดพิงถึงพระพิจิตรราชสาส์นเป็นเรื่องคลาดเคลื่อน  ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง   และยังไม่มีการแก้ไขให้ถูกต้องจนบัดนี้  นำความเสื่อมเสียชื่อเสียงมาสู่พระพิจิตรราชสาส์น (สอน วินิจฉัยกุล) ตลอดจนบุตรหลานของท่านในตระกูลวินิจฉัยกุล  ด้วยทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่า พระพิจิตรราชสาส์นคือหนึ่งในผู้ก่อการหรือผู้สนับสนุนคณะราษฎร์ ล้มล้างระบอบการปกครองแต่เดิมของสยาม ด้วยเหตุนี้จึงได้ผลประโยชน์ร่วมกันกับคณะราษฎร์ ทั้งๆที่ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
   ข้อเท็จจริงคือพระพิจิตรราชสาส์นได้เช่าที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งเป็นของพระคลังข้างที่ (ต่อมาคือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์) ด้วยค่าเช่าเดือนละ 6 บาท เพื่อเป็นที่พำนักอาศัยของครอบครัว ท่านไม่ได้มีฐานะดีพอจะซื้อที่ดินของตนเองได้   เมื่อท่านสิ้นชีวิตในพ.ศ. 2498  ภรรยาและบุตรประสบความลำบาก ต้องหาที่อยู่ใหม่ จึงได้โอนสิทธิ์การเช่าที่ดินให้ผู้อื่น  ปัจจุบันนางสมบูรณ์ ศรีวิหค   เจ้าของวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสามเสน (เลขที่ 1-2 ซอยสามเสน 22 ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพ ) เป็นผู้จ่ายค่าเช่าที่ดินให้กับทางสำนักงานทรัพย์สินฯ
   นายปเรตร์ อรรถวิภัชน์  ญาติของพระพิจิตรราชสาส์นได้ติดต่อไปยังสำนักงานที่ดิน กรุงเทพมหานคร ถนนพิพิธ แขวงพระราชวัง เขตพระนคร แต่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานว่า ไม่สามารถนำโฉนดของสำนักงานทรัพย์สินมาให้ดูหรือให้ถ่ายเอกสารยืนยันได้  เพราะผู้ติดต่อสอบถามเป็นบุคคลภายนอก  ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้   แต่เจ้าพนักงานสามารถตอบคำถามได้ว่า ที่ดินแปลงนี้ไม่เคยเปลี่ยนมือเจ้าของ   ไม่มีชื่อผู้อื่นอยู่ในโฉนดนอกจากสำนักงานทรัพย์สินฯ   หากว่าคุณสนธิประสงค์จะพิสูจน์ ก็สามารถขอให้ตัวแทนหนังสือพิมพ์ผู้จัดการไปที่สำนักงานที่ดิน โดยนัดหมายกับญาติของพระพิจิตรราชสาส์น เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วยกัน ให้สิ้นสงสัย  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 มี.ค. 24, 13:32

ทั้งนี้ ลูกหลานของพระพิจิตรราชสาส์นใคร่ขอความเห็นใจจากคุณสนธิว่า  ข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้คือพระพิจิตรราชสาส์นไม่เคยเป็นเจ้าของที่ดินไม่ว่าแปลงใด    แต่เช่าอยู่มาตลอดชีวิต  ทุกวันนี้บ้านที่ท่านเช่าก็ยังอยู่ในฐานะทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สิน ดังที่มีหลักฐานในหนังสือ “ทรรศนียาคาร”
       เอกสารที่คุณสนธิได้มาเป็นเอกสารข้อเท็จจริง หรือมีข้อความอันเป็นเท็จ   ลูกหลานของพระพิจิตรฯก็ไม่อาจทราบได้  การที่เอกสารระบุว่า พระพิจิตรราชสาส์น “ขอคืน” ที่ดิน  แสดงว่าท่านมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในที่ดินแล้ว และนำมาคืนในภายหลัง     ถ้าเช่นนั้นในโฉนดก็จะต้องมีหลักฐานชื่อท่านเป็นผู้ซื้อ  และโอนกลับ  แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานดังกล่าว  มีแต่หลักฐานว่าสำนักงานทรัพย์สินฯเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตั้งแต่ต้นจนปัจจุบัน 
     พระพิจิตรราชสาส์นได้รับราชการด้วยความสามารถและซื่อสัตย์สุจริต    จนเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานขึ้นตามลำดับจนได้เป็นรองราชเลขาธิการ และรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูล
    นอกจากนี้ บุตรชายของท่านคือนายแพทย์สิริพงศ์ วินิจฉัยกุล ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานทุนส่วนพระองค์ไปศึกษาด้านสูตินรีเวชและศัลยศาสตร์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาได้กลับมารับราชการในกองแพทย์หลวง สำนักพระราชวัง  หากพระพิจิตรราชสาส์นได้กระทำการอันไม่สมควรดังที่ถูกกล่าวหา  ก็คงไม่มีโอกาสได้เจริญในราชการทั้งตัวท่านและบุตรชายของท่านมาจนถึงรัชกาลที่ 9
ตามประวัติ  พระพิจิตรราชสาส์น เป็นบุตรชายของพระสรรค์บุรานุรักษ์ (ภู่ วินิจฉัยกุล) เจ้าเมืองสรรค์บุรีในรัชกาลที่ 5  และนางทองดี  รัตนกุล ได้เข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 6 จนศึกษาจบจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ก็ได้เข้ารับราชการในพระบรมมหาราชวัง   ในรัชกาลที่ 8 ได้เป็นผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลเพียงไม่กี่คน ที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ในตอนที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตในพระที่นั่งบรมพิมานพระบรมมหาราชวังเมื่อที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 พระพิจิตรราชสาส์นได้ขึ้นให้การเป็นพยานให้กับทางฝ่ายอัยการซึ่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องราชเลขานุการและมหาดเล็กอีกสองนายเป็นจำเลยในข้อหาประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 จนท้ายที่สุดศาลฎีกาได้พิพากษาตัดสินว่าจำเลยทั้งสามคนมีส่วนรู้เห็นเป็นใจ และต้องโทษประหารชีวิต
   พระพิจิตรราชสาส์นได้ถึงแก่กรรมกะทันหันด้วยอาการเส้นโลหิตในสมองแตก ณ จังหวัดสกลนคร   ในขณะตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรทางภาคอีสาน  เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ได้รับพระราชทานเพลิง  ณ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง