เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 32575
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
หลังจากคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 สำเร็จแล้ว ห้าปีต่อมาได้โอนกรมพระคลังข้างที่ ซึ่งขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรีไปขึ้นกับกระทรวงการคลัง ก่อนโอนได้มีการนำที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ออกมาแบ่งปันซื้อขายในพวกก่อการฯด้วยกันในราคาถูก ดังที่ปรากฏในรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 12/2480 นายเลียง ไชยกาล ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา โดยได้ระบุชื่อผู้ที่ซื้อที่ดินทรัพย์สินไว้ประมาณ 25 คนด้วยกัน
หนึ่งในจำนวนนั้นถูกนายเลียงระบุชื่อว่า “พระพิจิตรราชสาส์น”(สอน วินิจฉัยกุล) ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 4243 อำเภอบางซื่อ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ด้วยราคา 5,945 บาท ข้อความตอนนี้ถูกนำมาพูดในรายการ Sondhitalk EP.61 ของสนธิ ลิ้มทองกุล ในนาทีที่ 2.09.49 ซึ่งสตรีมสดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563
ข้อความที่พาดพิงถึงพระพิจิตรราชสาส์นเป็นความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความจริงเป็นอันมาก ซึ่งยังไม่มีการแก้ไขให้ถูกต้องจนบัดนี้ นำความเสื่อมเสียชื่อเสียงมาสู่พระพิจิตรราชสาส์น (สอน วินิจฉัยกุล) ตลอดจนบุตรหลานของท่านในตระกูลวินิจฉัยกุล ด้วยทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่า พระพิจิตรราชสาส์นคือหนึ่งในผู้ก่อการหรือผู้สนับสนุนคณะราษฎร์ ล้มล้างระบอบการปกครองแต่เดิมของสยาม ด้วยเหตุนี้จึงได้ผลประโยชน์ร่วมกันกับคณะราษฎร์ ทั้งๆที่ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ตามประวัติ พระพิจิตรราชสาส์น เป็นบุตรชายของพระสรรค์บุรานุรักษ์ (ภู่ วินิจฉัยกุล) เจ้าเมืองสรรค์บุรีในรัชกาลที่ 5 และนางทองดี รัตนกุล ได้เข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 6 จนศึกษาจบจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ก็ได้เข้ารับราชการในพระบรมมหาราชวัง ในรัชกาลที่ 8 ได้เป็นผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลเพียงไม่กี่คน ที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ในตอนที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตในพระที่นั่งบรมพิมานพระบรมมหาราชวังเมื่อที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489
พระพิจิตรราชสาส์นได้ขึ้นให้การเป็นพยานให้กับทางฝ่ายอัยการ ซึ่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องราชเลขานุการและมหาดเล็กอีกสองนายเป็นจำเลยในข้อหาประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 จนท้ายที่สุดศาลฎีกาได้พิพากษาตัดสินว่าจำเลยทั้งสามคนมีส่วนรู้เห็นเป็นใจ และต้องโทษประหารชีวิต
พระพิจิตรราชสาส์นไม่ได้เป็นผู้มีฐานะร่ำรวย มีเพียงเงินเดือนราชการเลี้ยงครอบครัว ท่านไม่ได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 4243 แต่ได้เช่าที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งเป็นของพระคลังข้างที่ (ต่อมาคือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์) ด้วยค่าเช่าเดือนละ 4 บาท เพื่อเป็นที่พำนักอาศัยของครอบครัว เมื่อท่านสิ้นชีวิตแล้ว ครอบครัวของท่านก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่นและได้มีการโอนสิทธิ์การเช่าที่ดินให้กับบุคคลอื่นต่อไป ในปัจจุบันที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสามเสน (เลขที่ 1-2 ซอยสามเสน 22 ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพ ) ทางเจ้าของวิทยาลัยฯ นางสมบูรณ์ ศรีวิหค เป็นผู้จ่ายค่าเช่าที่ดินให้กับทางสำนักงานทรัพย์สินฯ มาจนถึงปัจจุบัน สามารถยืนยันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเช่าที่ดินได้กับผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ รวมทั้งยืนยันได้ด้วยว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และไม่เคยมีการขายให้กับพระพิจิตรราชสาส์นโดยสามารถตรวจสอบหลักฐานกับทางสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร
พระพิจิตรราชสาส์นได้รับราชการด้วยความสามารถและซื่อสัตย์สุจริต จนเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานขึ้นตามลำดับจนได้เป็นรองราชเลขาธิการ และรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูล
นอกจากนี้ บุตรชายของท่านคือนายแพทย์สิริพงศ์ วินิจฉัยกุล ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานทุนส่วนพระองค์ไปศึกษาด้านสูตินรีเวชและศัลยศาสตร์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาได้กลับมารับราชการในกองแพทย์หลวง สำนักพระราชวัง หากพระพิจิตรราชสาส์นได้กระทำการอันไม่สมควรดังที่ถูกกล่าวหา ก็คงไม่มีโอกาสได้เจริญในราชการทั้งตัวท่านและบุตรชายของท่านมาจนถึงรัชกาลที่ 9
พระพิจิตรราชสาส์นได้ถึงแก่กรรมกะทันหันด้วยอาการเส้นโลหิตในสมองแตก ณ จังหวัดสกลนคร ในขณะตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรทางภาคอีสาน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ได้รับพระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 32575
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 30 ม.ค. 21, 14:10
|
|
บ้านบนโฉนดที่ดินเลขที่ 4243 บางซื่อ ที่พระพิจิตรราชสาส์นและครอบครัวเคยอาศัยอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 32575
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 30 ม.ค. 21, 14:18
|
|
ถ้ามีใครสงสัยว่า ในเมื่อพระพิจิตรราชสาส์นไม่ได้มีฐานะร่ำรวย มีแต่เงินเดือนราชการ เหตุใดจึงมีบ้านใหญ่โตขนาดนี้ ก็ขอตอบว่า บ้านนี้ไม่ใช่บ้านส่วนตัว เป็นบ้านหลวงสร้างขึ้นก่อนหน้านี้นานแล้ว ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 สร้างบนที่ดินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พระพิจิตรราชสาส์นได้เช่าที่ดินอยู่เดือนละ 4 บาท ส่วนบ้านได้อยู่ฟรี ในฐานะข้าราชบริพาร ปัจจุบันบ้านหลังนี้ยังอยู่ เป็นอาคารที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสามเสน เลขที่ 1-2 ซอยสามเสน 22 ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ เจ้าของชื่อนางสมบูรณ์ ศรีวิหค ได้เช่าที่ดินของทรัพย์สินฯ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 32575
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 30 ม.ค. 21, 14:24
|
|
ปัจจุบันบ้านหลังนี้เป็นหนึ่งในอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีหลักฐานอยู่ในหน้า ๑๒๓ ของหนังสือ "ทรรศนียาคาร" ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จัดพิมพ์ขึ้น สำหรับรวบรวมภาพบรรดาอาคารและสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าของไทยซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้ประชาชนได้รู้จัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 32575
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 30 ม.ค. 21, 14:24
|
|
ภาพตัวบ้านในปัจจุบัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 32575
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 30 ม.ค. 21, 14:25
|
|
คำบรรยายในหนังสือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|